ประเด็นเศรษฐกิจต่างประเทศ (27 พฤษภาคม 2547-28 มิถุนายน 2547)
สหรัฐอเมริกา
-ทางการสหรัฐฯ ประกาศตัวเลข GDP (final) ในไตรมาสที่ 1 ขยายตัวร้อยละ 3.9 (qoq.annualized) หรือขยายตัวร้อยละ 4.8 (yoy) ลดลงจากที่ประกาศครั้งก่อนที่ร้อยละ 4.4 (yoy) หรือร้อยละ 5.0 (yoy) เนื่องจากปรับเพิ่มตัวเลขการขยายตัวของการนำเข้าเป็นร้อยละ 10.4 จากเดิมที่ประกาศไว้ที่ร้อยละ 5.9 (qoq) ส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงเฉพาะในส่วนของผลจากการขาดดุลการค้าที่สูงขึ้นร้อยละ 0.7 นอกจากนี้ ทางการได้ปรับเพิ่มตัวเลข GDP deflator มาอยู่ที่ร้อยละ 2.9 จากเดิมที่ประกาศไว้ที่ร้อยละ 2.6 (qoq)
นาย Alan Greenspan ได้แถลงการณ์ต่อ Senate Banking Committee กล่าวถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ว่าแนวโน้มจะเป็นการค่อยๆ ปรับขึ้น ("very likely to be measured over the quarters ahead") และกล่าวว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังไม่มากนักจนทำให้เกิดปัญหาเนื่องจากเห็นว่าค่าจ้างแรงงานไม่ปรับเร็วเพียงพอที่จะทำให้เกิดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้
อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อเริ่มปรับตัวสูงขึ้นจากแรงกดดันด้านราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 (yoy) สูงที่สุดนับจากต้นปี 2544 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มและหมวดพลังงาน อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.7 (yoy)
แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้น แต่สหรัฐฯ ยังคงเผชิญกับปัญหา Twin deficits ดุลงบประมาณยังคงขาดดุลสูง โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 สหรัฐฯ ขาดดุลงบประมาณ 344.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากที่ขาดดุล 290.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลสูงขึ้น โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 สหรัฐฯ ขาดดุล 144.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือประมาณร้อยละ 5.1 ของ GDP) ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ เป็นผลจากการขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น (การขาดดุลการค้าติดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 94 ของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และการปรับลดลงของ net income receipts
กลุ่มประเทศยูโร
-เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโร ในช่วงที่ผ่านมาฟื้นตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ โดยภาคการส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้การลงทุนภายในกลุ่มประเทศยูโรมีแนวโน้มดีขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ ภาวะดอกเบี้ยต่ำ การปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กร และผลกำไรที่ดีขึ้นล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุน ส่วนการอุปโภคบริโภคก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของ Real disposable income และแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลำดับ
แรงกดดันด้านเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศยูโรในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวสูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกและ Administered prices อย่างไรก็ดีนาย Axel Webber ประธาน Bundesbank กล่าวว่า Inflation expectation ที่สูงขึ้นเป็นเพียงการเพิ่มขึ้นชั่วคราว และแรงกดดันดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ซึ่ง ECB ไม่ได้กังวลกับภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นแต่อย่างใดอย่างไรก็ดี ECB จะจับตาดูการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิด และเชื่อว่าแนวโน้มเงินเฟ้อยังคงสอดคล้องกับเสถียรภาพของราคาในระยะปานกลาง
อนึ่ง อัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 (yoy) เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 2.0 จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจากมาก รวมทั้งมีการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต (indirect taxes) ในประเทศสมาชิกหลายประเทศ ทำให้ราคาสุรา และยาสูบเร่งตัวขึ้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจทำให้ประชาชนมีต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านนี้มากขึ้น อย่างไรก็ดี หากไม่นับรวมราคาพลังงานอาหาร ยาสูบ และเหล้า ดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.8 (yoy)
สำหรับดัชนี PMI ภาคบริการในเดือนเมษายน 2547 สูงขึ้นกว่าที่ตลาดคาดไว้มาก โดยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ55.8 จากเดือนก่อนที่ระดับ 54.5 ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการขยายตัวของกิจกรรมภาคบริหารติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 โดยดัชนีย่อยทุกตัวล้วนปรับสูงขึ้น ขณะเดียวกัน PMI ภาคการผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 โดยอยู่ที่ระดับ 54.7 จากเดือนก่อนที่ระดับ 54.0 และสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ สะท้อนถึงภาคอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศยูโรที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากค่าเงินยูโรที่เริ่มอ่อนค่าลงในเดือนที่ผ่านมา
ญี่ปุ่น
เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงแสดงถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดการส่งออกเดือนพฤษภาคมขยายตัวสูงที่ร้อยละ 9.8 (yoy) ตามอุปสงค์จากต่างประเทศที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะสินค้าประเภทรถยนต์ อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ดิจิตอล ส่งผลให้การเกินดุลการค้าขยายตัวสูงถึงร้อยละ 35 (yoy) ซึ่งเป็นการเกินดุลการค้าเดือนที่ 11 ติดต่อกัน
นอกเหนือจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีต่อเนื่องตามการส่งออก ธุรกิจภาคบริการก็ขยายตัวดี โดยดัชนี Tertiary industry index ในเดือนเมษายนตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 2.2 (mom) ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 7 ปี ในขณะเดียวกัน ดัชนี All industries index ซึ่งครอบคลุมธุรกิจต่างๆ มากกว่าและใช้เป็นตัวเทียบวัด (close proxy) สำหรับ GDP ก็ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากเดือนก่อน
บริษัทจัดอันดับ Moody's เห็นว่าการที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวในระยะนี้เป็นจังหวัดที่ทางการควรจะพยายามแก้ไขปัญหาหนี้ภาครัฐที่อยู่ในระดับสูงมาก (ร้อยละ 170 ของ GDP ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศเคยประมาณการว่า ภายใน 5 ปีอาจสูงขึ้นไปถึงร้อยละ 190 ของ GDP) โดยทางการควรจะมีแผนในระยะปานกลางที่จะค่อยๆ ลดการขาดดุลลง อนึ่ง จากแนวโน้มที่ทางการจะต้องเข้มงวดในการดำเนินนโยบายการคลังอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังต้องคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำจนกว่าจะสามารถหลุดพ้นจากภาวะเงินฝืดได้ ซึ่งล่าสุดในเดือนพฤษภาคม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) อยู่ที่ร้อยละ -0.3 (yoy)
ทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นปรับตัวดีและภาวะเงินฝืดเริ่มผ่อนคลายลงทำให้นักวิเคราะห์ต่างๆ คาดว่านโยบายการเงินของญี่ปุ่นอาจใกล้ที่จะปรับเปลี่ยนจากนโยบายปัจจุบัน "quantitative easing" แต่ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงยืนยันว่าจะคงนโยบายดังกล่าวจนกว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะมีเสถียรภาพอยู่เหนือร้อยละ 0
กลุมเอเชียตะวันออก
-เศรษฐกิจจีนที่ร้อนแรงเริ่มมีสัญญาณของการชะลอตัว โดยตัวเลขเศรษฐกิจหลักๆ ชะลอลง อาทิ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การลงทุน ในสินทรัพย์ถาวรและปริมาณเงิน ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมขยายตัวในอัตราร้อยละ 17.5 (yoy) เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 19.1 ในเดือนเมษายน แม้ว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมาจะชะลอลง แต่การส่งออกเดือนพฤษภาคมยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูงที่ร้อยละ 32.8 ในขณะที่การนำเข้าชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 35.4 จากร้อยละ 42.9 ในเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากความต้องการเหล็กลดลง
สำนักข่าว Xinhua ของจีนรายงานว่า การขยายตัวของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเดือนพฤษภาคมชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 18.3 (yoy) จากเดือนก่อนที่ร้อยละ 34.7 สำหรับสาขาที่การลงทุนชะลอลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเคมีถลุงเหล็ก และอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตาม การบริโภคของภาคครัวเรือนซึ่งสะท้อนได้จากยอดค้าปลีกกลับขยายตัวสูงขึ้นมากในอัตราร้อยละ 17.8 (yoy) จากเดือนก่อนที่ร้อยละ 13.2 ส่วนหนึ่งเนื่องจากฐานต่ำในปีก่อนซึ่งเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) นอกจากนี้ การที่เศรษฐกิจขยายตัวดีทำให้ประชาชนมีรายได้สูงขึ้นและใช้จ่ายมากขึ้น
สำหรับอัตราเงินเฟ้อของจีนยังคงสูงขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2540 ทั้งนี้ ราคาอาหารที่สูงขึ้นยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระดับราคาสูงขึ้น ทั้งนี้ราคาธัญพืชและน้ำมันปรุงอาหารสูงขึ้นร้อยละ 32.3 และ 25 ตามลำดับ อนึ่ง ทางการคาดว่าราคาสินค้าจะอยู่ในระดับสูงจนถึงไตรมาสที่ 3 และจะค่อยๆ ลดลงในช่วงไตรมาสสุดท้าย จึงยังไม่มีการตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้ แต่จะมีการศึกษาเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว
ในส่วนของปริมาณเงิน M2 ในเดือนพฤษภาคมขยายตัวร้อยละ 17.5 (yoy) ต่ำสุดในรอบ 17 เดือนสำหรับการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินชะลอลงเช่นกัน มาอยู่ที่ร้อยละ 18.6 เนื่องจากทางการจีนเริ่มเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมาตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม
-เศรษฐกิจไต้หวันอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจากไตรมาสแรก โดยอุปสงค์จากตลาดหลักอยู่ในภาวะแข็งแกร่ง และทำให้การส่งออกในเดือนพฤษภาคมของไต้หวันขยายตัวร้อยละ 39.5 (yoy) ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 52.5 ส่วนหนึ่งเพราะฐานต่ำในปีก่อนที่มีการแพร่ระบาดของโรค SARS ซึ่งกระทบต่อการค้าของไต้หวัน
การส่งออกและอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวดีส่งผลดีต่อการจ้างงานของไต้หวัน ทำให้อัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลแล้วในเดือนพฤษภาคมลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 4.54 จากร้อยละ 4.57 ในเดือนก่อน
เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน สภานิติบัญญัติของไต้หวันลงมติต่ออายุการดำเนินงานของบริษัทฟื้นฟูสถาบันการเงิน (Resolution Trust Company : RTC) ออกไปอีก 1 ปี จนถึงเดือนกรกฎาคมปีหน้า โดยไต้หวันได้ก่อตั้ง RTC ขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2544 เพื่อปฏิรูปภาคธนาคารอย่างไรก็ตาม สภานิติบัญญัติไม่ผ่านมติการเพิ่มทุนให้แก่ RTC ซึ่งปัจจุบัน RTC มีเงินทุนต่ำกว่า 20 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน ทำให้ไม่สามารถสะสางหนี้ให้แก่ธนาคารขนาดเล็กที่ยังมีปัญหาอยู่จำนวนประมาณ 10 แห่งได้ โดยนักวิเคราะห์คาดว่าจะต้องใช้เงินทุนสูงถึง 180 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน
-อัตราเงินเฟ้อของฮ่องกงล่าสุดในเดือนพฤษภาคมปรับตัวดีขึ้นมากมายอยู่ที่ร้อยละ-0.9 (yoy) จากเดือนก่อนที่ร้อยละ -1.5 (yoy) และนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2544 ที่อัตราเงินเฟ้อติดลบน้อยกว่าร้อยละ-1.0 ทั้งนี้ แทบทุก sub-sector ของ CPI มีการปรับตัวดีขึ้น โดยที่ชัดเจนมากที่สุด ได้แก่ ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับเพิ่มจากร้อยละ-7.2 (yoy) เป็น -6.8 (yoy) ในขณะที่ราคาค่าขนส่งและต้นทุนด้านพลังงานกลับมาขยายตัวเป็นบวก ทำให้มีการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในฮ่องกงจะกลับมาเป็นบวกก่อนที่ทางการประมาณการไว้ จากปัจจัยหลัก คือ การฟื้นตัวของ non-housing inflation
กลุ่มเอเซียน
-เศรษฐกิจมาเลเซียยังคงขยายตัวดีต่อเนื่องการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ14.0 (yoy) จากร้อยละ 13.7 ในเดือนก่อนตามอุปสงค์ในประเทศและการส่งออกที่ขยายตัว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคมยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.2 (yoy)
ภาคต่างประเทศยังคงขยายตัวดี โดยการส่งออกเดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 23.2 (yoy) ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 32.4 (yoy) ส่วนหนึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ ทั้งนี้ การนำเข้าสินค้าเพื่อการบริโภคขยายตัวร้อยละ 32.6 และการนำเข้าสินค้าาขั้นกลางขยายตัวร้อยละ 32.6 เช่นกันตามการส่งออกที่ขยายตัวดี ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
เศรษฐกิจที่ขยายตัวดีทำให้รายได้ของรัฐบาลสูงขึ้น และการขาดดุลงบประมาณของภาครัฐ (4-quarter rolling sum)ลดลงเหลือร้อยละ 4.3 ของ GDP ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ซึ่งส่งผลดีต่อโอกาสในการปรับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศในอนาคต
-เศรษฐกิจสิงคโปร์ยังขยายตัวดีตามภาวะการส่งออก อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อเริ่มปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 (yoy) ในเดือนพฤษภาคมจากร้อยละ 1.3 ในเดือนก่อน โดยเป็นผลมาจากฐานต่ำในปีก่อนซึ่งเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรค SARS
ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ประกาศปรับลดสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงขั้นต่ำสำหรับธนาคารพาณิชย์และ financial holdings companies ในประเทศจากร้อยละ 12 เป็นร้อยละ 10 โดยลดสัดส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 จากร้อยบะ 8 เป็นร้อยละ 7 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2547 เป็นต้นไปเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธนาคารพาณิชย์ในสิงคโปร์ นอกจากนั้น ยังได้ผ่อนคลายกฎระเบียบการทำธุรกรรมเงินดอลลาร์สิงคโปร์ โดยจะอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติที่มิใช่สถาบันการเงินไม่ต้อง swap หรือแปลงเงินที่ได้รับจากการออกตราสารหนี้หรือตราสารทุนในรูปของเงินสกุลดอลลาร์สิงคโปร์ให้เป็นเงินสกุลต่างประเทศก่อนนำกลับไปต่างประเทศ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติที่เป็นสถาบันการเงินยังคงต้องแปลงให้เป็นเงินสกุลต่างประเทศก่อนนำกลับ และยังคงจำกัดการให้กู้ยืมเงินดอลลาร์สิงคโปร์แก่สถาบันการเงินที่มีถิ่นฐานในต่างประเทศเพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงิน (จำกัดอยู่ที่ 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์)
-เศรษฐกิจอินโดนีเซียยังทรงตัวโดยอาศัยการบริโภคในประเทศ ส่วนอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 (yoy) ในเดือนพฤษภาคม จากเดือนก่อนที่ร้อยละ 5.9 เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินรูเปียห์และราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ประกาศปรับเพิ่ม reserve requirement ของธนาคารเพื่อลดสภาพคล่องในระบบและรักษาเสถียรภาพของค่าเงินรูเปียห์ จากเดิมร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 6-8 ขึ้นอยู่กับปริมาณเงินฝากในแต่ละธนาคาร โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 เป็นต้นไป ส่วนเงินฝากสกุลเงินต่างประเทศยังคง reserve requirement ไว้ที่ร้อยละ 3 เช่นเดิม และได้ปรับหลักเกณฑ์การดำรงฐานะเงินตราต่างประเทศสุทธิ (net open position) ของธนาคารพาณิชย์ จากสูงสุดไม่เกินร้อยละ 20 ของเงินกองทุน ณ ทุกสิ้นวันทำการเป็นเฉลี่ยระหว่างวันไม่เกินร้อยละ 20 ของเงินกองทุน โดยตั้งเป้าที่จะทำให้ค่าเงินรูเปียห์กลับไปอยู่ที่ประมาณ 9,000 รูเปียห์ต่อดอลลาร์สรอ. จากปัจจุบันซึ่งค่าเงินรูเปียห์อ่อนลงไปอยู่ที่ 9,420 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ สรอ. (อ่อนลงร้อยละ 10.6 จากต้นปี) ขณะที่นักวิเคราะห์บางรายคาดว่ามาตรการดังกล่าว จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากปัจจุบัน
-เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2547 รัฐสภาฟิลิปปินส์ได้ประกาศผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ โดยนาง Gloria Macapagal Arroyo เป็นผู้ที่มีชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยมีคะแนนนำคู่แข่งคือ นาย fernando Poe ประมาณ 1 ล้านเสียงหรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 3 ทั้งนี้ นาง Arroyo จะเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี สำหรับนโยบายหลักที่นาง Arroyo จะสานต่อในการบริหารประเทศภายใต้การนำของรัฐบาลชุดนี้ คือ การต่อสู้กับปัญหาความยากจน การแก้ปัญหาการคอรัปชั่น การลดสัดส่วนหนี้ภาครัฐซึ่งสูงถึงเกือบร้อยละ 80 ของ GDP และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งกับกลุ่มกบฎมุสลิมทางตอนใต้ของประเทศ เพื่อช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุน
สำหรับภาวะเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในช่วงที่ผ่านมาเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยการนำเข้าและการส่งออกล่าสุดในเดือนเมษายน 2547 ขยายตัวร้อยละ 8.3 (yoy) และ 8.9 (yoy) ตามลำดับ เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.4 และร้อยละ 7.1 ตามลำดับ นอกจากนี้สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ก็ปรับลดลงเช่นกัน โดย NPLs ล่าสุด ณ สิ้นเดือนเมษายนอยู่ที่ร้อยละ 13.6 ลดลงจากร้อยละ 13.9 ในเดือนมีนาคม และนับเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2543
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ/ชบ-
สหรัฐอเมริกา
-ทางการสหรัฐฯ ประกาศตัวเลข GDP (final) ในไตรมาสที่ 1 ขยายตัวร้อยละ 3.9 (qoq.annualized) หรือขยายตัวร้อยละ 4.8 (yoy) ลดลงจากที่ประกาศครั้งก่อนที่ร้อยละ 4.4 (yoy) หรือร้อยละ 5.0 (yoy) เนื่องจากปรับเพิ่มตัวเลขการขยายตัวของการนำเข้าเป็นร้อยละ 10.4 จากเดิมที่ประกาศไว้ที่ร้อยละ 5.9 (qoq) ส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงเฉพาะในส่วนของผลจากการขาดดุลการค้าที่สูงขึ้นร้อยละ 0.7 นอกจากนี้ ทางการได้ปรับเพิ่มตัวเลข GDP deflator มาอยู่ที่ร้อยละ 2.9 จากเดิมที่ประกาศไว้ที่ร้อยละ 2.6 (qoq)
นาย Alan Greenspan ได้แถลงการณ์ต่อ Senate Banking Committee กล่าวถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ว่าแนวโน้มจะเป็นการค่อยๆ ปรับขึ้น ("very likely to be measured over the quarters ahead") และกล่าวว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังไม่มากนักจนทำให้เกิดปัญหาเนื่องจากเห็นว่าค่าจ้างแรงงานไม่ปรับเร็วเพียงพอที่จะทำให้เกิดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้
อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อเริ่มปรับตัวสูงขึ้นจากแรงกดดันด้านราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 (yoy) สูงที่สุดนับจากต้นปี 2544 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มและหมวดพลังงาน อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.7 (yoy)
แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้น แต่สหรัฐฯ ยังคงเผชิญกับปัญหา Twin deficits ดุลงบประมาณยังคงขาดดุลสูง โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 สหรัฐฯ ขาดดุลงบประมาณ 344.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากที่ขาดดุล 290.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลสูงขึ้น โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 สหรัฐฯ ขาดดุล 144.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (หรือประมาณร้อยละ 5.1 ของ GDP) ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ เป็นผลจากการขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น (การขาดดุลการค้าติดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 94 ของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และการปรับลดลงของ net income receipts
กลุ่มประเทศยูโร
-เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโร ในช่วงที่ผ่านมาฟื้นตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ โดยภาคการส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้การลงทุนภายในกลุ่มประเทศยูโรมีแนวโน้มดีขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ ภาวะดอกเบี้ยต่ำ การปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กร และผลกำไรที่ดีขึ้นล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุน ส่วนการอุปโภคบริโภคก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของ Real disposable income และแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลำดับ
แรงกดดันด้านเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศยูโรในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวสูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกและ Administered prices อย่างไรก็ดีนาย Axel Webber ประธาน Bundesbank กล่าวว่า Inflation expectation ที่สูงขึ้นเป็นเพียงการเพิ่มขึ้นชั่วคราว และแรงกดดันดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ซึ่ง ECB ไม่ได้กังวลกับภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นแต่อย่างใดอย่างไรก็ดี ECB จะจับตาดูการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิด และเชื่อว่าแนวโน้มเงินเฟ้อยังคงสอดคล้องกับเสถียรภาพของราคาในระยะปานกลาง
อนึ่ง อัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 (yoy) เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 2.0 จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจากมาก รวมทั้งมีการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต (indirect taxes) ในประเทศสมาชิกหลายประเทศ ทำให้ราคาสุรา และยาสูบเร่งตัวขึ้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจทำให้ประชาชนมีต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านนี้มากขึ้น อย่างไรก็ดี หากไม่นับรวมราคาพลังงานอาหาร ยาสูบ และเหล้า ดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.8 (yoy)
สำหรับดัชนี PMI ภาคบริการในเดือนเมษายน 2547 สูงขึ้นกว่าที่ตลาดคาดไว้มาก โดยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ55.8 จากเดือนก่อนที่ระดับ 54.5 ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการขยายตัวของกิจกรรมภาคบริหารติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 โดยดัชนีย่อยทุกตัวล้วนปรับสูงขึ้น ขณะเดียวกัน PMI ภาคการผลิตอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 โดยอยู่ที่ระดับ 54.7 จากเดือนก่อนที่ระดับ 54.0 และสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ สะท้อนถึงภาคอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศยูโรที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากค่าเงินยูโรที่เริ่มอ่อนค่าลงในเดือนที่ผ่านมา
ญี่ปุ่น
เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงแสดงถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดการส่งออกเดือนพฤษภาคมขยายตัวสูงที่ร้อยละ 9.8 (yoy) ตามอุปสงค์จากต่างประเทศที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะสินค้าประเภทรถยนต์ อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ดิจิตอล ส่งผลให้การเกินดุลการค้าขยายตัวสูงถึงร้อยละ 35 (yoy) ซึ่งเป็นการเกินดุลการค้าเดือนที่ 11 ติดต่อกัน
นอกเหนือจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีต่อเนื่องตามการส่งออก ธุรกิจภาคบริการก็ขยายตัวดี โดยดัชนี Tertiary industry index ในเดือนเมษายนตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 2.2 (mom) ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 7 ปี ในขณะเดียวกัน ดัชนี All industries index ซึ่งครอบคลุมธุรกิจต่างๆ มากกว่าและใช้เป็นตัวเทียบวัด (close proxy) สำหรับ GDP ก็ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากเดือนก่อน
บริษัทจัดอันดับ Moody's เห็นว่าการที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวในระยะนี้เป็นจังหวัดที่ทางการควรจะพยายามแก้ไขปัญหาหนี้ภาครัฐที่อยู่ในระดับสูงมาก (ร้อยละ 170 ของ GDP ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศเคยประมาณการว่า ภายใน 5 ปีอาจสูงขึ้นไปถึงร้อยละ 190 ของ GDP) โดยทางการควรจะมีแผนในระยะปานกลางที่จะค่อยๆ ลดการขาดดุลลง อนึ่ง จากแนวโน้มที่ทางการจะต้องเข้มงวดในการดำเนินนโยบายการคลังอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังต้องคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำจนกว่าจะสามารถหลุดพ้นจากภาวะเงินฝืดได้ ซึ่งล่าสุดในเดือนพฤษภาคม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) อยู่ที่ร้อยละ -0.3 (yoy)
ทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นปรับตัวดีและภาวะเงินฝืดเริ่มผ่อนคลายลงทำให้นักวิเคราะห์ต่างๆ คาดว่านโยบายการเงินของญี่ปุ่นอาจใกล้ที่จะปรับเปลี่ยนจากนโยบายปัจจุบัน "quantitative easing" แต่ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงยืนยันว่าจะคงนโยบายดังกล่าวจนกว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะมีเสถียรภาพอยู่เหนือร้อยละ 0
กลุมเอเชียตะวันออก
-เศรษฐกิจจีนที่ร้อนแรงเริ่มมีสัญญาณของการชะลอตัว โดยตัวเลขเศรษฐกิจหลักๆ ชะลอลง อาทิ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การลงทุน ในสินทรัพย์ถาวรและปริมาณเงิน ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคมขยายตัวในอัตราร้อยละ 17.5 (yoy) เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 19.1 ในเดือนเมษายน แม้ว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมาจะชะลอลง แต่การส่งออกเดือนพฤษภาคมยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูงที่ร้อยละ 32.8 ในขณะที่การนำเข้าชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 35.4 จากร้อยละ 42.9 ในเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากความต้องการเหล็กลดลง
สำนักข่าว Xinhua ของจีนรายงานว่า การขยายตัวของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเดือนพฤษภาคมชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 18.3 (yoy) จากเดือนก่อนที่ร้อยละ 34.7 สำหรับสาขาที่การลงทุนชะลอลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเคมีถลุงเหล็ก และอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตาม การบริโภคของภาคครัวเรือนซึ่งสะท้อนได้จากยอดค้าปลีกกลับขยายตัวสูงขึ้นมากในอัตราร้อยละ 17.8 (yoy) จากเดือนก่อนที่ร้อยละ 13.2 ส่วนหนึ่งเนื่องจากฐานต่ำในปีก่อนซึ่งเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) นอกจากนี้ การที่เศรษฐกิจขยายตัวดีทำให้ประชาชนมีรายได้สูงขึ้นและใช้จ่ายมากขึ้น
สำหรับอัตราเงินเฟ้อของจีนยังคงสูงขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2540 ทั้งนี้ ราคาอาหารที่สูงขึ้นยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระดับราคาสูงขึ้น ทั้งนี้ราคาธัญพืชและน้ำมันปรุงอาหารสูงขึ้นร้อยละ 32.3 และ 25 ตามลำดับ อนึ่ง ทางการคาดว่าราคาสินค้าจะอยู่ในระดับสูงจนถึงไตรมาสที่ 3 และจะค่อยๆ ลดลงในช่วงไตรมาสสุดท้าย จึงยังไม่มีการตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้ แต่จะมีการศึกษาเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว
ในส่วนของปริมาณเงิน M2 ในเดือนพฤษภาคมขยายตัวร้อยละ 17.5 (yoy) ต่ำสุดในรอบ 17 เดือนสำหรับการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินชะลอลงเช่นกัน มาอยู่ที่ร้อยละ 18.6 เนื่องจากทางการจีนเริ่มเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมาตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม
-เศรษฐกิจไต้หวันอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจากไตรมาสแรก โดยอุปสงค์จากตลาดหลักอยู่ในภาวะแข็งแกร่ง และทำให้การส่งออกในเดือนพฤษภาคมของไต้หวันขยายตัวร้อยละ 39.5 (yoy) ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 52.5 ส่วนหนึ่งเพราะฐานต่ำในปีก่อนที่มีการแพร่ระบาดของโรค SARS ซึ่งกระทบต่อการค้าของไต้หวัน
การส่งออกและอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวดีส่งผลดีต่อการจ้างงานของไต้หวัน ทำให้อัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลแล้วในเดือนพฤษภาคมลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 4.54 จากร้อยละ 4.57 ในเดือนก่อน
เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน สภานิติบัญญัติของไต้หวันลงมติต่ออายุการดำเนินงานของบริษัทฟื้นฟูสถาบันการเงิน (Resolution Trust Company : RTC) ออกไปอีก 1 ปี จนถึงเดือนกรกฎาคมปีหน้า โดยไต้หวันได้ก่อตั้ง RTC ขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2544 เพื่อปฏิรูปภาคธนาคารอย่างไรก็ตาม สภานิติบัญญัติไม่ผ่านมติการเพิ่มทุนให้แก่ RTC ซึ่งปัจจุบัน RTC มีเงินทุนต่ำกว่า 20 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน ทำให้ไม่สามารถสะสางหนี้ให้แก่ธนาคารขนาดเล็กที่ยังมีปัญหาอยู่จำนวนประมาณ 10 แห่งได้ โดยนักวิเคราะห์คาดว่าจะต้องใช้เงินทุนสูงถึง 180 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน
-อัตราเงินเฟ้อของฮ่องกงล่าสุดในเดือนพฤษภาคมปรับตัวดีขึ้นมากมายอยู่ที่ร้อยละ-0.9 (yoy) จากเดือนก่อนที่ร้อยละ -1.5 (yoy) และนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2544 ที่อัตราเงินเฟ้อติดลบน้อยกว่าร้อยละ-1.0 ทั้งนี้ แทบทุก sub-sector ของ CPI มีการปรับตัวดีขึ้น โดยที่ชัดเจนมากที่สุด ได้แก่ ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับเพิ่มจากร้อยละ-7.2 (yoy) เป็น -6.8 (yoy) ในขณะที่ราคาค่าขนส่งและต้นทุนด้านพลังงานกลับมาขยายตัวเป็นบวก ทำให้มีการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในฮ่องกงจะกลับมาเป็นบวกก่อนที่ทางการประมาณการไว้ จากปัจจัยหลัก คือ การฟื้นตัวของ non-housing inflation
กลุ่มเอเซียน
-เศรษฐกิจมาเลเซียยังคงขยายตัวดีต่อเนื่องการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ14.0 (yoy) จากร้อยละ 13.7 ในเดือนก่อนตามอุปสงค์ในประเทศและการส่งออกที่ขยายตัว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคมยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.2 (yoy)
ภาคต่างประเทศยังคงขยายตัวดี โดยการส่งออกเดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 23.2 (yoy) ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 32.4 (yoy) ส่วนหนึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ ทั้งนี้ การนำเข้าสินค้าเพื่อการบริโภคขยายตัวร้อยละ 32.6 และการนำเข้าสินค้าาขั้นกลางขยายตัวร้อยละ 32.6 เช่นกันตามการส่งออกที่ขยายตัวดี ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
เศรษฐกิจที่ขยายตัวดีทำให้รายได้ของรัฐบาลสูงขึ้น และการขาดดุลงบประมาณของภาครัฐ (4-quarter rolling sum)ลดลงเหลือร้อยละ 4.3 ของ GDP ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ซึ่งส่งผลดีต่อโอกาสในการปรับอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศในอนาคต
-เศรษฐกิจสิงคโปร์ยังขยายตัวดีตามภาวะการส่งออก อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อเริ่มปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 (yoy) ในเดือนพฤษภาคมจากร้อยละ 1.3 ในเดือนก่อน โดยเป็นผลมาจากฐานต่ำในปีก่อนซึ่งเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรค SARS
ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ประกาศปรับลดสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงขั้นต่ำสำหรับธนาคารพาณิชย์และ financial holdings companies ในประเทศจากร้อยละ 12 เป็นร้อยละ 10 โดยลดสัดส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 จากร้อยบะ 8 เป็นร้อยละ 7 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2547 เป็นต้นไปเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธนาคารพาณิชย์ในสิงคโปร์ นอกจากนั้น ยังได้ผ่อนคลายกฎระเบียบการทำธุรกรรมเงินดอลลาร์สิงคโปร์ โดยจะอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติที่มิใช่สถาบันการเงินไม่ต้อง swap หรือแปลงเงินที่ได้รับจากการออกตราสารหนี้หรือตราสารทุนในรูปของเงินสกุลดอลลาร์สิงคโปร์ให้เป็นเงินสกุลต่างประเทศก่อนนำกลับไปต่างประเทศ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติที่เป็นสถาบันการเงินยังคงต้องแปลงให้เป็นเงินสกุลต่างประเทศก่อนนำกลับ และยังคงจำกัดการให้กู้ยืมเงินดอลลาร์สิงคโปร์แก่สถาบันการเงินที่มีถิ่นฐานในต่างประเทศเพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงิน (จำกัดอยู่ที่ 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์)
-เศรษฐกิจอินโดนีเซียยังทรงตัวโดยอาศัยการบริโภคในประเทศ ส่วนอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 (yoy) ในเดือนพฤษภาคม จากเดือนก่อนที่ร้อยละ 5.9 เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินรูเปียห์และราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ประกาศปรับเพิ่ม reserve requirement ของธนาคารเพื่อลดสภาพคล่องในระบบและรักษาเสถียรภาพของค่าเงินรูเปียห์ จากเดิมร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 6-8 ขึ้นอยู่กับปริมาณเงินฝากในแต่ละธนาคาร โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 เป็นต้นไป ส่วนเงินฝากสกุลเงินต่างประเทศยังคง reserve requirement ไว้ที่ร้อยละ 3 เช่นเดิม และได้ปรับหลักเกณฑ์การดำรงฐานะเงินตราต่างประเทศสุทธิ (net open position) ของธนาคารพาณิชย์ จากสูงสุดไม่เกินร้อยละ 20 ของเงินกองทุน ณ ทุกสิ้นวันทำการเป็นเฉลี่ยระหว่างวันไม่เกินร้อยละ 20 ของเงินกองทุน โดยตั้งเป้าที่จะทำให้ค่าเงินรูเปียห์กลับไปอยู่ที่ประมาณ 9,000 รูเปียห์ต่อดอลลาร์สรอ. จากปัจจุบันซึ่งค่าเงินรูเปียห์อ่อนลงไปอยู่ที่ 9,420 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ สรอ. (อ่อนลงร้อยละ 10.6 จากต้นปี) ขณะที่นักวิเคราะห์บางรายคาดว่ามาตรการดังกล่าว จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากปัจจุบัน
-เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2547 รัฐสภาฟิลิปปินส์ได้ประกาศผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ โดยนาง Gloria Macapagal Arroyo เป็นผู้ที่มีชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยมีคะแนนนำคู่แข่งคือ นาย fernando Poe ประมาณ 1 ล้านเสียงหรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 3 ทั้งนี้ นาง Arroyo จะเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี สำหรับนโยบายหลักที่นาง Arroyo จะสานต่อในการบริหารประเทศภายใต้การนำของรัฐบาลชุดนี้ คือ การต่อสู้กับปัญหาความยากจน การแก้ปัญหาการคอรัปชั่น การลดสัดส่วนหนี้ภาครัฐซึ่งสูงถึงเกือบร้อยละ 80 ของ GDP และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งกับกลุ่มกบฎมุสลิมทางตอนใต้ของประเทศ เพื่อช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุน
สำหรับภาวะเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในช่วงที่ผ่านมาเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยการนำเข้าและการส่งออกล่าสุดในเดือนเมษายน 2547 ขยายตัวร้อยละ 8.3 (yoy) และ 8.9 (yoy) ตามลำดับ เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.4 และร้อยละ 7.1 ตามลำดับ นอกจากนี้สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ก็ปรับลดลงเช่นกัน โดย NPLs ล่าสุด ณ สิ้นเดือนเมษายนอยู่ที่ร้อยละ 13.6 ลดลงจากร้อยละ 13.9 ในเดือนมีนาคม และนับเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2543
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ/ชบ-