กรุงเทพ--6 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
บทนำ
1. เรารัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนมาประชุมกันที่กรุงจาการ์ตา ระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน 2547 เป็นครั้งแรกหลังจากที่ผู้นำอาเซียนได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน โดยมี ฯพณฯ นายฮัสซัน วิรายูดา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียเป็นประธาน
2. เราประชุมกันภายใต้หัวข้อ “การมุ่งไปสู่การรวมตัวของอาเซียนเพื่อสังคมที่มั่งคั่ง เอื้ออาทรและสันติสุข.” และเรายืนยันความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2563 (2020) โดย ประกอบด้วย ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ดังนั้น การประชุมของเราจึงมีความสำคัญในการช่วยให้ผู้นำของเรากำหนดแนวทางเพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายดังกล่าว เราได้เสนอให้ที่ประชุม สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ที่เวียงจันทน์รับรองแผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนและแผนปฏิบัติการประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
3. เรายินดีกับความคืบหน้าที่สำคัญของพัฒนาการของประชาคมความมั่นคงอาเซียน ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าจะนำไปสู่อาเซียนที่อยู่ร่วมกันทั้งภายในและกับภายนอกอย่างสันติสุข พวกเราเห็นพ้องว่าประชาคมความมั่นคงอาเซียนจะเสริมสร้างขีดความสามารถในการรับมือกับสิ่งที่ท้าทาย ความมั่นคง ซึ่งรวมถึงประเด็นความมั่นคงแบบดั้งเดิมและประเด็นความมั่นคงแบบใหม่ อีกทั้งจะส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศ คู่เจรจาของอาเซียน ตลอดจนจะส่งเสริมบทบาทของอาเซียนในการเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในเวที การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
4. เรายินดีกับความคืบหน้าอย่างมากในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะเป็นประชาคมที่จะมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน และมีการไหลเวียนของสินค้า การบริการ การลงทุน และแรงงาน ตลอดจนมีเงินทุนหมุนเวียนอย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น เรามั่นใจว่าการรวมตัวทางเศรษฐกิจจะนำมาซึ่งภูมิภาคอาเซียนที่มั่นคง มั่งคั่งและมีศักยภาพในการแข่งขันสูง
5. เรารับทราบด้วยความพอใจถึงความร่วมมือของเราในด้านการพัฒนาสังคม เราชื่นชม การดำเนินการเพื่อนำไปสู่การจัดทำร่างแผนปฏิบัติการประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อเป็น 1 ใน 3 เสาหลักในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน เราเห็นพ้องว่าประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนจะเป็นประชาคมที่เอื้ออาทร และแม้จะมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมแต่ก็มีลักษณะเฉพาะของภูมิภาคที่ชัดเจน
6. เราเห็นพ้องที่จะดำเนินการเพื่อจัดทำกฎบัตรอาเซียน เพื่อเป็นการย้ำเป้าประสงค์และหลักการการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรับผิดชอบร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียนที่จะไม่รุกรานกันและกัน และจะเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของกัน ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมความมั่นคง สันติภาพในภูมิภาคและพัฒนาการทางเศรษฐกิจ ตลอดจนจัดตั้งกลไกการทำงานต่างๆ ของอาเซียนที่มีประสิทธิภาพ
พิธีเปิด
7. ผู้ที่มาเป็นเกียรติในพิธีเปิด ได้แก่ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลปาปัว นิวกีนี ซึ่งเป็นประเทศ ผู้สังเกตการณ์ของอาเซียน ฯพณฯ นายโฮเซ รามอส ฮอร์ตา รัฐมนตรีอาวุโสและรัฐมนตรีต่างประเทศและความร่วมมือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์ ซึ่งเป็นแขกของประธานคณะกรรมการประจำอาเซียน ครั้งที่ 37
8. เรารู้สึกขอบคุณ ที่ ฯพณฯ นางเมฆาวาตี ซูการ์โนบุตรี ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ให้เกียรติกล่าวสุนทรพจน์ ซึ่งมีใจความว่า
ก. แม้ว่าในอดีตอาเซียนจะประสบความสำเร็จในการเป็นพลังเพื่อสันติภาพ ความมั่นคง และความมั่งคั่งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก แต่อาเซียนจะต้องแสวงหาวิธีในการรับมือกับสิ่งท้าทายที่หลากหลายทั้งในปัจจุบันและในอนาคต อาทิ การดำเนินการฝ่ายเดียวที่เพิ่มขึ้น ข้อพิพาททั้งใหม่และทั้งที่กำลังดำเนินอยู่ สถานการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาคและระหว่างประเทศที่อ่อนไหว โรคระบาดใหม่ๆ และโรคที่มีอยู่เดิม ตลอดจนอาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การก่อการร้าย เป็นต้น
ข.โดยที่มาตรการที่มีอยู่เริ่มจะไม่เพียงพอ อาเซียนจึงไม่สามารถดำเนินการด้วย มาตรการแบบเดิมๆ แต่ต้องรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ด้วยปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ และด้วยศักยภาพทั้งหมดที่มี
ค. ปฏิญญาความร่วมมืออาเซียน ฉบับที่ 2 และเป้าประสงค์ของปฏิญญาฯ กล่าวคือ ประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วย ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน จะเป็นกรอบกำหนดแนวทางเพื่อให้อาเซียนสามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน
ง. การดูแลกิจการภายในของแต่ละประเทศให้เรียบร้อยและการส่งเสริมความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันจะช่วยให้อาเซียนสามารถรับมือกับพลวัตของสภาพแวดล้อมในภูมิภาคและระหว่างประเทศ ตลอดจนกระบวนการในกรอบอาเซียน+3 ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จ. ในขณะที่ ประชาธิปไตยกำลังแพร่ขยายไปทุกมุมโลก ภูมิภาคเอเชียถือว่าโชคดีเพราะว่าประชาธิปไตยในภูมิภาคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะถูกบังคับ หรือเป็นเพียงการลอกเลียนแบบระบบของตะวันตก อันจะเห็นได้ชัดเจนจากการจัดการเลือกตั้งที่เสรี โปร่งใส และประสบผลสำเร็จในสาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย ศรีลังกา อินเดีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
ประชาคมอาเซียน
9. เราจะดำเนินการเพื่อสนับสนุนมติของผู้นำของเราที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่ง ประกอบด้วย 3 เสาหลัก กล่าวคือความร่วมมือด้านการเมืองความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งต่างสอดคล้องและเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคงและความมั่งคั่งที่ยั่งยืน เราได้มีพัฒนาการอย่างมากในการจัดทำร่างแผนปฏิบัติการของทั้งสามเสาหลักตามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือ อาเซียน ฉบับที่ 2 ในช่วงเก้าเดือนที่ผ่านมาตั้งแต่ได้มีการรับรองปฏิญญาฯ เพื่อเป็นพื้นฐานของการดำเนินการเพื่อการรวมตัวอย่างสมบูรณ์
แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์
10. เรารับทราบด้วยความพอใจกับรายงานการประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฮานอย และเห็นพ้องว่าการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฮานอยที่ประสบผลสำเร็จเป็นผลดีอย่างมากต่อการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ตามวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 และปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน
11. เราหารือเกี่ยวกับร่างแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์และเห็นควรให้ร่างสอดคล้องกับเป้าหมาย และเป้าประสงค์ที่ปรากฏในวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 และปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ฉบับที่ 2 ในฐานะที่ร่างแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์จะเป็นแผนปฏิบัติการที่ต่อเนื่องจากแผนปฏิบัติการฮานอย ร่างแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์เป็นแผนปฏิบัติการที่มีวาระ 6 ปี เพื่อบรรลุเป้าหมายระยะกลางในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการส่งเสริมการรวมตัวในภูมิภาคและการลดช่องว่างของระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสมาชิกที่มีระดับการพัฒนาน้อยที่สุด
ประชาคมความมั่นคงอาเซียน
แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน
12. เราชื่นชมอินโดนีเซียที่ยกร่างและปรับปรุงร่างแผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน และยินดีกับการดำเนินการของจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนในการปรับปรุงร่างแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ตลอดจนให้ความเห็นชอบต่อร่างที่เจ้าหน้าที่อาวุโสจัดเตรียม เรายังเห็นชอบให้เสนอร่างแผนปฏิบัติการฯ เพื่อให้ผู้นำอาเซียนให้การรับรอง ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ณ เวียงจันทน์ เพื่อแนบท้ายกับปฏิญญาความร่วมมืออาเซียน ฉบับที่ 2 เราหวังให้รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียรายงานเรื่องนี้ต่อผู้นำอาเซียนในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนต่อไป
ความร่วมมือด้านการเมือง
13. เราได้หารือประเด็นทางการเมืองในกรอบอาเซียนหลายประเด็น โดยคำนึงถึงหลักการสำคัญของการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกันภายใต้ความเป็นครอบครัวอาเซียน
14. เราแสดงความยินดีกับมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่ประสบความสำเร็จในการจัดการเลือกตั้งที่เสรีและสันติ เราเชื่อว่า การเลือกตั้งนี้จะเอื้อต่อการนำมาซึ่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นกลาง มีประชาธิปไตย และสงบสุข ดังที่ปรากฏในปฏิญญาความร่วมมืออาเซียน ฉบับที่ 2 เราหวังว่าอินโดนีเซียจะประสบผลสำเร็จในการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งแรกที่จะมีขึ้นด้วย
15. เรารับทราบการบรรยายสรุปจากพม่าเกี่ยวกับการจัดการประชุมสมัชชาแห่งชาติและพัฒนาการในเรื่องดังกล่าว เรารับทราบศักยภาพของสมัชชาในการปูทางไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่และการจัดการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญดังกล่าว เราระลึกถึงและเน้นย้ำถึงนัยสำคัญของแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 36 และแถลงการณ์ของประธานของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ในการนี้ เราได้ย้ำถึงความจำเป็นที่ทุกส่วนของสังคมพม่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องในการประชุมสมัชชาแห่งชาติที่ดำเนินอยู่ เราสนับสนุนให้ทุกฝ่ายในพม่าดำเนินความพยายามเพิ่มเติมเพื่อประกันว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยจะเป็นไปโดยราบรื่น เรายอมรับในบทบาทของผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติในการช่วยเหลือพม่าให้บรรลุตามเป้าหมายดังกล่าว
สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
16. เราย้ำถึงความสำคัญของสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติหลักในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเป็นกลไกทางการทูตในการเสริมสร้างสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค เรายังได้ย้ำความมุ่งมั่นของเราที่จะส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพ ในการนี้ เรายินดีที่สาธารณรัฐประชาชนจีนและอินเดียภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน และการประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ณ เกาะบาหลี เมื่อเดือนตุลาคม 2546 และการภาคยานุวัติสนธิสัญญาฯ ของญี่ปุ่นและปากีสถาน ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 อีกทั้ง สนับสนุนให้ประเทศนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคยานุวัติสนธิสัญญาฯ
สนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
17. เราย้ำความสำคัญของความพยายามอย่างแข็งขันในการส่งเสริมความร่วมมือในการนำสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาปฏิบัติ เพื่อส่งเสริม จุดมุ่งหมายและเป้าประสงค์ของสนธิสัญญาฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ภาคยานุวัติสนธิสัญญาฯ เราเห็นพ้องที่จะดำเนินการร่วมกันในบรรยากาศแห่งความเป็นมิตรและความร่วมมือ เพื่อหาทางออกสำหรับประเด็นที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ และเรียกร้องให้ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์แสดงความยืดหยุ่นอย่างเต็มที่และร่วมมือกับอาเซียนเพื่อการนี้ และยินดีที่จีนแสดงความพร้อมที่จะลงนามพิธีสารแนบท้ายสนธิสัญญาฯ ของจีน
การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก
18. เรายินดีต่อคำยืนยันของผู้นำอาเซียน ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ถึงบทบาทของการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย- แปซิฟิก ในการเป็นเวทีหลักเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ตลอดจนเป็นกลไกหลักในการเสริมสร้างสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค เรามุ่งมั่นที่จะดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าอาเซียนจะยังคงดำเนินการเพื่อส่งเสริมบทบาทนำ อีกทั้ง ส่งเสริมความร่วมมือในการผลักดันให้กระบวนการการประชุมฯ มีความคืบหน้า ซึ่งเอื้อต่อการ คงไว้ซึ่งสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
19. เราแสดงความชื่นชมประธานการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก ที่ได้ริเริ่มดำเนินการเพื่อส่งเสริมบทบาทของประธานและมี ความเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการส่งเสริมการประชุมอาเซียน ว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก
20. เรารับรองการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อดูแลงานการประชุมฯ ในสำนักเลขาธิการอาเซียนและเชื่อว่าจะเอื้อต่อกระบวนการขับเคลื่อนให้การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิกมีความคืบหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทนำของอาเซียนและการส่งเสริมบทบาทของประธานในเวทีดังกล่าว
21. เราได้ยกเลิกการระงับการรับประเทศที่ต้องการเข้าร่วมการประชุมอาเซียนว่าด้วย ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งได้เคยตกลงกันไว้ และจะพิจารณาการสมัครของประเทศที่ต้องการเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวเป็นกรณีๆ ไป ในการนี้ เรายินดีกับความเห็นพ้องของประเทศที่เข้าร่วมการประชุมฯ ในการรับปากีสถานเข้าร่วมการประชุมฯ และหวังที่จะเห็นปากีสถานเข้าร่วมในการประชุมฯ และการที่ปากีสถานจะดำเนินการเพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ทะเลจีนใต้
22. เรายืนยันว่า ปฏิญญาว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในทะเลจีนใต้ ซึ่งเราได้ลงนามกับจีน เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ณ กรุงพนมเปญ เป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การรับรองแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ ซึ่งจำเป็นต่อการเสริมสร้างสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพในภูมิภาค เรายินดีกับการทบทวนการปฏิบัติตามข้อกำหนดในปฏิญญาฯ และการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและมาตรการความร่วมมือที่จะเอื้อต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคที่ยั่งยืน เราเรียกร้องประเทศที่เกี่ยวข้องให้หาวิธีรับมือกับปัญหาอย่างสันติ และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล เรายินดีกับข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนว่าด้วยการปฏิบัติตามปฏิญญาฯ ซึ่งรวมถึงการจัดตั้งคณะทำงานอาเซียน-จีนและการหากลไกตรวจสอบการปฏิบัติตาม เพื่อให้มีการปฏิบัติตามปฏิญญาฯ อย่างค่อยเป็นค่อยไป
23. เรายินดีกับความพยายามของรัฐบาลอินโดนีเซียในการจัดสัมมนาอย่างไม่เป็นทางการเรื่องการดำเนินการเพื่อจัดการข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในทะเลจีนใต้ ตั้งแต่ปี 2533 ซึ่งช่วยสร้างความสบายใจต่อกระบวนการแก้ไขปัญหาในทะเลจีนใต้ที่ดำเนินอยู่
24. เรารับทราบด้วยความชื่นชมข้อริเริ่มของรัฐบาลฟิลิปปินส์ในการจัดการฝึกซ้อมในทะเล ลูซอน (Exercise Luzon Sea Phrase I-Palawan Exercise) ซึ่งเป็นการดำเนินการตามบทที่ 9 ของอนุสัญญากฎหมายทางทะเลว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐที่มีเขตแดนติดกับทะเลปิดและทะเลกึ่งปิด และปรากฏอยู่ในย่อหน้าที่ 6 ของปฏิญญาฯ
อาชญากรรมข้ามชาติ
25. เรายินดีต่อแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 4 และแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน+3 ด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 8 และวันที่ 10 มกราคม 2547 ตามลำดับ ที่กรุงเทพฯ ในการนี้ เราได้ย้ำบทบาทหลักของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติที่มีข้อริเริ่มและความร่วมมือในระดับภูมิภาคในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ นอกจากนี้ เรายินดีที่มีการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนและจีน ว่าด้วยความร่วมมือในประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่เมื่อวัน ที่ 10 มกราคม 2547 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งกำหนดมาตรการที่เป็นรูปธรรมและสามารถนำไปปฏิบัติในการร่วมมือด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ รวมทั้งการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างอาเซียนและจีน เรายินดีที่ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วย การลักลอบค้ามนุษย์ การค้ามนุษย์ข้ามชาติ และอาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ (กระบวนการบาหลี) มีความคืบหน้า ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของภูมิภาคและประเทศสมาชิกในการต่อต้านการลักลอบ ค้ามนุษย์และการค้ามนุษย์ข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างจิตสำนึกของประชาชน การพัฒนากฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมาย
การก่อการร้าย
26. เราประณามการก่อการร้ายในทุกรูปแบบและวิธีการอย่างยิ่งยวด และย้ำถึงความจำเป็น ในการแก้ไขปัญหาที่ต้นตอของการก่อการร้าย อีกทั้งไม่ยินยอมให้มีความพยายามที่จะเชื่อมโยงการก่อการร้ายกับศาสนา เชื้อชาติ สัญชาติ หรือกลุ่มเชื้อชาติใดๆ เราได้ทบทวนความร่วมมือที่แน่นแฟ้นระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการต่อต้านการก่อการร้าย นำมาซึ่งความสามารถในการจับกุมบุคคลที่มีส่วนร่วมในการกระทำการก่อการร้าย และช่วยยับยั้งการเกิดการก่อการร้าย เราขอเรียกร้องให้เพิ่มความพยายามร่วมกันและการประสานงาน ตลอดจนข้อริเริ่มที่เป็นรูปธรรมในทุกระดับในการต่อต้านการก่อการร้าย
27. เราได้สานต่อความตั้งใจจริงที่จะเสริมสร้างการประสานงานและความร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศในการต่อต้านการก่อการร้ายสากล และขอชมเชยที่มีการดำเนินการ ตามแผนปฏิบัติการอาเซียน-สหรัฐฯ เพื่อต่อต้านการก่อการร้าย เพื่อให้เป็นไปตามปฏิญญาร่วมอาเซียน-สหรัฐฯ ว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายสากล อีกทั้งแสดงความยินดีและมุ่งหวังให้มีการปฏิบัติตามปฏิญญาร่วมระหว่างอาเซียน-อินเดียว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ซึ่งรับรองโดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนตุลาคม 2546 และการให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกกับความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายสากลและอาชญากรรมข้ามชาติในกรอบการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยเฉพาะการประชุมระหว่างปีว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ เรามุ่งหวังให้มีการลงนามในปฏิญญาร่วมอาเซียน-ออสเตรเลียว่าด้วยความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายสากล และปฏิญญาร่วมอาเซียน-รัสเซียว่าด้วยความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายสากล อีกทั้ง เรามุ่งหวังให้มีการปฏิบัติตามปฏิญญาร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งรับรองโดยการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ เมื่อเดือนมกราคม 2546
28. เราขอชมเชยการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายที่เกาะบาหลีระหว่างวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2547 และยินดีกับผลที่เป็นรูปธรรมของการประชุมดังกล่าว ซึ่งเอื้อต่อการดำเนินการต่อต้านการก่อการร้ายในระดับประเทศ ภูมิภาค และระหว่างประเทศ เรายินดีต่อการจัดตั้งศูนย์จาการ์ตาเพื่อความร่วมมือให้มีการดำเนินการตามกฏหมายและได้รับทราบเกี่ยวกับอาณัติของศูนย์ฯ ในการเชื่อมโยงกับศูนย์ในระดับภูมิภาคอื่นๆ อาทิ สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่กรุงเทพฯ และศูนย์ต่อต้านการก่อการร้ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กรุง กัวลาลัมเปอร์ บนพื้นฐานของการเกื้อหนุนซึ่งกันและกันและการไม่ซ้ำซ้อนของกิจกรรมต่างๆ เรามุ่งหวังที่จะร่วมมือกันในการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการก่อการร้ายต่อไป โดยผ่านศูนย์ดังกล่าว
ความร่วมมือทางทะเลของอาเซียน
29. เราได้ย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือทางทะเลเพื่อที่จะวิวัฒนาการไปสู่ประชาคมความมั่นคงอาเซียน และเห็นชอบให้มีการส่งเสริมความร่วมมือรอบด้านระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอีกทั้งแสวงหาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งกรอบการประชุมว่าด้วยความร่วมมือทางทะเลของอาเซียน
ความร่วมมือด้านอื่นๆ
30. เราได้ย้ำพันธกรณีที่จะปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ในการนี้ เราได้รับทราบถึงความพยายามของอาเซียนและการหารืออย่างต่อเนื่องกับกลไกคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียน ซึ่งเป็นองค์กรที่มิใช่ภาครัฐ รวมทั้งความพยายามที่จะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างกลุ่มต่างๆ ในอาเซียนเพื่อจะสามารถบรรลุการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชน เรารับทราบ ผลการประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนและคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2547 เรายินดีกับการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนระดับชาติในประเทศสมาชิกบางประเทศ อีกทั้งได้รับทราบข้อสรุปและข้อเสนอแนะของการประชุมคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียนระดับภูมิภาค ครั้งที่ 4 ที่กรุงจาการ์ตา ระหว่างวันที่ 17-18 มิถุนายน 2547
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
31. เราชมเชยการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตามมติที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 โดยเฉพาะความคืบหน้าในการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อเร่งรัดการรวมตัวของสินค้าและบริการ 11 สาขา และชมเชยข้อตัดสินใจของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่ ให้จัดทำแผนการดำเนินการของการรวมตัวสำหรับแต่ละสาขา โดยให้เสนอแผนการดำเนินการดังกล่าว รวมทั้งกรอบความตกลงเพื่อชี้นำการดำเนินการตามแผนงานของสินค้าและบริการ 11 สาขา ให้ผู้นำอาเซียนลงนามในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ที่เวียงจันทน์
32. เรายินดีกับการเจรจาที่กำลังดำเนินอยู่เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีระดับภูมิภาค เช่น หุ้นส่วนเศรษฐกิจที่รอบด้านระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน และ อาเซียน-อินเดีย ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะนำไปสู่เป้าหมายในการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
33. เรายินดีที่มีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาทั้งในระดับภูมิภาคและทวิภาคี และชมเชยความพยายามของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับอาเซียนโดยผ่านกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจที่รอบด้านอาเซียน-จีน กรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่รอบด้านอาเซียน-ญี่ปุ่น กรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจที่รอบด้านอาเซียน-อินเดีย และข้อริเริ่มเกี่ยวกับการค้าระดับภูมิภาคระหว่างสหภาพยุโรป-อาเซียน เรายินดีเช่นกันกับข้อเสนอของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเริ่มการเจรจาเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในปีนี้ และเรียกร้องให้จัดทำกรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ให้เสร็จโดยเร็ว เรายินดีกับการศึกษาร่วมระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลีเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่รอบด้านที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำหรับการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี เราติดตามด้วยความสนใจการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีระดับทวิภาคีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาที่กำลังดำเนินอยู่
(ยังมีต่อ).../ข้อริเริ่ม..
บทนำ
1. เรารัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนมาประชุมกันที่กรุงจาการ์ตา ระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน 2547 เป็นครั้งแรกหลังจากที่ผู้นำอาเซียนได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน โดยมี ฯพณฯ นายฮัสซัน วิรายูดา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียเป็นประธาน
2. เราประชุมกันภายใต้หัวข้อ “การมุ่งไปสู่การรวมตัวของอาเซียนเพื่อสังคมที่มั่งคั่ง เอื้ออาทรและสันติสุข.” และเรายืนยันความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2563 (2020) โดย ประกอบด้วย ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ดังนั้น การประชุมของเราจึงมีความสำคัญในการช่วยให้ผู้นำของเรากำหนดแนวทางเพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายดังกล่าว เราได้เสนอให้ที่ประชุม สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ที่เวียงจันทน์รับรองแผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนและแผนปฏิบัติการประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
3. เรายินดีกับความคืบหน้าที่สำคัญของพัฒนาการของประชาคมความมั่นคงอาเซียน ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าจะนำไปสู่อาเซียนที่อยู่ร่วมกันทั้งภายในและกับภายนอกอย่างสันติสุข พวกเราเห็นพ้องว่าประชาคมความมั่นคงอาเซียนจะเสริมสร้างขีดความสามารถในการรับมือกับสิ่งที่ท้าทาย ความมั่นคง ซึ่งรวมถึงประเด็นความมั่นคงแบบดั้งเดิมและประเด็นความมั่นคงแบบใหม่ อีกทั้งจะส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศ คู่เจรจาของอาเซียน ตลอดจนจะส่งเสริมบทบาทของอาเซียนในการเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในเวที การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
4. เรายินดีกับความคืบหน้าอย่างมากในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะเป็นประชาคมที่จะมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน และมีการไหลเวียนของสินค้า การบริการ การลงทุน และแรงงาน ตลอดจนมีเงินทุนหมุนเวียนอย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น เรามั่นใจว่าการรวมตัวทางเศรษฐกิจจะนำมาซึ่งภูมิภาคอาเซียนที่มั่นคง มั่งคั่งและมีศักยภาพในการแข่งขันสูง
5. เรารับทราบด้วยความพอใจถึงความร่วมมือของเราในด้านการพัฒนาสังคม เราชื่นชม การดำเนินการเพื่อนำไปสู่การจัดทำร่างแผนปฏิบัติการประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อเป็น 1 ใน 3 เสาหลักในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน เราเห็นพ้องว่าประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนจะเป็นประชาคมที่เอื้ออาทร และแม้จะมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมแต่ก็มีลักษณะเฉพาะของภูมิภาคที่ชัดเจน
6. เราเห็นพ้องที่จะดำเนินการเพื่อจัดทำกฎบัตรอาเซียน เพื่อเป็นการย้ำเป้าประสงค์และหลักการการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรับผิดชอบร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียนที่จะไม่รุกรานกันและกัน และจะเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของกัน ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมความมั่นคง สันติภาพในภูมิภาคและพัฒนาการทางเศรษฐกิจ ตลอดจนจัดตั้งกลไกการทำงานต่างๆ ของอาเซียนที่มีประสิทธิภาพ
พิธีเปิด
7. ผู้ที่มาเป็นเกียรติในพิธีเปิด ได้แก่ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลปาปัว นิวกีนี ซึ่งเป็นประเทศ ผู้สังเกตการณ์ของอาเซียน ฯพณฯ นายโฮเซ รามอส ฮอร์ตา รัฐมนตรีอาวุโสและรัฐมนตรีต่างประเทศและความร่วมมือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์ ซึ่งเป็นแขกของประธานคณะกรรมการประจำอาเซียน ครั้งที่ 37
8. เรารู้สึกขอบคุณ ที่ ฯพณฯ นางเมฆาวาตี ซูการ์โนบุตรี ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ให้เกียรติกล่าวสุนทรพจน์ ซึ่งมีใจความว่า
ก. แม้ว่าในอดีตอาเซียนจะประสบความสำเร็จในการเป็นพลังเพื่อสันติภาพ ความมั่นคง และความมั่งคั่งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก แต่อาเซียนจะต้องแสวงหาวิธีในการรับมือกับสิ่งท้าทายที่หลากหลายทั้งในปัจจุบันและในอนาคต อาทิ การดำเนินการฝ่ายเดียวที่เพิ่มขึ้น ข้อพิพาททั้งใหม่และทั้งที่กำลังดำเนินอยู่ สถานการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาคและระหว่างประเทศที่อ่อนไหว โรคระบาดใหม่ๆ และโรคที่มีอยู่เดิม ตลอดจนอาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การก่อการร้าย เป็นต้น
ข.โดยที่มาตรการที่มีอยู่เริ่มจะไม่เพียงพอ อาเซียนจึงไม่สามารถดำเนินการด้วย มาตรการแบบเดิมๆ แต่ต้องรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ด้วยปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ และด้วยศักยภาพทั้งหมดที่มี
ค. ปฏิญญาความร่วมมืออาเซียน ฉบับที่ 2 และเป้าประสงค์ของปฏิญญาฯ กล่าวคือ ประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วย ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน จะเป็นกรอบกำหนดแนวทางเพื่อให้อาเซียนสามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน
ง. การดูแลกิจการภายในของแต่ละประเทศให้เรียบร้อยและการส่งเสริมความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันจะช่วยให้อาเซียนสามารถรับมือกับพลวัตของสภาพแวดล้อมในภูมิภาคและระหว่างประเทศ ตลอดจนกระบวนการในกรอบอาเซียน+3 ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จ. ในขณะที่ ประชาธิปไตยกำลังแพร่ขยายไปทุกมุมโลก ภูมิภาคเอเชียถือว่าโชคดีเพราะว่าประชาธิปไตยในภูมิภาคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะถูกบังคับ หรือเป็นเพียงการลอกเลียนแบบระบบของตะวันตก อันจะเห็นได้ชัดเจนจากการจัดการเลือกตั้งที่เสรี โปร่งใส และประสบผลสำเร็จในสาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย ศรีลังกา อินเดีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
ประชาคมอาเซียน
9. เราจะดำเนินการเพื่อสนับสนุนมติของผู้นำของเราที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่ง ประกอบด้วย 3 เสาหลัก กล่าวคือความร่วมมือด้านการเมืองความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งต่างสอดคล้องและเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคงและความมั่งคั่งที่ยั่งยืน เราได้มีพัฒนาการอย่างมากในการจัดทำร่างแผนปฏิบัติการของทั้งสามเสาหลักตามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือ อาเซียน ฉบับที่ 2 ในช่วงเก้าเดือนที่ผ่านมาตั้งแต่ได้มีการรับรองปฏิญญาฯ เพื่อเป็นพื้นฐานของการดำเนินการเพื่อการรวมตัวอย่างสมบูรณ์
แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์
10. เรารับทราบด้วยความพอใจกับรายงานการประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฮานอย และเห็นพ้องว่าการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฮานอยที่ประสบผลสำเร็จเป็นผลดีอย่างมากต่อการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ตามวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 และปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน
11. เราหารือเกี่ยวกับร่างแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์และเห็นควรให้ร่างสอดคล้องกับเป้าหมาย และเป้าประสงค์ที่ปรากฏในวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 และปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ฉบับที่ 2 ในฐานะที่ร่างแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์จะเป็นแผนปฏิบัติการที่ต่อเนื่องจากแผนปฏิบัติการฮานอย ร่างแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์เป็นแผนปฏิบัติการที่มีวาระ 6 ปี เพื่อบรรลุเป้าหมายระยะกลางในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการส่งเสริมการรวมตัวในภูมิภาคและการลดช่องว่างของระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสมาชิกที่มีระดับการพัฒนาน้อยที่สุด
ประชาคมความมั่นคงอาเซียน
แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน
12. เราชื่นชมอินโดนีเซียที่ยกร่างและปรับปรุงร่างแผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียน และยินดีกับการดำเนินการของจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนในการปรับปรุงร่างแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ตลอดจนให้ความเห็นชอบต่อร่างที่เจ้าหน้าที่อาวุโสจัดเตรียม เรายังเห็นชอบให้เสนอร่างแผนปฏิบัติการฯ เพื่อให้ผู้นำอาเซียนให้การรับรอง ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ณ เวียงจันทน์ เพื่อแนบท้ายกับปฏิญญาความร่วมมืออาเซียน ฉบับที่ 2 เราหวังให้รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียรายงานเรื่องนี้ต่อผู้นำอาเซียนในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนต่อไป
ความร่วมมือด้านการเมือง
13. เราได้หารือประเด็นทางการเมืองในกรอบอาเซียนหลายประเด็น โดยคำนึงถึงหลักการสำคัญของการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกันภายใต้ความเป็นครอบครัวอาเซียน
14. เราแสดงความยินดีกับมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่ประสบความสำเร็จในการจัดการเลือกตั้งที่เสรีและสันติ เราเชื่อว่า การเลือกตั้งนี้จะเอื้อต่อการนำมาซึ่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นกลาง มีประชาธิปไตย และสงบสุข ดังที่ปรากฏในปฏิญญาความร่วมมืออาเซียน ฉบับที่ 2 เราหวังว่าอินโดนีเซียจะประสบผลสำเร็จในการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งแรกที่จะมีขึ้นด้วย
15. เรารับทราบการบรรยายสรุปจากพม่าเกี่ยวกับการจัดการประชุมสมัชชาแห่งชาติและพัฒนาการในเรื่องดังกล่าว เรารับทราบศักยภาพของสมัชชาในการปูทางไปสู่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่และการจัดการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญดังกล่าว เราระลึกถึงและเน้นย้ำถึงนัยสำคัญของแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 36 และแถลงการณ์ของประธานของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ในการนี้ เราได้ย้ำถึงความจำเป็นที่ทุกส่วนของสังคมพม่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องในการประชุมสมัชชาแห่งชาติที่ดำเนินอยู่ เราสนับสนุนให้ทุกฝ่ายในพม่าดำเนินความพยายามเพิ่มเติมเพื่อประกันว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยจะเป็นไปโดยราบรื่น เรายอมรับในบทบาทของผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติในการช่วยเหลือพม่าให้บรรลุตามเป้าหมายดังกล่าว
สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
16. เราย้ำถึงความสำคัญของสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติหลักในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเป็นกลไกทางการทูตในการเสริมสร้างสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค เรายังได้ย้ำความมุ่งมั่นของเราที่จะส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพ ในการนี้ เรายินดีที่สาธารณรัฐประชาชนจีนและอินเดียภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน และการประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ณ เกาะบาหลี เมื่อเดือนตุลาคม 2546 และการภาคยานุวัติสนธิสัญญาฯ ของญี่ปุ่นและปากีสถาน ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 อีกทั้ง สนับสนุนให้ประเทศนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคยานุวัติสนธิสัญญาฯ
สนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
17. เราย้ำความสำคัญของความพยายามอย่างแข็งขันในการส่งเสริมความร่วมมือในการนำสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาปฏิบัติ เพื่อส่งเสริม จุดมุ่งหมายและเป้าประสงค์ของสนธิสัญญาฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ภาคยานุวัติสนธิสัญญาฯ เราเห็นพ้องที่จะดำเนินการร่วมกันในบรรยากาศแห่งความเป็นมิตรและความร่วมมือ เพื่อหาทางออกสำหรับประเด็นที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ และเรียกร้องให้ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์แสดงความยืดหยุ่นอย่างเต็มที่และร่วมมือกับอาเซียนเพื่อการนี้ และยินดีที่จีนแสดงความพร้อมที่จะลงนามพิธีสารแนบท้ายสนธิสัญญาฯ ของจีน
การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก
18. เรายินดีต่อคำยืนยันของผู้นำอาเซียน ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ถึงบทบาทของการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย- แปซิฟิก ในการเป็นเวทีหลักเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ตลอดจนเป็นกลไกหลักในการเสริมสร้างสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค เรามุ่งมั่นที่จะดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าอาเซียนจะยังคงดำเนินการเพื่อส่งเสริมบทบาทนำ อีกทั้ง ส่งเสริมความร่วมมือในการผลักดันให้กระบวนการการประชุมฯ มีความคืบหน้า ซึ่งเอื้อต่อการ คงไว้ซึ่งสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
19. เราแสดงความชื่นชมประธานการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก ที่ได้ริเริ่มดำเนินการเพื่อส่งเสริมบทบาทของประธานและมี ความเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการส่งเสริมการประชุมอาเซียน ว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก
20. เรารับรองการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อดูแลงานการประชุมฯ ในสำนักเลขาธิการอาเซียนและเชื่อว่าจะเอื้อต่อกระบวนการขับเคลื่อนให้การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิกมีความคืบหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทนำของอาเซียนและการส่งเสริมบทบาทของประธานในเวทีดังกล่าว
21. เราได้ยกเลิกการระงับการรับประเทศที่ต้องการเข้าร่วมการประชุมอาเซียนว่าด้วย ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งได้เคยตกลงกันไว้ และจะพิจารณาการสมัครของประเทศที่ต้องการเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวเป็นกรณีๆ ไป ในการนี้ เรายินดีกับความเห็นพ้องของประเทศที่เข้าร่วมการประชุมฯ ในการรับปากีสถานเข้าร่วมการประชุมฯ และหวังที่จะเห็นปากีสถานเข้าร่วมในการประชุมฯ และการที่ปากีสถานจะดำเนินการเพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ทะเลจีนใต้
22. เรายืนยันว่า ปฏิญญาว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในทะเลจีนใต้ ซึ่งเราได้ลงนามกับจีน เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ณ กรุงพนมเปญ เป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การรับรองแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ ซึ่งจำเป็นต่อการเสริมสร้างสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพในภูมิภาค เรายินดีกับการทบทวนการปฏิบัติตามข้อกำหนดในปฏิญญาฯ และการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและมาตรการความร่วมมือที่จะเอื้อต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคที่ยั่งยืน เราเรียกร้องประเทศที่เกี่ยวข้องให้หาวิธีรับมือกับปัญหาอย่างสันติ และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล เรายินดีกับข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนว่าด้วยการปฏิบัติตามปฏิญญาฯ ซึ่งรวมถึงการจัดตั้งคณะทำงานอาเซียน-จีนและการหากลไกตรวจสอบการปฏิบัติตาม เพื่อให้มีการปฏิบัติตามปฏิญญาฯ อย่างค่อยเป็นค่อยไป
23. เรายินดีกับความพยายามของรัฐบาลอินโดนีเซียในการจัดสัมมนาอย่างไม่เป็นทางการเรื่องการดำเนินการเพื่อจัดการข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในทะเลจีนใต้ ตั้งแต่ปี 2533 ซึ่งช่วยสร้างความสบายใจต่อกระบวนการแก้ไขปัญหาในทะเลจีนใต้ที่ดำเนินอยู่
24. เรารับทราบด้วยความชื่นชมข้อริเริ่มของรัฐบาลฟิลิปปินส์ในการจัดการฝึกซ้อมในทะเล ลูซอน (Exercise Luzon Sea Phrase I-Palawan Exercise) ซึ่งเป็นการดำเนินการตามบทที่ 9 ของอนุสัญญากฎหมายทางทะเลว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐที่มีเขตแดนติดกับทะเลปิดและทะเลกึ่งปิด และปรากฏอยู่ในย่อหน้าที่ 6 ของปฏิญญาฯ
อาชญากรรมข้ามชาติ
25. เรายินดีต่อแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 4 และแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน+3 ด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 8 และวันที่ 10 มกราคม 2547 ตามลำดับ ที่กรุงเทพฯ ในการนี้ เราได้ย้ำบทบาทหลักของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติที่มีข้อริเริ่มและความร่วมมือในระดับภูมิภาคในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ นอกจากนี้ เรายินดีที่มีการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนและจีน ว่าด้วยความร่วมมือในประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่เมื่อวัน ที่ 10 มกราคม 2547 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งกำหนดมาตรการที่เป็นรูปธรรมและสามารถนำไปปฏิบัติในการร่วมมือด้านความมั่นคงรูปแบบใหม่ รวมทั้งการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างอาเซียนและจีน เรายินดีที่ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วย การลักลอบค้ามนุษย์ การค้ามนุษย์ข้ามชาติ และอาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ (กระบวนการบาหลี) มีความคืบหน้า ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของภูมิภาคและประเทศสมาชิกในการต่อต้านการลักลอบ ค้ามนุษย์และการค้ามนุษย์ข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างจิตสำนึกของประชาชน การพัฒนากฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมาย
การก่อการร้าย
26. เราประณามการก่อการร้ายในทุกรูปแบบและวิธีการอย่างยิ่งยวด และย้ำถึงความจำเป็น ในการแก้ไขปัญหาที่ต้นตอของการก่อการร้าย อีกทั้งไม่ยินยอมให้มีความพยายามที่จะเชื่อมโยงการก่อการร้ายกับศาสนา เชื้อชาติ สัญชาติ หรือกลุ่มเชื้อชาติใดๆ เราได้ทบทวนความร่วมมือที่แน่นแฟ้นระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการต่อต้านการก่อการร้าย นำมาซึ่งความสามารถในการจับกุมบุคคลที่มีส่วนร่วมในการกระทำการก่อการร้าย และช่วยยับยั้งการเกิดการก่อการร้าย เราขอเรียกร้องให้เพิ่มความพยายามร่วมกันและการประสานงาน ตลอดจนข้อริเริ่มที่เป็นรูปธรรมในทุกระดับในการต่อต้านการก่อการร้าย
27. เราได้สานต่อความตั้งใจจริงที่จะเสริมสร้างการประสานงานและความร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศในการต่อต้านการก่อการร้ายสากล และขอชมเชยที่มีการดำเนินการ ตามแผนปฏิบัติการอาเซียน-สหรัฐฯ เพื่อต่อต้านการก่อการร้าย เพื่อให้เป็นไปตามปฏิญญาร่วมอาเซียน-สหรัฐฯ ว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายสากล อีกทั้งแสดงความยินดีและมุ่งหวังให้มีการปฏิบัติตามปฏิญญาร่วมระหว่างอาเซียน-อินเดียว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ซึ่งรับรองโดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนตุลาคม 2546 และการให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกกับความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายสากลและอาชญากรรมข้ามชาติในกรอบการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยเฉพาะการประชุมระหว่างปีว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ เรามุ่งหวังให้มีการลงนามในปฏิญญาร่วมอาเซียน-ออสเตรเลียว่าด้วยความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายสากล และปฏิญญาร่วมอาเซียน-รัสเซียว่าด้วยความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายสากล อีกทั้ง เรามุ่งหวังให้มีการปฏิบัติตามปฏิญญาร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งรับรองโดยการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ เมื่อเดือนมกราคม 2546
28. เราขอชมเชยการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายที่เกาะบาหลีระหว่างวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2547 และยินดีกับผลที่เป็นรูปธรรมของการประชุมดังกล่าว ซึ่งเอื้อต่อการดำเนินการต่อต้านการก่อการร้ายในระดับประเทศ ภูมิภาค และระหว่างประเทศ เรายินดีต่อการจัดตั้งศูนย์จาการ์ตาเพื่อความร่วมมือให้มีการดำเนินการตามกฏหมายและได้รับทราบเกี่ยวกับอาณัติของศูนย์ฯ ในการเชื่อมโยงกับศูนย์ในระดับภูมิภาคอื่นๆ อาทิ สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่กรุงเทพฯ และศูนย์ต่อต้านการก่อการร้ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กรุง กัวลาลัมเปอร์ บนพื้นฐานของการเกื้อหนุนซึ่งกันและกันและการไม่ซ้ำซ้อนของกิจกรรมต่างๆ เรามุ่งหวังที่จะร่วมมือกันในการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการก่อการร้ายต่อไป โดยผ่านศูนย์ดังกล่าว
ความร่วมมือทางทะเลของอาเซียน
29. เราได้ย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือทางทะเลเพื่อที่จะวิวัฒนาการไปสู่ประชาคมความมั่นคงอาเซียน และเห็นชอบให้มีการส่งเสริมความร่วมมือรอบด้านระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอีกทั้งแสวงหาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งกรอบการประชุมว่าด้วยความร่วมมือทางทะเลของอาเซียน
ความร่วมมือด้านอื่นๆ
30. เราได้ย้ำพันธกรณีที่จะปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ในการนี้ เราได้รับทราบถึงความพยายามของอาเซียนและการหารืออย่างต่อเนื่องกับกลไกคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียน ซึ่งเป็นองค์กรที่มิใช่ภาครัฐ รวมทั้งความพยายามที่จะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างกลุ่มต่างๆ ในอาเซียนเพื่อจะสามารถบรรลุการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชน เรารับทราบ ผลการประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนและคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2547 เรายินดีกับการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนระดับชาติในประเทศสมาชิกบางประเทศ อีกทั้งได้รับทราบข้อสรุปและข้อเสนอแนะของการประชุมคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียนระดับภูมิภาค ครั้งที่ 4 ที่กรุงจาการ์ตา ระหว่างวันที่ 17-18 มิถุนายน 2547
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
31. เราชมเชยการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนตามมติที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 โดยเฉพาะความคืบหน้าในการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อเร่งรัดการรวมตัวของสินค้าและบริการ 11 สาขา และชมเชยข้อตัดสินใจของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่ ให้จัดทำแผนการดำเนินการของการรวมตัวสำหรับแต่ละสาขา โดยให้เสนอแผนการดำเนินการดังกล่าว รวมทั้งกรอบความตกลงเพื่อชี้นำการดำเนินการตามแผนงานของสินค้าและบริการ 11 สาขา ให้ผู้นำอาเซียนลงนามในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ที่เวียงจันทน์
32. เรายินดีกับการเจรจาที่กำลังดำเนินอยู่เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีระดับภูมิภาค เช่น หุ้นส่วนเศรษฐกิจที่รอบด้านระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน และ อาเซียน-อินเดีย ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะนำไปสู่เป้าหมายในการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
33. เรายินดีที่มีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาทั้งในระดับภูมิภาคและทวิภาคี และชมเชยความพยายามของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับอาเซียนโดยผ่านกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจที่รอบด้านอาเซียน-จีน กรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่รอบด้านอาเซียน-ญี่ปุ่น กรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจที่รอบด้านอาเซียน-อินเดีย และข้อริเริ่มเกี่ยวกับการค้าระดับภูมิภาคระหว่างสหภาพยุโรป-อาเซียน เรายินดีเช่นกันกับข้อเสนอของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเริ่มการเจรจาเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในปีนี้ และเรียกร้องให้จัดทำกรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ให้เสร็จโดยเร็ว เรายินดีกับการศึกษาร่วมระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลีเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่รอบด้านที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำหรับการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี เราติดตามด้วยความสนใจการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีระดับทวิภาคีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาที่กำลังดำเนินอยู่
(ยังมีต่อ).../ข้อริเริ่ม..