สศอ.ชี้อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบไทยเดินถูกทาง ยอดผลิต-จำหน่ายเพิ่มสูงต่อเนื่อง แนะผู้ผลิตสร้างโอกาสจากการเปิดเสรีทางการค้า เพื่อลดอัตราภาษีนำเข้า เร่งบุกตลาดรายใหญ่ สหรัฐ-สหภาพยุโรป ชูศักยภาพสินค้าไทยแข่งขันได้ในตลาดโลก
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การเปิดเขตการค้าเสรี[FTA
] เพื่อลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของไทย เนื่องจาก ผู้ผลิตมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก รวมทั้ง ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีการเก็บอัตราภาษีนำเข้าอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบแล้ว เป็นผลมาจากการเปิดภาคีของความตกลงว่าด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ [Information Technology Agreement : ITA
] ดังนั้น การเปิดเสรีทางการค้า [FTA
] จะทำให้ไทยได้ประโยชน์ถ้าเปิดเสรีการค้ากับประเทศที่ไม่เป็นภาคี ITA หรือ ประเทศที่ยังคงมีการเก็บอัตราภาษีนำเข้าคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบในระดับสูง
จากผลการศึกษา พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีคู่แข่งที่สำคัญในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ คือ ประเทศจีน เนื่องจาก ประเทศจีนมีความได้เปรียบทางด้านค่าจ้างแรงงานราคาต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทย อย่างไรก็ตาม สินค้าของจีนยังมีคุณภาพด้อยกว่าไทย ในส่วนอินเดีย ถึงแม้จะมีค่าจ้างแรงงานราคาต่ำ แต่อัตราภาษีนำเข้ายังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของไทยที่จะเร่งพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิต เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดต่างประเทศขณะนี้
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของไทยครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 3 รองจากจีน และเกาหลีใต้ ตามลำดับ โดยผู้ประกอบการมีการผลิตทั้งภายใต้แบรนด์สินค้าของตนเอง รวมทั้ง รับจ้างผลิตภายใต้แบรนด์สินค้าของบริษัทอื่น [OEM
] โดย ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของประเทศไทยในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ คือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป [EU
]
"ภาพรวมอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ปรับตัวดีขึ้นมาก เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราสูง มียอดการส่งออกเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเทศคู่แข่งสำคัญ เช่น จีน และเกาหลีใต้ กำลังเร่งพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ทันสมัยยิ่งขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของตลาด IT โลก ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรเร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งและรักษาฐานผลิตในประเทศโดยเปลี่ยนโครงสร้างสินค้าไปสู่การผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงแทนการผลิตสินค้าที่มีการแข่งขันด้านราคา ตลอดจน พัฒนา ขีดความสามารถการแข่งขัน ด้วยการทำวิจัยและพัฒนา R&D อย่างจริงจัง"นางชุตาภรณ์กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การเปิดเขตการค้าเสรี[FTA
] เพื่อลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของไทย เนื่องจาก ผู้ผลิตมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก รวมทั้ง ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีการเก็บอัตราภาษีนำเข้าอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบแล้ว เป็นผลมาจากการเปิดภาคีของความตกลงว่าด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ [Information Technology Agreement : ITA
] ดังนั้น การเปิดเสรีทางการค้า [FTA
] จะทำให้ไทยได้ประโยชน์ถ้าเปิดเสรีการค้ากับประเทศที่ไม่เป็นภาคี ITA หรือ ประเทศที่ยังคงมีการเก็บอัตราภาษีนำเข้าคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบในระดับสูง
จากผลการศึกษา พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีคู่แข่งที่สำคัญในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ คือ ประเทศจีน เนื่องจาก ประเทศจีนมีความได้เปรียบทางด้านค่าจ้างแรงงานราคาต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทย อย่างไรก็ตาม สินค้าของจีนยังมีคุณภาพด้อยกว่าไทย ในส่วนอินเดีย ถึงแม้จะมีค่าจ้างแรงงานราคาต่ำ แต่อัตราภาษีนำเข้ายังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของไทยที่จะเร่งพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิต เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดต่างประเทศขณะนี้
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบของไทยครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 3 รองจากจีน และเกาหลีใต้ ตามลำดับ โดยผู้ประกอบการมีการผลิตทั้งภายใต้แบรนด์สินค้าของตนเอง รวมทั้ง รับจ้างผลิตภายใต้แบรนด์สินค้าของบริษัทอื่น [OEM
] โดย ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของประเทศไทยในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ คือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป [EU
]
"ภาพรวมอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ปรับตัวดีขึ้นมาก เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราสูง มียอดการส่งออกเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเทศคู่แข่งสำคัญ เช่น จีน และเกาหลีใต้ กำลังเร่งพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ทันสมัยยิ่งขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของตลาด IT โลก ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรเร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งและรักษาฐานผลิตในประเทศโดยเปลี่ยนโครงสร้างสินค้าไปสู่การผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงแทนการผลิตสินค้าที่มีการแข่งขันด้านราคา ตลอดจน พัฒนา ขีดความสามารถการแข่งขัน ด้วยการทำวิจัยและพัฒนา R&D อย่างจริงจัง"นางชุตาภรณ์กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-