ภาวะอุตฯก.ย.ไปลิ่ว ผู้ประกอบการผุดโรงงานใหม่กว่า 500 โรง สร้างงานเพิ่มกว่าหมื่นอัตรา ชี้การผลิตยานยนต์-ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์-การผลิตเหล็ก ทำยอดผลิตพุ่งตามแรงหนุนตลาดทั้งในและนอก
ดร.อรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.เผยผลการติดตามภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกันยายน พบว่าภาคอุตสาหกรรมมีทิศทางที่ดีขึ้นในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เนื่องจากการผลิตและส่งออกยังขยายตัวได้ดีกว่าเดือนที่ผ่านมา และยังมีการขยายการลงทุนภาคอุตสาหกรรมอย่างคึกคักเช่นกัน โดยมีรายงานการเริ่มประกอบกิจการจำนวน 568 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคมกว่าร้อยละ 43.8 ส่งผลให้เกิดการจ้างงานในเดือนกันยายน กว่า 18,091 อัตรา เพิ่มจากเดือนสิงหาคมร้อยละ 71.75 โดยอุตสาหกรรมการผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ มีการจ้างงานสูงสุด
"สำหรับภาพรวมของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมเดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 147.32 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.08 จากระดับ 154.74 ในเดือนสิงหาคม และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ระดับ 136.94 ในทิศทางเดียวกันอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 68.18 จากเดือนสิงหาคมที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิต 67.84 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นได้แก่ การผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำรวมทั้งผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ เป็นต้น และอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตรากำลังการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นที่สำคัญคือ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุรวมไปถึงสินค้าที่เกี่ยวข้อง"
ดร.อรรชกา กล่าวว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ยังเป็นอุตสาหกรรมหลัก ที่ผลักดันให้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกันยายนขยายตัวจากเดือนสิงหาคม แม้ว่าราคาน้ำมันในช่วงนั้นจะทรงตัวในระดับสูง โดยทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์มีภาวะการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนกันยายนปรับตัวเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตมีการส่งออกเพิ่มขึ้น สำหรับรถยนต์มีการผลิตจำนวน 102,602 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.17 จากเดือนก่อนที่ผลิต 98,487 คัน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.86 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทิศทางการจำหน่ายก็เป็นเช่นเดียวกันทั้งตลาดในประเทศและส่งออก โดยในประเทศจำหน่ายได้ 55,137 คันเพิ่มจากเดือนก่อนร้อยละ 4.37 ส่งออก 42,224 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.82 ส่วนจักรยานยนต์ มีปัจจัยการเปิดตัวรุ่นใหม่ออกสู่ตลาดเพื่อกระตุ้นความต้องการผู้บริโภคมากขึ้น โดยมีการผลิตจำนวน 186,671 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.14 จากเดือนก่อนที่ผลิตได้ 180,996 คัน ส่วนการจำหน่ายมีจำนวน 172,145 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.93 จากเดือนก่อนที่จำหน่ายได้ 158,032 คัน และมีการส่งออกทั้งสิ้น 14,025 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.69 จากเดือนก่อนที่ส่งออกได้ 11,525 คัน
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในเดือนกันยายนมีภาวะการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากการขยายตัวของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 กลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.1 โดยเครื่องรับโทรทัศน์สีไม่เกิน 20 นิ้วมีการขยายตัวมากที่สุด ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 28.9 สำหรับการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนกันยายน มีมูลค่า 136,332.7 ล้านบาท เพิ่มจากเดือนสิงหาคมร้อยละ 5.9 และขยายตัวร้อยละ 13.5 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ในเดือนกันยายนมีการขยายการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากเข้าสู่ไตรมาสุดท้ายของปีจะเป็นขาขึ้นของอุตสาหกรรมนี้ หลังจากฤดูฝนที่ผ่านมาธุรกิจก่อสร้างชะลอตัวเล็กน้อย โดยดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 124.80 เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคมร้อยละ 11.05 ผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดเย็น เหล็กเส้นข้ออ้อย ผลิตเพิ่มจากเดือนก่อนร้อยละ 76.25 และ 54.49 ตามลำดับ ส่วนเหล็กทรงแบนทิศทางการผลิตเป็นเช่นเดียวกัน โดยเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ35.55และ11.63 ตามลำดับ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.เผยผลการติดตามภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกันยายน พบว่าภาคอุตสาหกรรมมีทิศทางที่ดีขึ้นในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เนื่องจากการผลิตและส่งออกยังขยายตัวได้ดีกว่าเดือนที่ผ่านมา และยังมีการขยายการลงทุนภาคอุตสาหกรรมอย่างคึกคักเช่นกัน โดยมีรายงานการเริ่มประกอบกิจการจำนวน 568 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคมกว่าร้อยละ 43.8 ส่งผลให้เกิดการจ้างงานในเดือนกันยายน กว่า 18,091 อัตรา เพิ่มจากเดือนสิงหาคมร้อยละ 71.75 โดยอุตสาหกรรมการผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ มีการจ้างงานสูงสุด
"สำหรับภาพรวมของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมเดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 147.32 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.08 จากระดับ 154.74 ในเดือนสิงหาคม และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ระดับ 136.94 ในทิศทางเดียวกันอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 68.18 จากเดือนสิงหาคมที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิต 67.84 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นได้แก่ การผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำรวมทั้งผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ เป็นต้น และอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตรากำลังการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นที่สำคัญคือ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุรวมไปถึงสินค้าที่เกี่ยวข้อง"
ดร.อรรชกา กล่าวว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ยังเป็นอุตสาหกรรมหลัก ที่ผลักดันให้ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกันยายนขยายตัวจากเดือนสิงหาคม แม้ว่าราคาน้ำมันในช่วงนั้นจะทรงตัวในระดับสูง โดยทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์มีภาวะการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนกันยายนปรับตัวเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตมีการส่งออกเพิ่มขึ้น สำหรับรถยนต์มีการผลิตจำนวน 102,602 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.17 จากเดือนก่อนที่ผลิต 98,487 คัน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.86 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทิศทางการจำหน่ายก็เป็นเช่นเดียวกันทั้งตลาดในประเทศและส่งออก โดยในประเทศจำหน่ายได้ 55,137 คันเพิ่มจากเดือนก่อนร้อยละ 4.37 ส่งออก 42,224 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.82 ส่วนจักรยานยนต์ มีปัจจัยการเปิดตัวรุ่นใหม่ออกสู่ตลาดเพื่อกระตุ้นความต้องการผู้บริโภคมากขึ้น โดยมีการผลิตจำนวน 186,671 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.14 จากเดือนก่อนที่ผลิตได้ 180,996 คัน ส่วนการจำหน่ายมีจำนวน 172,145 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.93 จากเดือนก่อนที่จำหน่ายได้ 158,032 คัน และมีการส่งออกทั้งสิ้น 14,025 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.69 จากเดือนก่อนที่ส่งออกได้ 11,525 คัน
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในเดือนกันยายนมีภาวะการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน จากการขยายตัวของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 กลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.1 โดยเครื่องรับโทรทัศน์สีไม่เกิน 20 นิ้วมีการขยายตัวมากที่สุด ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 28.9 สำหรับการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนกันยายน มีมูลค่า 136,332.7 ล้านบาท เพิ่มจากเดือนสิงหาคมร้อยละ 5.9 และขยายตัวร้อยละ 13.5 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ในเดือนกันยายนมีการขยายการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากเข้าสู่ไตรมาสุดท้ายของปีจะเป็นขาขึ้นของอุตสาหกรรมนี้ หลังจากฤดูฝนที่ผ่านมาธุรกิจก่อสร้างชะลอตัวเล็กน้อย โดยดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 124.80 เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคมร้อยละ 11.05 ผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดเย็น เหล็กเส้นข้ออ้อย ผลิตเพิ่มจากเดือนก่อนร้อยละ 76.25 และ 54.49 ตามลำดับ ส่วนเหล็กทรงแบนทิศทางการผลิตเป็นเช่นเดียวกัน โดยเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ35.55และ11.63 ตามลำดับ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-