การขยายจำนวนสมาชิกของสหภาพยุโรป (European Union: EU) เพิ่มขึ้นอีก 10 ประเทศ ประกอบด้วย ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวาเกีย และสโลวีเนีย ซึ่งมีผลอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2547 ทำให้ EU มีสมาชิกรวม 25 ประเทศ และกลายเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีกำลังซื้อสูงด้วยจำนวนประชากรที่มากถึง 455 ล้านคน และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่มีมูลค่าถึง 9,233 พันล้านยูโร อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศสมาชิกใหม่ของ EU ต้องปรับเปลี่ยนอัตราภาษีนำเข้า ตลอดจนกฎระเบียบทางการค้าและมาตรฐานต่างๆ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ EU ย่อมส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังประเทศสมาชิกใหม่ของ EU อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เป็นที่คาดว่าการส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมหลายรายการของไทยจะได้รับผลกระทบจากการขยายจำนวนสมาชิกของ EU ซึ่งเมื่อพิจารณาเฉพาะสินค้าเกษตรพบว่าอาหารทะเลกระป๋องเป็นสินค้าที่อาจได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากเป็นสินค้าเกษตรเพียงชนิดเดียวที่ติดอันดับสินค้าส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกของไทยไปประเทศสมาชิกใหม่ของ EU (ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ, อาหารทะเลกระป๋อง และเครื่องปรับอากาศ ตามลำดับ) ด้วยสัดส่วนร้อยละ 7 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของไทยไปประเทศสมาชิกใหม่ของ EU ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2547 ทั้งนี้ ปลาทูน่ากระป๋องและปลาซาร์ดีนกระป๋องซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกสูงสุดในกลุ่มอาหารทะเลกระป๋อง คาดว่าจะได้รับผลกระทบมากกว่าอาหารทะเลกระป๋องประเภทอื่นๆ
ผลกระทบที่คาดว่าจะมีต่อการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องของไทย มีดังนี้
- อัตราภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกลุ่มประเทศสมาชิกใหม่ของ EU ต้องปรับเปลี่ยนอัตราภาษีนำเข้าอาหารทะเลกระป๋องที่เรียกเก็บจากไทยเป็นอัตราเดียวกับ EU จากเดิมที่ไทยได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าเนื่องจากได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized System of Preferences: GSP) จากสมาชิกใหม่บางประเทศ อาทิ สาธารณรัฐเช็กและโปแลนด์ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย อัตราภาษีที่ปรับเพิ่มขึ้น อาทิ ปลาทูน่ากระป๋อง (อัตราภาษีร้อยละ 24) ปลาซาร์ดีนกระป๋อง (ร้อยละ 12.5) กุ้งกระป๋อง (ร้อยละ 20) และปูกระป๋อง (ร้อยละ 8) เป็นต้น
- การถูกกำหนดโควตานำเข้า โดยเฉพาะการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปประเทศสมาชิกใหม่ของ EU อาจต้องอยู่ภายใต้โควตานำเข้าเดียวกับของ EU (จากเดิมที่การส่งออกไปประเทศสมาชิกใหม่ไม่ถูกกำหนดโควตา) ซึ่ง EU กำหนดโควตานำเข้าปลาทูน่ากระป๋องแก่ไทยปริมาณ 13,000 ตัน อัตราภาษีนำเข้าในโควตาร้อยละ 12 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2546 ถึง 30 มิถุนายน 2547 และเตรียมปรับเพิ่มโควตานำเข้าเป็น 13,390 ตัน เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2547 ถึง 30 มิถุนายน 2548 อย่างไรก็ตาม โควตานำเข้าดังกล่าวมิได้นำปริมาณส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยไปยังประเทศสมาชิกใหม่มาคิดรวมด้วย ทำให้ไทยอาจเสียประโยชน์ในการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยัง EU โดยรวม
- กฎระเบียบทางการค้าที่เข้มงวดขึ้น เนื่องจากประเทศสมาชิกใหม่ของ EU ต้องปรับเปลี่ยนมาตรฐานการตรวจสอบด้านสุขอนามัยของสินค้านำเข้าตามมาตรฐานการตรวจสอบของ EU จึงคาดว่าการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องของไทยไปประเทศสมาชิกใหม่ของ EU ต้องเผชิญกับกฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้น อาทิ การอนุญาตให้มีปริมาณสารดีบุกในอาหารทะลกระป๋องนำเข้าไม่เกิน 200 mg/kg wet weight และกำหนดให้ต้องติดฉลากหรือสัญลักษณ์ตามที่กำหนดและต้องมีข้อมูลบนฉลากเพียงพอที่จะตรวจสอบย้อนหลังได้ เป็นต้น
- การแข่งขันที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันจากกลุ่มประเทศ ACP (African Caribbean and Pacific) รวม 78 ประเทศ และกลุ่ม ANDEAN ประกอบด้วยโบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเวเนซุเอลา ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องไป EU ขณะที่ไทยต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราสูงถึงร้อยละ 24
อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกไทยซึ่งมีศักยภาพในการผลิตสินค้าได้ตามมาตรฐานของประเทศสมาชิก EU เดิมอาจได้รับผลกระทบไม่มากนัก เนื่องจากสามารถทำความเข้าใจและปฏิบัติตามกฎระเบียบทางการค้าต่างๆ ของ EU และนำมาปรับใช้กับการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องไปประเทศสมาชิกใหม่ ซึ่งจะช่วยให้การขยายการส่งออกเป็นไปได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การเร่งพัฒนาการผลิตของไทยให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ รวมถึงการเจรจาต่อรองกับ EU เพื่อขอชดเชยความเสียหายจากการขยายจำนวนสมาชิกของ EU โดยเฉพาะความเสียหายด้านภาษีและการกำหนดโควตานำเข้า คาดว่าจะช่วยลดผลกระทบที่มีต่อการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องของไทยไปยังประเทศสมาชิกใหม่ของ EU ได้ในระดับหนึ่ง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2547--
-พห-
เป็นที่คาดว่าการส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมหลายรายการของไทยจะได้รับผลกระทบจากการขยายจำนวนสมาชิกของ EU ซึ่งเมื่อพิจารณาเฉพาะสินค้าเกษตรพบว่าอาหารทะเลกระป๋องเป็นสินค้าที่อาจได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากเป็นสินค้าเกษตรเพียงชนิดเดียวที่ติดอันดับสินค้าส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกของไทยไปประเทศสมาชิกใหม่ของ EU (ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ, อาหารทะเลกระป๋อง และเครื่องปรับอากาศ ตามลำดับ) ด้วยสัดส่วนร้อยละ 7 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของไทยไปประเทศสมาชิกใหม่ของ EU ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2547 ทั้งนี้ ปลาทูน่ากระป๋องและปลาซาร์ดีนกระป๋องซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกสูงสุดในกลุ่มอาหารทะเลกระป๋อง คาดว่าจะได้รับผลกระทบมากกว่าอาหารทะเลกระป๋องประเภทอื่นๆ
ผลกระทบที่คาดว่าจะมีต่อการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องของไทย มีดังนี้
- อัตราภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกลุ่มประเทศสมาชิกใหม่ของ EU ต้องปรับเปลี่ยนอัตราภาษีนำเข้าอาหารทะเลกระป๋องที่เรียกเก็บจากไทยเป็นอัตราเดียวกับ EU จากเดิมที่ไทยได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าเนื่องจากได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized System of Preferences: GSP) จากสมาชิกใหม่บางประเทศ อาทิ สาธารณรัฐเช็กและโปแลนด์ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย อัตราภาษีที่ปรับเพิ่มขึ้น อาทิ ปลาทูน่ากระป๋อง (อัตราภาษีร้อยละ 24) ปลาซาร์ดีนกระป๋อง (ร้อยละ 12.5) กุ้งกระป๋อง (ร้อยละ 20) และปูกระป๋อง (ร้อยละ 8) เป็นต้น
- การถูกกำหนดโควตานำเข้า โดยเฉพาะการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปประเทศสมาชิกใหม่ของ EU อาจต้องอยู่ภายใต้โควตานำเข้าเดียวกับของ EU (จากเดิมที่การส่งออกไปประเทศสมาชิกใหม่ไม่ถูกกำหนดโควตา) ซึ่ง EU กำหนดโควตานำเข้าปลาทูน่ากระป๋องแก่ไทยปริมาณ 13,000 ตัน อัตราภาษีนำเข้าในโควตาร้อยละ 12 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2546 ถึง 30 มิถุนายน 2547 และเตรียมปรับเพิ่มโควตานำเข้าเป็น 13,390 ตัน เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2547 ถึง 30 มิถุนายน 2548 อย่างไรก็ตาม โควตานำเข้าดังกล่าวมิได้นำปริมาณส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยไปยังประเทศสมาชิกใหม่มาคิดรวมด้วย ทำให้ไทยอาจเสียประโยชน์ในการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยัง EU โดยรวม
- กฎระเบียบทางการค้าที่เข้มงวดขึ้น เนื่องจากประเทศสมาชิกใหม่ของ EU ต้องปรับเปลี่ยนมาตรฐานการตรวจสอบด้านสุขอนามัยของสินค้านำเข้าตามมาตรฐานการตรวจสอบของ EU จึงคาดว่าการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องของไทยไปประเทศสมาชิกใหม่ของ EU ต้องเผชิญกับกฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้น อาทิ การอนุญาตให้มีปริมาณสารดีบุกในอาหารทะลกระป๋องนำเข้าไม่เกิน 200 mg/kg wet weight และกำหนดให้ต้องติดฉลากหรือสัญลักษณ์ตามที่กำหนดและต้องมีข้อมูลบนฉลากเพียงพอที่จะตรวจสอบย้อนหลังได้ เป็นต้น
- การแข่งขันที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันจากกลุ่มประเทศ ACP (African Caribbean and Pacific) รวม 78 ประเทศ และกลุ่ม ANDEAN ประกอบด้วยโบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเวเนซุเอลา ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องไป EU ขณะที่ไทยต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราสูงถึงร้อยละ 24
อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกไทยซึ่งมีศักยภาพในการผลิตสินค้าได้ตามมาตรฐานของประเทศสมาชิก EU เดิมอาจได้รับผลกระทบไม่มากนัก เนื่องจากสามารถทำความเข้าใจและปฏิบัติตามกฎระเบียบทางการค้าต่างๆ ของ EU และนำมาปรับใช้กับการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องไปประเทศสมาชิกใหม่ ซึ่งจะช่วยให้การขยายการส่งออกเป็นไปได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การเร่งพัฒนาการผลิตของไทยให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ รวมถึงการเจรจาต่อรองกับ EU เพื่อขอชดเชยความเสียหายจากการขยายจำนวนสมาชิกของ EU โดยเฉพาะความเสียหายด้านภาษีและการกำหนดโควตานำเข้า คาดว่าจะช่วยลดผลกระทบที่มีต่อการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องของไทยไปยังประเทศสมาชิกใหม่ของ EU ได้ในระดับหนึ่ง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2547--
-พห-