โฆษกพรรคประชาธิปัตย์’ ระบุนายกฯ ดึงดันเจรจาเอฟทีเอโดยไม่สนใจเกษตรกรและผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพราะมีผลประโยชน์ทับซ้อน ชี้นายกฯกำลังทำลายชีวิตเกษตรอย่างเลือกเย็น พร้อมประกาศคัดค้านการเจรจาทุกวิถีทาง
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการวิจารณ์การทำเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (เอฟทีเอ) กับกรณีที่นายกฯออกมาบอกว่า ‘ท่านได้สร้างตัวเองมาขนาดนี้ ถ้ายังหน้าด้านเห็นแก่ตัวผมก็ว่าบ้าแล้ว’ นายองอาจ กล่าวต่อว่า นายกฯ ยังมีความเข้าใจผิดบางประการ จากการติดตามของพรรคประชาธิปัตย์ในเรื่องเอฟทีเอ พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะฝ่ายตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล กับกรณีคำพูดของนายกฯ ต้องขอเรียนว่าทางพรรคไม่มีเครื่องที่จะวัดหรือตรวจสอบว่าใครหน้าด้านหรือไม่ แต่พรรคตรวจพบพฤติกรรมที่ไม่ชอบมาพากล ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้
กับเรื่องการเปิดเขตการค้าเสรี พรรคของแสดงจุดยืนว่าการตัดสินใจของรัฐบาลเป็นไปอย่างรีบร้อนไม่รอบคอบ จนนำประเทศเข้าสู่ข้อผูกพัน โดยไม่ฟังเสียงทักท้วงจากสาธารณะชน โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากข้อตก นักวิชาการ NGO หรือฝ่ายการเมือง แม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างจากสื่อมวลชน ในกรณีผลประโยชน์ทับซ้อนจากข้อตกลง
จาการตรวจสอบของพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าการรีบร้อนทำข้อตกลงเรื่องเขตการค้าเสรี ภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกฯ ซึ่งจัดการเรื่องนี้แบบการบริหารธุรกิจ หรือแบบซีอีโอ ซึ่งการบริหารจัดการดังกล่าวเป็นการชี้ให้ข้าราชการรับลูก ทำให้การเจรจาข้อตกลงทำไปโดยปราศจากการศึกษาวิจัย ถึงเหตุผล และความจำเป็น ตลอดถึงผลดี- ผลเสีย กับทั้งผลกระทบ วิธีการอย่างนี้ตนเห็นว่าเป็นวิธีการขึ้นรถไฟ นำประเทศไทยไปตายเอาดาบหน้า กล่าวคือทำไปแก้ไขไป ขาดความรอบคอบ เป็นการบริหารที่ไม่ตั้งบนพื้นฐานความรู้ และวีธีปฏิบัติแบบธรรมาภิบาล ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ประชาชนไม่มีส่วนร่วม และไม่แสดงความรับผิดชอบทางการเมืองต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นวิธีการบริหารแบบก้าวร้าว ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่มองเห็นหัวใคร ราวกับว่าประเทศนี้เป็นของนายกทักษิณ และคณะแต่เพียงผู้เดียว ที่อำนาจเด็ดขาด
พรรคประชาธิปัตย์ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า 1.การนำประเทศไทยเข้าสู่ข้อตกลงแบบทวิภาคีนิยม โดยการตกลงทำเอฟทีเอ กับประเทศต่างๆ นั้น ไม่เพียงแต่เป็นการทำลายชีวิตของเกษตรกรอย่างเยือกเย็น โดยเฉพาะกลุ่มผู้เลี้ยงโนคน-โคเนื้อ กว่า 2 ล้านครอบครัว ซึ่งเป็นอาชีพพระราชทานจากพระบาทสมเด็ดพระเจ้าอยู่หัวฯ เพียงเพื่อแลกกลับธุรกิจโทรคมนาคม ส่งออกชิ้นส่วนรภยนต์ แสดงให้เห็นชัดว่าเป็นการเลือกประโยชน์ส่วนตนและพักพวกและรีดภาษีกับประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศมาจ่ายให้ผู้รับผลกระทบในรูปแบบของการจัดสรรงบประมาณ
ประการที่ 2 พรรคได้ต่อสู่เรียกร้องให้ได้มาซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จึงรู้สึกสลดหดหู่ใจ ผิดหวังร่วมกับประชาชนที่ได้ผลกระทบในครั้งนี้ ทั้งมีความพยายามทักท้วงรัฐบาล แต่ก็ไม่เป็นผลเพราะรัฐบาลไม่ฟังแสดงให้เห็นถึงจิตสำนักประชาธิปไตยที่ต่ำ ซึ่งอาจชักนำประเทศไทยเข้าสู่ความยุ่งยากในอนาคต
พรรคประชาธิปัตย์ ขอยืนยันว่าว่าใครก็ตามที่หาประโยชน์จากบ้านเมือง จากการทำข้อตกลงเอฟทีเอ การทำลายชีวิตคนส่วนใหญ่คือเกษตรกร ผู้นั้นคือศัตรูใหม่ของประชาชน และเสรีชน พรรคประชาธิปัตย์ขอประกาศคัดค้าน ไม่ให้ผู้นำของประเทศไทย นำอธิปไตยของไทยไปขายให้ใครจนสุดความสามารถ และทุกวิธี
อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ทางพรรคประชิปัตย์ จะจัดให้มีการเสวนา เกี่ยวกับเอฟทีเอ เกี่ยวกับ ผลได้ — ผลเสีย กับประชาชนไทย ในวันศุกร์ ที่ 16 กรกฎาคม 2547 ตั้งเวลา 13.30- 17.00 น. โดย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ นักวิชาการ NGO กลุ่มเอฟทีเอวอช มาเข้าร่วมเสวนาด้วย ซึ่งนายบัญญัติบรรทัดฐานเป็นประธานการเสวนาครั้งนี้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 ก.ค. 2547--จบ--
-ดท-
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการวิจารณ์การทำเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (เอฟทีเอ) กับกรณีที่นายกฯออกมาบอกว่า ‘ท่านได้สร้างตัวเองมาขนาดนี้ ถ้ายังหน้าด้านเห็นแก่ตัวผมก็ว่าบ้าแล้ว’ นายองอาจ กล่าวต่อว่า นายกฯ ยังมีความเข้าใจผิดบางประการ จากการติดตามของพรรคประชาธิปัตย์ในเรื่องเอฟทีเอ พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะฝ่ายตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล กับกรณีคำพูดของนายกฯ ต้องขอเรียนว่าทางพรรคไม่มีเครื่องที่จะวัดหรือตรวจสอบว่าใครหน้าด้านหรือไม่ แต่พรรคตรวจพบพฤติกรรมที่ไม่ชอบมาพากล ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้
กับเรื่องการเปิดเขตการค้าเสรี พรรคของแสดงจุดยืนว่าการตัดสินใจของรัฐบาลเป็นไปอย่างรีบร้อนไม่รอบคอบ จนนำประเทศเข้าสู่ข้อผูกพัน โดยไม่ฟังเสียงทักท้วงจากสาธารณะชน โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากข้อตก นักวิชาการ NGO หรือฝ่ายการเมือง แม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างจากสื่อมวลชน ในกรณีผลประโยชน์ทับซ้อนจากข้อตกลง
จาการตรวจสอบของพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าการรีบร้อนทำข้อตกลงเรื่องเขตการค้าเสรี ภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกฯ ซึ่งจัดการเรื่องนี้แบบการบริหารธุรกิจ หรือแบบซีอีโอ ซึ่งการบริหารจัดการดังกล่าวเป็นการชี้ให้ข้าราชการรับลูก ทำให้การเจรจาข้อตกลงทำไปโดยปราศจากการศึกษาวิจัย ถึงเหตุผล และความจำเป็น ตลอดถึงผลดี- ผลเสีย กับทั้งผลกระทบ วิธีการอย่างนี้ตนเห็นว่าเป็นวิธีการขึ้นรถไฟ นำประเทศไทยไปตายเอาดาบหน้า กล่าวคือทำไปแก้ไขไป ขาดความรอบคอบ เป็นการบริหารที่ไม่ตั้งบนพื้นฐานความรู้ และวีธีปฏิบัติแบบธรรมาภิบาล ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ประชาชนไม่มีส่วนร่วม และไม่แสดงความรับผิดชอบทางการเมืองต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นวิธีการบริหารแบบก้าวร้าว ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่มองเห็นหัวใคร ราวกับว่าประเทศนี้เป็นของนายกทักษิณ และคณะแต่เพียงผู้เดียว ที่อำนาจเด็ดขาด
พรรคประชาธิปัตย์ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า 1.การนำประเทศไทยเข้าสู่ข้อตกลงแบบทวิภาคีนิยม โดยการตกลงทำเอฟทีเอ กับประเทศต่างๆ นั้น ไม่เพียงแต่เป็นการทำลายชีวิตของเกษตรกรอย่างเยือกเย็น โดยเฉพาะกลุ่มผู้เลี้ยงโนคน-โคเนื้อ กว่า 2 ล้านครอบครัว ซึ่งเป็นอาชีพพระราชทานจากพระบาทสมเด็ดพระเจ้าอยู่หัวฯ เพียงเพื่อแลกกลับธุรกิจโทรคมนาคม ส่งออกชิ้นส่วนรภยนต์ แสดงให้เห็นชัดว่าเป็นการเลือกประโยชน์ส่วนตนและพักพวกและรีดภาษีกับประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศมาจ่ายให้ผู้รับผลกระทบในรูปแบบของการจัดสรรงบประมาณ
ประการที่ 2 พรรคได้ต่อสู่เรียกร้องให้ได้มาซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จึงรู้สึกสลดหดหู่ใจ ผิดหวังร่วมกับประชาชนที่ได้ผลกระทบในครั้งนี้ ทั้งมีความพยายามทักท้วงรัฐบาล แต่ก็ไม่เป็นผลเพราะรัฐบาลไม่ฟังแสดงให้เห็นถึงจิตสำนักประชาธิปไตยที่ต่ำ ซึ่งอาจชักนำประเทศไทยเข้าสู่ความยุ่งยากในอนาคต
พรรคประชาธิปัตย์ ขอยืนยันว่าว่าใครก็ตามที่หาประโยชน์จากบ้านเมือง จากการทำข้อตกลงเอฟทีเอ การทำลายชีวิตคนส่วนใหญ่คือเกษตรกร ผู้นั้นคือศัตรูใหม่ของประชาชน และเสรีชน พรรคประชาธิปัตย์ขอประกาศคัดค้าน ไม่ให้ผู้นำของประเทศไทย นำอธิปไตยของไทยไปขายให้ใครจนสุดความสามารถ และทุกวิธี
อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ทางพรรคประชิปัตย์ จะจัดให้มีการเสวนา เกี่ยวกับเอฟทีเอ เกี่ยวกับ ผลได้ — ผลเสีย กับประชาชนไทย ในวันศุกร์ ที่ 16 กรกฎาคม 2547 ตั้งเวลา 13.30- 17.00 น. โดย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ นักวิชาการ NGO กลุ่มเอฟทีเอวอช มาเข้าร่วมเสวนาด้วย ซึ่งนายบัญญัติบรรทัดฐานเป็นประธานการเสวนาครั้งนี้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 ก.ค. 2547--จบ--
-ดท-