สำหรับกิจกรรมและความเคลื่อนไหวของ สศอ. ช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คงจะต้องเอ่ยถึง งานเสวนา "โครงการศึกษาการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต" ซึ่งสศอ.ร่วมกับสถาบันไทย-เยอรมัน จัดขึ้น ณ โรงแรมฟอร์จูน โดยมี นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงาน และนายมนู เลียวไพโรจน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบโล่ห์เกียรติคุณแก่ผู้ประกอบการ 53 โรงงานที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษากระบวนการผลิตและเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมรายสาขา และทราบถึงปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนากระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมนำร่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ รองเท้าแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา แปรรูปผลิตผลทางการเกษตร และบรรจุภัณฑ์ คาดว่า โครงการจะเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกรกฎาคมนี้
นอกจากนี้ เมื่อเร็วๆนี้ นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้เข้าร่วมเสวนา หัวข้อเรื่อง "ส่องกล้องอนาคตการค้าอุตสาหกรรมสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มหลังปี 47" ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค(บางนา) สำหรับการเสวนาครั้งนี้ นางชุตาภรณ์ฯ ได้เปิดเผยถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมสิ่งทอหลังปี 2547 ว่ามีแนวโน้มที่สดใส โดยมุ่งเน้นให้อุตสาหกรรมสิ่งทอไทย เพิ่มบุคลากรที่มีทักษะความชำนาญเฉพาะด้านมากขึ้น รู้จักคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นแบบฉบับของตนเอง ไม่ใช่การลอกเลียนแบบต่างประเทศเพียงอย่างเดียว ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้น เพื่อสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มทางด้านการผลิต รวมทั้ง เพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกให้มีประสิทธิภาพ
จากความสำคัญของการส่งเสริมอุตสาหกรรมสิ่งทอให้แข่งขันได้อย่างยั่งยืน สศอ.ได้ร่วมกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในการพัฒนาโปรแกรมซอฟแวร์ ERP [Enterprise Resource Planning
] / Quick Response for Textile&Garment Industry เพื่อใช้ในการจัดการสร้างระบบเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจในรูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้าระหว่างกัน ก่อให้เกิดการทำงานรวดเร็ว และเห็นผลภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยในระยะแรกของโครงการ จะมีการเข้าไปศึกษาระบบการทำงานจากโรงงานตัวอย่าง และออกแบบซอฟแวร์ดังกล่าว ให้เหมาะกับระบบการทำงานจริงของแต่ละโรงงาน สำหรับ ระบบการทำงานของโปรแกรมซอฟแวร์นี้ จะครอบคลุมในส่วนที่เป็นแกนของธุรกิจในทุกภาคการผลิต ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ ซึ่งประกอบด้วย อุตสาหกรรมปั่นด้าย อุตสาหกรรมทอผ้า อุตสาหกรรมฟอกย้อม และอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม โดยทั้ง 4 กลุ่มอุตสาหกรรมล้วนมีความเกี่ยวเนื่องกัน ทั้งนี้ การตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้า [Rules of Origin
] สามารถทำได้โดยการใช้ตัวซอฟแวร์ช่วยทำงานในการค้นหาข้อมูลวัตถุดิบจากปริมาณสินค้าที่มีอยู่( Inventory) ซึ่งจะมีการทำงานร่วมกับระบบบาร์โค้ด ที่จะใช้รหัสแท่งในการแทนค่าต่างๆ ให้กับสินค้า เช่น ชื่อสินค้า ชนิดสินค้า Order Code วันที่ต้องทำเสร็จ เป็นต้น เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบและประกอบการตัดสินใจได้โดยใช้เวลาไม่นานนัก
หากต้องการข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ ศูนย์ข้อมูลสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ โทร.0-2713-5492
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นอกจากนี้ เมื่อเร็วๆนี้ นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้เข้าร่วมเสวนา หัวข้อเรื่อง "ส่องกล้องอนาคตการค้าอุตสาหกรรมสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มหลังปี 47" ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค(บางนา) สำหรับการเสวนาครั้งนี้ นางชุตาภรณ์ฯ ได้เปิดเผยถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมสิ่งทอหลังปี 2547 ว่ามีแนวโน้มที่สดใส โดยมุ่งเน้นให้อุตสาหกรรมสิ่งทอไทย เพิ่มบุคลากรที่มีทักษะความชำนาญเฉพาะด้านมากขึ้น รู้จักคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นแบบฉบับของตนเอง ไม่ใช่การลอกเลียนแบบต่างประเทศเพียงอย่างเดียว ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้น เพื่อสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มทางด้านการผลิต รวมทั้ง เพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกให้มีประสิทธิภาพ
จากความสำคัญของการส่งเสริมอุตสาหกรรมสิ่งทอให้แข่งขันได้อย่างยั่งยืน สศอ.ได้ร่วมกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในการพัฒนาโปรแกรมซอฟแวร์ ERP [Enterprise Resource Planning
] / Quick Response for Textile&Garment Industry เพื่อใช้ในการจัดการสร้างระบบเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจในรูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้าระหว่างกัน ก่อให้เกิดการทำงานรวดเร็ว และเห็นผลภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยในระยะแรกของโครงการ จะมีการเข้าไปศึกษาระบบการทำงานจากโรงงานตัวอย่าง และออกแบบซอฟแวร์ดังกล่าว ให้เหมาะกับระบบการทำงานจริงของแต่ละโรงงาน สำหรับ ระบบการทำงานของโปรแกรมซอฟแวร์นี้ จะครอบคลุมในส่วนที่เป็นแกนของธุรกิจในทุกภาคการผลิต ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ ซึ่งประกอบด้วย อุตสาหกรรมปั่นด้าย อุตสาหกรรมทอผ้า อุตสาหกรรมฟอกย้อม และอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม โดยทั้ง 4 กลุ่มอุตสาหกรรมล้วนมีความเกี่ยวเนื่องกัน ทั้งนี้ การตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้า [Rules of Origin
] สามารถทำได้โดยการใช้ตัวซอฟแวร์ช่วยทำงานในการค้นหาข้อมูลวัตถุดิบจากปริมาณสินค้าที่มีอยู่( Inventory) ซึ่งจะมีการทำงานร่วมกับระบบบาร์โค้ด ที่จะใช้รหัสแท่งในการแทนค่าต่างๆ ให้กับสินค้า เช่น ชื่อสินค้า ชนิดสินค้า Order Code วันที่ต้องทำเสร็จ เป็นต้น เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบและประกอบการตัดสินใจได้โดยใช้เวลาไม่นานนัก
หากต้องการข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ ศูนย์ข้อมูลสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ โทร.0-2713-5492
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-