แท็ก
รัฐมนตรี
กรุงเทพ--6 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุมผู้นำ BIMST-EC ครั้งที่ 1
การประชุมผู้นำที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพนี้ นับเป็นการประชุมครั้งแรก และเกิดขึ้นจากมติของที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMST-EC ครั้งที่ 5 ณ กรุงโคลัมโบ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2545 ที่เห็นพ้องตามดำริของ นายกรัฐมนตรีศรีลังกาว่าถึงเวลาแล้วที่จะยกระดับการประชุมเป็นระดับหัวหน้ารัฐบาลเพื่อแสดงเจตนารมย์ที่จะร่วมมือก้าวไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน โดยไทยได้รับการยอมรับให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำ BIMST-EC ครั้งแรก ในปี 2547
การประชุมผู้นำ BIMST-EC เดิมจะจัดขึ้นในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2547 แต่เนื่องจากผู้นำอินเดีย ไม่สะดวกที่จะเดินทางมาร่วมประชุม เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองภายในของอินเดีย ทุกฝ่ายจึงเห็นพ้องให้เลื่อนการ ประชุมผู้นำออกไปก่อน และในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMST-EC ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547 ที่ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เนปาลและภูฏานได้เข้าร่วมการประชุมอย่างเป็นทางการในฐานะสมาชิก BIMST-EC ด้วยนั้น ประเทศสมาชิกไม่ขัดข้องกับข้อเสนอของไทยที่จะให้มีการประชุมผู้นำ ระหว่างวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2547 ที่กรุงเทพมหานคร
การประชุมผู้นำดังกล่าวจะมีการหารือถึงการจัดลำดับความสำคัญและความคืบหน้าของสาขาความร่วมมือ รวมทั้งการกำหนดทิศทางของ BIMST-EC ในอนาคต โดยจะมีผลสำคัญของการประชุม คือ การประกาศปฏิญญาผู้นำ BIMST-EC (Bangkok Declaration)
BIMST-EC คืออะไร
BIMST-EC คือกรอบความร่วมมือระหว่าง 7 ประเทศ คือ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย BIMST-EC จัดตั้งขึ้นในปี 2540 ภายใต้การริเริ่มและผลักดันของไทย มีจำนวนประชากรรวมประมาณ 1,300 ล้านคน มีมูลค่าการค้ารวมในกลุ่มกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีจุดเด่น คือ เป็นเวทีเชื่อมประสานนโยบาย Look East ของกลุ่มประเทศเอเชียใต้ กับนโยบาย Look West ของไทย และเป็นกลไกหนึ่งที่ส่งเสริมโอกาสด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับภูมิภาคเอเชียใต้
กรอบความร่วมมือ BIMST-EC มีวัตถุประสงค์ คือ มุ่งสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมใน ภูมิภาค ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน และส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และความช่วยเหลือระหว่างประเทศสมาชิกในรูปของการฝึกอบรม รวมถึง การค้นคว้าวิจัย และการกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อใช้ประโยชน์จากภาคกสิกรรมและอุตสาหกรรม การขยายการค้าและการลงทุน ตลอดจนปรับปรุงการสื่อสารและการคมนาคม เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาค และส่งเสริมความร่วมมือที่ ใกล้ชิดกับองค์การระหว่างประเทศ
BIMST-EC มีสาขาความร่วมมือใน 6 สาขา ได้แก่ การค้าและการลงทุน เทคโนโลยี คมนาคมและสื่อสาร พลังงาน การท่องเที่ยว ประมง ซึ่งในสาขาการค้าและการลงทุนมีความร่วมมือใน 2 ด้าน คือ (1) ความร่วมมือในสินค้า 8 ประเภท คือ อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยา สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รถยนต์และส่วนประกอบ พืชสวนและไม้ดอกไม้ประดับ ยางพารา ชาและกาแฟ มะพร้าวและเครื่องเทศ (2) ความร่วมมือในการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน คือ พิธีการทางศุลกากร การทดสอบและ รับรองมาตรฐาน การธนาคาร e-BIMST-EC ทรัพย์สินทางปัญญา การเดินทางของนักธุรกิจ การส่งเสริมการลงทุนภายใน BIMST-EC
ความคืบหน้าของกิจกรรม BIMST-ECนับตั้งแต่ได้มีการก่อตั้ง BIMST-EC ได้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีมาแล้ว 6 ครั้ง โดยครั้งล่าสุด ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 6 ที่จังหวัดภูเก็ต ระหว่างวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2547 รวมถึง ได้มีการประชุมคณะทำงาน BIMST-EC (BWG) ที่กรุงเทพฯ เป็นประจำทุกเดือน ซึ่งประกอบด้วย อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และเอกอัครราชทูตประเทศสมาชิกอีก 6 ประเทศ โดยไทยเป็นประธาน BIMST-EC ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังมีการประชุมผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ของ BIMST-EC เป็นประจำ โดยมีความคืบหน้าที่สำคัญ ดังนี้
1. การจัดทำเขตการค้าเสรี BIMST-EC
กลุ่มประเทศ BIMST-EC เห็นชอบให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรี BIMST-EC โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นการค้าและการลงทุนประเทศสมาชิก และดึงดูดให้ประเทศนอกภูมิภาคสนใจทำการค้าและลงทุนกับประเทศสมาชิก BIMST-EC มากขึ้น ในการประชุมรัฐมนตรี BIMST-EC ครั้งที่ 6 ได้มีพิธีลงนามกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี BIMST-EC (ยกเว้นบังกลาเทศ เนื่องจากติดขัดขั้นตอนภายในประเทศ) โดยมีนายกรัฐมนตรีไทยและรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMST-EC ร่วมเป็นสักขีการลงนามดังกล่าวด้วย และสำหรับบังกลาเทศได้เข้าเป็นภาคีกรอบความ ตกลงดังกล่าวในฐานะประเทศผู้ก่อตั้ง เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2547 โดยประเทศสมาชิก BIMST-EC ได้ร่วมลงนามพิธีสารกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี BIMST-EC โดยมีสาระสำคัญ คือ รับบังกลาเทศเป็นสมาชิกกรอบความ ตกลงฯ ทั้งนี้ ภายหลังที่มีการลงนามจะได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเจรจาการค้าระหว่างกันขึ้น เพื่อเจรจา รายละเอียด ภายใต้กรอบที่ได้ตกลงกันไว้
2. โครงการปีการท่องเที่ยว BIMST-EC 2004
ประเทศสมาชิก BIMST-EC เห็นพ้องที่จะให้ปี ค.ศ. 2004 และ 2005 เป็นปี Visit BIMST-EC โดยประเทศ BIMST-EC ให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนการตลาดและประชาสัมพันธ์ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ BIMST-EC และเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้าสู่ภูมิภาคนี้มากขึ้น โดยเน้นการท่องเที่ยวด้านพุทธศาสนาและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์วิทยา และส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีโครงการนำผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวและสื่อมวลชนร่วมทัศนศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศสมาชิก เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและโครงการปีการท่องเที่ยว BIMST-EC ซึ่งไทยได้เสนอโครงการการท่องเที่ยวทางเรือยอร์ชระหว่าง ไทย พม่า และอินเดีย เป็นโครงการนำร่องและจัดฝึกอบรมด้านข้อมูลสารสนเทศการท่องเที่ยวให้แก่ประเทศสมาชิก ซึ่งคาดว่าความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยเพิ่มเงินตราต่างประเทศและก่อให้เกิดการสร้างงานในท้องถิ่น
3. โครงการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม
ประเทศสมาชิก BIMST-EC เล็งเห็นความสำคัญในความร่วมมือที่จะเชื่อมโยงประเทศสมาชิกทั้งทางอากาศ ทางบก และทางน้ำ ได้แก่ การเปิดเสรีการบินเชื่อมโยงจุดต่างๆ ในประเทศ BIMST-EC การพัฒนาถนนเชื่อมต่อ ไทย-พม่า-อินเดีย และ ไทย-พม่า-บังกลาเทศ ซึ่งจะทำให้การคมนาคมทางบกจากอ่าวเบงกอลไปยังทะเลจีนใต้โดยผ่านไทยเป็นไปได้อย่างสะดวก ส่วนโครงการในด้านการคมนาคมทางน้ำ มีโครงการเดินเรือพาณิชย์ตามแนวชายฝั่งระหว่างประเทศสมาชิก รวมทั้ง อินเดียยังเสนอการสนับสนุนการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการท่าเรือน้ำลึกที่ทวายอีกด้วย
4. ความร่วมมือทางวิชาการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ประเทศสมาชิก BIMST-EC ได้กำหนดให้ความร่วมมือทางวิชาการเป็นสาขาความร่วมมือหลักที่ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรประเทศสมาชิกให้เป็นเขตเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความรู้ (Knowledge Based Economy) โดยเมื่อวันที่ 1-3 ธันวาคม 2546 สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (International Institute for Trade and Development หรือ ITD) ที่กรุงเทพฯ ได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาจัดสัมมนาด้านการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศสมาชิก BIMST-EC เรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า นอกจากนี้ ในที่ประชุมรัฐมนตรี BIMST-EC ครั้งที่ 6 ไทยได้ประกาศให้ทุนฝึกอบรมแก่บุคลากรประเทศสมาชิก จำนวน 100 ทุน และอินเดียได้เสนอให้ทุนฝึกอบรมจำนวน 150 ทุน ซึ่งไทยคาดว่า ความร่วมมือในด้านนี้จะช่วย ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาค
5. การอำนวยความสะดวกในการเดินทางของนักธุรกิจ BIMST-EC
ประเทศสมาชิกเห็นชอบให้มีการส่งเสริมการตรวจลงตราแบบ long-term multiple entries เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักธุรกิจประเทศ BIMST-EC และเห็นด้วยกับข้อเสนอของฝ่ายไทย ให้มีการศึกษา การจัดทำ BIMST-EC Business travel card (BBTC) ตามหลักการเดียวกับ APEC Business travel card
6. การจัดตั้ง BIMST-EC Center
ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMST-EC ครั้งที่ 6 ได้เห็นชอบให้จัดตั้งศูนย์สนับสนุนทางวิชาการ BIMST-EC (BIMST-EC Technical Support Facility: BTSF) หรือ BIMST-EC Center เป็นเวลา 2 ปี เพื่อเป็นกลไกประสานงานกลางในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือในภาพรวมของ BIMST-EC รวมถึง กิจกรรมของกลุ่มทำงาน BIMST-EC (BIMST-EC Working Group: BWG) และสภาหอการค้า BIMST-EC (BIMST-EC Chamber of Commerce) โดยไทยได้ให้การสนับสนุนจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว เป็นโครงการนำร่อง และจะมีการประเมินผลการดำเนินการและพิจารณารูปแบบการจัดตั้งสำนักเลขาธิการแบบถาวรต่อไป ขณะนี้ศูนย์ BIMST-EC ได้เริ่มดำเนินการแล้ว โดยตั้งอยู่ที่สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
7. ความร่วมมืออื่นๆ
ในกรอบความร่วมมืออื่นๆ BIMST-EC ได้มีการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เพื่อกำหนดโครงการความร่วมมือและติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงาน อาทิเช่น ในสาขาพลังงานมีกิจกรรมความ ร่วมมือที่สำคัญในขณะนี้ ได้แก่ โครงการพัฒนาศักยภาพความร่วมมือด้านพลังงานไฮโดรคาร์บอนและ ไฟฟ้าพลังน้ำในภูมิภาค โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน (ก๊าซธรรมชาติ) การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านพลังงาน และโครงการพัฒนาเครือข่ายการซื้อขายพลังงานระหว่างประเทศสมาชิกในสาขาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ได้มีการตกลงที่จะจัดตั้งสหพันธ์สมาคมอาหารสำเร็จรูป เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูประหว่างประเทศ BIMST-EC ในสาขาเทคโนโลยี ได้มีการตกลงที่จะร่วมมือใน 2 สาขา คือ เทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยได้มีการ จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อนำไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ในสาขาผลิตภัณฑ์ยา มีกิจกรรมความร่วมมือที่สำคัญ ได้แก่ การศึกษาวิจัย/พัฒนาเกี่ยวกับยาสมุนไพรร่วมกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ยา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา และการป้องกันยาปลอม/เลียนแบบ และในสาขาไม้ดอก/ไม้ประดับ และชา/กาแฟ ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกันเพื่อติดตาม การศึกษาวิจัยและพัฒนาไม้ดอก/ไม้ประดับ และชา/กาแฟ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เป็นต้น
8. ความร่วมมือกับภาคเอกชน
BIMST-EC ได้พยายามที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน รวมทั้ง การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในโครงการต่างๆ โดยล่าสุดได้จัดตั้งหอการค้าร่วม BIMST-EC Chamber of Commerce เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2546 เพื่อเป็นกลไกประสานงานระหว่างภาคเอกชนของประเทศสมาชิก BIMST-EC และจัดการประชุม Business Convention เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 ณ กรุงโคลัมโบ โดยจะร่วมกันผลักดันกิจกรรมสำคัญๆ เช่น การจัดนิทรรศการแสดงสินค้า การจัดทำเว็บไซต์ข้อมูลการค้าการลงทุนของประเทศสมาชิก BIMST-EC และการจัดมหกรรมอาหาร BIMST-EC เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
การประชุมผู้นำ BIMST-EC ครั้งที่ 1
การประชุมผู้นำที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพนี้ นับเป็นการประชุมครั้งแรก และเกิดขึ้นจากมติของที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMST-EC ครั้งที่ 5 ณ กรุงโคลัมโบ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2545 ที่เห็นพ้องตามดำริของ นายกรัฐมนตรีศรีลังกาว่าถึงเวลาแล้วที่จะยกระดับการประชุมเป็นระดับหัวหน้ารัฐบาลเพื่อแสดงเจตนารมย์ที่จะร่วมมือก้าวไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน โดยไทยได้รับการยอมรับให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำ BIMST-EC ครั้งแรก ในปี 2547
การประชุมผู้นำ BIMST-EC เดิมจะจัดขึ้นในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2547 แต่เนื่องจากผู้นำอินเดีย ไม่สะดวกที่จะเดินทางมาร่วมประชุม เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองภายในของอินเดีย ทุกฝ่ายจึงเห็นพ้องให้เลื่อนการ ประชุมผู้นำออกไปก่อน และในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMST-EC ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547 ที่ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เนปาลและภูฏานได้เข้าร่วมการประชุมอย่างเป็นทางการในฐานะสมาชิก BIMST-EC ด้วยนั้น ประเทศสมาชิกไม่ขัดข้องกับข้อเสนอของไทยที่จะให้มีการประชุมผู้นำ ระหว่างวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2547 ที่กรุงเทพมหานคร
การประชุมผู้นำดังกล่าวจะมีการหารือถึงการจัดลำดับความสำคัญและความคืบหน้าของสาขาความร่วมมือ รวมทั้งการกำหนดทิศทางของ BIMST-EC ในอนาคต โดยจะมีผลสำคัญของการประชุม คือ การประกาศปฏิญญาผู้นำ BIMST-EC (Bangkok Declaration)
BIMST-EC คืออะไร
BIMST-EC คือกรอบความร่วมมือระหว่าง 7 ประเทศ คือ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย BIMST-EC จัดตั้งขึ้นในปี 2540 ภายใต้การริเริ่มและผลักดันของไทย มีจำนวนประชากรรวมประมาณ 1,300 ล้านคน มีมูลค่าการค้ารวมในกลุ่มกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีจุดเด่น คือ เป็นเวทีเชื่อมประสานนโยบาย Look East ของกลุ่มประเทศเอเชียใต้ กับนโยบาย Look West ของไทย และเป็นกลไกหนึ่งที่ส่งเสริมโอกาสด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับภูมิภาคเอเชียใต้
กรอบความร่วมมือ BIMST-EC มีวัตถุประสงค์ คือ มุ่งสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมใน ภูมิภาค ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน และส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และความช่วยเหลือระหว่างประเทศสมาชิกในรูปของการฝึกอบรม รวมถึง การค้นคว้าวิจัย และการกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อใช้ประโยชน์จากภาคกสิกรรมและอุตสาหกรรม การขยายการค้าและการลงทุน ตลอดจนปรับปรุงการสื่อสารและการคมนาคม เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาค และส่งเสริมความร่วมมือที่ ใกล้ชิดกับองค์การระหว่างประเทศ
BIMST-EC มีสาขาความร่วมมือใน 6 สาขา ได้แก่ การค้าและการลงทุน เทคโนโลยี คมนาคมและสื่อสาร พลังงาน การท่องเที่ยว ประมง ซึ่งในสาขาการค้าและการลงทุนมีความร่วมมือใน 2 ด้าน คือ (1) ความร่วมมือในสินค้า 8 ประเภท คือ อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยา สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รถยนต์และส่วนประกอบ พืชสวนและไม้ดอกไม้ประดับ ยางพารา ชาและกาแฟ มะพร้าวและเครื่องเทศ (2) ความร่วมมือในการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน คือ พิธีการทางศุลกากร การทดสอบและ รับรองมาตรฐาน การธนาคาร e-BIMST-EC ทรัพย์สินทางปัญญา การเดินทางของนักธุรกิจ การส่งเสริมการลงทุนภายใน BIMST-EC
ความคืบหน้าของกิจกรรม BIMST-ECนับตั้งแต่ได้มีการก่อตั้ง BIMST-EC ได้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีมาแล้ว 6 ครั้ง โดยครั้งล่าสุด ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 6 ที่จังหวัดภูเก็ต ระหว่างวันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2547 รวมถึง ได้มีการประชุมคณะทำงาน BIMST-EC (BWG) ที่กรุงเทพฯ เป็นประจำทุกเดือน ซึ่งประกอบด้วย อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และเอกอัครราชทูตประเทศสมาชิกอีก 6 ประเทศ โดยไทยเป็นประธาน BIMST-EC ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังมีการประชุมผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ของ BIMST-EC เป็นประจำ โดยมีความคืบหน้าที่สำคัญ ดังนี้
1. การจัดทำเขตการค้าเสรี BIMST-EC
กลุ่มประเทศ BIMST-EC เห็นชอบให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรี BIMST-EC โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นการค้าและการลงทุนประเทศสมาชิก และดึงดูดให้ประเทศนอกภูมิภาคสนใจทำการค้าและลงทุนกับประเทศสมาชิก BIMST-EC มากขึ้น ในการประชุมรัฐมนตรี BIMST-EC ครั้งที่ 6 ได้มีพิธีลงนามกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี BIMST-EC (ยกเว้นบังกลาเทศ เนื่องจากติดขัดขั้นตอนภายในประเทศ) โดยมีนายกรัฐมนตรีไทยและรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMST-EC ร่วมเป็นสักขีการลงนามดังกล่าวด้วย และสำหรับบังกลาเทศได้เข้าเป็นภาคีกรอบความ ตกลงดังกล่าวในฐานะประเทศผู้ก่อตั้ง เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2547 โดยประเทศสมาชิก BIMST-EC ได้ร่วมลงนามพิธีสารกรอบความตกลงเขตการค้าเสรี BIMST-EC โดยมีสาระสำคัญ คือ รับบังกลาเทศเป็นสมาชิกกรอบความ ตกลงฯ ทั้งนี้ ภายหลังที่มีการลงนามจะได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเจรจาการค้าระหว่างกันขึ้น เพื่อเจรจา รายละเอียด ภายใต้กรอบที่ได้ตกลงกันไว้
2. โครงการปีการท่องเที่ยว BIMST-EC 2004
ประเทศสมาชิก BIMST-EC เห็นพ้องที่จะให้ปี ค.ศ. 2004 และ 2005 เป็นปี Visit BIMST-EC โดยประเทศ BIMST-EC ให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนการตลาดและประชาสัมพันธ์ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ BIMST-EC และเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้าสู่ภูมิภาคนี้มากขึ้น โดยเน้นการท่องเที่ยวด้านพุทธศาสนาและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์วิทยา และส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีโครงการนำผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวและสื่อมวลชนร่วมทัศนศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศสมาชิก เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและโครงการปีการท่องเที่ยว BIMST-EC ซึ่งไทยได้เสนอโครงการการท่องเที่ยวทางเรือยอร์ชระหว่าง ไทย พม่า และอินเดีย เป็นโครงการนำร่องและจัดฝึกอบรมด้านข้อมูลสารสนเทศการท่องเที่ยวให้แก่ประเทศสมาชิก ซึ่งคาดว่าความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยเพิ่มเงินตราต่างประเทศและก่อให้เกิดการสร้างงานในท้องถิ่น
3. โครงการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม
ประเทศสมาชิก BIMST-EC เล็งเห็นความสำคัญในความร่วมมือที่จะเชื่อมโยงประเทศสมาชิกทั้งทางอากาศ ทางบก และทางน้ำ ได้แก่ การเปิดเสรีการบินเชื่อมโยงจุดต่างๆ ในประเทศ BIMST-EC การพัฒนาถนนเชื่อมต่อ ไทย-พม่า-อินเดีย และ ไทย-พม่า-บังกลาเทศ ซึ่งจะทำให้การคมนาคมทางบกจากอ่าวเบงกอลไปยังทะเลจีนใต้โดยผ่านไทยเป็นไปได้อย่างสะดวก ส่วนโครงการในด้านการคมนาคมทางน้ำ มีโครงการเดินเรือพาณิชย์ตามแนวชายฝั่งระหว่างประเทศสมาชิก รวมทั้ง อินเดียยังเสนอการสนับสนุนการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการท่าเรือน้ำลึกที่ทวายอีกด้วย
4. ความร่วมมือทางวิชาการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ประเทศสมาชิก BIMST-EC ได้กำหนดให้ความร่วมมือทางวิชาการเป็นสาขาความร่วมมือหลักที่ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรประเทศสมาชิกให้เป็นเขตเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความรู้ (Knowledge Based Economy) โดยเมื่อวันที่ 1-3 ธันวาคม 2546 สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (International Institute for Trade and Development หรือ ITD) ที่กรุงเทพฯ ได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาจัดสัมมนาด้านการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศสมาชิก BIMST-EC เรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า นอกจากนี้ ในที่ประชุมรัฐมนตรี BIMST-EC ครั้งที่ 6 ไทยได้ประกาศให้ทุนฝึกอบรมแก่บุคลากรประเทศสมาชิก จำนวน 100 ทุน และอินเดียได้เสนอให้ทุนฝึกอบรมจำนวน 150 ทุน ซึ่งไทยคาดว่า ความร่วมมือในด้านนี้จะช่วย ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาค
5. การอำนวยความสะดวกในการเดินทางของนักธุรกิจ BIMST-EC
ประเทศสมาชิกเห็นชอบให้มีการส่งเสริมการตรวจลงตราแบบ long-term multiple entries เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักธุรกิจประเทศ BIMST-EC และเห็นด้วยกับข้อเสนอของฝ่ายไทย ให้มีการศึกษา การจัดทำ BIMST-EC Business travel card (BBTC) ตามหลักการเดียวกับ APEC Business travel card
6. การจัดตั้ง BIMST-EC Center
ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ BIMST-EC ครั้งที่ 6 ได้เห็นชอบให้จัดตั้งศูนย์สนับสนุนทางวิชาการ BIMST-EC (BIMST-EC Technical Support Facility: BTSF) หรือ BIMST-EC Center เป็นเวลา 2 ปี เพื่อเป็นกลไกประสานงานกลางในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือในภาพรวมของ BIMST-EC รวมถึง กิจกรรมของกลุ่มทำงาน BIMST-EC (BIMST-EC Working Group: BWG) และสภาหอการค้า BIMST-EC (BIMST-EC Chamber of Commerce) โดยไทยได้ให้การสนับสนุนจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว เป็นโครงการนำร่อง และจะมีการประเมินผลการดำเนินการและพิจารณารูปแบบการจัดตั้งสำนักเลขาธิการแบบถาวรต่อไป ขณะนี้ศูนย์ BIMST-EC ได้เริ่มดำเนินการแล้ว โดยตั้งอยู่ที่สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
7. ความร่วมมืออื่นๆ
ในกรอบความร่วมมืออื่นๆ BIMST-EC ได้มีการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เพื่อกำหนดโครงการความร่วมมือและติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงาน อาทิเช่น ในสาขาพลังงานมีกิจกรรมความ ร่วมมือที่สำคัญในขณะนี้ ได้แก่ โครงการพัฒนาศักยภาพความร่วมมือด้านพลังงานไฮโดรคาร์บอนและ ไฟฟ้าพลังน้ำในภูมิภาค โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน (ก๊าซธรรมชาติ) การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านพลังงาน และโครงการพัฒนาเครือข่ายการซื้อขายพลังงานระหว่างประเทศสมาชิกในสาขาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ได้มีการตกลงที่จะจัดตั้งสหพันธ์สมาคมอาหารสำเร็จรูป เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูประหว่างประเทศ BIMST-EC ในสาขาเทคโนโลยี ได้มีการตกลงที่จะร่วมมือใน 2 สาขา คือ เทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยได้มีการ จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อนำไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ในสาขาผลิตภัณฑ์ยา มีกิจกรรมความร่วมมือที่สำคัญ ได้แก่ การศึกษาวิจัย/พัฒนาเกี่ยวกับยาสมุนไพรร่วมกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์ยา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา และการป้องกันยาปลอม/เลียนแบบ และในสาขาไม้ดอก/ไม้ประดับ และชา/กาแฟ ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกันเพื่อติดตาม การศึกษาวิจัยและพัฒนาไม้ดอก/ไม้ประดับ และชา/กาแฟ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เป็นต้น
8. ความร่วมมือกับภาคเอกชน
BIMST-EC ได้พยายามที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน รวมทั้ง การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในโครงการต่างๆ โดยล่าสุดได้จัดตั้งหอการค้าร่วม BIMST-EC Chamber of Commerce เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2546 เพื่อเป็นกลไกประสานงานระหว่างภาคเอกชนของประเทศสมาชิก BIMST-EC และจัดการประชุม Business Convention เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 ณ กรุงโคลัมโบ โดยจะร่วมกันผลักดันกิจกรรมสำคัญๆ เช่น การจัดนิทรรศการแสดงสินค้า การจัดทำเว็บไซต์ข้อมูลการค้าการลงทุนของประเทศสมาชิก BIMST-EC และการจัดมหกรรมอาหาร BIMST-EC เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-