ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ก.คลังจะสรุปร่าง พรบ.สถาบันประกันเงินฝากปลายเดือน ก.ค.นี้ แหล่งข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลัง และ ธปท.
จะหารือกันเพื่อสรุปร่าง พรบ.สถาบันประกันเงินฝากปลายเดือน ก.ค.นี้เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร และ
จะมีการแถลงอย่างเป็นทางการร่วมกัน เพื่อส่งสัญญาณให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบอย่างชัดเจนว่า กฎหมายสถาบันประกันเงินฝากจะถูกผลักดันออกมาใช้
ในอีกไม่นานนี้ นอกจากนี้ ก.คลัง และ ธปท. จะทำการประชาสัมพันธ์ให้สถาบันการเงินและผู้ฝากเงินมีความเข้าใจ เพื่อจะได้วางแผนการเงิน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับนำร่างกฎหมายเข้าพิจารณา สำหรับร่าง พรบ.สถาบันประกันเงินฝากมีระยะเวลาปรับตัว 4 ปี แต่ยังต้องหาข้อ
สรุปว่าหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้อาจจะต้องคุ้มครองเงินฝาก 100% ของเงินฝากทั้งจำนวนเป็นระยะเวลาสั้นประมาณ 6 เดือนก่อน เพื่อให้ผู้ฝาก
เงินมีโอกาสวางแผนเคลื่อนย้ายเงินฝากได้อย่างไม่ตื่นตกใจ หลังจากนั้น จะมีการปรับวงเงินประกันเหลือ 50 ล้านบาท 25 ล้านบาท 10 ล้าน
บาท และ 1 ล้านบาทต่อหนึ่งชื่อบัญชีต่อหนึ่งธนาคาร (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. รอจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการขายหุ้น ธ.ไทยธนาคาร ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยนโยบาย
การขายหุ้น ธ.ไทยธนาคาร ที่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถืออยู่ว่า ขณะนี้ ธ.ไทยธนาคารไม่ใช่ธนาคารของรัฐแล้ว เพราะกองทุนฯ
ถือหุ้นเพียงร้อยละ 49 หากกองทุนฯ จะขายหุ้นออกไปจะต้องพิจารณาจังหวะและความเหมาะสม เพื่อให้ได้ราคาดีที่สุด ไม่จำเป็นต้องรีบขาย
เพราะสัดส่วนที่กองทุนฯ ถืออยู่ก็ไม่มีปัญหาอะไร อีกทั้งการขายหุ้นก่อนหน้านี้กองทุนฯ ก็ได้กำไรพอสมควรแล้ว ก่อนหน้านี้ ธปท. มีนโยบายที่จะ
ขายหุ้นทั้หมดของ ธ.พาณิชย์ที่กองทุนฯ ถืออยู่ซึ่งได้มาจากการเข้าไปช่วยเหลือ ธ.พาณิชย์ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในปี 40 โดยตั้งเป้าจะขายหุ้นที่ถือ
อยู่ทั้งหมดใน ธ.พาณิชย์ให้แล้วเสร็จภายในปี 50 ซึ่งเป็นปีที่ตั้งเป้าหมายจะยกเลิกการดำเนินการของกองทุนฯ เป็นการถาวร โดยกองทุนฯ จะ
ทยอยขายหุ้น ธ.นครหลวงไทย และ ธ.ไทยธนาคารให้เสร็จสิ้นภายในปี 49 ส่วนหุ้น ธ.กรุงไทยจะทยอยขายในปี 49 และคาดว่าจะขายได้หมด
ภายในปี 50 เนื่องจากหุ้นของ ธ.กรุงไทยมีจำนวนมากกว่าแห่งอื่น ขณะที่ในส่วนของ บง. ที่เข้าไปแทรกแซงนั้น ธปท. จะทยอยขายหุ้นออกไป
เช่นกัน โดยจะเริ่มทยอยขายตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 47 ไปจนถึงปี 50 ส่วนตัว บล. 56 ไฟแนนซ์นั้นขณะนี้กำลังทยอยขายลูกหนี้ 56 ไฟแนนซ์
เพื่อที่จะนำเม็ดเงินกลับมาชดเชยความเสียหายให้กับกองทุนฯ โดยประมูลทั้งบริษัท ครั้งละกลุ่ม กลุ่มละหลาย ๆ บริษัท ซึ่งคาดว่าจะเสร็จภาย
ในสิ้นปี 48 (ผู้จัดการ)
3. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าจีดีพีในไตรมาส 2 จะชะลอตัวลงจากไตรมาสแรก บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้ออกบทวิเคราะห์
เรื่อง ตัวเลขจีดีพี ไตรมาสที่ 2 : แนวโน้มชะลอตัวจากไตรมาสแรก ว่า มีความเป็นไปได้ว่าอัตราการขยายตัวของจีดีพีในไตรมาสสองอาจจะต่ำ
กว่าไตรมาสแรก และต่ำกว่าที่คาดหวังไว้ ซึ่งจากการคาดการณ์เบื้องต้นจีดีพีไตรมาสสองอาจจะขยายตัวร้อยละ 6.0-6.5 และจะส่งผลกดดันต่อ
การขยายตัวของจีดีพีทั้งปี เพราะช่วงหลังของปีโดยเฉพาะในไตรมาสสุดท้ายจะต้องเทียบกับฐานที่ค่อนข้างสูงของปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ตัวแปรเศรษฐกิจ
สำคัญใน 2 เดือนแรกของไตรมาสสอง (เม.ย.-พ.ค.47) ล้วนชะลอตัวลงจากไตรมาสแรกทั้งสิ้น สาเหตุจากราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นและ
สถานการณ์ในภาคใต้ โดยตัวเลขของ ธปท. พบว่า ระหว่างเดือน เม.ย.- พ.ค. การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเพียงร้อยละ 3.5 เทียบกับ
ร้อยละ 4.1 ในไตรมาสแรก เนื่องจากอำนาจซื้อที่ลดลงของผู้บริโภคจากภาวะเงินเฟ้อ การลงทุนขยายตัวร้อยละ 16.4 ลดลงจากร้อยละ 19.4
ในไตรมาสแรก อย่างไรก็ตาม คาดว่าการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวน่าจะช่วยให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 2 ขยับขึ้นเป็นร้อยละ 3.8 แต่ก็ยัง
ต่ำกว่าการขยายตัวในไตรมาสแรก นอกจากนี้ ช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. การนำเข้าขยายตัวถึงร้อยละ 32.1 สูงกว่าการส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ
21.4 นอกจากนี้ ปัญหาภัยแล้งตลอดจนการขาดแคลนวัตถุดิบสำหรับการผลิตอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารทะเลกระป๋องยังส่งผลให้ดัชนีการผลิต
ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเพียงร้อยละ 6.8 เทียบกับร้อยละ 11.3 ในไตรมาสแรก โดยคาดว่าตัวเลขในไตรมาสสองจะมีอัตราการขยายตัวร้อยละ
7.2 ต่ำกว่าไตรมาสแรกอย่างเห็นได้ชัด อนึ่ง ก่อนหน้านี้ สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระบุว่าจีดีพีไตรมาสแรกปีนี้จะ
ขยายตัวร้อยละ 6.5 (มติชน)
4. ธ.พาณิชย์ปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ครึ่งปีแรกเพิ่มกว่าร้อยละ 10 นายชาญศักดิ์ เฟื่องฟู รอง ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงเทพ เปิดเผยว่า
ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้สินเชื่อรายใหญ่ของธนาคารมีอัตราการขยายตัวกว่าร้อยละ 10 โดยส่วนใหญ่เป็นการขยายกำลังการผลิตของภาคอุตสาห
กรรมทั้งการสร้างโรงงานใหม่ ปรับปรุงกิจการ ซื้อเครื่องจักร ซึ่งเป็นสัญญาณการขยายตัวที่ดี อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัญหาการรีไฟแนนซ์สินเชื่อ
จากธนาคารอื่นจะลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ภาวะการแข่งขันในการขยายสินเชื่อระหว่าง ธ.พาณิชย์ยังมีความรุนแรงอยู่ โดยเฉพาะการ
แข่งขันการตัดราคา ซึ่งแนวโน้มการขยายตัวของสินเชื่อรายใหญ่ในช่วงครึ่งปีหลังนั้นต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งปัจจัยภาย
ในและภายนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งขันอย่างประเทศจีน อินเดีย ซึ่งไทยต้องปรับตัวให้พร้อมรับการแข่งขันมากขึ้น รวมทั้งการดูแลอัตรา
แลกเปลี่ยนเมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรักษาระดับการแข่งขันไว้ ทางด้าน นางดวงพร สุจริตานุวัตร รอง กก.ผจก.ใหญ่
ธ.ไทยธนาคาร กล่าวว่า ธนาคารกำลังพิจารณาปรับเป้าสินเชื่อเพิ่มขึ้นหลังจากสินเชื่อในครึ่งปีที่ผ่านมาขยายตัวสูงกว่าเป้าหมาย ซึ่งคาดว่าจะยัง
สามาถขยายตัวได้ดี เพราะในขณะนี้มีสินเชื่อรอการอนุมัติอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งข่าวการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและการที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงจะ
ไม่กระทบกับลูกค้ามากนัก อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นของราคาน้ำมันเป็นปัจจัยหลักที่กระทบต่อการดำเนินงานของลูกค้าที่พยายามรักษาต้นทุนให้คงที่
(กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน พ.ค.47 ขยายตัวกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 7 ก.ค.47
ก.เศรษฐกิจเยอรมนี เปิดเผยว่า คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ซึ่ง
เป็นการขยายตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากที่เดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ทั้งนี้ เนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้า
จากต่างประเทศเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึงร้อยละ 4.1 สูงสุดในรอบเกือบปีนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.46 ขณะที่คำสั่งซื้อภายในประเทศกลับลดลงร้อยละ 0.6
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์จาก ING BHF Bank เห็นว่า ภาวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของยุโรปซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีเขตเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดนั้น
ถูกขับเคลื่อนโดยความต้องการสินค้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก สรอ.และเอเชีย อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขคำสั่งซื้อดังกล่าวสนับ
สนุนให้เห็นว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีฟื้นตัวจากเมื่อ 3 ปีก่อนที่อยู่ในภาวะหดตัว โดยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้
ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐิจในปี 47 เป็นร้อยละ 1.8 จากที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.6 รวมทั้งยังประมาณ
การสำหรับปี 48 ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.0 นอกจากนี้ เมื่อวันอังคารที่ 6 ก.ค. รมว.ก.เศรษฐกิจ (Wolfgang Clement) ยังได้แสดงความหวัง
ว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะฟื้นตัวอย่างแท้จริงหลังจากที่มีรายงานเกี่ยวกับตัวเลขการว่างงานในเดือน มิ.ย.47 ลดลงอย่างไม่คาดคิด (รอยเตอร์)
2. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงเดือน ส.ค.47 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 8 ก.ค.47 ผล
สำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์จาก 46 สถาบันการเงินส่วนใหญ่คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายการ
เงินในระหว่างวันที่ 8 | 9 ก.ค.47 นี้ จากการอ่อนตัวลงของราคาบ้านและจำนวนผู้ยื่นขอเงินให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยลดลง แต่จากการที่ปริมาณ
เงินให้สินเชื่อที่ได้รับอนุมัติยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและภาวะตึงตัวของตลาดแรงงานที่คาดว่าจะทำให้ค่าแรงเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ตลาดการเงินคาดว่า
ธ.กลางอังกฤษจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.75 เป็นร้อยละ 5.25 ก่อนสิ้นปีนี้ (รอยเตอร์)
3. การให้กู้ยืมของ ธพ.ญี่ปุ่นที่ลดลงและปริมาณเงินหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย.47 สะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
รายงานจากโตเกียวเมื่อ 8 ก.ค.47 ธ.กลางญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การให้กู้ยืมของ ธพ.ญี่ปุ่นที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและปริมาณเงินหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น
ในเดือน มิ.ย.47 สะท้อนถึงการปรับตัวดีขึ้นของภาคสถาบันการเงินและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยยอดการให้กู้ยืมของ ธพ.ญี่ปุ่นมีจำนวน 448
ล้านล้านเยน (4.1 ล.ดอลาร์ สรอ.) ลดลงร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 42 และ
เมื่อเทียบต่อเดือนยอดการให้กู้ยืมลดลงเพียงเล็กน้อยจากที่ลดลงร้อยละ 3.6 และร้อยละ 4.0 ในเดือน พ.ค. และ เม.ย.47 ตามลำดับ นอก
จากนี้ ข้อมูลจาก ธ.กลางญี่ปุ่นซึ่งสะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ คือ ปริมาณเงินหมุนเวียนที่รวมยอดเงินฝาก (M2 plus certificates
of deposit CDs) ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้ชี้วัดปริมาณเงินหมุนเวียน ในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือน พ.ค.47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 (รอยเตอร์)
4. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน รายงานจากโซล เมื่อ 8 ก.ค.47 Consumer
expectation index ซึ่งใช้วัดความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจและการวางแผนใช้จ่ายในอนาคตของชาวเกาหลีใต้ ลดลงอยู่ในระดับ 92.2
ในเดือน มิ.ย.47 จากระดับ 94.8 ในเดือน พ.ค.47 ต่ำสุดในรอบ 8 เดือน โดยตัวเลขในระดับต่ำกว่า 100 ชี้ว่าชาวเกาหลีใต้ที่คาดว่าภาวะ
เศรษฐกิจและมาตรฐานการครองชีพในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะเลวลงมีมากกว่าผู้ที่คาดว่าจะดีขึ้น ครั้งสุดท้ายที่ตัวเลขดังกล่าวอยู่ในระดับสูงกว่า
100 คือเมื่อเดือน ก.ย.45 ตัวเลขดังกล่าวทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมข้ามคืนไว้ที่ร้อยละ 3.75 เป็นเดือนที่
12 ติดต่อกันเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโดยหวังกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศซึ่งยังอยู่ในภาวะซบเซาจากภาระหนี้สินภาคครัวเรือนซึ่งมี
ยอดหนี้รวมกันเกือบ 2 ใน 3 ของ GDP และทำให้ชาวเกาหลีใต้ลดการใช้จ่ายลง แต่การส่งออกซึ่งขยายตัวเกินกว่าที่คาดไว้ถึงร้อยละ 39 ใน
ช่วงครึ่งปีแรกปีนี้เทียบกับปีก่อน ได้ช่วยให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ฟื้นตัวจากภาวะถดถอยในช่วงหลังของปี 46 และทำให้คาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะ
ขยายตัวอย่างน้อยร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 ก.ค. 47 7 ก.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.808 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6089/40.8979 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.09375-1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 666.43/25.93 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,600/7,700 7,550/7,650 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.25 35 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย.47 18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ก.คลังจะสรุปร่าง พรบ.สถาบันประกันเงินฝากปลายเดือน ก.ค.นี้ แหล่งข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลัง และ ธปท.
จะหารือกันเพื่อสรุปร่าง พรบ.สถาบันประกันเงินฝากปลายเดือน ก.ค.นี้เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร และ
จะมีการแถลงอย่างเป็นทางการร่วมกัน เพื่อส่งสัญญาณให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบอย่างชัดเจนว่า กฎหมายสถาบันประกันเงินฝากจะถูกผลักดันออกมาใช้
ในอีกไม่นานนี้ นอกจากนี้ ก.คลัง และ ธปท. จะทำการประชาสัมพันธ์ให้สถาบันการเงินและผู้ฝากเงินมีความเข้าใจ เพื่อจะได้วางแผนการเงิน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับนำร่างกฎหมายเข้าพิจารณา สำหรับร่าง พรบ.สถาบันประกันเงินฝากมีระยะเวลาปรับตัว 4 ปี แต่ยังต้องหาข้อ
สรุปว่าหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้อาจจะต้องคุ้มครองเงินฝาก 100% ของเงินฝากทั้งจำนวนเป็นระยะเวลาสั้นประมาณ 6 เดือนก่อน เพื่อให้ผู้ฝาก
เงินมีโอกาสวางแผนเคลื่อนย้ายเงินฝากได้อย่างไม่ตื่นตกใจ หลังจากนั้น จะมีการปรับวงเงินประกันเหลือ 50 ล้านบาท 25 ล้านบาท 10 ล้าน
บาท และ 1 ล้านบาทต่อหนึ่งชื่อบัญชีต่อหนึ่งธนาคาร (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. รอจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการขายหุ้น ธ.ไทยธนาคาร ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยนโยบาย
การขายหุ้น ธ.ไทยธนาคาร ที่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถืออยู่ว่า ขณะนี้ ธ.ไทยธนาคารไม่ใช่ธนาคารของรัฐแล้ว เพราะกองทุนฯ
ถือหุ้นเพียงร้อยละ 49 หากกองทุนฯ จะขายหุ้นออกไปจะต้องพิจารณาจังหวะและความเหมาะสม เพื่อให้ได้ราคาดีที่สุด ไม่จำเป็นต้องรีบขาย
เพราะสัดส่วนที่กองทุนฯ ถืออยู่ก็ไม่มีปัญหาอะไร อีกทั้งการขายหุ้นก่อนหน้านี้กองทุนฯ ก็ได้กำไรพอสมควรแล้ว ก่อนหน้านี้ ธปท. มีนโยบายที่จะ
ขายหุ้นทั้หมดของ ธ.พาณิชย์ที่กองทุนฯ ถืออยู่ซึ่งได้มาจากการเข้าไปช่วยเหลือ ธ.พาณิชย์ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในปี 40 โดยตั้งเป้าจะขายหุ้นที่ถือ
อยู่ทั้งหมดใน ธ.พาณิชย์ให้แล้วเสร็จภายในปี 50 ซึ่งเป็นปีที่ตั้งเป้าหมายจะยกเลิกการดำเนินการของกองทุนฯ เป็นการถาวร โดยกองทุนฯ จะ
ทยอยขายหุ้น ธ.นครหลวงไทย และ ธ.ไทยธนาคารให้เสร็จสิ้นภายในปี 49 ส่วนหุ้น ธ.กรุงไทยจะทยอยขายในปี 49 และคาดว่าจะขายได้หมด
ภายในปี 50 เนื่องจากหุ้นของ ธ.กรุงไทยมีจำนวนมากกว่าแห่งอื่น ขณะที่ในส่วนของ บง. ที่เข้าไปแทรกแซงนั้น ธปท. จะทยอยขายหุ้นออกไป
เช่นกัน โดยจะเริ่มทยอยขายตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 47 ไปจนถึงปี 50 ส่วนตัว บล. 56 ไฟแนนซ์นั้นขณะนี้กำลังทยอยขายลูกหนี้ 56 ไฟแนนซ์
เพื่อที่จะนำเม็ดเงินกลับมาชดเชยความเสียหายให้กับกองทุนฯ โดยประมูลทั้งบริษัท ครั้งละกลุ่ม กลุ่มละหลาย ๆ บริษัท ซึ่งคาดว่าจะเสร็จภาย
ในสิ้นปี 48 (ผู้จัดการ)
3. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าจีดีพีในไตรมาส 2 จะชะลอตัวลงจากไตรมาสแรก บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้ออกบทวิเคราะห์
เรื่อง ตัวเลขจีดีพี ไตรมาสที่ 2 : แนวโน้มชะลอตัวจากไตรมาสแรก ว่า มีความเป็นไปได้ว่าอัตราการขยายตัวของจีดีพีในไตรมาสสองอาจจะต่ำ
กว่าไตรมาสแรก และต่ำกว่าที่คาดหวังไว้ ซึ่งจากการคาดการณ์เบื้องต้นจีดีพีไตรมาสสองอาจจะขยายตัวร้อยละ 6.0-6.5 และจะส่งผลกดดันต่อ
การขยายตัวของจีดีพีทั้งปี เพราะช่วงหลังของปีโดยเฉพาะในไตรมาสสุดท้ายจะต้องเทียบกับฐานที่ค่อนข้างสูงของปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ตัวแปรเศรษฐกิจ
สำคัญใน 2 เดือนแรกของไตรมาสสอง (เม.ย.-พ.ค.47) ล้วนชะลอตัวลงจากไตรมาสแรกทั้งสิ้น สาเหตุจากราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นและ
สถานการณ์ในภาคใต้ โดยตัวเลขของ ธปท. พบว่า ระหว่างเดือน เม.ย.- พ.ค. การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเพียงร้อยละ 3.5 เทียบกับ
ร้อยละ 4.1 ในไตรมาสแรก เนื่องจากอำนาจซื้อที่ลดลงของผู้บริโภคจากภาวะเงินเฟ้อ การลงทุนขยายตัวร้อยละ 16.4 ลดลงจากร้อยละ 19.4
ในไตรมาสแรก อย่างไรก็ตาม คาดว่าการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวน่าจะช่วยให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 2 ขยับขึ้นเป็นร้อยละ 3.8 แต่ก็ยัง
ต่ำกว่าการขยายตัวในไตรมาสแรก นอกจากนี้ ช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. การนำเข้าขยายตัวถึงร้อยละ 32.1 สูงกว่าการส่งออกที่ขยายตัวร้อยละ
21.4 นอกจากนี้ ปัญหาภัยแล้งตลอดจนการขาดแคลนวัตถุดิบสำหรับการผลิตอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารทะเลกระป๋องยังส่งผลให้ดัชนีการผลิต
ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเพียงร้อยละ 6.8 เทียบกับร้อยละ 11.3 ในไตรมาสแรก โดยคาดว่าตัวเลขในไตรมาสสองจะมีอัตราการขยายตัวร้อยละ
7.2 ต่ำกว่าไตรมาสแรกอย่างเห็นได้ชัด อนึ่ง ก่อนหน้านี้ สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระบุว่าจีดีพีไตรมาสแรกปีนี้จะ
ขยายตัวร้อยละ 6.5 (มติชน)
4. ธ.พาณิชย์ปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ครึ่งปีแรกเพิ่มกว่าร้อยละ 10 นายชาญศักดิ์ เฟื่องฟู รอง ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงเทพ เปิดเผยว่า
ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้สินเชื่อรายใหญ่ของธนาคารมีอัตราการขยายตัวกว่าร้อยละ 10 โดยส่วนใหญ่เป็นการขยายกำลังการผลิตของภาคอุตสาห
กรรมทั้งการสร้างโรงงานใหม่ ปรับปรุงกิจการ ซื้อเครื่องจักร ซึ่งเป็นสัญญาณการขยายตัวที่ดี อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัญหาการรีไฟแนนซ์สินเชื่อ
จากธนาคารอื่นจะลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ภาวะการแข่งขันในการขยายสินเชื่อระหว่าง ธ.พาณิชย์ยังมีความรุนแรงอยู่ โดยเฉพาะการ
แข่งขันการตัดราคา ซึ่งแนวโน้มการขยายตัวของสินเชื่อรายใหญ่ในช่วงครึ่งปีหลังนั้นต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งปัจจัยภาย
ในและภายนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งขันอย่างประเทศจีน อินเดีย ซึ่งไทยต้องปรับตัวให้พร้อมรับการแข่งขันมากขึ้น รวมทั้งการดูแลอัตรา
แลกเปลี่ยนเมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรักษาระดับการแข่งขันไว้ ทางด้าน นางดวงพร สุจริตานุวัตร รอง กก.ผจก.ใหญ่
ธ.ไทยธนาคาร กล่าวว่า ธนาคารกำลังพิจารณาปรับเป้าสินเชื่อเพิ่มขึ้นหลังจากสินเชื่อในครึ่งปีที่ผ่านมาขยายตัวสูงกว่าเป้าหมาย ซึ่งคาดว่าจะยัง
สามาถขยายตัวได้ดี เพราะในขณะนี้มีสินเชื่อรอการอนุมัติอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งข่าวการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและการที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงจะ
ไม่กระทบกับลูกค้ามากนัก อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นของราคาน้ำมันเป็นปัจจัยหลักที่กระทบต่อการดำเนินงานของลูกค้าที่พยายามรักษาต้นทุนให้คงที่
(กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน พ.ค.47 ขยายตัวกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 7 ก.ค.47
ก.เศรษฐกิจเยอรมนี เปิดเผยว่า คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ซึ่ง
เป็นการขยายตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากที่เดือน เม.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ทั้งนี้ เนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้า
จากต่างประเทศเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึงร้อยละ 4.1 สูงสุดในรอบเกือบปีนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.46 ขณะที่คำสั่งซื้อภายในประเทศกลับลดลงร้อยละ 0.6
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์จาก ING BHF Bank เห็นว่า ภาวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของยุโรปซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีเขตเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดนั้น
ถูกขับเคลื่อนโดยความต้องการสินค้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก สรอ.และเอเชีย อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขคำสั่งซื้อดังกล่าวสนับ
สนุนให้เห็นว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีฟื้นตัวจากเมื่อ 3 ปีก่อนที่อยู่ในภาวะหดตัว โดยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้
ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐิจในปี 47 เป็นร้อยละ 1.8 จากที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.6 รวมทั้งยังประมาณ
การสำหรับปี 48 ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.0 นอกจากนี้ เมื่อวันอังคารที่ 6 ก.ค. รมว.ก.เศรษฐกิจ (Wolfgang Clement) ยังได้แสดงความหวัง
ว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะฟื้นตัวอย่างแท้จริงหลังจากที่มีรายงานเกี่ยวกับตัวเลขการว่างงานในเดือน มิ.ย.47 ลดลงอย่างไม่คาดคิด (รอยเตอร์)
2. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงเดือน ส.ค.47 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 8 ก.ค.47 ผล
สำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์จาก 46 สถาบันการเงินส่วนใหญ่คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายการ
เงินในระหว่างวันที่ 8 | 9 ก.ค.47 นี้ จากการอ่อนตัวลงของราคาบ้านและจำนวนผู้ยื่นขอเงินให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยลดลง แต่จากการที่ปริมาณ
เงินให้สินเชื่อที่ได้รับอนุมัติยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและภาวะตึงตัวของตลาดแรงงานที่คาดว่าจะทำให้ค่าแรงเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ตลาดการเงินคาดว่า
ธ.กลางอังกฤษจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.75 เป็นร้อยละ 5.25 ก่อนสิ้นปีนี้ (รอยเตอร์)
3. การให้กู้ยืมของ ธพ.ญี่ปุ่นที่ลดลงและปริมาณเงินหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย.47 สะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
รายงานจากโตเกียวเมื่อ 8 ก.ค.47 ธ.กลางญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การให้กู้ยืมของ ธพ.ญี่ปุ่นที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและปริมาณเงินหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น
ในเดือน มิ.ย.47 สะท้อนถึงการปรับตัวดีขึ้นของภาคสถาบันการเงินและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยยอดการให้กู้ยืมของ ธพ.ญี่ปุ่นมีจำนวน 448
ล้านล้านเยน (4.1 ล.ดอลาร์ สรอ.) ลดลงร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 42 และ
เมื่อเทียบต่อเดือนยอดการให้กู้ยืมลดลงเพียงเล็กน้อยจากที่ลดลงร้อยละ 3.6 และร้อยละ 4.0 ในเดือน พ.ค. และ เม.ย.47 ตามลำดับ นอก
จากนี้ ข้อมูลจาก ธ.กลางญี่ปุ่นซึ่งสะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ คือ ปริมาณเงินหมุนเวียนที่รวมยอดเงินฝาก (M2 plus certificates
of deposit CDs) ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้ชี้วัดปริมาณเงินหมุนเวียน ในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือน พ.ค.47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 (รอยเตอร์)
4. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน รายงานจากโซล เมื่อ 8 ก.ค.47 Consumer
expectation index ซึ่งใช้วัดความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจและการวางแผนใช้จ่ายในอนาคตของชาวเกาหลีใต้ ลดลงอยู่ในระดับ 92.2
ในเดือน มิ.ย.47 จากระดับ 94.8 ในเดือน พ.ค.47 ต่ำสุดในรอบ 8 เดือน โดยตัวเลขในระดับต่ำกว่า 100 ชี้ว่าชาวเกาหลีใต้ที่คาดว่าภาวะ
เศรษฐกิจและมาตรฐานการครองชีพในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะเลวลงมีมากกว่าผู้ที่คาดว่าจะดีขึ้น ครั้งสุดท้ายที่ตัวเลขดังกล่าวอยู่ในระดับสูงกว่า
100 คือเมื่อเดือน ก.ย.45 ตัวเลขดังกล่าวทำให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมข้ามคืนไว้ที่ร้อยละ 3.75 เป็นเดือนที่
12 ติดต่อกันเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโดยหวังกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศซึ่งยังอยู่ในภาวะซบเซาจากภาระหนี้สินภาคครัวเรือนซึ่งมี
ยอดหนี้รวมกันเกือบ 2 ใน 3 ของ GDP และทำให้ชาวเกาหลีใต้ลดการใช้จ่ายลง แต่การส่งออกซึ่งขยายตัวเกินกว่าที่คาดไว้ถึงร้อยละ 39 ใน
ช่วงครึ่งปีแรกปีนี้เทียบกับปีก่อน ได้ช่วยให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ฟื้นตัวจากภาวะถดถอยในช่วงหลังของปี 46 และทำให้คาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะ
ขยายตัวอย่างน้อยร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 ก.ค. 47 7 ก.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.808 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6089/40.8979 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.09375-1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 666.43/25.93 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,600/7,700 7,550/7,650 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.25 35 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย.47 18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-