สศอ.ชี้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนพ.ค. อยู่ที่ระดับ 135.86 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.84 เผย อุตฯเหล็ก อิเล็กทรอนิกส์- ยานยนต์- อาหาร เริ่มใช้กำลังการผลิตเพิ่ม โดยเฉพาะ การผลิตเหล็ก ความต้องการใช้สูงในโครงการภาครัฐ ขณะที่จีน เริ่มเปิดตลาดนำเข้าเหล็กไทย ส่วนอุตฯอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ คาดแนวโน้มครึ่งปีหลัง ภาวะตลาดขยายตัวสูง กลุ่มอาหารไก่สดแช่แข็ง หลายโรงงานมีคำสั่งซื้อเพิ่มมั่นใจต้นปีหน้าตลาดโต พร้อมประเมินภาวะอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ตัวเลขดัชนีอุตสาหกรรมขยับสูง รับเศรษฐกิจไทยขยายตัว
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมใน เดือนพฤษภาคม 2547 จากผลการสำรวจทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่ม อุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งในกลุ่มที่เป็น ผู้ประกอบการขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม พบว่า ดัชนีอุตสาหกรรมในภาพรวมประจำเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน โดยมี 6 ดัชนีหลักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 131.40 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 9.55 ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 135.86 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 9.84 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 134.14 เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อน ร้อยละ 9.59 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 136.58 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.03 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาห-กรรม อยู่ที่ระดับ 106.35 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 5.75 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม 141.54 เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อน ร้อยละ 1.26 และอัตราการใช้กำลังการผลิต เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 62.97 เทียบจากเดือนก่อน อยู่ที่ระดับ 57.36 ส่วน ดัชนีอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 123.49 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 9.74
ทั้งนี้ ดัชนีอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเหล็ก อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็ก ที่มีการผลิตและจำหน่ายปรับตัวสูงขึ้น เนื่องมาจากในส่วนของเหล็กทรงยาว ได้แก่ เหล็กเส้นและเหล็กลวด ยังมีความต้องการบริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยจะเน้นไปที่โครงการก่อสร้างของภาครัฐ เช่น สนามบินหนองงูเห่า และกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนของเหล็กทรงแบน จีนเริ่มมีการสั่งนำเข้าอีกครั้งหลังจากชะลอไประยะหนึ่ง ทั้งนี้เป็นผลมาจากสต๊อกสินค้าในประเทศจีนลดลง อย่างมาก อีกทั้งราคาเหล็กโลกจะเริ่มปรับสูงขึ้นอีกครั้ง ทำให้โรงงานอาจได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงซึ่งจะกระทบต่อต้นทุนการผลิต
ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ภาวะการผลิตและจำหน่ายโดยรวมเพิ่มขึ้นในทุกรายการสินค้าทั้งในส่วนของหลอดภาพ , Transistors , Monolithic IC และ Other IC ทั้งนี้ คาดว่า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะยังมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ในระยะครึ่งปีหลัง เนื่องจากช่วงไตรมาส 2 และ 3 เป็นช่วงที่ภาวะตลาดมีการขยายตัวมากที่สุด ขณะที่ อุตสาหกรรมยานยนต์ ภาวะการณ์ผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดรถยนต์ยังมีแนวโน้มการเติบโตต่อเนื่อง ค่ายรถยนต์หลายแห่งกระตุ้นและทำการตลาดอยู่ตลอดโดยการออกแคมเปญใหม่ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจลูกค้า และสาเหตุจากงานมอเตอร์โชว์ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้บริษัทยังต้องทยอยส่งมอบรถยนต์ให้กับลูกค้าที่ได้สั่งจองรถยนต์ไว้
สำหรับดัชนีอุตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร อาทิ การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 2 โดยเฉพาะไก่สดแช่แข็ง เนื่องจากหลายโรงงานเริ่มมีคำสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการเริ่มมีความมั่นใจในสถานการณ์ไข้หวัดนกที่จะสามารถคลี่คลายลงได้ และประเมินว่าในต้นปี 2548 ภาวะอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ ประเภทไก่สดแช่แข็งจะเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นแน่นอน
ด้าน อุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อดัชนีอุตสาหกรรมผลผลิต ได้แก่ การฟอกและตกแต่งหนังฟอก สืบเนื่องจาก ประเทศไทยยังขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตได้ตามคำสั่งซื้อและสาเหตุสำคัญอีกส่วนหนึ่งมาจาก หนังสัตว์ในประเทศมีราคาแพง จึงมีลูกค้าบางส่วนหันไปสั่งซื้อจากแถบประเทศ อาร์เจนตินา บราซิล มากขึ้นเพราะมีราคาถูกกว่า ขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนม ภาวะการผลิตและจำหน่ายเดือนพฤษภาคมลดลง เนื่องจาก เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนความต้องการสินค้า(ไอศกรีม)ลดลง ทำให้สต๊อกสินค้าของทางโรงงานสูงขึ้น
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 131.40 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 9.55 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.63 ซึ่งอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ตามลำดับ ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 134.14 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 9.59 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.34 อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ปูนปลาสเตอร์ และการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกฮอล์ ตามลำดับ
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 136.58 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.03 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีทีผ่านมา ดัชนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.42 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ (เบียร์) การผลิตยานยนต์ การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ ตามลำดับ ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 106.35 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 5.75 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.71 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์และเครื่องอุปกรณ์เกี่ยวกับการถ่ายภาพ การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ การผลิตผลิตภัณฑ์จากดินชนิดไม่ทนไฟ ซึ่งใช้กับงานก่อสร้าง การผลิตสตาร์ชและผลิตภัณฑ์จากสตาร์ช และการผลิตเครื่องจักรที่ใช้ในงานทั่วไป ตามลำดับ
ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ141.54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.26 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.28 ซึ่งอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตเบียร์ การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ ตามลำดับ อัตราการใช้กำลังการผลิต เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 62.97 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การแปรรูปผลไม้และผัก การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด ตามลำดับ
ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 123.49 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 9.74 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.13 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การผลิตยานยนต์ การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ ตามลำดับ
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า สศอ.ยังได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน โดยใช้อัตราการขยายตัวของดัชนีอุตสาหกรรม (ถ่วงน้ำหนักมูลค่าเพิ่ม) ของเดือนมิถุนายนในอดีตที่ผ่านมา 3 ปี มาคำนวณเฉลี่ย พบว่า การผลิตและจำหน่ายมีทิศทางลดลงจากเดือนก่อนประมาณร้อยละ 1-2 อันเป็นผลมาจากเดือนมิถุนายนเป็นช่วงฤดูฝน ภาวะการผลิตในบางอุตสาหกรรมมีทิศทางลดลง เช่น กลุ่มสินค้าวัสดุก่อสร้าง รวมถึง ผลกระทบจากต้นทุนด้านเชื้อเพลิงทั้งน้ำมันและก๊าซที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม คาดว่า แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมช่วงไตรมาสสามยังมีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมใน เดือนพฤษภาคม 2547 จากผลการสำรวจทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่ม อุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งในกลุ่มที่เป็น ผู้ประกอบการขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม พบว่า ดัชนีอุตสาหกรรมในภาพรวมประจำเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน โดยมี 6 ดัชนีหลักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 131.40 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 9.55 ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 135.86 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 9.84 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 134.14 เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อน ร้อยละ 9.59 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 136.58 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.03 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาห-กรรม อยู่ที่ระดับ 106.35 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 5.75 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม 141.54 เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อน ร้อยละ 1.26 และอัตราการใช้กำลังการผลิต เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 62.97 เทียบจากเดือนก่อน อยู่ที่ระดับ 57.36 ส่วน ดัชนีอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 123.49 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 9.74
ทั้งนี้ ดัชนีอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเหล็ก อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็ก ที่มีการผลิตและจำหน่ายปรับตัวสูงขึ้น เนื่องมาจากในส่วนของเหล็กทรงยาว ได้แก่ เหล็กเส้นและเหล็กลวด ยังมีความต้องการบริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยจะเน้นไปที่โครงการก่อสร้างของภาครัฐ เช่น สนามบินหนองงูเห่า และกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนของเหล็กทรงแบน จีนเริ่มมีการสั่งนำเข้าอีกครั้งหลังจากชะลอไประยะหนึ่ง ทั้งนี้เป็นผลมาจากสต๊อกสินค้าในประเทศจีนลดลง อย่างมาก อีกทั้งราคาเหล็กโลกจะเริ่มปรับสูงขึ้นอีกครั้ง ทำให้โรงงานอาจได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงซึ่งจะกระทบต่อต้นทุนการผลิต
ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ภาวะการผลิตและจำหน่ายโดยรวมเพิ่มขึ้นในทุกรายการสินค้าทั้งในส่วนของหลอดภาพ , Transistors , Monolithic IC และ Other IC ทั้งนี้ คาดว่า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะยังมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ในระยะครึ่งปีหลัง เนื่องจากช่วงไตรมาส 2 และ 3 เป็นช่วงที่ภาวะตลาดมีการขยายตัวมากที่สุด ขณะที่ อุตสาหกรรมยานยนต์ ภาวะการณ์ผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดรถยนต์ยังมีแนวโน้มการเติบโตต่อเนื่อง ค่ายรถยนต์หลายแห่งกระตุ้นและทำการตลาดอยู่ตลอดโดยการออกแคมเปญใหม่ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจลูกค้า และสาเหตุจากงานมอเตอร์โชว์ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้บริษัทยังต้องทยอยส่งมอบรถยนต์ให้กับลูกค้าที่ได้สั่งจองรถยนต์ไว้
สำหรับดัชนีอุตสาหกรรมที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร อาทิ การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 2 โดยเฉพาะไก่สดแช่แข็ง เนื่องจากหลายโรงงานเริ่มมีคำสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการเริ่มมีความมั่นใจในสถานการณ์ไข้หวัดนกที่จะสามารถคลี่คลายลงได้ และประเมินว่าในต้นปี 2548 ภาวะอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ ประเภทไก่สดแช่แข็งจะเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นแน่นอน
ด้าน อุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อดัชนีอุตสาหกรรมผลผลิต ได้แก่ การฟอกและตกแต่งหนังฟอก สืบเนื่องจาก ประเทศไทยยังขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตได้ตามคำสั่งซื้อและสาเหตุสำคัญอีกส่วนหนึ่งมาจาก หนังสัตว์ในประเทศมีราคาแพง จึงมีลูกค้าบางส่วนหันไปสั่งซื้อจากแถบประเทศ อาร์เจนตินา บราซิล มากขึ้นเพราะมีราคาถูกกว่า ขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนม ภาวะการผลิตและจำหน่ายเดือนพฤษภาคมลดลง เนื่องจาก เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนความต้องการสินค้า(ไอศกรีม)ลดลง ทำให้สต๊อกสินค้าของทางโรงงานสูงขึ้น
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 131.40 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 9.55 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.63 ซึ่งอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ตามลำดับ ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 134.14 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 9.59 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.34 อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ปูนปลาสเตอร์ และการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกฮอล์ ตามลำดับ
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 136.58 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.03 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีทีผ่านมา ดัชนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.42 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ (เบียร์) การผลิตยานยนต์ การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ ตามลำดับ ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 106.35 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 5.75 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.71 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์และเครื่องอุปกรณ์เกี่ยวกับการถ่ายภาพ การผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ การผลิตผลิตภัณฑ์จากดินชนิดไม่ทนไฟ ซึ่งใช้กับงานก่อสร้าง การผลิตสตาร์ชและผลิตภัณฑ์จากสตาร์ช และการผลิตเครื่องจักรที่ใช้ในงานทั่วไป ตามลำดับ
ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ141.54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.26 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.28 ซึ่งอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตเบียร์ การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ ตามลำดับ อัตราการใช้กำลังการผลิต เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 62.97 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ การแปรรูปผลไม้และผัก การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด ตามลำดับ
ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 123.49 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 9.74 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.13 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การผลิตยานยนต์ การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ ตามลำดับ
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า สศอ.ยังได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน โดยใช้อัตราการขยายตัวของดัชนีอุตสาหกรรม (ถ่วงน้ำหนักมูลค่าเพิ่ม) ของเดือนมิถุนายนในอดีตที่ผ่านมา 3 ปี มาคำนวณเฉลี่ย พบว่า การผลิตและจำหน่ายมีทิศทางลดลงจากเดือนก่อนประมาณร้อยละ 1-2 อันเป็นผลมาจากเดือนมิถุนายนเป็นช่วงฤดูฝน ภาวะการผลิตในบางอุตสาหกรรมมีทิศทางลดลง เช่น กลุ่มสินค้าวัสดุก่อสร้าง รวมถึง ผลกระทบจากต้นทุนด้านเชื้อเพลิงทั้งน้ำมันและก๊าซที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม คาดว่า แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมช่วงไตรมาสสามยังมีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-