ปี 2548 ตลาดภายในประเทศมีขนาดเล็กและเติบโตไม่มาก เนื่องจากมีดอกไม้สดซึ่งเป็นสินค้าทดแทนสามารถผลิตได้ตลอดทั้งปีและมีราคาถูก ตลาดจึงค่อนข้างจำกัด ขณะที่สินค้าไทยไม่สามารถแข่งขัน ในตลาดหลัก (สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ) เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ (พลาสติก ผ้า สี กาว) ค่าแรงงาน ค่าพลังงาน และค่าขนส่ง มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับจีนที่มีต้นทุนค่าแรงงานต่ำกว่า และปัจจุบันจีนได้พัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้าได้ตรงความต้องการของตลาดโลก ส่งผลให้การส่งออกของไทยยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าส่งออกประมาณ 900 ล้านบาท ลดลงจากปี 2547 ร้อยละ 17.5
ปี 2549 การส่งออกยังคงซบเซาอย่างต่อเนื่อง และมีปัญหาการกระจุกตัวสูงที่ตลาดสหรัฐฯ ซึ่งมีการแข่งขันสูงมาก ผู้ประกอบการไทยแข่งขันได้ยากเนื่องจากมีต้นทุนการผลิตสูง คาดว่ามูลค่าส่งออกจะลดลงประมาณร้อยละ 5.5 หดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ขณะที่ตลาดภายในประเทศมีขนาดเล็กและขยายตัวในอัตราต่ำเพียงร้อยละ 5.9 เนื่องจากความนิยมดอกไม้สดยังมีสูง ประกอบกับจะมีการแข่งขันด้านราคารุนแรง มีมูลค่าการนำเข้าประมาณ 70 ล้านบาท ซึ่งร้อยละ 80 เป็นสินค้าราคาถูกจากจีน
ปัจจัยสนับสนุน
- มีแรงงานเพียงพอไว้รองรับ ทั้งแรงงานในโรงงาน แรงงานภาคเกษตร และผู้รับงานไปทำที่บ้าน
- ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากนโยบาย OTOP ของรัฐบาล และโครงการในพระราชดำริ
ปัจจัยเสี่ยง
- การแข่งขันในตลาดต่างประเทศรุนแรง โดยเฉพาะสินค้าต้นทุนต่ำจากจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตดอกไม้ประดิษฐ์รายใหญ่ของโลก ทำให้ตลาดหลักหันไปนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้น และในระยะยาวตลาดภายในประเทศจะได้รับผลกระทบจากการทำ FTA กับจีนมากขึ้น
- การแข็งค่าของเงินบาท และต้นทุนการผลิตที่โน้มสูงขึ้น เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ
- สินค้ามีปัญหาการกระจุกตัวสูงที่สหรัฐฯ และสหภาพยุโป รวมกันมากกว่าร้อยละ 75
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ปี 2549 การส่งออกยังคงซบเซาอย่างต่อเนื่อง และมีปัญหาการกระจุกตัวสูงที่ตลาดสหรัฐฯ ซึ่งมีการแข่งขันสูงมาก ผู้ประกอบการไทยแข่งขันได้ยากเนื่องจากมีต้นทุนการผลิตสูง คาดว่ามูลค่าส่งออกจะลดลงประมาณร้อยละ 5.5 หดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ขณะที่ตลาดภายในประเทศมีขนาดเล็กและขยายตัวในอัตราต่ำเพียงร้อยละ 5.9 เนื่องจากความนิยมดอกไม้สดยังมีสูง ประกอบกับจะมีการแข่งขันด้านราคารุนแรง มีมูลค่าการนำเข้าประมาณ 70 ล้านบาท ซึ่งร้อยละ 80 เป็นสินค้าราคาถูกจากจีน
ปัจจัยสนับสนุน
- มีแรงงานเพียงพอไว้รองรับ ทั้งแรงงานในโรงงาน แรงงานภาคเกษตร และผู้รับงานไปทำที่บ้าน
- ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากนโยบาย OTOP ของรัฐบาล และโครงการในพระราชดำริ
ปัจจัยเสี่ยง
- การแข่งขันในตลาดต่างประเทศรุนแรง โดยเฉพาะสินค้าต้นทุนต่ำจากจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตดอกไม้ประดิษฐ์รายใหญ่ของโลก ทำให้ตลาดหลักหันไปนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้น และในระยะยาวตลาดภายในประเทศจะได้รับผลกระทบจากการทำ FTA กับจีนมากขึ้น
- การแข็งค่าของเงินบาท และต้นทุนการผลิตที่โน้มสูงขึ้น เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ
- สินค้ามีปัญหาการกระจุกตัวสูงที่สหรัฐฯ และสหภาพยุโป รวมกันมากกว่าร้อยละ 75
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-