แท็ก
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ภาวะเศรษฐกิจ
ธพว.
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เดือนนี้มีเงินฝากคงค้าง 2,853.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและสินเชื่อคงค้าง 45,616.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เดือนนี้มีการอนุมัติสินเชื่อทั้งสิ้น 35 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 133.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นเงิน 147.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.1 โดยมีประเภทสินเชื่อที่สำคัญ ได้แก่ ธุรกิจ โรงแรม และรีสอร์ต ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและค้าวัสดุก่อสร้าง ฟาร์มเลี้ยงไก่ เป็นต้น
ครึ่งแรกปี 2547 ธพว. ในภาคมีการอนุมัติสินเชื่อทั้งสิ้น 95 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นเงิน 485.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) เดือนนี้อนุมัติเงินกู้ให้กับอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 26 โครงการ เป็นเงินทั้งสิ้น 347.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 68.1 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยมีสินเชื่อที่สำคัญ ได้แก่ หมวดการผลิตสิ่งทอ สิ่งถักและเครื่องแต่งกาย รองลงมาได้แก่ หมวดการผลิตกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษและโรงพิมพ์ หมวดการผลิตไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ เป็นต้น
ครึ่งแรกปี 2547 IFCT ในภาคฯอนุมัติเงินกู้ให้กับอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 144 โครงการ ลดลงร้อยละ 4.0 เป็นเงินทั้งสิ้น 1,724.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.3 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
บริษัทหลักทรัพย์ในภาคฯ ทั้งสิ้น 28 สำนักงาน เพิ่มขึ้น 6 สำนักงานจากปีก่อน จากข้อมูลเบื้องต้นปริมาณการซื้อหลักทรัพย์ในภาคทั้งสิ้น 59,313.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 315.9 จากระยะเดียวกันปีก่อนมีการซื้อหลักทรัพย์ 14,261.5 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งหลังของปี 2546 มีการซื้อหลักทรัพย์ 75,345.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21.2 ในด้านปริมาณการขายหลักทรัพย์มีทั้งสิ้น 56,378.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 97.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีการขายหลักทรัพย์ 28,569.6 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งหลังของปี 2546 มีการขาย หลักทรัพย์ 116,249.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 51.5
ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของปริมาณซื้อและขายหลักทรัพย์ในภาคเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งหลังของปี 2546 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากข่าวทั้งภายในและนอกประเทศ ที่สำคัญ ได้แก่
ด้านปัจจัยบวก
การคาดการณ์ผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดฯ ช่วงไตรมาส 2 อยู่ในเกณฑ์ดี
อัตราดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
ภาคการคลังแถลงข่าวในปี 2547 จะมีการใช้งบประมาณสมดุลเป็นปีแรก
ราคาหุ้นไทยอยู่ในระดับต่ำ พีอีต่ำ และเงินปันผลสูง
ด้านปัจจัยลบ
ข่าวโรคไข้หวัดนกที่กลับมาระบาดในไทยอีกครั้ง
ดัชนีความเชื่อมั่นในประเทศลดลง
ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ข่าวการก่อการร้ายในต่างประเทศ
เรื่องราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กระแสข่าวทิศทางการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารสหรัฐที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
ทางการจีนประกาศชะลอการเติบโตเศรษฐกิจ
พฤติกรรมการเก็งกำไรการซื้อขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ
จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีความผันผวนในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยมูลค่าการซื้อ-ขายเริ่มปรับลดลงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และปริมาณขายมากกว่าปริมาณซื้อในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
9. ภาคการคลังรัฐบาล เดือนนี้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในภาคฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 28.9 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 ตามการเพิ่มขึ้นของรายได้ โดยเฉพาะรายได้จากค่าตอบแทนพิเศษ และรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับการปรับฐานเงินเดือนของข้าราชการ ซึ่งมีการทยอยเบิกจ่ายเงินเดือนใหม่ตั้งแต่เดือนก่อน ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 ผลจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากธุรกิจที่โอนกำไรกลับต่างประเทศ ธุรกิจบ้านจัดสรร และธุรกิจจำหน่ายอาหารสัตว์ในจังหวัดนครราชสีมาเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ด้านการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 เนื่องจากรายจ่ายประจำเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 ผลจากการปรับฐานเงินเดือนของข้าราชการ ส่วนรายจ่ายลงทุนลดลงร้อยละ 6.8 จากการเบิกจ่ายรายจ่ายปีก่อน (เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี) ลดลงร้อยละ 77.0 ผลจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีในปีงบประมาณ 2546 ลดลงจากปีงบประมาณ 2545 เป็นสำคัญ ขณะที่การเบิกจ่าย เงินค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.0 ตามการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปี
สำหรับอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2547 ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 นั้นมีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 85.4 ของวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติซึ่งมีอัตราส่วนการเบิกจ่ายสูงกว่าระยะเดียวกันของปีก่อน (อัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 82.8) เป็นการเบิกจ่ายงบประจำร้อยละ 92.4 ของวงเงินประจำงวดฯ (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 95.2) และงบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 69.6(ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 56.0)
ครึ่งแรกปี 2547 รายได้รัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเก็บได้ 10,472.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 เทียบจากระยะเดียวกันของปีก่อน 8,855.6 ล้านบาท โดยภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ผลจากเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการจ้างงาน และรายได้ของบุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้น ประกอบกับการปรับฐานเงินเดือนของข้าราชการในเดือนเมษายน ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.8 ตามผลประกอบการที่ดีขึ้นของธุรกิจ อาทิธุรกิจสุรา ธุรกิจเกษตร ธุรกิจซื้อขายรถยนต์ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ส่วนภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภค ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 จากการที่โรงงานสุรา เบียร์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แป้งมันสำปะหลัง และห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้น และภาษีสุราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33.4 ผลการจัดเก็บภาษีเบียร์เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ด้านรายจ่าย 82,008.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากระยะเดียวกันของปีก่อน 75,830.3 ล้านบาท เนื่องจากรายจ่ายประจำ 56,194.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 จากระยะ เดียวกันของปีก่อน 51,891.8 ล้านบาท ผลจากการเบิกจ่ายของหมวดเงินเดือน 38,212.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 จากระยะเดียวกันของปีก่อน 36,165.7 ล้านบาท เนื่องจากปีนี้มีการปรับฐานเงินเดือนของข้าราชการ
รายจ่ายลงทุน 25,814.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 จากระยะเดียวกันของปีก่อน 23,938.5 ล้านบาท จากการเบิกจ่ายของหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง 6,783.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 จากระยะเดียวกันของปีก่อน 5,679.2 ล้านบาท และหมวด เงินอุดหนุน 14,657.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 จากระยะเดียวกันของปีก่อน 11,881.0 ล้านบาท ผลจากปีก่อนมีการการปฏิรูประบบราชการ ทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า ประกอบกับปีนี้มีการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ โครงการลดช่องว่างทางการคลัง โครงการสาธารณสุขมูลฐาน โครงการจ่ายเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุ โครงการอาหารกลางวันและนมโรงเรียน โครงการพัฒนาองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในกรณีเร่งด่วน ขณะที่รายจ่ายปีก่อน (เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี) ลดลงร้อยละ 70.3 ผลจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีในปีงบประมาณ 2546 ลดลงจากปีงบประมาณ 2545 ทำให้เงินในงบประมาณ ขาดดุล 71,536.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนขาดดุล 66,974.7 ล้านบาท
สำหรับอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2547 ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 85.4 ของวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติซึ่งมีอัตราส่วนการเบิกจ่ายสูงกว่าระยะเดียวกันของปีก่อน (อัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 82.8) เป็นการเบิกจ่ายงบประจำร้อยละ 92.4 ของวงเงินประจำงวดฯ (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 95.2) และงบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 69.6 (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 56.0)
การคลังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ 2546 2547
ครึ่งปีแรก ครึ่งปีหลัง ครึ่งปีแรก
รายได้ 8,855.6 8,909.6 10,472.3
(12.6) (18.1) (18.3)
รายจ่าย 75,830.3 78,961.3 82,008.9
(-12.9) (9.7) (8.2)
เกินดุล (+) ขาดดุล (-) -66,974.7 -70,051.7 -71,536.6
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : สำนักงานคลังจังหวัด สำนักงานสรรพากรพื้นที่ และสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
10. ระดับราคา
วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯสูงขึ้นร้อยละ 4.2 จากระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 7.0 โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ ตามความต้องการบริโภค ในขณะที่สินค้าออกสู่ตลาดน้อย ผักสดแปรรูปและอื่นๆ เนื่องจากสภาพอากาศที่มีฝนตกมากในแหล่งผลิตส่งผลให้พืชผัก บางชนิดเสียหาย ปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดลดลง ส่งผลให้ราคาผักสดปรับราคาสูงขึ้น ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ตามราคาข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว ข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว ที่มีราคาสูงขึ้นและราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 2.5 สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นเป็นสินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้ปรับเพดานราคาน้ำมันเบนซิน 91 และ95 สูงขึ้นลิตรละ 60 สตางค์ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2547 เป็นผลต่อเนื่องมาและสินค้าในหมวดเคหสถาน โดยเชื้อเพลิงและไฟฟ้า มีราคาสูงขึ้นตามการปรับราคาจำหน่าย ณ คลังก๊าซ ตามที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) ได้กำหนดตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2547 ส่งผลให้ราคาจำหน่ายปลีกรวมภาษีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น กิโลกรัมละ 1.00 บาท
ครึ่งแรกปี 2547 อัตราเงินเฟ้อของภาคฯ สูงขึ้นร้อยละ2.7 จากระยะเดียวกันของปีก่อนเป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ6.0 โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งซึ่งมีราคาจำหน่ายสูงขึ้นตามราคาข้าวเปลือก ข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียวที่มีราคาขายสูงขึ้น ผักสดแปรรูปและอื่นๆ จากการที่สภาพอากาศที่มีฝนตกมากเป็นผลให้พืชผักบางชนิดเสียหายก่อนนำไปขาย และ เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ โดยผลของโรคไข้หวัดนกซึ่งระบาดในช่วงต้นปีเป็นเหตุให้เนื้อสัตว์ปีกในตลาดมีปริมาณน้อยกว่าความต้องการ ราคาสินค้าในหมวดอื่นๆไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ0.9 สินค้าสำคัญที่มีราคา สูงขึ้นเป็นสินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร โดยเป็นราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และ สินค้าในหมวดเคหสถานโดยเฉพาะเชื้อเพลิงในอาคารที่ปรับราคาสูงขึ้นตามราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนในการผลิต
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เดือนนี้มีการอนุมัติสินเชื่อทั้งสิ้น 35 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 133.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นเงิน 147.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.1 โดยมีประเภทสินเชื่อที่สำคัญ ได้แก่ ธุรกิจ โรงแรม และรีสอร์ต ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและค้าวัสดุก่อสร้าง ฟาร์มเลี้ยงไก่ เป็นต้น
ครึ่งแรกปี 2547 ธพว. ในภาคมีการอนุมัติสินเชื่อทั้งสิ้น 95 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นเงิน 485.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) เดือนนี้อนุมัติเงินกู้ให้กับอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 26 โครงการ เป็นเงินทั้งสิ้น 347.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 68.1 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยมีสินเชื่อที่สำคัญ ได้แก่ หมวดการผลิตสิ่งทอ สิ่งถักและเครื่องแต่งกาย รองลงมาได้แก่ หมวดการผลิตกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษและโรงพิมพ์ หมวดการผลิตไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ เป็นต้น
ครึ่งแรกปี 2547 IFCT ในภาคฯอนุมัติเงินกู้ให้กับอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 144 โครงการ ลดลงร้อยละ 4.0 เป็นเงินทั้งสิ้น 1,724.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.3 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
บริษัทหลักทรัพย์ในภาคฯ ทั้งสิ้น 28 สำนักงาน เพิ่มขึ้น 6 สำนักงานจากปีก่อน จากข้อมูลเบื้องต้นปริมาณการซื้อหลักทรัพย์ในภาคทั้งสิ้น 59,313.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 315.9 จากระยะเดียวกันปีก่อนมีการซื้อหลักทรัพย์ 14,261.5 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งหลังของปี 2546 มีการซื้อหลักทรัพย์ 75,345.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 21.2 ในด้านปริมาณการขายหลักทรัพย์มีทั้งสิ้น 56,378.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 97.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีการขายหลักทรัพย์ 28,569.6 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งหลังของปี 2546 มีการขาย หลักทรัพย์ 116,249.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 51.5
ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของปริมาณซื้อและขายหลักทรัพย์ในภาคเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งหลังของปี 2546 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากข่าวทั้งภายในและนอกประเทศ ที่สำคัญ ได้แก่
ด้านปัจจัยบวก
การคาดการณ์ผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดฯ ช่วงไตรมาส 2 อยู่ในเกณฑ์ดี
อัตราดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
ภาคการคลังแถลงข่าวในปี 2547 จะมีการใช้งบประมาณสมดุลเป็นปีแรก
ราคาหุ้นไทยอยู่ในระดับต่ำ พีอีต่ำ และเงินปันผลสูง
ด้านปัจจัยลบ
ข่าวโรคไข้หวัดนกที่กลับมาระบาดในไทยอีกครั้ง
ดัชนีความเชื่อมั่นในประเทศลดลง
ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ข่าวการก่อการร้ายในต่างประเทศ
เรื่องราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กระแสข่าวทิศทางการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารสหรัฐที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
ทางการจีนประกาศชะลอการเติบโตเศรษฐกิจ
พฤติกรรมการเก็งกำไรการซื้อขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ
จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีความผันผวนในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยมูลค่าการซื้อ-ขายเริ่มปรับลดลงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และปริมาณขายมากกว่าปริมาณซื้อในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
9. ภาคการคลังรัฐบาล เดือนนี้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในภาคฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 28.9 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 ตามการเพิ่มขึ้นของรายได้ โดยเฉพาะรายได้จากค่าตอบแทนพิเศษ และรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับการปรับฐานเงินเดือนของข้าราชการ ซึ่งมีการทยอยเบิกจ่ายเงินเดือนใหม่ตั้งแต่เดือนก่อน ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 ผลจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากธุรกิจที่โอนกำไรกลับต่างประเทศ ธุรกิจบ้านจัดสรร และธุรกิจจำหน่ายอาหารสัตว์ในจังหวัดนครราชสีมาเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ด้านการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 เนื่องจากรายจ่ายประจำเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 ผลจากการปรับฐานเงินเดือนของข้าราชการ ส่วนรายจ่ายลงทุนลดลงร้อยละ 6.8 จากการเบิกจ่ายรายจ่ายปีก่อน (เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี) ลดลงร้อยละ 77.0 ผลจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีในปีงบประมาณ 2546 ลดลงจากปีงบประมาณ 2545 เป็นสำคัญ ขณะที่การเบิกจ่าย เงินค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.0 ตามการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปี
สำหรับอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2547 ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 นั้นมีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 85.4 ของวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติซึ่งมีอัตราส่วนการเบิกจ่ายสูงกว่าระยะเดียวกันของปีก่อน (อัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 82.8) เป็นการเบิกจ่ายงบประจำร้อยละ 92.4 ของวงเงินประจำงวดฯ (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 95.2) และงบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 69.6(ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 56.0)
ครึ่งแรกปี 2547 รายได้รัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเก็บได้ 10,472.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 เทียบจากระยะเดียวกันของปีก่อน 8,855.6 ล้านบาท โดยภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ผลจากเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการจ้างงาน และรายได้ของบุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้น ประกอบกับการปรับฐานเงินเดือนของข้าราชการในเดือนเมษายน ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.8 ตามผลประกอบการที่ดีขึ้นของธุรกิจ อาทิธุรกิจสุรา ธุรกิจเกษตร ธุรกิจซื้อขายรถยนต์ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ส่วนภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภค ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 จากการที่โรงงานสุรา เบียร์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า แป้งมันสำปะหลัง และห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้น และภาษีสุราเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33.4 ผลการจัดเก็บภาษีเบียร์เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ด้านรายจ่าย 82,008.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากระยะเดียวกันของปีก่อน 75,830.3 ล้านบาท เนื่องจากรายจ่ายประจำ 56,194.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 จากระยะ เดียวกันของปีก่อน 51,891.8 ล้านบาท ผลจากการเบิกจ่ายของหมวดเงินเดือน 38,212.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 จากระยะเดียวกันของปีก่อน 36,165.7 ล้านบาท เนื่องจากปีนี้มีการปรับฐานเงินเดือนของข้าราชการ
รายจ่ายลงทุน 25,814.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 จากระยะเดียวกันของปีก่อน 23,938.5 ล้านบาท จากการเบิกจ่ายของหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง 6,783.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 จากระยะเดียวกันของปีก่อน 5,679.2 ล้านบาท และหมวด เงินอุดหนุน 14,657.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 จากระยะเดียวกันของปีก่อน 11,881.0 ล้านบาท ผลจากปีก่อนมีการการปฏิรูประบบราชการ ทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า ประกอบกับปีนี้มีการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ โครงการลดช่องว่างทางการคลัง โครงการสาธารณสุขมูลฐาน โครงการจ่ายเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุ โครงการอาหารกลางวันและนมโรงเรียน โครงการพัฒนาองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในกรณีเร่งด่วน ขณะที่รายจ่ายปีก่อน (เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี) ลดลงร้อยละ 70.3 ผลจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีในปีงบประมาณ 2546 ลดลงจากปีงบประมาณ 2545 ทำให้เงินในงบประมาณ ขาดดุล 71,536.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนขาดดุล 66,974.7 ล้านบาท
สำหรับอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2547 ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 85.4 ของวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติซึ่งมีอัตราส่วนการเบิกจ่ายสูงกว่าระยะเดียวกันของปีก่อน (อัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 82.8) เป็นการเบิกจ่ายงบประจำร้อยละ 92.4 ของวงเงินประจำงวดฯ (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 95.2) และงบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 69.6 (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 56.0)
การคลังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ 2546 2547
ครึ่งปีแรก ครึ่งปีหลัง ครึ่งปีแรก
รายได้ 8,855.6 8,909.6 10,472.3
(12.6) (18.1) (18.3)
รายจ่าย 75,830.3 78,961.3 82,008.9
(-12.9) (9.7) (8.2)
เกินดุล (+) ขาดดุล (-) -66,974.7 -70,051.7 -71,536.6
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : สำนักงานคลังจังหวัด สำนักงานสรรพากรพื้นที่ และสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
10. ระดับราคา
วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯสูงขึ้นร้อยละ 4.2 จากระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 7.0 โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ ตามความต้องการบริโภค ในขณะที่สินค้าออกสู่ตลาดน้อย ผักสดแปรรูปและอื่นๆ เนื่องจากสภาพอากาศที่มีฝนตกมากในแหล่งผลิตส่งผลให้พืชผัก บางชนิดเสียหาย ปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดลดลง ส่งผลให้ราคาผักสดปรับราคาสูงขึ้น ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ตามราคาข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว ข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว ที่มีราคาสูงขึ้นและราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 2.5 สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นเป็นสินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้ปรับเพดานราคาน้ำมันเบนซิน 91 และ95 สูงขึ้นลิตรละ 60 สตางค์ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2547 เป็นผลต่อเนื่องมาและสินค้าในหมวดเคหสถาน โดยเชื้อเพลิงและไฟฟ้า มีราคาสูงขึ้นตามการปรับราคาจำหน่าย ณ คลังก๊าซ ตามที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) ได้กำหนดตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2547 ส่งผลให้ราคาจำหน่ายปลีกรวมภาษีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น กิโลกรัมละ 1.00 บาท
ครึ่งแรกปี 2547 อัตราเงินเฟ้อของภาคฯ สูงขึ้นร้อยละ2.7 จากระยะเดียวกันของปีก่อนเป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ6.0 โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งซึ่งมีราคาจำหน่ายสูงขึ้นตามราคาข้าวเปลือก ข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียวที่มีราคาขายสูงขึ้น ผักสดแปรรูปและอื่นๆ จากการที่สภาพอากาศที่มีฝนตกมากเป็นผลให้พืชผักบางชนิดเสียหายก่อนนำไปขาย และ เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ โดยผลของโรคไข้หวัดนกซึ่งระบาดในช่วงต้นปีเป็นเหตุให้เนื้อสัตว์ปีกในตลาดมีปริมาณน้อยกว่าความต้องการ ราคาสินค้าในหมวดอื่นๆไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ0.9 สินค้าสำคัญที่มีราคา สูงขึ้นเป็นสินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร โดยเป็นราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และ สินค้าในหมวดเคหสถานโดยเฉพาะเชื้อเพลิงในอาคารที่ปรับราคาสูงขึ้นตามราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนในการผลิต
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-