กรุงเทพ--6 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน
34. เรามีความพอใจกับความคืบหน้าโดยรวมของการดำเนินโครงการของกรอบข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน และย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องหาเงินสนับสนุนสำหรับการดำเนินโครงการที่เหลือ เราเรียกร้องให้กำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์ใหม่สำหรับการระดมเงินสนับสนุนให้ได้มากขึ้นจากภายในอาเซียน ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน และประเทศที่สนใจอื่นๆ ในการนี้ เรามียินดีที่มีความริเริ่มที่จะจัดตั้งกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศกับประเทศสมาชิกใหม่ คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม เพื่อร่วมกันผลักดันให้มีความคืบหน้าในการดำเนินโครงการของกรอบข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน และเรียกร้องให้ประเทศจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีร่วมกันช่วยดำเนินโครงการของกรอบข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียนกับประเทศสมาชิกอาเซียน
เขตเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค
35. เรายืนยันอีกครั้งถึงบทบาทของเขตเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคที่ช่วยลดช่องว่างด้านการพัฒนาในอาเซียนและยินดีที่ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ภาคเอกชน และธนาคารพัฒนาแห่งเอเชียให้การสนับสนุนเขตเศรษฐกิจดังกล่าว
36. เรารู้สึกขอบคุณที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนส่งคณะไปเยือนเขตพัฒนาเศรษฐกิจด้านตะวันออกของอาเซียน (บรูไน ดารุสซาลาม-อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ฟิลิปปินส์) และยินดีที่ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีสนับสนุนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจดังกล่าว และรับทราบถึงความสนใจของเขตปกครองพิเศษทางเหนือของออสเตรเลียที่จะพัฒนาจัดตั้งความเชื่อมโยงและหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกับเขตเศรษฐกิจด้านตะวันออกของอาเซียน
37. เราทบทวนพัฒนาการของความร่วมมือในกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่ม น้ำโขง และรับทราบว่าประเทศคู่เจรจาของอาเซียนได้ตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือทางวิชาการกับโครงการรถไฟเชื่อมโยงสิงคโปร์-คุนหมิง ซึ่งเป็นโครงการหลักที่สำคัญของกรอบความร่วมมือดังกล่าว เรายินดีที่สาธารณรัฐเกาหลีให้เงินสนับสนุนการทำการศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างเส้นทางรถไฟช่วงที่ขาดและเส้นทางเชื่อมต่อของเส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิงในส่วนที่อยู่ในกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม และรู้สึกขอบคุณที่สาธารณรัฐประชาชนจีนจะให้เงินสนับสนุนแก่กัมพูชาในการเตรียมการสำหรับการสร้างและปรับปรุงเส้นทางรถไฟในกัมพูชาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง รวมทั้งที่มาเลเซียจะให้ความช่วยเหลือแก่กัมพูชาในการสร้างเส้นทางส่วนที่ขาดระหว่างปอยเปต-ศรีโสภณจำนวน 48 กิโลเมตร ที่ประชุมรับทราบว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงการแรกในกรอบความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียนที่ได้รับความช่วยเหลือจากประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม พัฒนาการดังกล่าวนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะนำไปสู่การดำเนินโครงการรถไฟเชื่อมโยงสิงคโปร์-คุนหมิง เรายินดีเช่นกันที่ญี่ปุ่นจะให้เงินสนับสนุนการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
บทบาทของภาคเอกชน
38. โดยตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค เรายินดีที่สภาที่ปรึกษาด้านธุรกิจของอาเซียนจะจัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับภาคเอกชนและจะร่วมกับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติของประเทศลาวจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนด้านธุรกิจและการลงทุน ครั้งที่ 2 ก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ที่เวียงจันทน์
ประชาคมแห่งสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
แผนปฏิบัติการประชาคมแห่งสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
39. เราขอชมเชยฟิลิปปินส์ที่จัดทำและกำหนดรายละเอียดของแผนปฏิบัติการของประชาคมแห่งสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และรับรองหลักการพื้นฐานที่ระบุในแผนปฏิบัติการฯ แผนปฏิบัติการดังกล่าวบรรจุองค์ประกอบ 4 ประการของประชาคมแห่งสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งรวมถึงการสร้างประชาคมของสังคมเอื้ออาทร การจัดการกับผลกระทบทางสังคมของการรวมตัวทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของภูมิภาค เรามุ่งหวังที่จะจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ให้เสร็จสำหรับเสนอให้ผู้นำอาเซียนพิจารณาให้การรับรองในการประชุมสุดยอด ครั้งที่ 10 ใน เดือนพฤศจิกายน 2547 เพื่อแนบกับปฏิญญาบาหลี ฉบับที่ 2
ความร่วมมืออาเซียนด้านสตรี
40. เรายินดีต่อการลงนามในปฏิญญาการขจัดความรุนแรงต่อสตรีในภูมิภาคอาเซียน เราเชื่อว่าปฏิญญาฯ จะช่วยเสริมสร้างความร่วมมือและการประสานงานในภูมิภาค เพื่อขจัดความรุนแรงต่อสตรีในภูมิภาค ไม่ว่าจะดำเนินการโดยแต่ละประเทศหรือดำเนินการร่วมกัน
โรคติดต่อ
41. เราชื่นชมต่อมติของที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโรคในสัตว์ปีก เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2547 ที่กรุงเทพฯ ที่ได้สะท้อนถึงความพยายามอย่างแข็งขันร่วมกันเพื่อต่อสู้ไข้หวัดนกในภูมิภาค ในการนี้ เราตกลงที่จะคงความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเสริมสร้างความร่วมมือให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออื่นๆ โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาโดยผ่านทางเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคของอาเซียนและการเพิ่มความร่วมมือกับองค์การอนามัยโรค
42. เราให้ความสำคัญต่อการจัดการกับปัญหาเชื้อเอชไอวี/เอดส์และจะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกเพื่อต่อสู้กับโรคร้ายแรงดังกล่าว ในการนี้ เราสนับสนุนประเทศไทยในการจัดการประชุมระหว่างประเทศ ด้านเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ครั้งที่ 15 และการประชุมระดับรัฐมนตรีของเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ ในเดือนกรกฎาคม 2547
สิ่งแวดล้อม
43. เรารับทราบความพยายามของอาเซียนที่จะจัดทำกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรชีวภาพและพันธุกรรมอย่างเสมอภาคให้เสร็จสิ้นภายในปี 2547
44. เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนการดำเนินการโจฮันเนสเบอร์ก เราเรียกร้องให้มีความร่วมมือกับอนุภูมิภาคอื่นๆ โดยผ่านโครงการหุ้นส่วนต่างๆ กับประเทศคู่เจรจา ประเทศอื่นๆ และองค์การภูมิภาคและระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในสาขา 10 สาขาความร่วมมือหลัก ในการนี้ เราเรียกร้องให้ประเทศที่พัฒนาแล้วปฏิบัติตามพันธะของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนด้านการเงิน การเสริมสร้างขีดความสามารถ และการส่งเสริมการถ่ายโอนด้านเทคโนโลยีให้กับประเทศกำลังพัฒนา
45. เราชื่นชมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมและยินดีที่ความตกลงอาเซียนว่าด้วยหมอกควันอันเป็นมลพิษข้ามแดนมีผลบังคับใช้แล้ว เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 และตั้งใจที่จะส่งเสริมความร่วมมือภายใต้กรอบการดำเนินการของความตกลงดังกล่าว
46. เราเห็นความสำคัญของการสนับสนุนความร่วมมือในด้านน้ำ สุขอนามัย พลังงาน สาธารณสุข การเกษตรและความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยการเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจนระหว่างอาเซียนกับองค์การอนุภูมิภาคอื่นๆ
ความสัมพันธ์กับภายนอก
47. เราได้รับทราบพัฒนาการและความก้าวหน้าของความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาในด้านต่างๆ และยินดีที่ทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินมาตรการเพื่อส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนกับประเทศคู่เจรจา ในด้านความร่วมมือด้านการพัฒนา เราย้ำถึงความสำคัญของการยึดมั่นในหลักการว่าด้วยการไม่เลือกปฏิบัติ และการดำเนินกิจกรรมที่อาเซียนมีส่วนร่วมในฐานะองค์กรภูมิภาคที่เป็นหนึ่งเดียว ที่ประชุมเชื่อมั่นว่า ความร่วมมือที่เข้มแข็งและความเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดระหว่างอาเซียนและคู่เจรจาจะมีส่วนช่วยรักษาสันติภาพและความมั่นคงและเร่งการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคและ ในโลก
48. เรามีความพอใจในความก้าวหน้าโดยรวมของความร่วมมือในกรอบอาเซียน+3 เรา ได้ยืนยันความตั้งใจที่จะคงผลักดันความร่วมมืออาเซียน+3 ต่อไป รวมทั้งร่วมมือกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีในการส่งเสริมความร่วมมือเอเชียตะวันออกผ่านกระบวนการดังกล่าว เราย้ำว่า ประชาคมเอเชียตะวันออกคือเป้าหมายระยะยาวของความร่วมมือเอเชียตะวันออก ซึ่งควรจะพัฒนาผ่านกลไกอาเซียน+3 ที่มีอยู่ และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่จะจัดการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกในเวลาอันควร
49. เรายินดีกับการจัดตั้งหน่วยประสานงานความร่วมมืออาเซียน+3 ในสำนักเลขาธิการ อาเซียน ซึ่งจะช่วยประธานอาเซียนประสานงานความร่วมมือในกรอบอาเซียน+3 เรามีความยินดีกับความคืบหน้าในการดำเนินมาตรการความร่วมมือระยะสั้น 17 มาตรการที่เสนอแนะโดย กลุ่มศึกษาเอเชียตะวันออกเมื่อปี 2545 และเรียกร้องให้เริ่มการดำเนินมาตรการที่เหลืออย่าง รวดเร็ว เราได้รับทราบถึงข้อริเริ่มอื่นๆ เพื่อส่งเสริมความร่วมมืออาเซียน+3 รวมทั้ง สภาเอเชียตะวันออกซึ่งจัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เราพอใจกับการจัดประชุมเครือข่ายคลังสมองเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 2 ที่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 16-17 สิงหาคม 2547 และการประชุมเวที เอเชียตะวันออกครั้งที่ 2 ที่ประเทศมาเลเซีย ในวันที่ 6-7 ธันวาคม 2547
50. เราได้รับทราบว่าภายใต้รูปแบบใหม่ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา อาเซียนจะมีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกับคู่เจรจา 6 การประชุมกับออสเตรเลีย แคนาดา สหภาพยุโรป นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ที่กรุงจาการ์ตา ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 และหารือกับประเทศคู่เจรจาจากจีน อินเดีย ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ในการประชุมแยกต่างหากรวม 4 การประชุม ก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียนที่เวียงจันทน์ ในเดือนพฤศจิกายน
51. เราเห็นชอบกับข้อเสนอแนะของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนต่อผู้นำอาเซียนที่ให้จัด การประชุมสุดยอดกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งควรกำหนดให้เป็นการประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์สมัยพิเศษ การประชุมสุดยอดสมัยพิเศษดังกล่าวจะเป็นการประชุม ครั้งเดียวจบและครอบคลุมทุกหัวข้อที่มีความสนใจร่วมกัน โดยจะจัดขึ้นในช่วงบ่ายหลังการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 และการประชุมสุดยอดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในเดือนพฤศจิกายนที่เวียงจันทน์
52. เราสนับสนุนการปฏิรูปองค์การสหประชาชาติที่กำลังดำเนินอยู่เพื่อให้ระบบสหประชาชาติมีประสิทธิภาพมากขึ้น และการประชุมของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับประธานคณะผู้เชี่ยวชาญดูแลเรื่องการปฏิรูปองค์การสหประชาชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดนเลขาธิการสหประชาชาติ เรายินดีต่อแนวปฏิบัติใหม่ในการจัดการหารือกับเลขาธิการสหประชาชาติระหว่างสมัยประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ในการนี้ เรากำลังพิจารณาเรื่องการสมัคร สถานะผู้สังเกตการณ์ในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เราเชื่อว่าการสถาปนาความสัมพันธ์ในระดับสถาบันกับสหประชาชาติจะสนับสนุนการจัดตั้งประชาคมอาเซียน รวมทั้งความพยายามในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติตามที่ได้ระบุไว้ในข้อมติสมัชชาสหประชาชาติที่ 57/35 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 เรื่อง “ความร่วมมือระหว่างองค์การสหประชาชาติกับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”) เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในองค์การสหประชาชาติ เรายืนยันอีกว่า คณะผู้แทนถาวรของประเทศสมาชิกอาเซียนและสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำสหประชาชาติสามารถหารือกันอย่างสม่ำเสมอ เราสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่มเอเชีย เพื่อย้ำว่าเป็นวาระของเอเชียที่จะเป็นเลขาธิการสหประชาชาติ
การแลกเปลี่ยนสถานการณ์ระหว่างประเทศและในภูมิภาค
อิรัก
53. เรายินดีกับการคืนอำนาจอธิปไตยให้อิรักในวันที่ 28 มิถุนายน 2547 เราย้ำความจำเป็นที่จะต้องให้การถ่ายโอนอำนาจอธิปไตยสำเร็จสมบูรณ์ รวมทั้งที่จะให้มีการนำข้อมติสหประชาชาติที่ 1546 (2004) เรื่องอิรัก มาปฏิบัติอย่างเต็มที่ เราได้ย้ำถึงบทบาทหลักขององค์การสหประชาชาติในขั้นตอนการถ่ายโอนอำนาจจากรัฐบาลเฉพาะกาลของอิรักสู่รัฐบาลประชาธิปไตย ในขั้นตอนการฟื้นฟู และการพัฒนาประเทศ เราแสดงความกังวลต่อสถานการณ์ความมั่นคงในประเทศที่เลวร้าย และเราหวังว่าจะสามารถหาทางออกที่ยั่งยืนเพื่อบรรลุสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพสำหรับความอยู่ดีมีสุขของประชาชนชาวอิรัก
ตะวันออกกลาง
54. เราแสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เลวร้ายลงในดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูก ยึดครอง ซึ่งรวมถึงเยรูซาเล็มตะวันออก เราประณามการกระทำรุนแรงทุกรูปแบบ เราเชื่อมั่นว่าหากไม่ตรวจสอบการกระทำรุนแรงดังกล่าวจะเป็นการทำลายความพยายามที่จะสร้างสันติภาพ ในตะวันออกกลางและทำให้ความทุกข์ยากของประชาชนในเขตปาเลสไตน์ยืดเยื้อต่อไป เราเสียใจที่ยังไม่มีการนำแผนการดำเนินงานเพื่อสร้างสันติภาพในตะวันออกกลางมาปฏิบัติและแสดงความหวังว่าประชาคมระหว่างประเทศและกลุ่ม 4 ฝ่าย (สหรัฐฯ สหภาพยุโรป รัสเซีย และองค์การสหประชาชาติ) จะดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อสามารถดำเนินแผนการดำเนินงานดังกล่าวตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในการนี้ เราย้ำความจำเป็นที่จะต้องพยายามทุกอย่างเพื่อ รื้อฟื้นกระบวนการแก้ไขข้อขัดแย้งโดยถาวร ตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติที่ 242 และ 1515 เรามุ่งหวังให้สามารถบรรลุตามวิสัยทัศน์ของการจัดตั้งประเทศ 2 ประเทศ คือ อิสราเอล และปาเลสไตน์ ซึ่งอยู่ร่วมกันโดยสันติภาพในเขตแดนที่เป็นที่ยอมรับแล้ว เรายังย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของคณะมนตรีความมั่นคงเกี่ยวกับสถานการณ์ในเขตยึดครองของปาเลสไตน์และการหาข้อยุติต่อปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์โดยสันติวิธี
สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลี
55. เราตระหนักถึงผลกระทบของปัญหานิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลีต่อสันติภาพ สเถียรภาพ และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เราย้ำความจำเป็นที่ประเทศที่เกี่ยวข้องจะต้องหาแก้ไขปัญหาอย่างสันติ โดยผ่านการเจรจาบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันและเคารพซึ่งกันและกัน ในการนี้ เรายินดีกับการจัดการประชุม 6 ฝ่าย ของจีน เกาหลีเหนือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา เรารู้สึกยินดีและรับทราบผลประชุม 6 ฝ่ายทั้ง 3 ครั้ง รวมทั้งการเจรจารอบล่าสุดที่จัดขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 23-25 มิถุนายน 2547 เราเรียกร้องให้ทุกประเทศที่เกี่ยวข้องคงความพยายามในการหาทางออกที่ยั่งยืนเพื่อนำมาซึ่งสันติภาพ และเสถียรภาพบนคาบสมุทรเกาหลี ในส่วนของอาเซียน เราพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว
การประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกา ปี 2548 และการประชุมเฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปีของการประชุมเอเชีย-แอฟริกา ปี 2538
56. เรารำลึกถึงพันธกรณีของเราเมื่อการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 8 ณ กรุงพนมเปญ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 ในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับแอฟริกา ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างอาเซียนกับกรอบหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจใหม่เพื่อการพัฒนาแอฟริกา ในการนี้ เรายินดีกับการตัดสินใจของอินโดนีเซียที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกา ในวันที่ 21-23 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการเฉลิมฉลอง 50 ปี การประชุมเอเชีย-แอฟริกา ตั้งแต่ปี 1955 การประชุมสุดยอดครั้งนี้จะเป็นการฟื้นฟูจิตวิญญาณของบันดุงของการประชุมเอเชีย-แอฟริกา เมื่อปี 2538 โดยจะริเริ่มความเป็นหุ้นส่วนทาง ยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อส่งเสริมสันติภาพ ความมั่งคั่ง และความก้าวหน้าในสองทวีป อีกทั้ง ส่งเสริมความพยายามของประเทศสมาชิกอาเซียนในการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันกับแอฟริกาภายใต้กรอบหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจใหม่เพื่อการพัฒนาแอฟริกา
ความร่วมมือเอเชีย
57. เราได้รับทราบถึงความคืบหน้าอันรวดเร็วของความร่วมมือเอเชีย ซึ่งประเทศไทยได้ริเริ่มเพื่อเป็นเวทีให้ประเทศในเอเชียทุกประเทศได้มาผนึกกำลังเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมสันติภาพ และความมั่งคั่งร่วมกันในภูมิภาค เรารู้สึกยินดีกับผลของการประชุมความร่วมมือเอเชียระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 21-22 มิถุนายน 2547 ที่ชิงเต่า ประเทศจีน ซึ่งได้กระชับโครงการความร่วมมือที่มีอยู่ปัจจุบันระหว่างประเทศสมาชิกความร่วมมือเอเชีย พร้อมทั้งขยายความร่วมมือในด้านอื่นๆ ที่อยู่ในความสนใจและผลประโยชน์ร่วมกัน
58. เราได้รับทราบด้วยความพอใจถึงความก้าวหน้าอย่างสำคัญของการพัฒนาตลาดพันธบัตรในภูมิภาค และในการนี้ เราจะพยายามนำปฏิญญาเชียงใหม่ว่าด้วยการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย ซึ่งได้รับการรับรองโดยการประชุมความร่วมมือเอเชียระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนมิถุนายน 2546 มาปฏิบัติ ซึ่งรวมทั้งการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียในอนาคต ซึ่งจะลงทุนในพันธบัตรเงินสกุลท้องถิ่น เสริมสร้างการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับตลาดเงินทุน พัฒนาตลาดเงินทุน และสนับสนุนความพยายามที่จะอำนวยความสะดวกแก่การลงทุนในภูมิภาคยุทธศาสตร์
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
59. เรายินดีกับการประชุมสุดยอดของยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี เจ้าพระยา แม่โขง ครั้งแรก ที่พุกาม ประเทศพม่า เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546 ซึ่งได้ก่อตั้งกรอบความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคกรอบใหม่เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอนุภูมิภาคแม่โขง อีกทั้ง เสริมสร้างกระบวนการรวมตัวและช่วยลดช่องว่างของการพัฒนาในภูมิภาค
เวทีความร่วมมือเอเชียตะวันออกและละตินอเมริกา
60. โดยตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาคเอเชียและลาตินอเมริกา เรายินดีกับความสำเร็จของการจัดประชุมความร่วมมือเอเชียตะวันออกและละติน อเมริกา ของฟิลิปปินส์ เราได้ย้ำความสนับสนุนต่อแผนปฏิบัติการมะนิลา ซึ่งได้ครอบคลุมประเด็นเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคงที่เป็นข้อกังวลร่วมกันของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา รวมทั้งได้ส่งเสริมการดำเนินงานของเวทีดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การประชุมเอเชีย-ยุโรป
61. เราได้แสดงการสนับสนุนอย่างเต็มที่ของอาเซียนต่อเวียดนามเพื่อให้การจัดการประชุมสุดยอดเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม 2547 ประสบผลสำเร็จ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมทำให้หุ้นส่วนเอเชีย-ยุโรปมีสาระสำคัญ เราเห็นว่า ความคืบหน้าของความร่วมมือเอเชีย-ยุโรปไม่ควรขึ้นอยู่กับเรื่องการขยายสมาชิกภาพของการประชุมเอเชีย-ยุโรป ในระหว่างนี้ เรารำลึกถึงพันธกรณีของผู้นำประเทศอาเซียนในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 ที่สิงคโปร์ เมื่อปี 2543 ที่จะให้ประเทศอาเซียนทั้ง 10 เข้าร่วมในการประชุมเอเชียยุโรป ในการนี้เรายืนยันการคงสนับสนุนของเราที่จะให้ประเทศอาเซียนที่เหลือกล่าวคือ กัมพูชา ลาว และพม่า เข้าร่วมการประชุมเอเชีย-ยุโรปพร้อมกัน
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก
62. เราได้ชมเชยความพยายามของเอเปคที่จะเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนภายในปี พ.ศ. 2553 และ 2563 ในการนี้ เราสนับสนุนการมีส่วนสนับสนุนของเอเปคต่อกระบวนการการเจรจาขององค์การการค้าโลกและเรียกร้องให้เอเปคสานต่อความพยายามนี้ เราสนับสนุนให้เอปคดำเนินความพยายามที่จะรักษาความปลอดภัยด้านการค้าและสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะช่วยลดช่องว่างระหว่างระบบเศรษฐกิจในภูมิภาค
องค์การการค้าโลก
63. เราได้ยินดีต่อข้อริเริ่มล่าสุดของสมาชิกองค์การการค้าโลกที่จะฟื้นฟูการเจรจาในรอบ โดฮา เราได้ยืนยันความพร้อมที่จะทำงานอย่างสร้างสรรค์กับสมาชิกองค์การการค้าโลกทั้งหมดเพื่อบรรลุผลตามเป้าหมายที่ระบุไว้ในปฏิญญาโดฮา ในการนี้ เราย้ำว่าประเด็นที่เกี่ยวกับการพัฒนาควรเป็นหัวข้อหลักของการเจรจาการค้าพหุภาคีต่อไป เราได้สนับสนุนให้คู่ค้าหลักของเรา โดยเฉพาะจากประเทศที่พัฒนาแล้วแสดงความยืดหยุ่นและคำนึงถึงความต้องการด้านการพัฒนาและผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลกที่กำลังพัฒนา เราได้ยืนยันที่จะคงสนับสนุนการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของลาวและเวียดนามในองค์การการค้าโลกโดยเร็ว
เป้าหมายการพัฒนาในสหัสวรรษขององค์การสหประชาขาติ
64. เราได้ย้ำว่า MDG ได้ระบุเป้าหมายเฉพาะไว้อย่างชัดเจนเพื่อที่จะให้ประเทศต่างๆ ดำเนินการตาม โดยการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประชาคมระหว่างประเทศ ในการนี้ เราได้ยืนยันพันธกรณีที่จะส่งเสริมความร่วมมือเพื่อบรรลุตามจุดประสงค์ของ MDG เราตั้งใจที่จะนำพันธกรณีมาปฏิบัติ รวมทั้งโดยการสร้างหุ้นส่วนความร่วมมืออย่างแท้จริงในระดับโลกและในภูมิภาคระหว่างรัฐบาล องค์การระหว่างประเทศ และผู้มีผลประโยชน์ร่วมที่เกี่ยวข้อง
65. เราได้เห็นพ้องว่า การบรรลุ MDG จะต้องใช้แนวทางที่ครอบคลุมซึ่งได้รับการรับรองโดยการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญซึ่งได้มีขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เช่น การประชุม Monterrey Consensus เมื่อเดือนมีนาคม 2545 Johannesburg Plan of Implementation เมือเดือนกันยายน 2545 การประชุมการค้าหลายฝ่ายรอบโดฮา เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 และ ปฏิญญาว่าด้วยหลักการและแผนปฏิบัติการของการประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยสังคมแห่งการเรียนรู้ เมื่อเดือนธันวาคม 2546
ประเด็นเกี่ยวกับสถาบันและการเปลี่ยนผู้ดำรงตำแหน่งประธานของอาเซียน
66. เราได้รับทราบถึงความสำคัญของการจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและ การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอีกครั้ง ตามมติของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 เพื่อฟื้นฟูกลไกการตัดสินใจจากผู้ปฏิบัติถึงผู้บริหาร การประชุมรัฐมนตรีร่วมดังกล่าวจะประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน การประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน และเลขาธิการอาเซียน
67. เราได้มอบหมายให้เลขาธิการอาเซียนและอธิบดีอาเซียนทำการศึกษาเกี่ยวกับกรอบโครงสร้างของอาเซียนเพื่อกำหนดว่าจะเสริมสร้างโครงการของอาเซียนอย่างไรเพื่อช่วยให้บรรลุผลในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน เราแสดงความชื่นชมเอกสารเรื่องการทบทวนกรอบโครงสร้างอาเซียน: ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุง ของมาเลเซีย
68. เราได้เลือกสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นประธาน และมาเลเซียเป็นรองประธานของคณะกรรมการประจำอาเซียน ครั้งที่ 38 เรามุ่งหวังที่จะเห็นการประชุมรัฐมนตรีร่วม การประชุมสุดยอดครั้งที่ 10 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่เวียงจันทน์ ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2547 รวมทั้งการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 38 การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน+3 การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศคู่เจรจา และการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 12 ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 กรกฎาคม 2548 ที่ประเทศลาว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน
34. เรามีความพอใจกับความคืบหน้าโดยรวมของการดำเนินโครงการของกรอบข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน และย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องหาเงินสนับสนุนสำหรับการดำเนินโครงการที่เหลือ เราเรียกร้องให้กำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์ใหม่สำหรับการระดมเงินสนับสนุนให้ได้มากขึ้นจากภายในอาเซียน ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน และประเทศที่สนใจอื่นๆ ในการนี้ เรามียินดีที่มีความริเริ่มที่จะจัดตั้งกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศกับประเทศสมาชิกใหม่ คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม เพื่อร่วมกันผลักดันให้มีความคืบหน้าในการดำเนินโครงการของกรอบข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน และเรียกร้องให้ประเทศจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีร่วมกันช่วยดำเนินโครงการของกรอบข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียนกับประเทศสมาชิกอาเซียน
เขตเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค
35. เรายืนยันอีกครั้งถึงบทบาทของเขตเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคที่ช่วยลดช่องว่างด้านการพัฒนาในอาเซียนและยินดีที่ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ภาคเอกชน และธนาคารพัฒนาแห่งเอเชียให้การสนับสนุนเขตเศรษฐกิจดังกล่าว
36. เรารู้สึกขอบคุณที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนส่งคณะไปเยือนเขตพัฒนาเศรษฐกิจด้านตะวันออกของอาเซียน (บรูไน ดารุสซาลาม-อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ฟิลิปปินส์) และยินดีที่ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีสนับสนุนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจดังกล่าว และรับทราบถึงความสนใจของเขตปกครองพิเศษทางเหนือของออสเตรเลียที่จะพัฒนาจัดตั้งความเชื่อมโยงและหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกับเขตเศรษฐกิจด้านตะวันออกของอาเซียน
37. เราทบทวนพัฒนาการของความร่วมมือในกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่ม น้ำโขง และรับทราบว่าประเทศคู่เจรจาของอาเซียนได้ตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือทางวิชาการกับโครงการรถไฟเชื่อมโยงสิงคโปร์-คุนหมิง ซึ่งเป็นโครงการหลักที่สำคัญของกรอบความร่วมมือดังกล่าว เรายินดีที่สาธารณรัฐเกาหลีให้เงินสนับสนุนการทำการศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างเส้นทางรถไฟช่วงที่ขาดและเส้นทางเชื่อมต่อของเส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิงในส่วนที่อยู่ในกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม และรู้สึกขอบคุณที่สาธารณรัฐประชาชนจีนจะให้เงินสนับสนุนแก่กัมพูชาในการเตรียมการสำหรับการสร้างและปรับปรุงเส้นทางรถไฟในกัมพูชาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง รวมทั้งที่มาเลเซียจะให้ความช่วยเหลือแก่กัมพูชาในการสร้างเส้นทางส่วนที่ขาดระหว่างปอยเปต-ศรีโสภณจำนวน 48 กิโลเมตร ที่ประชุมรับทราบว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงการแรกในกรอบความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียนที่ได้รับความช่วยเหลือจากประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม พัฒนาการดังกล่าวนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะนำไปสู่การดำเนินโครงการรถไฟเชื่อมโยงสิงคโปร์-คุนหมิง เรายินดีเช่นกันที่ญี่ปุ่นจะให้เงินสนับสนุนการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
บทบาทของภาคเอกชน
38. โดยตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค เรายินดีที่สภาที่ปรึกษาด้านธุรกิจของอาเซียนจะจัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับภาคเอกชนและจะร่วมกับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติของประเทศลาวจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนด้านธุรกิจและการลงทุน ครั้งที่ 2 ก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ที่เวียงจันทน์
ประชาคมแห่งสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
แผนปฏิบัติการประชาคมแห่งสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
39. เราขอชมเชยฟิลิปปินส์ที่จัดทำและกำหนดรายละเอียดของแผนปฏิบัติการของประชาคมแห่งสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และรับรองหลักการพื้นฐานที่ระบุในแผนปฏิบัติการฯ แผนปฏิบัติการดังกล่าวบรรจุองค์ประกอบ 4 ประการของประชาคมแห่งสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งรวมถึงการสร้างประชาคมของสังคมเอื้ออาทร การจัดการกับผลกระทบทางสังคมของการรวมตัวทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของภูมิภาค เรามุ่งหวังที่จะจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ให้เสร็จสำหรับเสนอให้ผู้นำอาเซียนพิจารณาให้การรับรองในการประชุมสุดยอด ครั้งที่ 10 ใน เดือนพฤศจิกายน 2547 เพื่อแนบกับปฏิญญาบาหลี ฉบับที่ 2
ความร่วมมืออาเซียนด้านสตรี
40. เรายินดีต่อการลงนามในปฏิญญาการขจัดความรุนแรงต่อสตรีในภูมิภาคอาเซียน เราเชื่อว่าปฏิญญาฯ จะช่วยเสริมสร้างความร่วมมือและการประสานงานในภูมิภาค เพื่อขจัดความรุนแรงต่อสตรีในภูมิภาค ไม่ว่าจะดำเนินการโดยแต่ละประเทศหรือดำเนินการร่วมกัน
โรคติดต่อ
41. เราชื่นชมต่อมติของที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโรคในสัตว์ปีก เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2547 ที่กรุงเทพฯ ที่ได้สะท้อนถึงความพยายามอย่างแข็งขันร่วมกันเพื่อต่อสู้ไข้หวัดนกในภูมิภาค ในการนี้ เราตกลงที่จะคงความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเสริมสร้างความร่วมมือให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออื่นๆ โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาโดยผ่านทางเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคของอาเซียนและการเพิ่มความร่วมมือกับองค์การอนามัยโรค
42. เราให้ความสำคัญต่อการจัดการกับปัญหาเชื้อเอชไอวี/เอดส์และจะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกเพื่อต่อสู้กับโรคร้ายแรงดังกล่าว ในการนี้ เราสนับสนุนประเทศไทยในการจัดการประชุมระหว่างประเทศ ด้านเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ครั้งที่ 15 และการประชุมระดับรัฐมนตรีของเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ ในเดือนกรกฎาคม 2547
สิ่งแวดล้อม
43. เรารับทราบความพยายามของอาเซียนที่จะจัดทำกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรชีวภาพและพันธุกรรมอย่างเสมอภาคให้เสร็จสิ้นภายในปี 2547
44. เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนการดำเนินการโจฮันเนสเบอร์ก เราเรียกร้องให้มีความร่วมมือกับอนุภูมิภาคอื่นๆ โดยผ่านโครงการหุ้นส่วนต่างๆ กับประเทศคู่เจรจา ประเทศอื่นๆ และองค์การภูมิภาคและระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในสาขา 10 สาขาความร่วมมือหลัก ในการนี้ เราเรียกร้องให้ประเทศที่พัฒนาแล้วปฏิบัติตามพันธะของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนด้านการเงิน การเสริมสร้างขีดความสามารถ และการส่งเสริมการถ่ายโอนด้านเทคโนโลยีให้กับประเทศกำลังพัฒนา
45. เราชื่นชมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมและยินดีที่ความตกลงอาเซียนว่าด้วยหมอกควันอันเป็นมลพิษข้ามแดนมีผลบังคับใช้แล้ว เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 และตั้งใจที่จะส่งเสริมความร่วมมือภายใต้กรอบการดำเนินการของความตกลงดังกล่าว
46. เราเห็นความสำคัญของการสนับสนุนความร่วมมือในด้านน้ำ สุขอนามัย พลังงาน สาธารณสุข การเกษตรและความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยการเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจนระหว่างอาเซียนกับองค์การอนุภูมิภาคอื่นๆ
ความสัมพันธ์กับภายนอก
47. เราได้รับทราบพัฒนาการและความก้าวหน้าของความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาในด้านต่างๆ และยินดีที่ทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินมาตรการเพื่อส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนกับประเทศคู่เจรจา ในด้านความร่วมมือด้านการพัฒนา เราย้ำถึงความสำคัญของการยึดมั่นในหลักการว่าด้วยการไม่เลือกปฏิบัติ และการดำเนินกิจกรรมที่อาเซียนมีส่วนร่วมในฐานะองค์กรภูมิภาคที่เป็นหนึ่งเดียว ที่ประชุมเชื่อมั่นว่า ความร่วมมือที่เข้มแข็งและความเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดระหว่างอาเซียนและคู่เจรจาจะมีส่วนช่วยรักษาสันติภาพและความมั่นคงและเร่งการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคและ ในโลก
48. เรามีความพอใจในความก้าวหน้าโดยรวมของความร่วมมือในกรอบอาเซียน+3 เรา ได้ยืนยันความตั้งใจที่จะคงผลักดันความร่วมมืออาเซียน+3 ต่อไป รวมทั้งร่วมมือกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีในการส่งเสริมความร่วมมือเอเชียตะวันออกผ่านกระบวนการดังกล่าว เราย้ำว่า ประชาคมเอเชียตะวันออกคือเป้าหมายระยะยาวของความร่วมมือเอเชียตะวันออก ซึ่งควรจะพัฒนาผ่านกลไกอาเซียน+3 ที่มีอยู่ และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่จะจัดการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกในเวลาอันควร
49. เรายินดีกับการจัดตั้งหน่วยประสานงานความร่วมมืออาเซียน+3 ในสำนักเลขาธิการ อาเซียน ซึ่งจะช่วยประธานอาเซียนประสานงานความร่วมมือในกรอบอาเซียน+3 เรามีความยินดีกับความคืบหน้าในการดำเนินมาตรการความร่วมมือระยะสั้น 17 มาตรการที่เสนอแนะโดย กลุ่มศึกษาเอเชียตะวันออกเมื่อปี 2545 และเรียกร้องให้เริ่มการดำเนินมาตรการที่เหลืออย่าง รวดเร็ว เราได้รับทราบถึงข้อริเริ่มอื่นๆ เพื่อส่งเสริมความร่วมมืออาเซียน+3 รวมทั้ง สภาเอเชียตะวันออกซึ่งจัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เราพอใจกับการจัดประชุมเครือข่ายคลังสมองเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 2 ที่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 16-17 สิงหาคม 2547 และการประชุมเวที เอเชียตะวันออกครั้งที่ 2 ที่ประเทศมาเลเซีย ในวันที่ 6-7 ธันวาคม 2547
50. เราได้รับทราบว่าภายใต้รูปแบบใหม่ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา อาเซียนจะมีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกับคู่เจรจา 6 การประชุมกับออสเตรเลีย แคนาดา สหภาพยุโรป นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ที่กรุงจาการ์ตา ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 และหารือกับประเทศคู่เจรจาจากจีน อินเดีย ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ในการประชุมแยกต่างหากรวม 4 การประชุม ก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียนที่เวียงจันทน์ ในเดือนพฤศจิกายน
51. เราเห็นชอบกับข้อเสนอแนะของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนต่อผู้นำอาเซียนที่ให้จัด การประชุมสุดยอดกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งควรกำหนดให้เป็นการประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์สมัยพิเศษ การประชุมสุดยอดสมัยพิเศษดังกล่าวจะเป็นการประชุม ครั้งเดียวจบและครอบคลุมทุกหัวข้อที่มีความสนใจร่วมกัน โดยจะจัดขึ้นในช่วงบ่ายหลังการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 และการประชุมสุดยอดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในเดือนพฤศจิกายนที่เวียงจันทน์
52. เราสนับสนุนการปฏิรูปองค์การสหประชาชาติที่กำลังดำเนินอยู่เพื่อให้ระบบสหประชาชาติมีประสิทธิภาพมากขึ้น และการประชุมของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับประธานคณะผู้เชี่ยวชาญดูแลเรื่องการปฏิรูปองค์การสหประชาชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดนเลขาธิการสหประชาชาติ เรายินดีต่อแนวปฏิบัติใหม่ในการจัดการหารือกับเลขาธิการสหประชาชาติระหว่างสมัยประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ในการนี้ เรากำลังพิจารณาเรื่องการสมัคร สถานะผู้สังเกตการณ์ในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เราเชื่อว่าการสถาปนาความสัมพันธ์ในระดับสถาบันกับสหประชาชาติจะสนับสนุนการจัดตั้งประชาคมอาเซียน รวมทั้งความพยายามในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติตามที่ได้ระบุไว้ในข้อมติสมัชชาสหประชาชาติที่ 57/35 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 เรื่อง “ความร่วมมือระหว่างองค์การสหประชาชาติกับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”) เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในองค์การสหประชาชาติ เรายืนยันอีกว่า คณะผู้แทนถาวรของประเทศสมาชิกอาเซียนและสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำสหประชาชาติสามารถหารือกันอย่างสม่ำเสมอ เราสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่มเอเชีย เพื่อย้ำว่าเป็นวาระของเอเชียที่จะเป็นเลขาธิการสหประชาชาติ
การแลกเปลี่ยนสถานการณ์ระหว่างประเทศและในภูมิภาค
อิรัก
53. เรายินดีกับการคืนอำนาจอธิปไตยให้อิรักในวันที่ 28 มิถุนายน 2547 เราย้ำความจำเป็นที่จะต้องให้การถ่ายโอนอำนาจอธิปไตยสำเร็จสมบูรณ์ รวมทั้งที่จะให้มีการนำข้อมติสหประชาชาติที่ 1546 (2004) เรื่องอิรัก มาปฏิบัติอย่างเต็มที่ เราได้ย้ำถึงบทบาทหลักขององค์การสหประชาชาติในขั้นตอนการถ่ายโอนอำนาจจากรัฐบาลเฉพาะกาลของอิรักสู่รัฐบาลประชาธิปไตย ในขั้นตอนการฟื้นฟู และการพัฒนาประเทศ เราแสดงความกังวลต่อสถานการณ์ความมั่นคงในประเทศที่เลวร้าย และเราหวังว่าจะสามารถหาทางออกที่ยั่งยืนเพื่อบรรลุสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพสำหรับความอยู่ดีมีสุขของประชาชนชาวอิรัก
ตะวันออกกลาง
54. เราแสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เลวร้ายลงในดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูก ยึดครอง ซึ่งรวมถึงเยรูซาเล็มตะวันออก เราประณามการกระทำรุนแรงทุกรูปแบบ เราเชื่อมั่นว่าหากไม่ตรวจสอบการกระทำรุนแรงดังกล่าวจะเป็นการทำลายความพยายามที่จะสร้างสันติภาพ ในตะวันออกกลางและทำให้ความทุกข์ยากของประชาชนในเขตปาเลสไตน์ยืดเยื้อต่อไป เราเสียใจที่ยังไม่มีการนำแผนการดำเนินงานเพื่อสร้างสันติภาพในตะวันออกกลางมาปฏิบัติและแสดงความหวังว่าประชาคมระหว่างประเทศและกลุ่ม 4 ฝ่าย (สหรัฐฯ สหภาพยุโรป รัสเซีย และองค์การสหประชาชาติ) จะดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อสามารถดำเนินแผนการดำเนินงานดังกล่าวตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในการนี้ เราย้ำความจำเป็นที่จะต้องพยายามทุกอย่างเพื่อ รื้อฟื้นกระบวนการแก้ไขข้อขัดแย้งโดยถาวร ตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติที่ 242 และ 1515 เรามุ่งหวังให้สามารถบรรลุตามวิสัยทัศน์ของการจัดตั้งประเทศ 2 ประเทศ คือ อิสราเอล และปาเลสไตน์ ซึ่งอยู่ร่วมกันโดยสันติภาพในเขตแดนที่เป็นที่ยอมรับแล้ว เรายังย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของคณะมนตรีความมั่นคงเกี่ยวกับสถานการณ์ในเขตยึดครองของปาเลสไตน์และการหาข้อยุติต่อปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์โดยสันติวิธี
สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลี
55. เราตระหนักถึงผลกระทบของปัญหานิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลีต่อสันติภาพ สเถียรภาพ และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เราย้ำความจำเป็นที่ประเทศที่เกี่ยวข้องจะต้องหาแก้ไขปัญหาอย่างสันติ โดยผ่านการเจรจาบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันและเคารพซึ่งกันและกัน ในการนี้ เรายินดีกับการจัดการประชุม 6 ฝ่าย ของจีน เกาหลีเหนือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา เรารู้สึกยินดีและรับทราบผลประชุม 6 ฝ่ายทั้ง 3 ครั้ง รวมทั้งการเจรจารอบล่าสุดที่จัดขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 23-25 มิถุนายน 2547 เราเรียกร้องให้ทุกประเทศที่เกี่ยวข้องคงความพยายามในการหาทางออกที่ยั่งยืนเพื่อนำมาซึ่งสันติภาพ และเสถียรภาพบนคาบสมุทรเกาหลี ในส่วนของอาเซียน เราพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว
การประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกา ปี 2548 และการประชุมเฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปีของการประชุมเอเชีย-แอฟริกา ปี 2538
56. เรารำลึกถึงพันธกรณีของเราเมื่อการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 8 ณ กรุงพนมเปญ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 ในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับแอฟริกา ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างอาเซียนกับกรอบหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจใหม่เพื่อการพัฒนาแอฟริกา ในการนี้ เรายินดีกับการตัดสินใจของอินโดนีเซียที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดเอเชีย-แอฟริกา ในวันที่ 21-23 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการเฉลิมฉลอง 50 ปี การประชุมเอเชีย-แอฟริกา ตั้งแต่ปี 1955 การประชุมสุดยอดครั้งนี้จะเป็นการฟื้นฟูจิตวิญญาณของบันดุงของการประชุมเอเชีย-แอฟริกา เมื่อปี 2538 โดยจะริเริ่มความเป็นหุ้นส่วนทาง ยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อส่งเสริมสันติภาพ ความมั่งคั่ง และความก้าวหน้าในสองทวีป อีกทั้ง ส่งเสริมความพยายามของประเทศสมาชิกอาเซียนในการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันกับแอฟริกาภายใต้กรอบหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจใหม่เพื่อการพัฒนาแอฟริกา
ความร่วมมือเอเชีย
57. เราได้รับทราบถึงความคืบหน้าอันรวดเร็วของความร่วมมือเอเชีย ซึ่งประเทศไทยได้ริเริ่มเพื่อเป็นเวทีให้ประเทศในเอเชียทุกประเทศได้มาผนึกกำลังเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมสันติภาพ และความมั่งคั่งร่วมกันในภูมิภาค เรารู้สึกยินดีกับผลของการประชุมความร่วมมือเอเชียระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 21-22 มิถุนายน 2547 ที่ชิงเต่า ประเทศจีน ซึ่งได้กระชับโครงการความร่วมมือที่มีอยู่ปัจจุบันระหว่างประเทศสมาชิกความร่วมมือเอเชีย พร้อมทั้งขยายความร่วมมือในด้านอื่นๆ ที่อยู่ในความสนใจและผลประโยชน์ร่วมกัน
58. เราได้รับทราบด้วยความพอใจถึงความก้าวหน้าอย่างสำคัญของการพัฒนาตลาดพันธบัตรในภูมิภาค และในการนี้ เราจะพยายามนำปฏิญญาเชียงใหม่ว่าด้วยการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย ซึ่งได้รับการรับรองโดยการประชุมความร่วมมือเอเชียระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนมิถุนายน 2546 มาปฏิบัติ ซึ่งรวมทั้งการจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเชียในอนาคต ซึ่งจะลงทุนในพันธบัตรเงินสกุลท้องถิ่น เสริมสร้างการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับตลาดเงินทุน พัฒนาตลาดเงินทุน และสนับสนุนความพยายามที่จะอำนวยความสะดวกแก่การลงทุนในภูมิภาคยุทธศาสตร์
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
59. เรายินดีกับการประชุมสุดยอดของยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี เจ้าพระยา แม่โขง ครั้งแรก ที่พุกาม ประเทศพม่า เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546 ซึ่งได้ก่อตั้งกรอบความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคกรอบใหม่เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอนุภูมิภาคแม่โขง อีกทั้ง เสริมสร้างกระบวนการรวมตัวและช่วยลดช่องว่างของการพัฒนาในภูมิภาค
เวทีความร่วมมือเอเชียตะวันออกและละตินอเมริกา
60. โดยตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาคเอเชียและลาตินอเมริกา เรายินดีกับความสำเร็จของการจัดประชุมความร่วมมือเอเชียตะวันออกและละติน อเมริกา ของฟิลิปปินส์ เราได้ย้ำความสนับสนุนต่อแผนปฏิบัติการมะนิลา ซึ่งได้ครอบคลุมประเด็นเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคงที่เป็นข้อกังวลร่วมกันของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา รวมทั้งได้ส่งเสริมการดำเนินงานของเวทีดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การประชุมเอเชีย-ยุโรป
61. เราได้แสดงการสนับสนุนอย่างเต็มที่ของอาเซียนต่อเวียดนามเพื่อให้การจัดการประชุมสุดยอดเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม 2547 ประสบผลสำเร็จ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมทำให้หุ้นส่วนเอเชีย-ยุโรปมีสาระสำคัญ เราเห็นว่า ความคืบหน้าของความร่วมมือเอเชีย-ยุโรปไม่ควรขึ้นอยู่กับเรื่องการขยายสมาชิกภาพของการประชุมเอเชีย-ยุโรป ในระหว่างนี้ เรารำลึกถึงพันธกรณีของผู้นำประเทศอาเซียนในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 ที่สิงคโปร์ เมื่อปี 2543 ที่จะให้ประเทศอาเซียนทั้ง 10 เข้าร่วมในการประชุมเอเชียยุโรป ในการนี้เรายืนยันการคงสนับสนุนของเราที่จะให้ประเทศอาเซียนที่เหลือกล่าวคือ กัมพูชา ลาว และพม่า เข้าร่วมการประชุมเอเชีย-ยุโรปพร้อมกัน
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก
62. เราได้ชมเชยความพยายามของเอเปคที่จะเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนภายในปี พ.ศ. 2553 และ 2563 ในการนี้ เราสนับสนุนการมีส่วนสนับสนุนของเอเปคต่อกระบวนการการเจรจาขององค์การการค้าโลกและเรียกร้องให้เอเปคสานต่อความพยายามนี้ เราสนับสนุนให้เอปคดำเนินความพยายามที่จะรักษาความปลอดภัยด้านการค้าและสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะช่วยลดช่องว่างระหว่างระบบเศรษฐกิจในภูมิภาค
องค์การการค้าโลก
63. เราได้ยินดีต่อข้อริเริ่มล่าสุดของสมาชิกองค์การการค้าโลกที่จะฟื้นฟูการเจรจาในรอบ โดฮา เราได้ยืนยันความพร้อมที่จะทำงานอย่างสร้างสรรค์กับสมาชิกองค์การการค้าโลกทั้งหมดเพื่อบรรลุผลตามเป้าหมายที่ระบุไว้ในปฏิญญาโดฮา ในการนี้ เราย้ำว่าประเด็นที่เกี่ยวกับการพัฒนาควรเป็นหัวข้อหลักของการเจรจาการค้าพหุภาคีต่อไป เราได้สนับสนุนให้คู่ค้าหลักของเรา โดยเฉพาะจากประเทศที่พัฒนาแล้วแสดงความยืดหยุ่นและคำนึงถึงความต้องการด้านการพัฒนาและผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลกที่กำลังพัฒนา เราได้ยืนยันที่จะคงสนับสนุนการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของลาวและเวียดนามในองค์การการค้าโลกโดยเร็ว
เป้าหมายการพัฒนาในสหัสวรรษขององค์การสหประชาขาติ
64. เราได้ย้ำว่า MDG ได้ระบุเป้าหมายเฉพาะไว้อย่างชัดเจนเพื่อที่จะให้ประเทศต่างๆ ดำเนินการตาม โดยการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประชาคมระหว่างประเทศ ในการนี้ เราได้ยืนยันพันธกรณีที่จะส่งเสริมความร่วมมือเพื่อบรรลุตามจุดประสงค์ของ MDG เราตั้งใจที่จะนำพันธกรณีมาปฏิบัติ รวมทั้งโดยการสร้างหุ้นส่วนความร่วมมืออย่างแท้จริงในระดับโลกและในภูมิภาคระหว่างรัฐบาล องค์การระหว่างประเทศ และผู้มีผลประโยชน์ร่วมที่เกี่ยวข้อง
65. เราได้เห็นพ้องว่า การบรรลุ MDG จะต้องใช้แนวทางที่ครอบคลุมซึ่งได้รับการรับรองโดยการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญซึ่งได้มีขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เช่น การประชุม Monterrey Consensus เมื่อเดือนมีนาคม 2545 Johannesburg Plan of Implementation เมือเดือนกันยายน 2545 การประชุมการค้าหลายฝ่ายรอบโดฮา เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 และ ปฏิญญาว่าด้วยหลักการและแผนปฏิบัติการของการประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยสังคมแห่งการเรียนรู้ เมื่อเดือนธันวาคม 2546
ประเด็นเกี่ยวกับสถาบันและการเปลี่ยนผู้ดำรงตำแหน่งประธานของอาเซียน
66. เราได้รับทราบถึงความสำคัญของการจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและ การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอีกครั้ง ตามมติของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 เพื่อฟื้นฟูกลไกการตัดสินใจจากผู้ปฏิบัติถึงผู้บริหาร การประชุมรัฐมนตรีร่วมดังกล่าวจะประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน การประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน และเลขาธิการอาเซียน
67. เราได้มอบหมายให้เลขาธิการอาเซียนและอธิบดีอาเซียนทำการศึกษาเกี่ยวกับกรอบโครงสร้างของอาเซียนเพื่อกำหนดว่าจะเสริมสร้างโครงการของอาเซียนอย่างไรเพื่อช่วยให้บรรลุผลในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน เราแสดงความชื่นชมเอกสารเรื่องการทบทวนกรอบโครงสร้างอาเซียน: ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุง ของมาเลเซีย
68. เราได้เลือกสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นประธาน และมาเลเซียเป็นรองประธานของคณะกรรมการประจำอาเซียน ครั้งที่ 38 เรามุ่งหวังที่จะเห็นการประชุมรัฐมนตรีร่วม การประชุมสุดยอดครั้งที่ 10 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่เวียงจันทน์ ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2547 รวมทั้งการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 38 การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน+3 การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศคู่เจรจา และการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 12 ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 กรกฎาคม 2548 ที่ประเทศลาว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-