แท็ก
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พระบรมราชินีนาถ
พระบรมมหาราชวัง
สภาผู้แทนราษฎร
ราชดำเนิน
= ทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระกริ่งและพระพุทธรูปบูชา
วันพฤหัสบดีที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกา ณ พระอุโบสถ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จ
พระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีเททองหล่อ "พระพุทธรัชมงคลประชานาถ และพระกริ่ง ๗๒ พรรษา ประชาภักดี"
ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องใน
วโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗
โดยมีนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง และคณะกรรมการร่วมเฝ้าฯ รับเสด็จฯ
= บรรยากาศพิธีเททองหล่อพระกริ่ง
ในการนี้ นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และ
วัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญพระไพรีพินาศ รุ่นจรรโลงประชาธิปไตย
จำนวน ๑ ชุด และพระบรมรูปหล่อจำลองพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทำด้วยโลหะผสม
รมดำสีเม็ดมะขาม ขนาดกว้าง ๑๙ เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๓๔.๙ เซนติเมตร จำนวน ๑ องค์
= สถาปนารัฐสภา ครบรอบ ๗๒ ปี
วันจันทร์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๙ นาฬิกา ณ บริเวณชั้น ๒ หน้าอาคาร
รัฐสภา ๑ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธี
บวงสรวงพระวิญญาณอดีตพระมหากษัตริย์ เนื่องในวันสถาปนารัฐสภา ครบรอบ ๗๒ ปี พร้อมกับเปิดนิทรรศการ
เนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๒ ปี รัฐสภาไทย และมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ข้าราชการ
รัฐสภาสามัญ ลูกจ้างประจำ ที่ปรึกษา ผู้ชำนาญการ นักวิชาการ และเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ
= ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนด้านประชาธิปไตย
วันอังคารที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ ศรีปทุมลองสเตย์ รีสอร์ท
อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง
เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนด้านประชาธิปไตย โครงการส่งเสริมและเผยแพร่
ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ซึ่งจัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน
กระทรวงมหาดไทย ของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ ๑๐ จังหวัดนนทบุรี ในการนี้
Dr. Beatrice Gorawantchy ผู้แทนมูลนิธิคอนราด อเดนาวร์ ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนโครงการ
ได้กล่าวต้อนรับผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน พร้อมทั้งกล่าวแนะนำถึงบทบาท หน้าที่ และหลักการดำเนินกิจกรรมของมูลนิธิฯ
สำหรับการจัดสัมมนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนด้านประชาธิปไตยในครั้งนี้ ได้มีการอภิปรายเรื่อง
"การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย" โดยคุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัส สมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ นายพายัพ ปั้นเกตุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี
พรรคไทยรักไทย นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปทุมธานี ดร.วัฒนา อัคคพานิช
นักวิชาการ และนายสุวิช สุทธิประภา บรรณาธิการข่าวการเมือง ช่อง ๙ อ.ส.ม.ท. เป็น
ผู้ดำเนินรายการ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาดูงานตัวอย่างรูปแบบการบริหารองค์กรท้องถิ่นในระบอบประชาธิปไตย
ณ อบต.บึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ด้วย
= รัฐสภาจัดประกวดวรรณกรรมเรื่องสั้นทางการเมืองและบทกวีทางการเมือง
"รางวัลพานแว่นฟ้า" ปีที่ ๓
วันพุธที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่หนึ่ง นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานคณะกรรมการ
รางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี ๒๕๔๗ พร้อมทั้งคณะกรรมการร่วมกันแถลงถึงการจัดประกวดวรรณกรรมเรื่องสั้น
และบทกวีการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า ซึ่งรัฐสภาร่วมกับสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ได้จัดให้มีขึ้นเป็นปีที่ ๓
โดยในปีนี้คณะกรรมการได้กำหนดหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ที่จะส่งวรรณกรรมทางการเมืองและบทกวีทางการเมือง
ออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. ประเภทนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลาย และ ปวช.
๒. ประเภทระดับ ปวส. อุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถส่งเข้าประกวดได้ตั้งแต่บัดนี้ - ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗
โดยมีรางวัลสำหรับผู้ชนะการประกวดดังนี้
- รางวัลชนะเลิศ ๑ รางวัล
จะได้รับเงินรางวัล จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ และเกียรติบัตรจากประธานรัฐสภา
- รางวัลรองชนะเลิศ ๑ รางวัล
จะได้รับเงินรางวัล จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ และเกียรติบัตรจาก
ประธานรัฐสภา
- รางวัลชมเชย ๑๐ รางวัล
จะได้รับเงินรางวัล ๆ ละ ๕,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตรจากประธานรัฐสภา
ทั้งนี้ จะมีพิธีมอบรางวัลให้กับผู้ที่ชนะการประกวดวรรณกรรมเรื่องสั้นการเมืองและบทกวี
การเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี ๒๕๔๗ ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๗
= บทบาทและภารกิจของมูลนิธิคอนราด อเดนาวร์
มูลนิธิคอนราด อเดนาวร์ เป็นมูลนิธิเยอรมัน ซึ่งได้ตั้งชื่อตามนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ
เยอรมัน คือ ท่านคอนราด อเดนาวร์ โดยมีจุดมุ่งหมายในการทำงานระหว่างประเทศเพื่อมุ่งสร้างคุณค่าของ
ประชาธิปไตยอย่างมีอิสระ รวมทั้งส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและระบบเศรษฐกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจน
มุ่งเน้นให้ประชาชนของประเทศนั้น ๆ ช่วยเหลือตัวเองและต่อสู้กับความยากจนได้ นอกจากนี้ยังเสริมสร้าง
ความแข็งแกร่งของโครงสร้างประชาสังคม โดยสนับสนุนโครงการพัฒนาชุมชนของหมู่บ้านในเขตชนบทและใน
ระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกระจายอำนาจทางการบริหาร และได้ให้ความสนใจในการจัดตั้ง
หน่วยงานบริหารระดับท้องถิ่น เพราะสามารถใกล้ชิดและเข้าถึงประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนยังได้
ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมหลักแห่งนิติธรรม โดยร่วมมือกับองค์กรและสถาบันทางด้านศาลและตุลาการอีกด้วย
สำหรับการดำเนินกิจกรรมในประเทศไทยตลอดระยะเวลากว่า ๒๓ ปีที่ผ่านมานั้น มูลนิธิฯ
มีจุดหมายที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบประชาธิปไตย โดยเห็นว่าประชาชนควรจะได้รับการ
ส่งเสริมและสามารถที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจทางการเมือง ด้วยเหตุนี้จึงได้มุ่งเน้นในการ
ให้การสนับสนุนสถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา โดยมูลนิธิ
คอนราด อเดนาวร์ ได้ให้ความสนับสนุนและร่วมงานกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในการจัดโครงการ
และกิจกรรมต่าง ๆ มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๐ รวมระยะเวลากว่า ๑๗ ปี จนถึงปัจจุบัน
พระราชกฤษฎีกา
ปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๔๗
-----------------------
(พระปรมาภิไธย) ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่ทรงพระราชดำริว่า ตามที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่ง
รัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ นั้น บัดนี้ สมควรจะปิดประชุมได้แล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖๑ มาตรา ๑๖๔ และมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา
ตั้งแต่วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
= ธนบัตรเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบราชินี
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกใช้ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า
สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ชนิดราคา ๑๐๐ บาท จำนวน ๗,๒๙๙,๙๙๙ ฉบับ ซึ่งเป็นธนบัตรชำระหนี้ได้
ตามกฎหมาย เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ โดยจะเปิดให้
จ่ายแลก ๒ ประเภท คือ ธนบัตรพร้อมแผ่นพับในราคาชุดละ ๒๐๐ บาท และธนบัตรพร้อมกรอบบรรจุธนบัตร
ถุงผ้าไหมและแผ่นพับ ราคาชุดละ ๓๙๐ บาท ทั้งนี้รายได้ส่วนต่าง ๆ จากมูลค่าหน้าธนบัตรหลังหักค่าใช้จ่าย
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยเสด็จ
พระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
ผู้สนใจธนบัตรดังกล่าว สามารถจองได้ตั้งแต่วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
และวันที่เปิดแลกซื้อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๗ ที่ธนาคารพาณิชย์ไทยทุกสาขา ธนาคารออมสิน ธนาคาร
เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารอาคารสงเคราะห์ ทุกสาขา โดยแลกซื้อได้ไม่เกินคนละ ๑๐ ชุด
= โครงการธรรมสัญจรสำหรับบุคลากรของรัฐสภาเฉลิมพระเกียรติ
การฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐานเป็นหนึ่งในวิธีการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้เกิดความรู้
ความเข้าใจในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับ
ระบบราชการแนวใหม่ ซึ่งเน้นการเป็นระบบราชการที่มีสมรรถภาพสูง มีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม
และมีประสิทธิผลเป็นที่เชื่อถือ และศรัทธาของผู้รับบริการ
สำนักพัฒนาบุคลากรจึงได้จัดโครงการ"ธรรมสัญจรสำหรับบุคลากรของรัฐสภา
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิม
พระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗" ขึ้น ระหว่างวันศุกร์ที่ ๒๓ - วันอาทิตย์ที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๗
ณ สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ รวมทั้งให้ข้าราชการและ
ลูกจ้างของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
และสามารถนำหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีความสุข มีจิตสำนึก พร้อมที่จะปฏิบัติงาน
เพื่อองค์กรและประเทศชาติต่อไป
= เชิญชมนิทรรศการเนื่องในวาระครบรอบ ๗๒ ปี รัฐสภาไทย
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดนิทรรศการเนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๒ ปี
รัฐสภา ระหว่างวันที่ ๒๘ มิถุนายน - ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ณ บริเวณห้องโถง ชั้นล่าง อาคาร
รัฐสภา ๑ โดยนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประวัติรัฐสภา บทบาท อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ผลงานสำคัญของรัฐสภา
บุคคลสำคัญ และนานาทัศนะของบุคคลสำคัญในวงงานรัฐสภาไทย
ผู้สนใจสามารถเข้าชมงานนิทรรศการดังกล่าวได้ในเวลาราชการ และสำหรับผู้ที่ประสงค์
จะเข้าชมเป็นหมู่คณะ ติดต่อประสานงานล่วงหน้าได้ที่ กลุ่มงานพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ สำนักวิชาการ
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๐๕๕-๖ หรือ ๐ ๒๒๔๔ ๒๐๖๑
= สิทธิส่วนลดค่าโดยสารเครื่องบินภายในประเทศ ๕% ของข้าราชการ
ข้าราชการ ลูกจ้าง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่มีความประสงค์จะเดินทางไป
ราชการหรือเดินทางส่วนตัวภายในประเทศ ด้วยสายการบินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
จะได้รับสิทธิพิเศษลดค่าโดยสารในอัตรา ๕% จากชั้นธุรกิจและชั้นประหยัด โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
๑. แจ้งเลขที่บัตรข้าราชการ / ID CARD หรือบัตรที่ออกให้โดยรัฐ เมื่อทำการสำรองที่นั่ง
๒. แสดง ID CARD ที่มีเลขตรงกับเลขที่แจ้งเมื่อทำการสำรองที่นั่งเมื่อ CHECK IN
๓. บริษัทฯ จะออกบัตรโดยสารชนิด E-ticket เท่านั้น
๔. ชำระค่าบัตรโดยสารด้วยบัตรเครดิตหรือเงินสดเท่านั้น ให้ยกเลิกการใช้หนังสือเพื่อออกบัตร
โดยสารราชการและเรียกเก็บเงิน (ยกเว้นผู้โดยสารที่เป็นบุคคลภายนอกและหน่วยงานราชการเชิญไปปฏิบัติงาน
ให้ทำหนังสือราชการแจ้งมาด้วย)
๕. การคืนบัตรโดยสารใช้กฎระเบียบเดียวกับผู้โดยสารทั่วไป คือมี REFUND FEE และ
NO SHOW FEE ซึ่งจะคืนเงินให้เป็นเงินสด หรือเข้าบัตรเครดิต แล้วแต่วิธีที่ชำระค่าบัตรโดยสาร
= การช่วยเหลือทางวิชาการจากองค์กรธุรกิจ
สำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การรับความช่วยเหลือ
ทางวิชาการจากองค์กรธุรกิจ พ.ศ. ๒๕๔๗ เนื่องจากปัจจุบันการรับความช่วยเหลืองานภาคธุรกิจของ
หน่วยงานของรัฐ ยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนและเป็นธรรม อันก่อให้เกิดปัญหาการเลือกปฏิบัติ
ซึ่งตามระเบียบดังกล่าวได้ให้คำนิยามของคำว่า "องค์กรธุรกิจ" หมายถึง บุคคล คณะบุคคล
ห้างหุ้นส่วน บริษัท
หรือองค์กรอื่นใดที่ดำเนินการทางธุรกิจโดยแสวงหากำไร และคำว่า "การช่วยเหลือทางวิชาการ" หมายถึง
การให้ทุนการศึกษา การปฏิบัติ การวิจัย การฝึกอบรม การดูงาน หรือการให้เงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด
หรือบางส่วนในการศึกษา การปฏิบัติ การวิจัย การฝึกอบรม หรือดูงาน ทั้งนี้ ตามระเบียบฯ ห้ามมิให้หน่วยงาน
ของรัฐรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากองค์ธุรกิจที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียทางธุรกิจกับหน่วยงานของรัฐ
เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือทางวิชาการที่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเดินทางไปดูสินค้า กระบวนการผลิต การให้บริการ หรือ
แสวงหาข้อมูล ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจเข้าทำสัญญากับองค์กรธุรกิจนั้น
= การพัฒนาเครือข่ายเพื่อเผยแพร่ประชาธิปไตยของรัฐสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีนโยบายการส่งเสริมเผยแพร่ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ โดยมีกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ซึ่งขณะนี้การ "สร้างเครือข่ายเพื่อการเผยแพร่ประชาธิปไตย"
ถือเป็นนโยบายหลักที่สำคัญ สำนักงานฯ จึงได้จัดกิจกรรมการสร้างเครือข่ายการ
อบรมยุวชนประชาธิปไตยมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ เป็นต้นมา โดยในขณะนี้มีเครือข่ายยุวชนประชาธิปไตย
ทั่วประเทศประมาณ ๙๐๐ คน ทำให้เกิดแนวคิดในการขยายเครือข่ายเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยไปยังกลุ่มผู้นำสตรี
ผู้นำเยาวชน และผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน ดังนั้น สำนักงานฯ จึงได้จัดกิจกรรมการสร้าง เครือข่ายผู้นำสตรี ผู้นำเยาวชน
และผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนด้านประชาธิปไตยขึ้น ระหว่างวันที่ ๓๐ มิถุนายน - ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ณ โรงแรมลำปาง
เวียงทอง จังหวัดลำปาง ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ผู้นำสตรี ผู้นำเยาวชน และผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนในพื้นที่
ซึ่งบุคคลเหล่านี้นับว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นผู้ใกล้ชิดกับชุมชน โดยการจัดกิจกรรม
ในครั้งนี้มีการบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อเรื่อง "วิธีการสร้างเครือข่าย" แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จากนั้นจะเป็นการสัมมนา
กลุ่มย่อยเพื่อระดมสมองเกี่ยวกับการจัดทำแผนงาน โครงการ และงบประมาณการสร้าง เครือข่าย รวมทั้งมีการเสวนา
เรื่อง "เครือข่ายประชาธิปไตยกับการพัฒนาการเมือง" โดยสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรและสื่อมวลชนทุกแขนง
ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมการสร้างเครือข่ายผู้นำสตรี ผู้นำเยาวชน และผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนด้านประชาธิปไตย
ครั้งต่อไปจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๖ - ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ณ จังหวัดอุดรธานี และระหว่างวันที่ ๒๒ - ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗
ณ จังหวัดระยอง
วันพฤหัสบดีที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกา ณ พระอุโบสถ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จ
พระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีเททองหล่อ "พระพุทธรัชมงคลประชานาถ และพระกริ่ง ๗๒ พรรษา ประชาภักดี"
ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องใน
วโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗
โดยมีนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง และคณะกรรมการร่วมเฝ้าฯ รับเสด็จฯ
= บรรยากาศพิธีเททองหล่อพระกริ่ง
ในการนี้ นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และ
วัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญพระไพรีพินาศ รุ่นจรรโลงประชาธิปไตย
จำนวน ๑ ชุด และพระบรมรูปหล่อจำลองพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทำด้วยโลหะผสม
รมดำสีเม็ดมะขาม ขนาดกว้าง ๑๙ เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๓๔.๙ เซนติเมตร จำนวน ๑ องค์
= สถาปนารัฐสภา ครบรอบ ๗๒ ปี
วันจันทร์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๙ นาฬิกา ณ บริเวณชั้น ๒ หน้าอาคาร
รัฐสภา ๑ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธี
บวงสรวงพระวิญญาณอดีตพระมหากษัตริย์ เนื่องในวันสถาปนารัฐสภา ครบรอบ ๗๒ ปี พร้อมกับเปิดนิทรรศการ
เนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๒ ปี รัฐสภาไทย และมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ข้าราชการ
รัฐสภาสามัญ ลูกจ้างประจำ ที่ปรึกษา ผู้ชำนาญการ นักวิชาการ และเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ
= ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนด้านประชาธิปไตย
วันอังคารที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ ศรีปทุมลองสเตย์ รีสอร์ท
อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง
เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนด้านประชาธิปไตย โครงการส่งเสริมและเผยแพร่
ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ซึ่งจัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน
กระทรวงมหาดไทย ของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชน เขตที่ ๑๐ จังหวัดนนทบุรี ในการนี้
Dr. Beatrice Gorawantchy ผู้แทนมูลนิธิคอนราด อเดนาวร์ ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนโครงการ
ได้กล่าวต้อนรับผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน พร้อมทั้งกล่าวแนะนำถึงบทบาท หน้าที่ และหลักการดำเนินกิจกรรมของมูลนิธิฯ
สำหรับการจัดสัมมนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนด้านประชาธิปไตยในครั้งนี้ ได้มีการอภิปรายเรื่อง
"การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย" โดยคุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัส สมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ นายพายัพ ปั้นเกตุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี
พรรคไทยรักไทย นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปทุมธานี ดร.วัฒนา อัคคพานิช
นักวิชาการ และนายสุวิช สุทธิประภา บรรณาธิการข่าวการเมือง ช่อง ๙ อ.ส.ม.ท. เป็น
ผู้ดำเนินรายการ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาดูงานตัวอย่างรูปแบบการบริหารองค์กรท้องถิ่นในระบอบประชาธิปไตย
ณ อบต.บึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ด้วย
= รัฐสภาจัดประกวดวรรณกรรมเรื่องสั้นทางการเมืองและบทกวีทางการเมือง
"รางวัลพานแว่นฟ้า" ปีที่ ๓
วันพุธที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่หนึ่ง นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานคณะกรรมการ
รางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี ๒๕๔๗ พร้อมทั้งคณะกรรมการร่วมกันแถลงถึงการจัดประกวดวรรณกรรมเรื่องสั้น
และบทกวีการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า ซึ่งรัฐสภาร่วมกับสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ได้จัดให้มีขึ้นเป็นปีที่ ๓
โดยในปีนี้คณะกรรมการได้กำหนดหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ที่จะส่งวรรณกรรมทางการเมืองและบทกวีทางการเมือง
ออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. ประเภทนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลาย และ ปวช.
๒. ประเภทระดับ ปวส. อุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถส่งเข้าประกวดได้ตั้งแต่บัดนี้ - ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗
โดยมีรางวัลสำหรับผู้ชนะการประกวดดังนี้
- รางวัลชนะเลิศ ๑ รางวัล
จะได้รับเงินรางวัล จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ และเกียรติบัตรจากประธานรัฐสภา
- รางวัลรองชนะเลิศ ๑ รางวัล
จะได้รับเงินรางวัล จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ และเกียรติบัตรจาก
ประธานรัฐสภา
- รางวัลชมเชย ๑๐ รางวัล
จะได้รับเงินรางวัล ๆ ละ ๕,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตรจากประธานรัฐสภา
ทั้งนี้ จะมีพิธีมอบรางวัลให้กับผู้ที่ชนะการประกวดวรรณกรรมเรื่องสั้นการเมืองและบทกวี
การเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี ๒๕๔๗ ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๗
= บทบาทและภารกิจของมูลนิธิคอนราด อเดนาวร์
มูลนิธิคอนราด อเดนาวร์ เป็นมูลนิธิเยอรมัน ซึ่งได้ตั้งชื่อตามนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ
เยอรมัน คือ ท่านคอนราด อเดนาวร์ โดยมีจุดมุ่งหมายในการทำงานระหว่างประเทศเพื่อมุ่งสร้างคุณค่าของ
ประชาธิปไตยอย่างมีอิสระ รวมทั้งส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและระบบเศรษฐกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจน
มุ่งเน้นให้ประชาชนของประเทศนั้น ๆ ช่วยเหลือตัวเองและต่อสู้กับความยากจนได้ นอกจากนี้ยังเสริมสร้าง
ความแข็งแกร่งของโครงสร้างประชาสังคม โดยสนับสนุนโครงการพัฒนาชุมชนของหมู่บ้านในเขตชนบทและใน
ระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกระจายอำนาจทางการบริหาร และได้ให้ความสนใจในการจัดตั้ง
หน่วยงานบริหารระดับท้องถิ่น เพราะสามารถใกล้ชิดและเข้าถึงประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนยังได้
ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมหลักแห่งนิติธรรม โดยร่วมมือกับองค์กรและสถาบันทางด้านศาลและตุลาการอีกด้วย
สำหรับการดำเนินกิจกรรมในประเทศไทยตลอดระยะเวลากว่า ๒๓ ปีที่ผ่านมานั้น มูลนิธิฯ
มีจุดหมายที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบประชาธิปไตย โดยเห็นว่าประชาชนควรจะได้รับการ
ส่งเสริมและสามารถที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจทางการเมือง ด้วยเหตุนี้จึงได้มุ่งเน้นในการ
ให้การสนับสนุนสถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา โดยมูลนิธิ
คอนราด อเดนาวร์ ได้ให้ความสนับสนุนและร่วมงานกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในการจัดโครงการ
และกิจกรรมต่าง ๆ มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๐ รวมระยะเวลากว่า ๑๗ ปี จนถึงปัจจุบัน
พระราชกฤษฎีกา
ปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา
พ.ศ. ๒๕๔๗
-----------------------
(พระปรมาภิไธย) ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่ทรงพระราชดำริว่า ตามที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่ง
รัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๗ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ นั้น บัดนี้ สมควรจะปิดประชุมได้แล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๖๑ มาตรา ๑๖๔ และมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา
ตั้งแต่วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
= ธนบัตรเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบราชินี
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกใช้ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า
สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ชนิดราคา ๑๐๐ บาท จำนวน ๗,๒๙๙,๙๙๙ ฉบับ ซึ่งเป็นธนบัตรชำระหนี้ได้
ตามกฎหมาย เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ โดยจะเปิดให้
จ่ายแลก ๒ ประเภท คือ ธนบัตรพร้อมแผ่นพับในราคาชุดละ ๒๐๐ บาท และธนบัตรพร้อมกรอบบรรจุธนบัตร
ถุงผ้าไหมและแผ่นพับ ราคาชุดละ ๓๙๐ บาท ทั้งนี้รายได้ส่วนต่าง ๆ จากมูลค่าหน้าธนบัตรหลังหักค่าใช้จ่าย
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยเสด็จ
พระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
ผู้สนใจธนบัตรดังกล่าว สามารถจองได้ตั้งแต่วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
และวันที่เปิดแลกซื้อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๗ ที่ธนาคารพาณิชย์ไทยทุกสาขา ธนาคารออมสิน ธนาคาร
เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารอาคารสงเคราะห์ ทุกสาขา โดยแลกซื้อได้ไม่เกินคนละ ๑๐ ชุด
= โครงการธรรมสัญจรสำหรับบุคลากรของรัฐสภาเฉลิมพระเกียรติ
การฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐานเป็นหนึ่งในวิธีการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้เกิดความรู้
ความเข้าใจในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับ
ระบบราชการแนวใหม่ ซึ่งเน้นการเป็นระบบราชการที่มีสมรรถภาพสูง มีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม
และมีประสิทธิผลเป็นที่เชื่อถือ และศรัทธาของผู้รับบริการ
สำนักพัฒนาบุคลากรจึงได้จัดโครงการ"ธรรมสัญจรสำหรับบุคลากรของรัฐสภา
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิม
พระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗" ขึ้น ระหว่างวันศุกร์ที่ ๒๓ - วันอาทิตย์ที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๗
ณ สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ รวมทั้งให้ข้าราชการและ
ลูกจ้างของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
และสามารถนำหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีความสุข มีจิตสำนึก พร้อมที่จะปฏิบัติงาน
เพื่อองค์กรและประเทศชาติต่อไป
= เชิญชมนิทรรศการเนื่องในวาระครบรอบ ๗๒ ปี รัฐสภาไทย
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดนิทรรศการเนื่องในโอกาสครบรอบ ๗๒ ปี
รัฐสภา ระหว่างวันที่ ๒๘ มิถุนายน - ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ณ บริเวณห้องโถง ชั้นล่าง อาคาร
รัฐสภา ๑ โดยนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประวัติรัฐสภา บทบาท อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ผลงานสำคัญของรัฐสภา
บุคคลสำคัญ และนานาทัศนะของบุคคลสำคัญในวงงานรัฐสภาไทย
ผู้สนใจสามารถเข้าชมงานนิทรรศการดังกล่าวได้ในเวลาราชการ และสำหรับผู้ที่ประสงค์
จะเข้าชมเป็นหมู่คณะ ติดต่อประสานงานล่วงหน้าได้ที่ กลุ่มงานพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ สำนักวิชาการ
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๐๕๕-๖ หรือ ๐ ๒๒๔๔ ๒๐๖๑
= สิทธิส่วนลดค่าโดยสารเครื่องบินภายในประเทศ ๕% ของข้าราชการ
ข้าราชการ ลูกจ้าง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่มีความประสงค์จะเดินทางไป
ราชการหรือเดินทางส่วนตัวภายในประเทศ ด้วยสายการบินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
จะได้รับสิทธิพิเศษลดค่าโดยสารในอัตรา ๕% จากชั้นธุรกิจและชั้นประหยัด โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
๑. แจ้งเลขที่บัตรข้าราชการ / ID CARD หรือบัตรที่ออกให้โดยรัฐ เมื่อทำการสำรองที่นั่ง
๒. แสดง ID CARD ที่มีเลขตรงกับเลขที่แจ้งเมื่อทำการสำรองที่นั่งเมื่อ CHECK IN
๓. บริษัทฯ จะออกบัตรโดยสารชนิด E-ticket เท่านั้น
๔. ชำระค่าบัตรโดยสารด้วยบัตรเครดิตหรือเงินสดเท่านั้น ให้ยกเลิกการใช้หนังสือเพื่อออกบัตร
โดยสารราชการและเรียกเก็บเงิน (ยกเว้นผู้โดยสารที่เป็นบุคคลภายนอกและหน่วยงานราชการเชิญไปปฏิบัติงาน
ให้ทำหนังสือราชการแจ้งมาด้วย)
๕. การคืนบัตรโดยสารใช้กฎระเบียบเดียวกับผู้โดยสารทั่วไป คือมี REFUND FEE และ
NO SHOW FEE ซึ่งจะคืนเงินให้เป็นเงินสด หรือเข้าบัตรเครดิต แล้วแต่วิธีที่ชำระค่าบัตรโดยสาร
= การช่วยเหลือทางวิชาการจากองค์กรธุรกิจ
สำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การรับความช่วยเหลือ
ทางวิชาการจากองค์กรธุรกิจ พ.ศ. ๒๕๔๗ เนื่องจากปัจจุบันการรับความช่วยเหลืองานภาคธุรกิจของ
หน่วยงานของรัฐ ยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนและเป็นธรรม อันก่อให้เกิดปัญหาการเลือกปฏิบัติ
ซึ่งตามระเบียบดังกล่าวได้ให้คำนิยามของคำว่า "องค์กรธุรกิจ" หมายถึง บุคคล คณะบุคคล
ห้างหุ้นส่วน บริษัท
หรือองค์กรอื่นใดที่ดำเนินการทางธุรกิจโดยแสวงหากำไร และคำว่า "การช่วยเหลือทางวิชาการ" หมายถึง
การให้ทุนการศึกษา การปฏิบัติ การวิจัย การฝึกอบรม การดูงาน หรือการให้เงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด
หรือบางส่วนในการศึกษา การปฏิบัติ การวิจัย การฝึกอบรม หรือดูงาน ทั้งนี้ ตามระเบียบฯ ห้ามมิให้หน่วยงาน
ของรัฐรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากองค์ธุรกิจที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียทางธุรกิจกับหน่วยงานของรัฐ
เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือทางวิชาการที่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเดินทางไปดูสินค้า กระบวนการผลิต การให้บริการ หรือ
แสวงหาข้อมูล ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจเข้าทำสัญญากับองค์กรธุรกิจนั้น
= การพัฒนาเครือข่ายเพื่อเผยแพร่ประชาธิปไตยของรัฐสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีนโยบายการส่งเสริมเผยแพร่ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ โดยมีกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ซึ่งขณะนี้การ "สร้างเครือข่ายเพื่อการเผยแพร่ประชาธิปไตย"
ถือเป็นนโยบายหลักที่สำคัญ สำนักงานฯ จึงได้จัดกิจกรรมการสร้างเครือข่ายการ
อบรมยุวชนประชาธิปไตยมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ เป็นต้นมา โดยในขณะนี้มีเครือข่ายยุวชนประชาธิปไตย
ทั่วประเทศประมาณ ๙๐๐ คน ทำให้เกิดแนวคิดในการขยายเครือข่ายเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยไปยังกลุ่มผู้นำสตรี
ผู้นำเยาวชน และผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน ดังนั้น สำนักงานฯ จึงได้จัดกิจกรรมการสร้าง เครือข่ายผู้นำสตรี ผู้นำเยาวชน
และผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนด้านประชาธิปไตยขึ้น ระหว่างวันที่ ๓๐ มิถุนายน - ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ณ โรงแรมลำปาง
เวียงทอง จังหวัดลำปาง ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ผู้นำสตรี ผู้นำเยาวชน และผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนในพื้นที่
ซึ่งบุคคลเหล่านี้นับว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นผู้ใกล้ชิดกับชุมชน โดยการจัดกิจกรรม
ในครั้งนี้มีการบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อเรื่อง "วิธีการสร้างเครือข่าย" แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จากนั้นจะเป็นการสัมมนา
กลุ่มย่อยเพื่อระดมสมองเกี่ยวกับการจัดทำแผนงาน โครงการ และงบประมาณการสร้าง เครือข่าย รวมทั้งมีการเสวนา
เรื่อง "เครือข่ายประชาธิปไตยกับการพัฒนาการเมือง" โดยสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรและสื่อมวลชนทุกแขนง
ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมการสร้างเครือข่ายผู้นำสตรี ผู้นำเยาวชน และผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนด้านประชาธิปไตย
ครั้งต่อไปจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๖ - ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ณ จังหวัดอุดรธานี และระหว่างวันที่ ๒๒ - ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗
ณ จังหวัดระยอง