ตลอดระยะเวลาที่รัฐบาลชุดนี้นำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทยเข้ามาบริหารประเทศนานกว่า 3 ปี 5 เดือน สิ่งหนึ่งที่ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์ควบคู่กันมากับผลงานจากนโยบายประชานิยมสารพัดโครงการ คือการคอร์รัปชั่นที่ผุดขึ้นมาอย่างมากมายและนับวันจะยิ่งมีมากขึ้นและซับซ้อนซ่อนเงื่อนขึ้นเรื่อยๆ
การประกาศของ นายกฯทักษิณ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2547 ที่ให้สัญญาปราบปรามกับการทุจริตคอร์รัปชั่นหากกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหลังจากการเลือกตั้งครั้งหน้า ศูนย์วิจัยฯ พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าเป็นเพราะต้องการลดกระแสของสังคมเหมือนเช่นทุกครั้งหลังถูกวิจารณ์จากหลายฝ่ายในสังคม โดยเฉพาะการวิจารณ์จากนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี และประธานที่ปรึกษาสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งการเสนอบทวิจัยของนักวิชาการหลายคนตีแผ่การคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดนี้
หากมองย้อนกลับไปในอดีตแล้วจะเห็นได้ชัดเจนว่า รัฐบาลถูกกล่าวหาในเรื่องการทุจริต หรือบริหารงานแบบมีผลประโยชน์ทับซ้อน เอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง เอื้อประโยชน์ให้ “เจ้านาย” ซึ่งที่ผ่านมาฝ่ายค้านได้แสดงหลักฐานต่างๆมากมายหลายครั้ง แต่จนถึงบัดนี้ก็ไม่ได้ดำเนินการหรือแสดงท่าทีที่จะสอบสวนเอาผิดกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
สารพัดโครงการทุจริต-คนผิดยังลอยนวล
ที่ผ่านมามีพฤติกรรมการทุจริตเกิดขึ้นในรัฐบาลชุดนี้มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นทุจริตข้าวในกรณีโครงการรับจำนำข้าวตั้งแต่ปีการผลิต 2544/45 ปี 2545/46 และปี 2546/47ทำให้ประเทศชาติเสียหายนับพันๆ ล้านบาท
การทุจริตโครงการจำนำลำไยตลอดฤดูการผลิตปี 2544/2545 ฤดูการผลิตปี 2545/2546 และฤดูการผลิตปี 2546/2547 เป็นจำนวนลำไยที่จำนำประมาณ 170,000 ตัน กล่าวคือในปี 2545/2546 จำนวนประมาณ 80,670 ตัน ปี 2546/2547 อีกประมาณ 29,000 ตัน รัฐบาลต้องใช้เงินรับจำนำไม่น้อยกว่า 6,000 ล้านบาท และจากการตรวจสอบพบว่ามีการทุจริตมากกว่า 42,000 ตัน ทำให้ประเทศชาติเสียหายไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท การทุจริตโครงการอาหารเสริมนมหรือนมโรงเรียนปี 2544/2545 งบประมาณทั้งหมด 6,700 ล้านบาท
ทุจริตโครงการปุ๋ยอินทรีย์ปลอมจำนวน 1.3 แสนตัน งบประมาณจำนวน 367 ทุจริตโครงการธนาคารโคกระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ ทุจริตโครงการจัดซื้อโคกระบือที่จังหวัดนราธิวาสและปัตตานี ทุจริตโครงการจัดซื้อพันธุ์ข้าว กข.6 งบประมาณ 150 ล้านบาท เพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่ประสบภัยธรรมชาติโดยมีการจัดซื้อพันธุ์ข้าวที่ไม่ได้คุณภาพ(ผิดสเปค) เป็นต้น
เอื้อประโยชน์พวกพ้อง-เอื้อเจ้านาย ยังไม่สอบสวนหาผู้กระทำผิด
นอกจากนี้ยังมีการทุจริตในหลายรูปแบบ เช่น การทุจริตเชิงนโยบาย หรือการใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องและ “เจ้านาย” ซึ่งฝ่ายค้านได้เคยนำมาเสนอเมื่อครั้งการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2547 ในหลายโครงการสำคัญดังต่อไปนี้ โครงการก่อสร้างถนนสายรัชดา-รามอินทรา วงเงินงบประมาณ 240 ล้านบาทที่เอื้อประโยชน์ให้กับโครงการบ้านจัดสรรบางโครงการที่ครอบครัวของนายกรัฐมนตรีถือหุ้นอยู่ หรือการจัดซื้อที่ดินของภริยานายกรัฐมนตรีจำนวน 33 ไร่มูลค่า 778 ล้านบาทจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินทำให้รัฐเสียประโยชน์กว่าพันล้านบาท โครงการก่อสร้างสนามบินกรุงเทพสากลแห่งที่ 2 หรือสนามบินสุวรรณภูมิ ที่เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทพวกพ้องบางบริษัท เป็นต้น
ล่าสุดยังเกิดกรณีอื้อฉาวในสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) และสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ที่มีการใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายเปิดทางให้พวกพ้องและเครือญาติเข้าไปหาผลประโยชน์จำนวนมหาศาลและต่อมาเมื่อถูกสังคมจับได้ไล่ทันก็ใช้วิธีเล่นกลตบตาโดยมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อซื้อเวลาออกไปก่อน
ไม่ยอมรับผลวิจัยทางวิชาการที่ตีแผ่ความจริง
จากผลวิจัยของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มีการเปิดเผยในงานสัมมนาประจำปี เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ที่พัทยา ผลออกมาสอดคล้องกันว่า ในยุคปัจจุบันมีการทุจริตกันอย่างมโหฬารที่สุด มีความแนบเนียนที่สุด และเวลานี้ได้แพร่กระจายออกไปทุกหย่อมหญ้าแล้ว
ทั้งนี้ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เตือนให้เห็นถึงภัยของการทุจริตคอร์รัปชั่น จัดเป็นภัยของชาติ ซึ่งหากไม่รีบหาทางแก้ไขโดยเร็วปัญหาดังกล่าวก็จะลุกลามจนยากที่จะเยียวยาในที่สุด เพราะในยุคนี้เป็นยุคที่มีปัญหาในเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนมากที่สุด
ส่วน ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวณิชย์ นักวิชาการประจำสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ได้เปิดเผยรายงานผลการวิจัยเรื่องสายสัมพันธ์ทางการเมืองกับผลตอบแทนในตลาดหุ้นไทยโดยชี้ให้เห็นว่า หุ้นในบริษัทสำคัญที่ครอบครัวของนายกรัฐมนตรีถือหุ้นอยู่หรือที่เรียกว่า “หุ้นทักษิณ”นั้นมีมูลค่าตลาดสูงขึ้นถึง 205,276 ล้านบาทเฉพาะในปี 2546 ปีเดียวเท่านั้น
หรือจากการวิจัยของ ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ รองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ก่อให้เกิดประเด็นร้อนล่าสุดชี้ให้เห็นถึงภัยที่เกี่ยวกับเงินซื้อเสียงครั้งใหม่ซึ่งคำนวณออกมาเป็นตัวเลขถึงกว่า 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งประเด็นนี้จะเป็นตัวชี้วัดถึงการทุจริตในอนาคตอย่างมโหฬาร
3 ปี 5 เดือน รัฐบาล “ทักษิณ”แก้คอร์รัปชั่นล้มเหลว
แต่ในทางตรงกันข้ามหากพิจารณาจากท่าทีและพฤติกรรมของนายกฯทักษิณ ตลอดระยะเวลา 3 ปีกับ5 เดือนที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและเคยประกาศทำสงครามกับคอร์รัปชั่นมาตั้งแต่ปี 2544 กลับปรากฏว่า ไม่เคยเอาจริงเอาจังจัดการกับปัญหาดังกล่าวแต่อย่างใด แม้ว่าบางโครงการจะมีการชี้มูลความผิดแล้วก็ตาม แต่ทุกอย่างก็เงียบหายไปและคนทำผิดก็ยังคงลอยนวลต่อไป
ที่น่าผิดหวังอย่างยิ่งก็ คือนอกจาก นายกฯทักษิณ และรัฐบาลจะไม่สนใจกับการแก้ปัญหาทุจริตอย่างจริงจังแล้ว ยังมีท่าทีไม่ยอมรับความจริงและหงุดหงิดกับใครก็ตามที่ออกมาให้ข้อมูลในเรื่องเหล่านี้ ดังที่กำลังเกิดขึ้นกับบรรดานักวิชาการจำนวนมากในเวลานี้ ซึ่ง นายกฯทักษิณ มองว่าเป็นเพียงพวก “ขาประจำ” ที่ไม่รู้จริง คอยจ้องแต่ดิสเครดิตรัฐบาลเท่านั้น
อาการไม่พอใจที่ นายกฯทักษิณ ได้แสดงออกมานั้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่า การแสดงทัศนะหรืองานวิจัยของนักวิชาการเหล่านี้ออกมาในเชิงลบกับรัฐบาลและพูดความจริงให้สังคมได้รับรู้ก็เป็นได้ โดยเฉพาะในประเด็นการหว่านเงินซื้อเสียงในการเลือกตั้งครั้งหน้าที่ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลถึงกว่า 3 หมื่นล้านบาท
เพราะเวลานี้เริ่มมีสัญญาณบางอย่างเกิดขึ้นแล้วจากรายงานข่าวที่ว่า มีการกวาดต้อนซื้อ ส.ส.จากพรรคการเมืองอื่นเข้าพรรคไทยรักไทยจำนวนมาก โดยมีการวางมัดจำกันแล้วถึงรายละ 10-15 ล้านบาทต่อหัวก็มี ทำทุกอย่างเพื่อให้ถึงเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ 400 ที่นั่งในที่สุด
สรุป
สัญญาณเหล่านี้ย่อมชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นในยุคของรัฐบาล นายกฯทักษิณ ที่ดำเนินมากว่า 3 ปี 5 เดือนจะยิ่งมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นและต่อเนื่องไปจนถึงรัฐบาลสมัยหน้า ถ้าหากทุกอย่างเป็นไปตามเป้าหมายตามที่ต้องการ เพราะตราบใดที่มีการทุ่มทุนซื้อเสียงก็ย่อมมีการถอนทุนกลับคืนมาให้ได้
ที่สำคัญที่สุดก็คือ นี่อาจเป็นคำตอบที่ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่ าทำไมพรรคไทยรักไทยถึงมีความพยายามที่จะทำทุกทางเพื่อให้ได้รับเลือกตั้งเข้ามาถึง 400 ที่นั่งในการเลือกตั้งครั้งหน้า ซึ่งถ้าพิจารณาจากสัญญาณดังกล่าวก็ย่อมมีเหตุผลเดียวก็คือไม่ต้องการให้ฝ่ายค้านได้ตรวจสอบการทุจริตของคนในรัฐบาลได้อย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการประกาศปราบปรามทุจริตในการเป็นรัฐบาลของนายกฯทักษิณก็ถือว่าสวนทางกับคำพูด
ดังนั้นหากพิจารณาจากสัญญาณที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้แล้วย่อมคาดเดาถึงแนวโน้มการทุจริตคอร์รัปชั่นในรัฐบาลอนาคตได้ดีที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 4 ก.ค. 2547--จบ--
-ดท-
การประกาศของ นายกฯทักษิณ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2547 ที่ให้สัญญาปราบปรามกับการทุจริตคอร์รัปชั่นหากกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหลังจากการเลือกตั้งครั้งหน้า ศูนย์วิจัยฯ พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าเป็นเพราะต้องการลดกระแสของสังคมเหมือนเช่นทุกครั้งหลังถูกวิจารณ์จากหลายฝ่ายในสังคม โดยเฉพาะการวิจารณ์จากนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี และประธานที่ปรึกษาสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งการเสนอบทวิจัยของนักวิชาการหลายคนตีแผ่การคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดนี้
หากมองย้อนกลับไปในอดีตแล้วจะเห็นได้ชัดเจนว่า รัฐบาลถูกกล่าวหาในเรื่องการทุจริต หรือบริหารงานแบบมีผลประโยชน์ทับซ้อน เอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง เอื้อประโยชน์ให้ “เจ้านาย” ซึ่งที่ผ่านมาฝ่ายค้านได้แสดงหลักฐานต่างๆมากมายหลายครั้ง แต่จนถึงบัดนี้ก็ไม่ได้ดำเนินการหรือแสดงท่าทีที่จะสอบสวนเอาผิดกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
สารพัดโครงการทุจริต-คนผิดยังลอยนวล
ที่ผ่านมามีพฤติกรรมการทุจริตเกิดขึ้นในรัฐบาลชุดนี้มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นทุจริตข้าวในกรณีโครงการรับจำนำข้าวตั้งแต่ปีการผลิต 2544/45 ปี 2545/46 และปี 2546/47ทำให้ประเทศชาติเสียหายนับพันๆ ล้านบาท
การทุจริตโครงการจำนำลำไยตลอดฤดูการผลิตปี 2544/2545 ฤดูการผลิตปี 2545/2546 และฤดูการผลิตปี 2546/2547 เป็นจำนวนลำไยที่จำนำประมาณ 170,000 ตัน กล่าวคือในปี 2545/2546 จำนวนประมาณ 80,670 ตัน ปี 2546/2547 อีกประมาณ 29,000 ตัน รัฐบาลต้องใช้เงินรับจำนำไม่น้อยกว่า 6,000 ล้านบาท และจากการตรวจสอบพบว่ามีการทุจริตมากกว่า 42,000 ตัน ทำให้ประเทศชาติเสียหายไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท การทุจริตโครงการอาหารเสริมนมหรือนมโรงเรียนปี 2544/2545 งบประมาณทั้งหมด 6,700 ล้านบาท
ทุจริตโครงการปุ๋ยอินทรีย์ปลอมจำนวน 1.3 แสนตัน งบประมาณจำนวน 367 ทุจริตโครงการธนาคารโคกระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ ทุจริตโครงการจัดซื้อโคกระบือที่จังหวัดนราธิวาสและปัตตานี ทุจริตโครงการจัดซื้อพันธุ์ข้าว กข.6 งบประมาณ 150 ล้านบาท เพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่ประสบภัยธรรมชาติโดยมีการจัดซื้อพันธุ์ข้าวที่ไม่ได้คุณภาพ(ผิดสเปค) เป็นต้น
เอื้อประโยชน์พวกพ้อง-เอื้อเจ้านาย ยังไม่สอบสวนหาผู้กระทำผิด
นอกจากนี้ยังมีการทุจริตในหลายรูปแบบ เช่น การทุจริตเชิงนโยบาย หรือการใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องและ “เจ้านาย” ซึ่งฝ่ายค้านได้เคยนำมาเสนอเมื่อครั้งการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2547 ในหลายโครงการสำคัญดังต่อไปนี้ โครงการก่อสร้างถนนสายรัชดา-รามอินทรา วงเงินงบประมาณ 240 ล้านบาทที่เอื้อประโยชน์ให้กับโครงการบ้านจัดสรรบางโครงการที่ครอบครัวของนายกรัฐมนตรีถือหุ้นอยู่ หรือการจัดซื้อที่ดินของภริยานายกรัฐมนตรีจำนวน 33 ไร่มูลค่า 778 ล้านบาทจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินทำให้รัฐเสียประโยชน์กว่าพันล้านบาท โครงการก่อสร้างสนามบินกรุงเทพสากลแห่งที่ 2 หรือสนามบินสุวรรณภูมิ ที่เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทพวกพ้องบางบริษัท เป็นต้น
ล่าสุดยังเกิดกรณีอื้อฉาวในสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) และสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ที่มีการใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายเปิดทางให้พวกพ้องและเครือญาติเข้าไปหาผลประโยชน์จำนวนมหาศาลและต่อมาเมื่อถูกสังคมจับได้ไล่ทันก็ใช้วิธีเล่นกลตบตาโดยมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อซื้อเวลาออกไปก่อน
ไม่ยอมรับผลวิจัยทางวิชาการที่ตีแผ่ความจริง
จากผลวิจัยของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มีการเปิดเผยในงานสัมมนาประจำปี เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ที่พัทยา ผลออกมาสอดคล้องกันว่า ในยุคปัจจุบันมีการทุจริตกันอย่างมโหฬารที่สุด มีความแนบเนียนที่สุด และเวลานี้ได้แพร่กระจายออกไปทุกหย่อมหญ้าแล้ว
ทั้งนี้ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เตือนให้เห็นถึงภัยของการทุจริตคอร์รัปชั่น จัดเป็นภัยของชาติ ซึ่งหากไม่รีบหาทางแก้ไขโดยเร็วปัญหาดังกล่าวก็จะลุกลามจนยากที่จะเยียวยาในที่สุด เพราะในยุคนี้เป็นยุคที่มีปัญหาในเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนมากที่สุด
ส่วน ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวณิชย์ นักวิชาการประจำสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ได้เปิดเผยรายงานผลการวิจัยเรื่องสายสัมพันธ์ทางการเมืองกับผลตอบแทนในตลาดหุ้นไทยโดยชี้ให้เห็นว่า หุ้นในบริษัทสำคัญที่ครอบครัวของนายกรัฐมนตรีถือหุ้นอยู่หรือที่เรียกว่า “หุ้นทักษิณ”นั้นมีมูลค่าตลาดสูงขึ้นถึง 205,276 ล้านบาทเฉพาะในปี 2546 ปีเดียวเท่านั้น
หรือจากการวิจัยของ ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ รองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ก่อให้เกิดประเด็นร้อนล่าสุดชี้ให้เห็นถึงภัยที่เกี่ยวกับเงินซื้อเสียงครั้งใหม่ซึ่งคำนวณออกมาเป็นตัวเลขถึงกว่า 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งประเด็นนี้จะเป็นตัวชี้วัดถึงการทุจริตในอนาคตอย่างมโหฬาร
3 ปี 5 เดือน รัฐบาล “ทักษิณ”แก้คอร์รัปชั่นล้มเหลว
แต่ในทางตรงกันข้ามหากพิจารณาจากท่าทีและพฤติกรรมของนายกฯทักษิณ ตลอดระยะเวลา 3 ปีกับ5 เดือนที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและเคยประกาศทำสงครามกับคอร์รัปชั่นมาตั้งแต่ปี 2544 กลับปรากฏว่า ไม่เคยเอาจริงเอาจังจัดการกับปัญหาดังกล่าวแต่อย่างใด แม้ว่าบางโครงการจะมีการชี้มูลความผิดแล้วก็ตาม แต่ทุกอย่างก็เงียบหายไปและคนทำผิดก็ยังคงลอยนวลต่อไป
ที่น่าผิดหวังอย่างยิ่งก็ คือนอกจาก นายกฯทักษิณ และรัฐบาลจะไม่สนใจกับการแก้ปัญหาทุจริตอย่างจริงจังแล้ว ยังมีท่าทีไม่ยอมรับความจริงและหงุดหงิดกับใครก็ตามที่ออกมาให้ข้อมูลในเรื่องเหล่านี้ ดังที่กำลังเกิดขึ้นกับบรรดานักวิชาการจำนวนมากในเวลานี้ ซึ่ง นายกฯทักษิณ มองว่าเป็นเพียงพวก “ขาประจำ” ที่ไม่รู้จริง คอยจ้องแต่ดิสเครดิตรัฐบาลเท่านั้น
อาการไม่พอใจที่ นายกฯทักษิณ ได้แสดงออกมานั้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่า การแสดงทัศนะหรืองานวิจัยของนักวิชาการเหล่านี้ออกมาในเชิงลบกับรัฐบาลและพูดความจริงให้สังคมได้รับรู้ก็เป็นได้ โดยเฉพาะในประเด็นการหว่านเงินซื้อเสียงในการเลือกตั้งครั้งหน้าที่ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลถึงกว่า 3 หมื่นล้านบาท
เพราะเวลานี้เริ่มมีสัญญาณบางอย่างเกิดขึ้นแล้วจากรายงานข่าวที่ว่า มีการกวาดต้อนซื้อ ส.ส.จากพรรคการเมืองอื่นเข้าพรรคไทยรักไทยจำนวนมาก โดยมีการวางมัดจำกันแล้วถึงรายละ 10-15 ล้านบาทต่อหัวก็มี ทำทุกอย่างเพื่อให้ถึงเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ 400 ที่นั่งในที่สุด
สรุป
สัญญาณเหล่านี้ย่อมชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า การทุจริตคอร์รัปชั่นในยุคของรัฐบาล นายกฯทักษิณ ที่ดำเนินมากว่า 3 ปี 5 เดือนจะยิ่งมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นและต่อเนื่องไปจนถึงรัฐบาลสมัยหน้า ถ้าหากทุกอย่างเป็นไปตามเป้าหมายตามที่ต้องการ เพราะตราบใดที่มีการทุ่มทุนซื้อเสียงก็ย่อมมีการถอนทุนกลับคืนมาให้ได้
ที่สำคัญที่สุดก็คือ นี่อาจเป็นคำตอบที่ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่ าทำไมพรรคไทยรักไทยถึงมีความพยายามที่จะทำทุกทางเพื่อให้ได้รับเลือกตั้งเข้ามาถึง 400 ที่นั่งในการเลือกตั้งครั้งหน้า ซึ่งถ้าพิจารณาจากสัญญาณดังกล่าวก็ย่อมมีเหตุผลเดียวก็คือไม่ต้องการให้ฝ่ายค้านได้ตรวจสอบการทุจริตของคนในรัฐบาลได้อย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการประกาศปราบปรามทุจริตในการเป็นรัฐบาลของนายกฯทักษิณก็ถือว่าสวนทางกับคำพูด
ดังนั้นหากพิจารณาจากสัญญาณที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้แล้วย่อมคาดเดาถึงแนวโน้มการทุจริตคอร์รัปชั่นในรัฐบาลอนาคตได้ดีที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 4 ก.ค. 2547--จบ--
-ดท-