ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. จะส่งสัญญาณนโยบายการเงินหลังการประชุมในวันที่ 21 ก.ค.นี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท.
เปิดเผยว่า หลังจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 21 ก.ค.นี้ จะมีการส่งสัญญาณแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจไทยใน
ระยะต่อไปผ่านอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) 14 วัน ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีความสำคัญมาก ไม่ใช่แค่เรื่องดอกเบี้ยอย่าง
เดียว เพราะจะมีการตัดสินถึงนโยบายการเงินที่ชัดเจนของไทยในระยะต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร แต่ขณะนี้ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าอัตรา
ดอกเบี้ยจะไปทางไหน โดยจะมีการนำเอาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย เช่น สภาพคล่องในระบบ การ
ขยายตัวของสินเชื่อ การแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่มีแนวโน้มว่าจะลดลง เรื่องของเงินทุนเคลื่อนย้าย รวมทั้ง
สัญญาณทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ. และราคาน้ำมันที่ยังอยู่ใน
ระดับสูง มาพิจารณาประกอบด้วย (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. ยืนยันเวลายื่นแผนขอยกระดับเป็น ธ.พาณิชย์ ภายในวันที่ 31 ก.ค.47 นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้มีสถาบันการเงินยื่นแผนขอยกระดับเป็น ธ.พาณิชย์เพิ่มอีก 2 ราย จากก่อนหน้า
นี้ที่มียื่นแผนมา 3 ราย รวมเป็น 5 ราย โดยมีทั้ง 2 แบบ คือ แบบขอยกฐานะเป็น ธ.พาณิชย์รายย่อย และแบบเป็น ธ.พาณิชย์เต็มรูป
แบบ ซึ่งรายที่ยื่นแผนมาก่อนหน้านี้ได้ส่งให้ ก.คลังพิจารณาแล้ว 1 ราย ส่วนที่เหลือ ธปท. กำลังพิจารณาเพื่อส่งเรื่องให้ ก.คลังพิจารณา
อนุมัติต่อไป ทั้งนี้ ธปท. ได้กำหนดให้สถาบันการเงินต้องยื่นแผนมาภายในวันที่ 31 ก.ค.47 ซึ่ง ธปท.จะไม่ยืดเวลาให้อย่างแน่นอน
หากสถาบันการเงินใดไม่ยื่นแผนก็จะหมดโอกาสในการปรับสถานะ และจะเรียกสถาบันการเงินที่ไม่สามารถยื่นแผนได้ตามเวลาที่กำหนด
เข้ามาหารือเป็นราย ๆ ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งในปัจจุบันได้มีสถาบันการเงินเข้ามาหารือกับ ธปท. อย่างต่อเนื่อง บางราย
ต้องการขอผ่อนผันหลักเกณฑ์บางข้อเพื่อให้สามารถเสนอแผนเข้ามาครั้งเดียวได้เลย เช่น การปล่อยสินเชื่อของ บง. ที่สามารถปล่อย
เงินกู้ได้ร้อยละ 60 ของเงินกองทุน แต่หากยกระดับเป็น ธ.พาณิชย์แล้ว ตามเกณฑ์จะปล่อยกู้ได้ร้อยละ 25 เท่านั้น ซึ่งเมื่อ บง.ยก
ระดับเป็น ธ.พาณิชย์ ก็จะต้องมีการผ่อนผันเวลาในการทยอยลดสัดส่วนการปล่อยกู้ นอกจากนี้ กรณีของกิจการวิเทศธนกิจ (BIBF)
เดิมไม่มีกฎเกณฑ์ควบคุมมากเพราะไม่ได้รับฝากเงิน แต่เมื่อมีการยกสถานะขึ้นเป็นสาขาเต็มรูปแบบก็จะมีการปรับหลักเกณฑ์มากขึ้น
ซึ่งจุดนี้คงต้องพิจารณาผ่อนผันไประยะหนึ่งก่อน สำหรับกรณี ธ.ยูโอบี สิงคโปร์ที่ได้ซื้อหุ้นของ ธ.เอเชีย ต่อจาก ธ.เอบีเอ็นแอมโรนั้น
ทาง ธ.ยูโอบีจะต้องยื่นแผนมาให้ ธปท.เช่นกันว่าจะเลือกสถานะใด เพราะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของทั้ง 2 ธนาคาร คือ ธ.ยูโอบี รัตนสิน
และ ธ.เอเชีย ซึ่งจะต้องเหลือเพียงสถานะเดียว ส่วนใบอนุญาตที่เหลือจะต้องคืนให้กับ ธปท. (ผู้จัดการ, โพสต์ทูเดย์)
3. ธปท. อนุมัติบริษัทเอกชนตั้งศูนย์บริหารเงินเฉพาะกลุ่ม นายสุชาติ สักการโกศล ผอ.สำนักกลยุทธ์และกำกับการแลก
เปลี่ยนเงิน สายตลาดการเงิน ธปท. แถลงการจัดตั้งศูนย์บริหารเงินในประเทศไทย โดยอนุญาตให้บริษัทในประเทศไทยหรือบริษัทต่าง
ประเทศที่มีบริษัทในเครือข่ายเดียวกัน หรือบริษัทที่เกี่ยวเนื่องทางธุรกิจการค้าระหว่างกันตั้งแต่ 3 บริษัทขึ้นไป สามารถยื่นขออนุญาต
ประกอบธุรกิจศูนย์บริหารการเงิน เพื่อบริหารจัดการทางการเงินให้แก่บริษัทในกลุ่มได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการบริหารเงินให้บริษัทใน
เครือข่าย โดยศูนย์บริหารเงินนี้สามารถประกอบธุรกิจ คือ 1. รับและจ่ายเงินตราต่างประเทศแทนกลุ่มบริษัท รวมทั้งการหักกลบลบ
หนี้ภาระผูกพันกับคู่ค้าในต่างประเทศ 2. ซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศและบริหารความเสี่ยงให้แก่กลุ่มบริษัท 3. บริหารสภาพคล่อง
ให้แก่กลุ่มบริษัท และ 4. การจัดทำบัญชีของกลุ่มบริษัท โดยเป็นการจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนให้บริษัทที่มีเครือข่ายการทำธุรกิจระหว่าง
ประเทศมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการทางการเงินและช่วยลดต้นทุนทางการเงินของบริษัทและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจ
ไทยในระยะยาว ทั้งนี้ บริษัทที่สนใจสามารถยื่นขอจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อบริหารศูนย์ดังกล่าวภายในเวลา 1 ปี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่
วันที่ 5 ก.ค.47 เป็นต้นไป (กรุงเทพธุรกิจ)
4. สภาพัฒน์เตือนรัฐบาลเร่งหาแหล่งเงินกู้ให้รัฐวิสาหกิจตามแผนลงทุน 5 ปี มูลค่า 2 ล้านล้านบาท นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า รัฐบาลควรจะเร่งหาแหล่งเงินทุนเพื่อ
ลงทุนก่อสร้างตามโครงการต่าง ๆ ให้เร็วที่สุด ตามแผนการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 5 ปี ระหว่างปี 2548-2552 ที่ ครม. อนุมัติงบลง
ทุนไว้ จำนวน 2 ล้านล้านบาท เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ และที่สำคัญคือขณะนี้อัตราดอกเบี้ยของธนาคาร พันธบัตร หรือเงินจากการระดมทุนด้วยวิธีอื่น ๆ ยังอยู่ในระดับต่ำ จึงสามารถช่วยลดภาระหนี้สาธารณะของรัฐบาลได้จำนวนมาก ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตอัตราดอกเบี้ย หรือแม้แต่ผลตอบแทนของพันธบัตร และการระดมทุนต่าง ๆ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ทำให้รัฐบาลต้องมีภาระต้นทุนในการก่อสร้างเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ แหล่งเงินทุนที่จะนำมาก่อสร้างนั้นควรจะเน้นจากในประเทศก่อน โดยอาจจะมาจากการตั้งบริษัทในการระดมทุน การกู้ หรือออกพันธบัตร เป็นต้น ซึ่งคาดว่า ก.คลังคงจะมีผลสรุปเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อหนี้สาธารณะน้อยที่สุดได้ในเร็ว ๆ นี้ สำหรับการระดมเงินทุนในการก่อสร้างตามโครงการต่าง ๆ นั้น รัฐบาลไม่จำเป็นต้องหาเงินทุนครั้งเดียว จำนวน 2 ล้านล้านบาท แต่อาจจะแบ่งเป็นการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ เป็นระยะ มูลค่าประมาณ 6-7 แสนล้านบาท เช่น ควรจะขยายระบบขนส่งรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลก่อน เพราะช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศในส่วนที่ต้องมีการนำเข้าปริมาณน้ำมันที่คาดว่าจะมีราคาสูงขึ้นในอนาคต ส่วนผลประโยชน์ในการก่อสร้างของโครงการขนาดใหญ่ก็จะเป็นตัวช่วยผลักดันให้ตัวเลขของจีดีพีขยายตัวสูงขึ้น เพราะจะทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ1. Global PMI .ในเดือน มิ.ย.47 แสดงให้เห็นถึงการชะลอตัวของ Global services
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 6 ก.ค.47 ผลสำรวจของ JP Morgan พบว่า The global all-industry index ซึ่งเป็นตัวชี้วัด
ผลผลิตทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการโดยอ้างอิงจากดัชนี PMI ในเดือน มิ.ย.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 58.7 จากระดับ 60.4
ในเดือนก่อน แต่ก็ยังอยู่เหนือระดับ 50 ที่เป็นเส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและการหดตัวของภาวะเศรษฐกิจ โดย The global
services index ในเดือนเดียวกันลดลงอยู่ที่ระดับ 58.9 จากระดับ 60.9 ในเดือนก่อน ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดภาคบริการได้จากการ
สำรวจข้อมูลของประเทศต่าง ๆ รวมทั้ง สรอ. ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และสเปน (รอยเตอร์)
2. ดัชนีนอกภาคอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.47 ลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ขณะที่สถานการณ์
ด้านแรงงานเริ่มไม่ชัดเจน รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 6 ก.ค.47 The Institute for Supply Management (ISM) เปิดเผยว่า
ดัชนีนอกอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 59.9 จากระดับ 65.2 ในเดือนก่อน ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลงอยู่ที่ระดับ 63.0 แต่ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ทั้งนี้ ตัวเลขดัชนีดังกล่าวเป็นตัวชี้วัดการเติบโตภาคบริการ ซึ่งรวมถึง
กิจการด้านภัตตาคาร โรงแรม ตลอดจนธนาคารพาณิชย์และกิจการการบินทั้งหมด ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 80 ในระบบเศรษฐกิจของ
สรอ. ขณะที่ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 62.4 จากระดับ 61.3 ในเดือนก่อน ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีโครงการที่จะว่า
จ้างแรงงานใหม่เพิ่มเติมในอนาคต โดยดัชนีการจ้างงานในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 57.4 จากระดับ 56.3 ในเดือน
พ.ค.47 นอกจากนี้ รายงานการวิจัยเกี่ยวกับการจ้างงานของบริษัท Challenger, Gray and Christmas ยังมีรายงานเพิ่มเติม
ว่า แผนการปรับลดคนงานของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.47 จะลดลงสู่ระดับ 64,343 คน จากระดับ 73,368 คนในเดือนก่อน ขณะที่การ
จ้างงานของธุรกิจในเดือนเดียวกันลดลงอยู่ที่จำนวน 38,377 คน จากจำนวน 55,307 คนในเดือน พ.ค.47 หรือลดลงร้อยละ 31
อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์ก่อน ก.แรงงาน สรอ. ได้เปิดเผยเกี่ยวกับตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมในเดือน มิ.ย.47 ว่า
ขยายตัวจำนวน 112,000 ตำแหน่ง ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ถึงครึ่งหนึ่ง อันทำให้ขณะนี้ภาพลักษณ์การจ้างงานของ สรอ.
ไม่ค่อยดีนัก แต่อย่างไรก็ตาม ข่าวเกี่ยวกับงานที่เป็นภาพลบในขณะนี้นั้นสามารถช่วยผ่อนคลายความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่เกรง
ว่าจะสูงขึ้นรวมทั้งแนวโน้มที่คาดว่าตลาดแรงงานจะดีขึ้น อันจะทำให้ ธ.กลาง สรอ.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อน
หน้านี้ (รอยเตอร์)
3. นักธุรกิจมองว่าเศรษฐกิจ สรอ.กำลังขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพแต่ยังกังวลเรื่องต้นทุนธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้น รายงานจาก
วอชิงตัน เมื่อ 6 ก.ค.47 ผลสำรวจความเห็นของนักธุรกิจจำนวน 104 รายระหว่างวันที่ 8 — 23 มิ.ย.47 โดย The National
Association of Business Economics ปรากฎว่าผู้ถูกสำรวจทั้งหมดเชื่อว่าเศรษฐกิจของ สรอ.กำลังขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ
โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.0 ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปีนี้ เท่ากับไตรมาสแรก แต่ผู้ถูกสำรวจส่วนใหญ่กังวลเรื่องต้นทุนธุรกิจ
จากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น โดย 1 ใน 3 ของผู้ถูกสำรวจพยายามขึ้นราคาสินค้าของตนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา โดยร้อยละ 94 สามารถ
ขึ้นราคาสินค้าได้ตามที่ต้องการหรือขึ้นได้เพียงบางส่วน ในขณะที่มากกว่า 1 ใน 3 คาดว่าราคาส่วนใหญ่จะปรับขึ้นในไตรมาสที่ 3 ปีนี้
โดยจะปรับขึ้นมากในสินค้าและอัตราดอกเบี้ย ประมาณร้อยละ 41 ของผู้ถูกสำรวจมีแผนที่จะจ้างงานเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ เทียบกับ
ร้อยละ 34 ในไตรมาสก่อน ผลจากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในภาคการขนส่ง สาธารณาธูปโภค และการสื่อสาร ร้อยละ 66
เชื่อว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ.จะส่งผลกระทบต่อการลงทุน ในขณะที่ร้อยละ 15 คิดว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะช่วยเร่ง
ให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มสูงขึ้นอีกในปี 49 (รอยเตอร์)
4. เดือน พ.ค.47 ภาคอุตสาหกรรมอังกฤษเติบโตในอัตราที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.46 รายงานจากลอนดอนเมื่อ
6 ก.ค.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ เปิดเผยว่า เดือน พ.ค.47 อัตราการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0
(อัตราต่อปี) สูงกว่าประมาณการที่ร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นการเติบโตในอัตราที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.46 ที่เติบโตร้อยละ 2.5
ขณะที่อัตราต่อเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 สูงกว่าประมาณการที่ร้อยละ 0.3 ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่า การเติบโตที่แข็งแกร่งของภาค
อุตสาหกรรมอังกฤษเพียงภาคเดียว ยังไม่สามารถสะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่สมดุล และการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในครั้งต่อไป
อาจจะมีความจำเป็นเพื่อลดผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่มีสาเหตุจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม อนึ่ง นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า
ตัวเลขการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมสอดคล้องกับผลการสำรวจการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ
1 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 47 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในไตรมาสแรก นอกจากนี้ ยังมีดัชนี้ชี้เศรษฐกิจอื่นๆ ที่ช่วยสนับสนุนการเติบ
โตของจีดีพีในไตรมาส 2 รวมถึงสนับสนุนทิศทางการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกร้อยละ 0.25 ในครั้งต่อไปในเดือน ส.ค.47 คือ
ตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสแรกปี 47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการเติบโตในอัตราที่เร็วที่สุด
นับตั้งแต่เดือน พ.ย.45 ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมซึ่งรวมราคาน้ำมันทะเลเหนือและก๊าซในเดือน พ.ค.47 ก็เพิ่มขึ้นเช่นกันร้อยละ 0.5
เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เทียบต่อปี (รอยเตอร์)
5. ยอดขายปลีกของกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรปลดลงในเดือน พ.ค.47 รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 6 ก.ค.47
The European Union Statistics Office เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรป (12 ประเทศ)
ในเดือน พ.ค.47 ลดลงร้อยละ 1.3 เทียบกับเดือน เม.ย.47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ขณะที่ลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียว
กันของปีก่อน สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ชะลอลง สำหรับยอดขายปลีกของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (25 ประเทศ) ในเดือน
เดียวกัน ลดลงร้อยละ 0.4 เทียบกับเดือน เม.ย.47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ขณะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ค.46 ที่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 โดยในบรรดาประเทศสมาชิก ยอดขายปลีกของโปรตุเกสลดลงสูงสุดร้อยละ 3.5 รองลงมาคือ เยอรมนี ลดลง
ร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบต่อเดือน ขณะที่เมื่อเทียบต่อปี ยอดขายปลีกของอังกฤษลดลงสูงสุดร้อยละ 8.0 รองลงมาคือสวีเดนและเยอรมนี
ที่ลดลงร้อยละ 5.4 และ 2.9 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 7/7/47 6/7/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.828 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6248/40.9135 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.09375-1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 664.69/26.16 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,550/7,650 7,550/7,650 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35 35.1 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. จะส่งสัญญาณนโยบายการเงินหลังการประชุมในวันที่ 21 ก.ค.นี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท.
เปิดเผยว่า หลังจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 21 ก.ค.นี้ จะมีการส่งสัญญาณแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจไทยใน
ระยะต่อไปผ่านอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) 14 วัน ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีความสำคัญมาก ไม่ใช่แค่เรื่องดอกเบี้ยอย่าง
เดียว เพราะจะมีการตัดสินถึงนโยบายการเงินที่ชัดเจนของไทยในระยะต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร แต่ขณะนี้ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าอัตรา
ดอกเบี้ยจะไปทางไหน โดยจะมีการนำเอาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย เช่น สภาพคล่องในระบบ การ
ขยายตัวของสินเชื่อ การแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่มีแนวโน้มว่าจะลดลง เรื่องของเงินทุนเคลื่อนย้าย รวมทั้ง
สัญญาณทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ. และราคาน้ำมันที่ยังอยู่ใน
ระดับสูง มาพิจารณาประกอบด้วย (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. ยืนยันเวลายื่นแผนขอยกระดับเป็น ธ.พาณิชย์ ภายในวันที่ 31 ก.ค.47 นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้มีสถาบันการเงินยื่นแผนขอยกระดับเป็น ธ.พาณิชย์เพิ่มอีก 2 ราย จากก่อนหน้า
นี้ที่มียื่นแผนมา 3 ราย รวมเป็น 5 ราย โดยมีทั้ง 2 แบบ คือ แบบขอยกฐานะเป็น ธ.พาณิชย์รายย่อย และแบบเป็น ธ.พาณิชย์เต็มรูป
แบบ ซึ่งรายที่ยื่นแผนมาก่อนหน้านี้ได้ส่งให้ ก.คลังพิจารณาแล้ว 1 ราย ส่วนที่เหลือ ธปท. กำลังพิจารณาเพื่อส่งเรื่องให้ ก.คลังพิจารณา
อนุมัติต่อไป ทั้งนี้ ธปท. ได้กำหนดให้สถาบันการเงินต้องยื่นแผนมาภายในวันที่ 31 ก.ค.47 ซึ่ง ธปท.จะไม่ยืดเวลาให้อย่างแน่นอน
หากสถาบันการเงินใดไม่ยื่นแผนก็จะหมดโอกาสในการปรับสถานะ และจะเรียกสถาบันการเงินที่ไม่สามารถยื่นแผนได้ตามเวลาที่กำหนด
เข้ามาหารือเป็นราย ๆ ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งในปัจจุบันได้มีสถาบันการเงินเข้ามาหารือกับ ธปท. อย่างต่อเนื่อง บางราย
ต้องการขอผ่อนผันหลักเกณฑ์บางข้อเพื่อให้สามารถเสนอแผนเข้ามาครั้งเดียวได้เลย เช่น การปล่อยสินเชื่อของ บง. ที่สามารถปล่อย
เงินกู้ได้ร้อยละ 60 ของเงินกองทุน แต่หากยกระดับเป็น ธ.พาณิชย์แล้ว ตามเกณฑ์จะปล่อยกู้ได้ร้อยละ 25 เท่านั้น ซึ่งเมื่อ บง.ยก
ระดับเป็น ธ.พาณิชย์ ก็จะต้องมีการผ่อนผันเวลาในการทยอยลดสัดส่วนการปล่อยกู้ นอกจากนี้ กรณีของกิจการวิเทศธนกิจ (BIBF)
เดิมไม่มีกฎเกณฑ์ควบคุมมากเพราะไม่ได้รับฝากเงิน แต่เมื่อมีการยกสถานะขึ้นเป็นสาขาเต็มรูปแบบก็จะมีการปรับหลักเกณฑ์มากขึ้น
ซึ่งจุดนี้คงต้องพิจารณาผ่อนผันไประยะหนึ่งก่อน สำหรับกรณี ธ.ยูโอบี สิงคโปร์ที่ได้ซื้อหุ้นของ ธ.เอเชีย ต่อจาก ธ.เอบีเอ็นแอมโรนั้น
ทาง ธ.ยูโอบีจะต้องยื่นแผนมาให้ ธปท.เช่นกันว่าจะเลือกสถานะใด เพราะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของทั้ง 2 ธนาคาร คือ ธ.ยูโอบี รัตนสิน
และ ธ.เอเชีย ซึ่งจะต้องเหลือเพียงสถานะเดียว ส่วนใบอนุญาตที่เหลือจะต้องคืนให้กับ ธปท. (ผู้จัดการ, โพสต์ทูเดย์)
3. ธปท. อนุมัติบริษัทเอกชนตั้งศูนย์บริหารเงินเฉพาะกลุ่ม นายสุชาติ สักการโกศล ผอ.สำนักกลยุทธ์และกำกับการแลก
เปลี่ยนเงิน สายตลาดการเงิน ธปท. แถลงการจัดตั้งศูนย์บริหารเงินในประเทศไทย โดยอนุญาตให้บริษัทในประเทศไทยหรือบริษัทต่าง
ประเทศที่มีบริษัทในเครือข่ายเดียวกัน หรือบริษัทที่เกี่ยวเนื่องทางธุรกิจการค้าระหว่างกันตั้งแต่ 3 บริษัทขึ้นไป สามารถยื่นขออนุญาต
ประกอบธุรกิจศูนย์บริหารการเงิน เพื่อบริหารจัดการทางการเงินให้แก่บริษัทในกลุ่มได้ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการบริหารเงินให้บริษัทใน
เครือข่าย โดยศูนย์บริหารเงินนี้สามารถประกอบธุรกิจ คือ 1. รับและจ่ายเงินตราต่างประเทศแทนกลุ่มบริษัท รวมทั้งการหักกลบลบ
หนี้ภาระผูกพันกับคู่ค้าในต่างประเทศ 2. ซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศและบริหารความเสี่ยงให้แก่กลุ่มบริษัท 3. บริหารสภาพคล่อง
ให้แก่กลุ่มบริษัท และ 4. การจัดทำบัญชีของกลุ่มบริษัท โดยเป็นการจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนให้บริษัทที่มีเครือข่ายการทำธุรกิจระหว่าง
ประเทศมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการทางการเงินและช่วยลดต้นทุนทางการเงินของบริษัทและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจ
ไทยในระยะยาว ทั้งนี้ บริษัทที่สนใจสามารถยื่นขอจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อบริหารศูนย์ดังกล่าวภายในเวลา 1 ปี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่
วันที่ 5 ก.ค.47 เป็นต้นไป (กรุงเทพธุรกิจ)
4. สภาพัฒน์เตือนรัฐบาลเร่งหาแหล่งเงินกู้ให้รัฐวิสาหกิจตามแผนลงทุน 5 ปี มูลค่า 2 ล้านล้านบาท นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า รัฐบาลควรจะเร่งหาแหล่งเงินทุนเพื่อ
ลงทุนก่อสร้างตามโครงการต่าง ๆ ให้เร็วที่สุด ตามแผนการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 5 ปี ระหว่างปี 2548-2552 ที่ ครม. อนุมัติงบลง
ทุนไว้ จำนวน 2 ล้านล้านบาท เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ และที่สำคัญคือขณะนี้อัตราดอกเบี้ยของธนาคาร พันธบัตร หรือเงินจากการระดมทุนด้วยวิธีอื่น ๆ ยังอยู่ในระดับต่ำ จึงสามารถช่วยลดภาระหนี้สาธารณะของรัฐบาลได้จำนวนมาก ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตอัตราดอกเบี้ย หรือแม้แต่ผลตอบแทนของพันธบัตร และการระดมทุนต่าง ๆ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ทำให้รัฐบาลต้องมีภาระต้นทุนในการก่อสร้างเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ แหล่งเงินทุนที่จะนำมาก่อสร้างนั้นควรจะเน้นจากในประเทศก่อน โดยอาจจะมาจากการตั้งบริษัทในการระดมทุน การกู้ หรือออกพันธบัตร เป็นต้น ซึ่งคาดว่า ก.คลังคงจะมีผลสรุปเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อหนี้สาธารณะน้อยที่สุดได้ในเร็ว ๆ นี้ สำหรับการระดมเงินทุนในการก่อสร้างตามโครงการต่าง ๆ นั้น รัฐบาลไม่จำเป็นต้องหาเงินทุนครั้งเดียว จำนวน 2 ล้านล้านบาท แต่อาจจะแบ่งเป็นการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ เป็นระยะ มูลค่าประมาณ 6-7 แสนล้านบาท เช่น ควรจะขยายระบบขนส่งรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลก่อน เพราะช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศในส่วนที่ต้องมีการนำเข้าปริมาณน้ำมันที่คาดว่าจะมีราคาสูงขึ้นในอนาคต ส่วนผลประโยชน์ในการก่อสร้างของโครงการขนาดใหญ่ก็จะเป็นตัวช่วยผลักดันให้ตัวเลขของจีดีพีขยายตัวสูงขึ้น เพราะจะทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ1. Global PMI .ในเดือน มิ.ย.47 แสดงให้เห็นถึงการชะลอตัวของ Global services
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 6 ก.ค.47 ผลสำรวจของ JP Morgan พบว่า The global all-industry index ซึ่งเป็นตัวชี้วัด
ผลผลิตทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการโดยอ้างอิงจากดัชนี PMI ในเดือน มิ.ย.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 58.7 จากระดับ 60.4
ในเดือนก่อน แต่ก็ยังอยู่เหนือระดับ 50 ที่เป็นเส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและการหดตัวของภาวะเศรษฐกิจ โดย The global
services index ในเดือนเดียวกันลดลงอยู่ที่ระดับ 58.9 จากระดับ 60.9 ในเดือนก่อน ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดภาคบริการได้จากการ
สำรวจข้อมูลของประเทศต่าง ๆ รวมทั้ง สรอ. ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และสเปน (รอยเตอร์)
2. ดัชนีนอกภาคอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.47 ลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ขณะที่สถานการณ์
ด้านแรงงานเริ่มไม่ชัดเจน รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 6 ก.ค.47 The Institute for Supply Management (ISM) เปิดเผยว่า
ดัชนีนอกอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 59.9 จากระดับ 65.2 ในเดือนก่อน ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลงอยู่ที่ระดับ 63.0 แต่ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ทั้งนี้ ตัวเลขดัชนีดังกล่าวเป็นตัวชี้วัดการเติบโตภาคบริการ ซึ่งรวมถึง
กิจการด้านภัตตาคาร โรงแรม ตลอดจนธนาคารพาณิชย์และกิจการการบินทั้งหมด ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 80 ในระบบเศรษฐกิจของ
สรอ. ขณะที่ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 62.4 จากระดับ 61.3 ในเดือนก่อน ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีโครงการที่จะว่า
จ้างแรงงานใหม่เพิ่มเติมในอนาคต โดยดัชนีการจ้างงานในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 57.4 จากระดับ 56.3 ในเดือน
พ.ค.47 นอกจากนี้ รายงานการวิจัยเกี่ยวกับการจ้างงานของบริษัท Challenger, Gray and Christmas ยังมีรายงานเพิ่มเติม
ว่า แผนการปรับลดคนงานของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.47 จะลดลงสู่ระดับ 64,343 คน จากระดับ 73,368 คนในเดือนก่อน ขณะที่การ
จ้างงานของธุรกิจในเดือนเดียวกันลดลงอยู่ที่จำนวน 38,377 คน จากจำนวน 55,307 คนในเดือน พ.ค.47 หรือลดลงร้อยละ 31
อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์ก่อน ก.แรงงาน สรอ. ได้เปิดเผยเกี่ยวกับตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมในเดือน มิ.ย.47 ว่า
ขยายตัวจำนวน 112,000 ตำแหน่ง ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ถึงครึ่งหนึ่ง อันทำให้ขณะนี้ภาพลักษณ์การจ้างงานของ สรอ.
ไม่ค่อยดีนัก แต่อย่างไรก็ตาม ข่าวเกี่ยวกับงานที่เป็นภาพลบในขณะนี้นั้นสามารถช่วยผ่อนคลายความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่เกรง
ว่าจะสูงขึ้นรวมทั้งแนวโน้มที่คาดว่าตลาดแรงงานจะดีขึ้น อันจะทำให้ ธ.กลาง สรอ.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อน
หน้านี้ (รอยเตอร์)
3. นักธุรกิจมองว่าเศรษฐกิจ สรอ.กำลังขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพแต่ยังกังวลเรื่องต้นทุนธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้น รายงานจาก
วอชิงตัน เมื่อ 6 ก.ค.47 ผลสำรวจความเห็นของนักธุรกิจจำนวน 104 รายระหว่างวันที่ 8 — 23 มิ.ย.47 โดย The National
Association of Business Economics ปรากฎว่าผู้ถูกสำรวจทั้งหมดเชื่อว่าเศรษฐกิจของ สรอ.กำลังขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ
โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.0 ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปีนี้ เท่ากับไตรมาสแรก แต่ผู้ถูกสำรวจส่วนใหญ่กังวลเรื่องต้นทุนธุรกิจ
จากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น โดย 1 ใน 3 ของผู้ถูกสำรวจพยายามขึ้นราคาสินค้าของตนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา โดยร้อยละ 94 สามารถ
ขึ้นราคาสินค้าได้ตามที่ต้องการหรือขึ้นได้เพียงบางส่วน ในขณะที่มากกว่า 1 ใน 3 คาดว่าราคาส่วนใหญ่จะปรับขึ้นในไตรมาสที่ 3 ปีนี้
โดยจะปรับขึ้นมากในสินค้าและอัตราดอกเบี้ย ประมาณร้อยละ 41 ของผู้ถูกสำรวจมีแผนที่จะจ้างงานเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ เทียบกับ
ร้อยละ 34 ในไตรมาสก่อน ผลจากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในภาคการขนส่ง สาธารณาธูปโภค และการสื่อสาร ร้อยละ 66
เชื่อว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ.จะส่งผลกระทบต่อการลงทุน ในขณะที่ร้อยละ 15 คิดว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะช่วยเร่ง
ให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มสูงขึ้นอีกในปี 49 (รอยเตอร์)
4. เดือน พ.ค.47 ภาคอุตสาหกรรมอังกฤษเติบโตในอัตราที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.46 รายงานจากลอนดอนเมื่อ
6 ก.ค.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ เปิดเผยว่า เดือน พ.ค.47 อัตราการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0
(อัตราต่อปี) สูงกว่าประมาณการที่ร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นการเติบโตในอัตราที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.46 ที่เติบโตร้อยละ 2.5
ขณะที่อัตราต่อเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 สูงกว่าประมาณการที่ร้อยละ 0.3 ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่า การเติบโตที่แข็งแกร่งของภาค
อุตสาหกรรมอังกฤษเพียงภาคเดียว ยังไม่สามารถสะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่สมดุล และการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในครั้งต่อไป
อาจจะมีความจำเป็นเพื่อลดผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่มีสาเหตุจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม อนึ่ง นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า
ตัวเลขการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมสอดคล้องกับผลการสำรวจการเติบโตของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ
1 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 47 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในไตรมาสแรก นอกจากนี้ ยังมีดัชนี้ชี้เศรษฐกิจอื่นๆ ที่ช่วยสนับสนุนการเติบ
โตของจีดีพีในไตรมาส 2 รวมถึงสนับสนุนทิศทางการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกร้อยละ 0.25 ในครั้งต่อไปในเดือน ส.ค.47 คือ
ตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสแรกปี 47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการเติบโตในอัตราที่เร็วที่สุด
นับตั้งแต่เดือน พ.ย.45 ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมซึ่งรวมราคาน้ำมันทะเลเหนือและก๊าซในเดือน พ.ค.47 ก็เพิ่มขึ้นเช่นกันร้อยละ 0.5
เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เทียบต่อปี (รอยเตอร์)
5. ยอดขายปลีกของกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรปลดลงในเดือน พ.ค.47 รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 6 ก.ค.47
The European Union Statistics Office เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรป (12 ประเทศ)
ในเดือน พ.ค.47 ลดลงร้อยละ 1.3 เทียบกับเดือน เม.ย.47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ขณะที่ลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียว
กันของปีก่อน สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ชะลอลง สำหรับยอดขายปลีกของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (25 ประเทศ) ในเดือน
เดียวกัน ลดลงร้อยละ 0.4 เทียบกับเดือน เม.ย.47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ขณะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ค.46 ที่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 โดยในบรรดาประเทศสมาชิก ยอดขายปลีกของโปรตุเกสลดลงสูงสุดร้อยละ 3.5 รองลงมาคือ เยอรมนี ลดลง
ร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบต่อเดือน ขณะที่เมื่อเทียบต่อปี ยอดขายปลีกของอังกฤษลดลงสูงสุดร้อยละ 8.0 รองลงมาคือสวีเดนและเยอรมนี
ที่ลดลงร้อยละ 5.4 และ 2.9 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 7/7/47 6/7/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.828 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6248/40.9135 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.09375-1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 664.69/26.16 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,550/7,650 7,550/7,650 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35 35.1 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-