กรุงเทพ--5 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ถึงผลการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum — ARF) ครั้งที่ 11 ว่าที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ เช่น การก่อการร้าย สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลี สถานการณ์ในอิรัก อัฟกานิสถานและพม่า เขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ และความสัมพันธ์ระหว่างปากีสถานและอินเดียที่มีความคืบหน้าไปอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องปัญหาแคชเมียร์ รวมทั้งบทบาทและทิศทางความร่วมมือของ ARF สรุปสาระการหารือในประเด็นที่สำคัญๆ ได้ดังนี้
ปัญหาการก่อการร้าย ที่ประชุมได้ย้ำว่าการก่อการร้ายใช่เรื่องของเชื้อชาติหรือศาสนา และทุกประเทศควรร่วมมือกันเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายในทุกรูปแบบ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอความเห็นต่อที่ประชุมว่าการดำเนินการเพื่อต่อต้านการก่อหารร้ายควรจะต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านจิตวิทยาเพิ่มเติมจากความร่วมมือต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่แล้ว เนื่องจากปัจจุบันนี้ ได้มีกลุ่มผู้ฉวยโอกาสพยายามบิดเบือนหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม โดยสนับสนุนให้ใช้ความรุนแรง และสร้างความเกลียดชังทางศาสนาและเชื้อชาติ โดยมีกลุ่มเยาวชนเป็นเป้าหมาย พร้อมทั้งยกตัวอย่างสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ของไทยให้ที่ประชุมทราบว่าสาเหตุส่วนหนึ่งที่เกิดความรุนแรงสืบเนื่องมากจากการกระทำดังกล่าว ในขณะเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ได้เรียกร้องให้ประชาคมมุสลิมต้องร่วมกันแสดงบทบาทและประกาศการต่อต้านความพยายามที่จะใช้และบิดเบือนศาสนาอิสลามเพื่อประโยชน์ในการก่อการร้าย ในขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียเสริมว่าควรต้องพิจารณาถึงต้นตอและสาเหตุของบรรดาผู้ที่นิยมลัทธิความรุนแรงด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความยากจนและความไม่ยุติธรรมในสังคม ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าอาเซียนอาจเป็นแกนนำที่จะจัดให้มีการหารือ
ระหว่างศาสนาลัทธิต่างๆ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างกันควบคู่ไปกับความร่วมมือต่างๆ ที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นปัญหาความมั่นคงทางทะเล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แสดงทัศนะของฝ่ายไทยที่ให้เพิ่มความร่วมมือระหว่างกันเพื่อป้องกันจุดต่างๆ ที่มีความเสี่ยง (soft target) ที่ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มผู้ต่างๆ ทั้งเรื่องการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติต่างๆ โดยเฉพาะความมั่นคงทางทะเล ในขณะที่มาเลเซียแสดงความเห็นด้วย แต่เน้นว่าประเทศที่มีเขตติดทะเลควรเป็นผู้ที่รับผิดชอบหลัก เกี่ยวกับเรื่องนี้ สหรัฐฯ ได้เสนอที่จะให้ความร่วมมือในการเสริมสร้างศักยภาพและการฝึกอบรมแก่ประเทศอาเซียนและเห็นว่าควรจะมีการประชุมหารือระหว่างประเทศในภูมิภาคในเรื่องดังกล่าวด้วย
สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลี ที่ประชุมยินดีที่สถานการณ์ได้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น และการหารือ 6 ฝ่ายมีความคืบหน้า และมีการหารือในสาระสำคัญของปัญหามากขึ้น รวมทั้งมีการเสนอวิธีแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีที่เป็นรูปธรรม ที่ประชุมสนับสนุนให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเพื่อบรรลุเป้าหมายที่จะให้คาบสมุทรเกาหลีเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ รวมทั้งชื่นชมบทบาทของจีนในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งการเจรจาระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการแก้ไขปัญหาบนคาบสมุทรเกาหลี
สถานการณ์ในอัฟกานิสถานและอิรัก ที่ประชุมเห็นพ้องถึงความสำคัญในการสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลอัฟกานิสถานให้ประสบผลสำเร็จและมีความมั่นคง เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย และแสดงความยินดีที่มีการถ่ายโอนอำนาจการปกครองให้กับรัฐบาลชั่วคราวของอิรักเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2547 และหวังว่าจะมีการคืนอำนาจอธิปไตยให้กับชาวอิรักโดยเร็ว รวมทั้งยินดีที่ประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเริ่มมีการประสานท่าทีให้สอดคล้องในเรื่องดังกล่าว
สถานการณ์ในพม่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าได้บรรยายสรุปการดำเนินการและความคืบหน้าของการประชุมสมัชชาแห่งชาติร่างรัฐธรรมนูญและได้ยืนยันความตั้งใจจริงของรัฐบาลพม่าที่จะทำให้การร่างรัฐธรรมนูญมีความคืบหน้าเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งและการเป็นประชาธิปไตยในพม่าต่อไป ที่ประชุมได้ย้ำถึงความจำเป็นและความสำคัญของการมีส่วนร่วมชองผู้แทนชนกลุ่มน้อยต่างๆ ในพม่าในการประชุมสมัชชาแห่งชาติ และขอให้พม่าเร่งดำเนินการที่จะนำไปสู่การเป็นประชาธิปไตยโดยเร็ว ในโอกาสนี้ ที่ประชุมได้ย้ำถึงบทบาทของผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเรื่องพม่าในการช่วยเหลือและสนับสนุนพม่าในเรื่องดังกล่าวด้วย
การสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการ ARF ที่ประชุมได้ย้ำถึงความสำคัญของกระบวนการ ARF ว่าเป็นเวทีการหารือด้านการเมืองและความมั่นคงหลักที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และหารือถึงแนวทางการเสริมสร้างกระบวนการนี้ให้เข็มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงบทบาทของประธาน AFR ในการประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ และการตั้งกลุ่มเพื่อนของประธาน เพื่อให้
กระบวนการ AFR ก้าวไปสู่ขั้นตอนของการทูตเชิงป้องกัน โดยทุกฝ่ายสามารถมีส่วนร่วมด้วยความสบายใจ (comfort level) และมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจซึ่งกันและกันในโอกาสนี้ ปากีสถานได้เข้าร่วมการประชุม ARF ครั้งนี้ในฐานะสมาชิกใหม่เป็นประเทศที่ 24 ด้วย
ในวันเดียวกันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือทวิภาคีกับนาย Sergei Lavrov รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย นาย Chris Patten กรรมาธิการยุโรปด้านการต่างประเทศ นาย Paek Nam Sun รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีเหนือ นาย Alexander Downer รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย และนาย Phillip Goff รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้านิซีแลนด์ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ถึงผลการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum — ARF) ครั้งที่ 11 ว่าที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ เช่น การก่อการร้าย สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลี สถานการณ์ในอิรัก อัฟกานิสถานและพม่า เขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ และความสัมพันธ์ระหว่างปากีสถานและอินเดียที่มีความคืบหน้าไปอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องปัญหาแคชเมียร์ รวมทั้งบทบาทและทิศทางความร่วมมือของ ARF สรุปสาระการหารือในประเด็นที่สำคัญๆ ได้ดังนี้
ปัญหาการก่อการร้าย ที่ประชุมได้ย้ำว่าการก่อการร้ายใช่เรื่องของเชื้อชาติหรือศาสนา และทุกประเทศควรร่วมมือกันเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายในทุกรูปแบบ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอความเห็นต่อที่ประชุมว่าการดำเนินการเพื่อต่อต้านการก่อหารร้ายควรจะต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านจิตวิทยาเพิ่มเติมจากความร่วมมือต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่แล้ว เนื่องจากปัจจุบันนี้ ได้มีกลุ่มผู้ฉวยโอกาสพยายามบิดเบือนหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม โดยสนับสนุนให้ใช้ความรุนแรง และสร้างความเกลียดชังทางศาสนาและเชื้อชาติ โดยมีกลุ่มเยาวชนเป็นเป้าหมาย พร้อมทั้งยกตัวอย่างสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ของไทยให้ที่ประชุมทราบว่าสาเหตุส่วนหนึ่งที่เกิดความรุนแรงสืบเนื่องมากจากการกระทำดังกล่าว ในขณะเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ได้เรียกร้องให้ประชาคมมุสลิมต้องร่วมกันแสดงบทบาทและประกาศการต่อต้านความพยายามที่จะใช้และบิดเบือนศาสนาอิสลามเพื่อประโยชน์ในการก่อการร้าย ในขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียเสริมว่าควรต้องพิจารณาถึงต้นตอและสาเหตุของบรรดาผู้ที่นิยมลัทธิความรุนแรงด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความยากจนและความไม่ยุติธรรมในสังคม ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าอาเซียนอาจเป็นแกนนำที่จะจัดให้มีการหารือ
ระหว่างศาสนาลัทธิต่างๆ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างกันควบคู่ไปกับความร่วมมือต่างๆ ที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นปัญหาความมั่นคงทางทะเล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แสดงทัศนะของฝ่ายไทยที่ให้เพิ่มความร่วมมือระหว่างกันเพื่อป้องกันจุดต่างๆ ที่มีความเสี่ยง (soft target) ที่ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มผู้ต่างๆ ทั้งเรื่องการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติต่างๆ โดยเฉพาะความมั่นคงทางทะเล ในขณะที่มาเลเซียแสดงความเห็นด้วย แต่เน้นว่าประเทศที่มีเขตติดทะเลควรเป็นผู้ที่รับผิดชอบหลัก เกี่ยวกับเรื่องนี้ สหรัฐฯ ได้เสนอที่จะให้ความร่วมมือในการเสริมสร้างศักยภาพและการฝึกอบรมแก่ประเทศอาเซียนและเห็นว่าควรจะมีการประชุมหารือระหว่างประเทศในภูมิภาคในเรื่องดังกล่าวด้วย
สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลี ที่ประชุมยินดีที่สถานการณ์ได้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น และการหารือ 6 ฝ่ายมีความคืบหน้า และมีการหารือในสาระสำคัญของปัญหามากขึ้น รวมทั้งมีการเสนอวิธีแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีที่เป็นรูปธรรม ที่ประชุมสนับสนุนให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเพื่อบรรลุเป้าหมายที่จะให้คาบสมุทรเกาหลีเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ รวมทั้งชื่นชมบทบาทของจีนในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งการเจรจาระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการแก้ไขปัญหาบนคาบสมุทรเกาหลี
สถานการณ์ในอัฟกานิสถานและอิรัก ที่ประชุมเห็นพ้องถึงความสำคัญในการสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลอัฟกานิสถานให้ประสบผลสำเร็จและมีความมั่นคง เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย และแสดงความยินดีที่มีการถ่ายโอนอำนาจการปกครองให้กับรัฐบาลชั่วคราวของอิรักเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2547 และหวังว่าจะมีการคืนอำนาจอธิปไตยให้กับชาวอิรักโดยเร็ว รวมทั้งยินดีที่ประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเริ่มมีการประสานท่าทีให้สอดคล้องในเรื่องดังกล่าว
สถานการณ์ในพม่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่าได้บรรยายสรุปการดำเนินการและความคืบหน้าของการประชุมสมัชชาแห่งชาติร่างรัฐธรรมนูญและได้ยืนยันความตั้งใจจริงของรัฐบาลพม่าที่จะทำให้การร่างรัฐธรรมนูญมีความคืบหน้าเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งและการเป็นประชาธิปไตยในพม่าต่อไป ที่ประชุมได้ย้ำถึงความจำเป็นและความสำคัญของการมีส่วนร่วมชองผู้แทนชนกลุ่มน้อยต่างๆ ในพม่าในการประชุมสมัชชาแห่งชาติ และขอให้พม่าเร่งดำเนินการที่จะนำไปสู่การเป็นประชาธิปไตยโดยเร็ว ในโอกาสนี้ ที่ประชุมได้ย้ำถึงบทบาทของผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเรื่องพม่าในการช่วยเหลือและสนับสนุนพม่าในเรื่องดังกล่าวด้วย
การสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการ ARF ที่ประชุมได้ย้ำถึงความสำคัญของกระบวนการ ARF ว่าเป็นเวทีการหารือด้านการเมืองและความมั่นคงหลักที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และหารือถึงแนวทางการเสริมสร้างกระบวนการนี้ให้เข็มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงบทบาทของประธาน AFR ในการประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ และการตั้งกลุ่มเพื่อนของประธาน เพื่อให้
กระบวนการ AFR ก้าวไปสู่ขั้นตอนของการทูตเชิงป้องกัน โดยทุกฝ่ายสามารถมีส่วนร่วมด้วยความสบายใจ (comfort level) และมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจซึ่งกันและกันในโอกาสนี้ ปากีสถานได้เข้าร่วมการประชุม ARF ครั้งนี้ในฐานะสมาชิกใหม่เป็นประเทศที่ 24 ด้วย
ในวันเดียวกันนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้หารือทวิภาคีกับนาย Sergei Lavrov รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย นาย Chris Patten กรรมาธิการยุโรปด้านการต่างประเทศ นาย Paek Nam Sun รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีเหนือ นาย Alexander Downer รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย และนาย Phillip Goff รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้านิซีแลนด์ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-