ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เชื่อมั่นว่าการเพิ่มทุนของ ธพ.เป็นการดำเนินการเพื่อรองรับการขยายธุรกิจเป็นหลัก นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ไม่มีความกังวลว่า ธพ.ในระบบจะมีการเพิ่มทุนอีกครั้ง โดยมองว่าการเพิ่มทุนครั้งต่อไปของ ธพ.หากมีขึ้น
ก็เพื่อรองรับการขยายธุรกิจที่ ธพ.แต่ละแห่งจะพิจารณาตามความจำเป็น แต่ไม่ได้เพิ่มทุนเพราะเพิ่มเงินกองทุน โดยสัดส่วนการเพิ่มทุนขึ้นอยู่กับสินเชื่อ
สำหรับขณะนี้สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเฉลี่ยของทั้งระบบอยู่ที่ประมาณ 13% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 8.5% ซึ่งขณะนี้ ธปท.ได้ติดตามสถาน
การณ์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงการใช้เกณฑ์บาเซิล 2 ของประเทศไทยว่า วิธีการวัดความเสี่ยงของสถาบันการเงินที่ไทยใช้
ในระยะแรกนั้นจะเป็นวิธี Standardized Approach ซึ่งไม่มีความแตกต่างจากเกณฑ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมากนัก โดยจะดูเรื่องของเงินกองทุนเป็นหลัก
ซึ่งขณะนี้ ธปท.อยู่ระหว่างทยอยจัดทำ ทั้งในส่วนของการเตรียมฐานข้อมูลและการเตรียมระบบการให้ระดับความเสี่ยงของสินเชื่อแต่ละประเภท ซึ่งคาด
ว่าน่าจะเรียบร้อยภายในระยะเวลา 2 เดือน (กรุงเทพธุรกิจ)
2. ยอดนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยของไทยในช่วง 5 เดือนแรกปี 47 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 20.93% จากปีก่อน รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์ เปิดเผย
ว่า ยอดการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยของไทยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 47 (ม.ค.-พ.ค.) มีจำนวนรวม 3,014.2 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือ 118,826
ล.บาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 20.93% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยคิดเป็น 8.06% ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าทั้งประเทศในช่วง 5 เดือนแรกซึ่งมีมูลค่า
รวมทั้งสิ้น 37,411 ล.ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ 1)เครื่องใช้ไฟฟ้า 2)ผลิตภัณฑ์พลาสติก 3)ผลิตภัณฑ์
เวชกรรมและเภสัชกรรม 4)สบู่ ผงซักฟอก และเครื่องสำอาง 5)เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ 6)ธัญพืชและธัญพืชสำเร็จรูป 7)ผักผลไม้และ
ของปรุงแต่งที่ทำจากผลไม้ 8)ผลิตภัณฑ์นม 9)สินค้าบริโภคอื่นๆ และ 10)ดินสอ ปากกา และหมึกพิมพ์ อนึ่ง หากเทียบการเติบโตแล้วพบว่าผลิตภัณฑ์ยาสูบ
มีอัตราการขยายตัวที่น่าเป็นห่วงโดยขยายตัวสูงถึง 65.25% แม้ว่ามูลค่าจะไม่มากเพียง 42.8 ล.ดอลลาร์ สรอ. ก็ตาม (โลกวันนี้)
3. ช่วง 8 เดือนแรกของปี งปม. 47 การลงทุนมีการขยายตัวเป็นที่น่าพอใจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ช่วง 8 เดือนแรกของปี
งปม.47 (ต.ค.46-มิ.ย.47) การลงทุนมีการขยายตัวเป็นที่น่าพอใจ โดยมียอดคำขอการลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
แล้วกว่า 3.6 แสน ล.บาท และคาดว่าในช่วง 4 เดือนที่เหลือก่อนสิ้นปี งปม. ยอดการลงทุนรวมคงไม่ต่ำกว่า 4 แสน ล.บาท โดยอุตสาหกรรมที่มี
ยอดการลงทุนสูงสุดยังเป็นกิจการประเภทบริการและสาธารณูปโภค รองลงมาคือ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เคมี กระดาษ พลาสติก เกษตร
กรรมและผลิตผลจากเกตร ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง เหมืองแร่และเซรามิก และอุตสาหกรรมเบา ตามลำดับ โดยนักลงทุนต่างชาติ
อันดับหนึ่งยังคงเป็นญี่ปุ่น รองลงมาเป็นไต้หวัน ซึ่งยอดลงทุนที่ขยายตัวเป็นเพราะรัฐบาลมีการสนับสนุนนโยบายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุต
สาหกรรมรถยนต์ (ข่าวสด)
4. ก.พาณิชย์เตรียมแก้ไขหลักเกณฑ์การค้าต่างตอบแทน รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า รมว.พาณิชย์ ได้สั่งการให้คณะทำงาน
การค้าต่างตอบแทนแก้ไขหลักเกณฑ์การค้าต่างตอบแทนใหม่ จากปัจจุบันที่ใช้หลักเกณฑ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการค้าต่างตอบ
แทน พ.ศ.2543 ซึ่งมีเงื่อนไขว่าการจัดซื้อสินค้าและการจ้างบริการจากต่างประเทศของส่วนราชการและหรือรัฐวิสาหกิจที่มีมูลค่าตั้งแต่ 300 ล.บาท
ขึ้นไปต้องทำการค้าต่างตอบแทนในอัตราส่วนไม่น้อยกว่า 50% ของมูลค่าสินค้าที่นำเข้าหรือมูลค่าการจ้างบริการจากต่างประเทศ เพื่อประหยัดการใช้
จ่ายเงินตราต่างประเทศในการซื้อสินค้าและช่วยระบายสินค้าเกษตรที่ราคาตกต่ำของไทย แต่เนื่องจากปัจจุบันสินค้าเกษตรของไทยไม่มีปัญหาเรื่องราคา
ตกต่ำ รวมทั้งไทยไม่มีปัญหาการขาดดุลการค้า จึงควรแก้ไขเกณฑ์ให้เอื้อต่อการซื้อสินค้าของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจมากขึ้น สำหรับเกณฑ์การค้า
ต่างตอบแทนใหม่นั้น จะมีการกำหนดอัตราส่วนการทำการค้าต่างตอบแทนตามความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น(โลกวันนี้, ข่าวสด)
5. ธอส.พร้อมเปิดดำเนินการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยความคืบหน้าการจัดตั้งศูนย์ข้อมูล
อสังหาริมทรัพย์ว่า ข้อมูลที่จะนำมาใช้เป็นดัชนีชี้วัด 6 ตัว ได้แก่ ดัชนีบ้านสร้างเสร็จ ดัชนีบ้านสร้างใหม่ ดัชนีสินเชื่อบ้าน ดัชนีราคาบ้าน ดัชนียอดขาย
บ้าน และดัชนีการโอนบ้าน ได้รวบรวมจนเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว เหลือเพียงข้อมูลในส่วนของกรมการปกครองและข้อมูลของสถาบันการเงิน ซึ่งจะต้อง
หารือกับ ธปท.อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในเร็วๆ นี้ (ข่าวสด)
6. สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอมาตรการป้องกันผลกระทบด้านธุรกิจท่องเที่ยวจากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน
นางสมใจ หงษ์ดาลัด กรรมการสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ATTA) เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวภาคเอกชนกำลัง
ดำเนินการเรียกร้องความช่วยเหลือไปยังการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กรณีที่ไทยจะเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนหรือเอฟทีเอกับหลายประเทศ
เนื่องจากส่วนใหญ่กังวลว่า ภายหลังจากเปิดเอฟทีเอธุรกิจท่องเที่ยวกับต่างประเทศแล้ว จะเกิดภาวะการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมระหว่างผู้ประกอบการ
ไทยกับต่างชาติ อีกทั้งผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่เป็นภาคธุรกิจขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีที่มีเงินลงทุนน้อย ซึ่งอาจเสียเปรียบนักลงทุนชาวต่างชาติที่มีเงิน
ลงทุนมากกว่าและมีความรู้ความชำนาญทางการตลาดดีกว่า โดยสมาคมฯ เตรียมเสนอมาตรการป้องกันจุดอ่อนของไทยสำหรับการเข้ามาดำเนินธุรกิจ
ท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ 2 ข้อ ได้แก่ 1)กำหนดเงินลงทุนของผู้ประกอบการชาวต่างชาติอย่างน้อย 50-100 ล.บาทต่อราย และ 2)กำหนดคุณสมบัติ
ผู้ที่จะเข้ามาประกอบธุรกิจดังกล่าวในประเทศไทย รวมทั้งจัดอบรมหรือเสวนาเพื่อเตรียมความพร้อมในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. นรม.เยอรมนีมองว่าเศรษฐกิจเยอรมนีกำลังฟื้นตัวและเติบโตไปด้วยดี รายงานจากเมือง Neuhardenberg ประเทศเยอรมนี เมื่อ
วันที่ 10 ก.ค.47 Gerhard Schroeder นรม.เยอรมนี กล่าวว่า การบริโภคภายในประเทศจะเริ่มกลับมาดีอีกครั้งเนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
กำลังฟื้นตัวและเติบโตไปด้วยดี โดยการส่งออกที่เพิ่มขึ้นยังคงเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเยอรมนีสำหรับ
การแข่งขันอย่างเข้มข้นในตลาดโลก แต่ก็แสดงความกังวลอยู่บ้างต่อการที่มีการสวนทางกันระหว่างการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การบริโภคภายใน
ประเทศยังคงอ่อนตัวอยู่ อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ข้อมูลต่าง ๆ ดีขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ไม่เฉพาะแค่การส่งออก แต่รวมถึง
สัญญาณการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศด้วย ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้จะสูงกว่าร้อยละ 1.5 จากที่เคยคาดการณ์ไว้ และในปีห
น้าก็มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะเติบโตถึงร้อยละ 2 ซึ่งในระยะหลังสำนักวิจัยทางเศรษฐกิจหลายแห่งและ IMF ก็ได้ปรับตัวเลขพยากรณ์อัตราการ
เติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 47 เพิ่มขึ้นเช่นกัน ทางด้าน Wolfgang Clement รมว.เศรษฐกิจของเยอรมนี กล่าวว่า ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐ
กิจหลายตัว เช่น การสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้เชื่อได้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะยังคงต่อ
เนื่องไปตลอดทั้งปี ส่วนปัจจัยเสี่ยงเรื่องราคาน้ำมันนั้น ถ้าราคาน้ำมันยังทรงตัวอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 40 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล คาดว่าจะส่งผล
กระทบเพียงเล็กน้อยต่อเศรษฐกิจของเยอรมนี (รอยเตอร์)
2. ราคาบ้านใหม่ในอังกฤษลดลงร้อยละ 2.0 ในเดือน มิ.ย.47 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 12 ก.ค.47 เว็บไซต์บ้านและที่ดิน
SmartNewHomes.com รายงานราคาเสนอขายบ้านใหม่ในอังกฤษลดลงร้อยละ 2.0 ในเดือน มิ.ย.47 และเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.6 จากปีก่อน
ในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือน มิ.ย.47 เช่นเดียวกับเว็บไซต์ assertahome.com ที่รายงานสัดส่วนนักเก็งกำไรบ้านและที่ดินที่เชื่อว่าราคาบ้านจะ
เพิ่มขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้าลดลงเหลือร้อยละ 62 ในเดือน มิ.ย.47 จากร้อยละ 79 ในเดือนก่อน ราคาบ้านในอังกฤษที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นสาเหตุ
สำคัญที่ทำให้ ธ.กลางอังกฤษตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบกิจการรับสร้างบ้านหลายรายได้
ตั้งคำถามเกี่ยวกับผลสำรวจโดยสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านและที่ดินที่รายงานว่าราคาบ้านและที่ดินเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 ในช่วงไม่กี่เดือน
ที่ผ่านมาว่ามีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด สมาพันธ์ผู้ประกอบธุรกิจรับสร้างบ้านเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาจึงออกมาให้ข่าวว่าทางสมาพันธ์กำลังจัดทำดัชนีชี้วัด
ตัวใหม่เพื่อเป็นข้อมูลให้ ธ.กลางอังกฤษเห็นว่าราคาบ้านได้ชะลอตัวลงมาอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพแล้วและไม่มีความจำเป็นที่ ธ.กลางอังกฤษจะต้อง
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก (รอยเตอร์)
3. การเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญมีความก้าวหน้าแม้ว่าจะยังคงมีปัญหามากมาย รายงานจาก ปารีส เมื่อวันที่ 11
ก.ค. 47 นาย Robert Zoellick ผู้แทนทางการค้าจากสรอ. เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการเจรจาการค้าระหว่างเจ้าหน้าที่จากประเทศสำคัญ 5
ประเทศได้แก่ สรอ. สหภาพยุโรป บราซิล อินเดีย และออสเตรเลีย เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วว่าได้มีความพยายามให้การเจรจามีความคืบหน้าและมีข้อยุติ
เนื่องจากองค์การการค้าโลก The World Trade Organisation | WTO ได้กำหนดให้การเจรจาต้องเสร็จสิ้นภายในปลายเดือนก.ค. เพื่อตกลง
กันในอันที่จะนำไปสู่หัวข้อในการเจรจาทางการค้าสินค้าเกษตรและบริการในระดับโลก ทั้งนี้การเจรจาดังกล่าวมีความก้าวหน้าและหลายประเด็นได้รับ
การแก้ไข อย่างไรก็ตามยังมีหลายประเด็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขแต่เวลาไม่อำนวย ทั้งนี้นาย Celso Amorim รมว.ต่างประเทศของบราซิลซึ่งเป็น
เจ้าภาพในจัดการเจรจาเห็นว่าการพบปะกันในครั้งนี้มีประโยชน์มาก ขณะที่นาย Pascal Lamy กรรมาธิการการค้าสหภาพยุโรปกล่าวว่า EU ต้องการ
ให้สรอ. ตัดการสนับสนุนสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกเนื่องจากเป็นการค้าที่ไม่เป็นธรรมในขณะเดียวกับที่มีการเจรจากันนั้นกลุ่มประเทศยากจนและประ
เทศกำลังพัฒนาก็ได้มีการประชุมกันใน Mauritius เพื่อกำหนดความต้องการของพวกเขาในการเจรจา WTO เช่นเดียวกัน (รอยเตอร์)
4. การเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 2 ปี 47 ขยายตัวร้อยละ 9.1 เทียบต่อปี รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 12 ก.ค.47
รัฐบาลสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 47 การเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 9.1 เทียบต่อปี ซึ่งเกือบเป็น 2 เท่าของที่
นักวิเคราะห์ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.1 แต่ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 11.2 เนื่องจากผลผลิตอุตสาหกรรม
โรงงานชะลอตัวลง ทั้งนี้ การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่พึ่งพาการค้าเป็นส่วนใหญ่ มีสัญญาณเตือนเกี่ยวกับผลกำไรของ
ธุรกิจด้านเทคโนโลยีว่า อาจเข้าสู่ภาวะยากลำบากโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจด้านอิเล็กทรอกนิกส์ ซึ่งเป็นธุรกิจส่งออกที่มีปริมาณถึงครึ่งหนึ่งของการส่ง
ออกทั้งหมดของประเทศ โดยอุตสาหกรรมภาคบริการ เช่น การท่องเที่ยวและการค้าปลีกของครึ่งแรกปี 47 ขยายตัวร้อยละ 11.0 จากร้อยละ 6.0
ในไตรมาสแรกปี 47 ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.0 เทียบต่อปี จากที่ขยายตัวร้อยละ 10.9 ในไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม
ในไตรมาสที่ 1 ปี 47 ที่ผ่านมานั้น เศรษฐกิจของสิงคโปร์ได้รับการกระตุ้นจากภาคการส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์และยาโดยมีมูลค่าถึง 93 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ.โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สรอ. และยุโรป รวมทั้งการฟื้นตัวจากการระบาดของโรค SARS เมื่อปีก่อนด้วย
ในขณะที่คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 47 เศรษฐกิจของสิงคโปร์อาจได้รับผลกระทบจากการที่ สรอ.ลดการใช้จ่ายด้านการลงทุนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เทคโน
โลยีลง เพราะสิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 ก.ค. 47 9 ก.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.777 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.5931/40.8836 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.09375-1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 666.59/15.23 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,700/7,800 7,600/7,700 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.28 35.99 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์เมื่อ 18 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เชื่อมั่นว่าการเพิ่มทุนของ ธพ.เป็นการดำเนินการเพื่อรองรับการขยายธุรกิจเป็นหลัก นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ไม่มีความกังวลว่า ธพ.ในระบบจะมีการเพิ่มทุนอีกครั้ง โดยมองว่าการเพิ่มทุนครั้งต่อไปของ ธพ.หากมีขึ้น
ก็เพื่อรองรับการขยายธุรกิจที่ ธพ.แต่ละแห่งจะพิจารณาตามความจำเป็น แต่ไม่ได้เพิ่มทุนเพราะเพิ่มเงินกองทุน โดยสัดส่วนการเพิ่มทุนขึ้นอยู่กับสินเชื่อ
สำหรับขณะนี้สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเฉลี่ยของทั้งระบบอยู่ที่ประมาณ 13% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 8.5% ซึ่งขณะนี้ ธปท.ได้ติดตามสถาน
การณ์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงการใช้เกณฑ์บาเซิล 2 ของประเทศไทยว่า วิธีการวัดความเสี่ยงของสถาบันการเงินที่ไทยใช้
ในระยะแรกนั้นจะเป็นวิธี Standardized Approach ซึ่งไม่มีความแตกต่างจากเกณฑ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมากนัก โดยจะดูเรื่องของเงินกองทุนเป็นหลัก
ซึ่งขณะนี้ ธปท.อยู่ระหว่างทยอยจัดทำ ทั้งในส่วนของการเตรียมฐานข้อมูลและการเตรียมระบบการให้ระดับความเสี่ยงของสินเชื่อแต่ละประเภท ซึ่งคาด
ว่าน่าจะเรียบร้อยภายในระยะเวลา 2 เดือน (กรุงเทพธุรกิจ)
2. ยอดนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยของไทยในช่วง 5 เดือนแรกปี 47 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 20.93% จากปีก่อน รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์ เปิดเผย
ว่า ยอดการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยของไทยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 47 (ม.ค.-พ.ค.) มีจำนวนรวม 3,014.2 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือ 118,826
ล.บาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 20.93% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยคิดเป็น 8.06% ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าทั้งประเทศในช่วง 5 เดือนแรกซึ่งมีมูลค่า
รวมทั้งสิ้น 37,411 ล.ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ สินค้าที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ 1)เครื่องใช้ไฟฟ้า 2)ผลิตภัณฑ์พลาสติก 3)ผลิตภัณฑ์
เวชกรรมและเภสัชกรรม 4)สบู่ ผงซักฟอก และเครื่องสำอาง 5)เสื้อผ้า รองเท้า และผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ 6)ธัญพืชและธัญพืชสำเร็จรูป 7)ผักผลไม้และ
ของปรุงแต่งที่ทำจากผลไม้ 8)ผลิตภัณฑ์นม 9)สินค้าบริโภคอื่นๆ และ 10)ดินสอ ปากกา และหมึกพิมพ์ อนึ่ง หากเทียบการเติบโตแล้วพบว่าผลิตภัณฑ์ยาสูบ
มีอัตราการขยายตัวที่น่าเป็นห่วงโดยขยายตัวสูงถึง 65.25% แม้ว่ามูลค่าจะไม่มากเพียง 42.8 ล.ดอลลาร์ สรอ. ก็ตาม (โลกวันนี้)
3. ช่วง 8 เดือนแรกของปี งปม. 47 การลงทุนมีการขยายตัวเป็นที่น่าพอใจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ช่วง 8 เดือนแรกของปี
งปม.47 (ต.ค.46-มิ.ย.47) การลงทุนมีการขยายตัวเป็นที่น่าพอใจ โดยมียอดคำขอการลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
แล้วกว่า 3.6 แสน ล.บาท และคาดว่าในช่วง 4 เดือนที่เหลือก่อนสิ้นปี งปม. ยอดการลงทุนรวมคงไม่ต่ำกว่า 4 แสน ล.บาท โดยอุตสาหกรรมที่มี
ยอดการลงทุนสูงสุดยังเป็นกิจการประเภทบริการและสาธารณูปโภค รองลงมาคือ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เคมี กระดาษ พลาสติก เกษตร
กรรมและผลิตผลจากเกตร ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง เหมืองแร่และเซรามิก และอุตสาหกรรมเบา ตามลำดับ โดยนักลงทุนต่างชาติ
อันดับหนึ่งยังคงเป็นญี่ปุ่น รองลงมาเป็นไต้หวัน ซึ่งยอดลงทุนที่ขยายตัวเป็นเพราะรัฐบาลมีการสนับสนุนนโยบายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุต
สาหกรรมรถยนต์ (ข่าวสด)
4. ก.พาณิชย์เตรียมแก้ไขหลักเกณฑ์การค้าต่างตอบแทน รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า รมว.พาณิชย์ ได้สั่งการให้คณะทำงาน
การค้าต่างตอบแทนแก้ไขหลักเกณฑ์การค้าต่างตอบแทนใหม่ จากปัจจุบันที่ใช้หลักเกณฑ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการค้าต่างตอบ
แทน พ.ศ.2543 ซึ่งมีเงื่อนไขว่าการจัดซื้อสินค้าและการจ้างบริการจากต่างประเทศของส่วนราชการและหรือรัฐวิสาหกิจที่มีมูลค่าตั้งแต่ 300 ล.บาท
ขึ้นไปต้องทำการค้าต่างตอบแทนในอัตราส่วนไม่น้อยกว่า 50% ของมูลค่าสินค้าที่นำเข้าหรือมูลค่าการจ้างบริการจากต่างประเทศ เพื่อประหยัดการใช้
จ่ายเงินตราต่างประเทศในการซื้อสินค้าและช่วยระบายสินค้าเกษตรที่ราคาตกต่ำของไทย แต่เนื่องจากปัจจุบันสินค้าเกษตรของไทยไม่มีปัญหาเรื่องราคา
ตกต่ำ รวมทั้งไทยไม่มีปัญหาการขาดดุลการค้า จึงควรแก้ไขเกณฑ์ให้เอื้อต่อการซื้อสินค้าของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจมากขึ้น สำหรับเกณฑ์การค้า
ต่างตอบแทนใหม่นั้น จะมีการกำหนดอัตราส่วนการทำการค้าต่างตอบแทนตามความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น(โลกวันนี้, ข่าวสด)
5. ธอส.พร้อมเปิดดำเนินการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยความคืบหน้าการจัดตั้งศูนย์ข้อมูล
อสังหาริมทรัพย์ว่า ข้อมูลที่จะนำมาใช้เป็นดัชนีชี้วัด 6 ตัว ได้แก่ ดัชนีบ้านสร้างเสร็จ ดัชนีบ้านสร้างใหม่ ดัชนีสินเชื่อบ้าน ดัชนีราคาบ้าน ดัชนียอดขาย
บ้าน และดัชนีการโอนบ้าน ได้รวบรวมจนเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว เหลือเพียงข้อมูลในส่วนของกรมการปกครองและข้อมูลของสถาบันการเงิน ซึ่งจะต้อง
หารือกับ ธปท.อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในเร็วๆ นี้ (ข่าวสด)
6. สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอมาตรการป้องกันผลกระทบด้านธุรกิจท่องเที่ยวจากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน
นางสมใจ หงษ์ดาลัด กรรมการสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ATTA) เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวภาคเอกชนกำลัง
ดำเนินการเรียกร้องความช่วยเหลือไปยังการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กรณีที่ไทยจะเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนหรือเอฟทีเอกับหลายประเทศ
เนื่องจากส่วนใหญ่กังวลว่า ภายหลังจากเปิดเอฟทีเอธุรกิจท่องเที่ยวกับต่างประเทศแล้ว จะเกิดภาวะการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมระหว่างผู้ประกอบการ
ไทยกับต่างชาติ อีกทั้งผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่เป็นภาคธุรกิจขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีที่มีเงินลงทุนน้อย ซึ่งอาจเสียเปรียบนักลงทุนชาวต่างชาติที่มีเงิน
ลงทุนมากกว่าและมีความรู้ความชำนาญทางการตลาดดีกว่า โดยสมาคมฯ เตรียมเสนอมาตรการป้องกันจุดอ่อนของไทยสำหรับการเข้ามาดำเนินธุรกิจ
ท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ 2 ข้อ ได้แก่ 1)กำหนดเงินลงทุนของผู้ประกอบการชาวต่างชาติอย่างน้อย 50-100 ล.บาทต่อราย และ 2)กำหนดคุณสมบัติ
ผู้ที่จะเข้ามาประกอบธุรกิจดังกล่าวในประเทศไทย รวมทั้งจัดอบรมหรือเสวนาเพื่อเตรียมความพร้อมในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. นรม.เยอรมนีมองว่าเศรษฐกิจเยอรมนีกำลังฟื้นตัวและเติบโตไปด้วยดี รายงานจากเมือง Neuhardenberg ประเทศเยอรมนี เมื่อ
วันที่ 10 ก.ค.47 Gerhard Schroeder นรม.เยอรมนี กล่าวว่า การบริโภคภายในประเทศจะเริ่มกลับมาดีอีกครั้งเนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
กำลังฟื้นตัวและเติบโตไปด้วยดี โดยการส่งออกที่เพิ่มขึ้นยังคงเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเยอรมนีสำหรับ
การแข่งขันอย่างเข้มข้นในตลาดโลก แต่ก็แสดงความกังวลอยู่บ้างต่อการที่มีการสวนทางกันระหว่างการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การบริโภคภายใน
ประเทศยังคงอ่อนตัวอยู่ อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ข้อมูลต่าง ๆ ดีขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ไม่เฉพาะแค่การส่งออก แต่รวมถึง
สัญญาณการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศด้วย ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้จะสูงกว่าร้อยละ 1.5 จากที่เคยคาดการณ์ไว้ และในปีห
น้าก็มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะเติบโตถึงร้อยละ 2 ซึ่งในระยะหลังสำนักวิจัยทางเศรษฐกิจหลายแห่งและ IMF ก็ได้ปรับตัวเลขพยากรณ์อัตราการ
เติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 47 เพิ่มขึ้นเช่นกัน ทางด้าน Wolfgang Clement รมว.เศรษฐกิจของเยอรมนี กล่าวว่า ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐ
กิจหลายตัว เช่น การสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศในเดือน พ.ค.47 เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้เชื่อได้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะยังคงต่อ
เนื่องไปตลอดทั้งปี ส่วนปัจจัยเสี่ยงเรื่องราคาน้ำมันนั้น ถ้าราคาน้ำมันยังทรงตัวอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 40 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล คาดว่าจะส่งผล
กระทบเพียงเล็กน้อยต่อเศรษฐกิจของเยอรมนี (รอยเตอร์)
2. ราคาบ้านใหม่ในอังกฤษลดลงร้อยละ 2.0 ในเดือน มิ.ย.47 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 12 ก.ค.47 เว็บไซต์บ้านและที่ดิน
SmartNewHomes.com รายงานราคาเสนอขายบ้านใหม่ในอังกฤษลดลงร้อยละ 2.0 ในเดือน มิ.ย.47 และเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.6 จากปีก่อน
ในช่วง 3 เดือนสิ้นสุดเดือน มิ.ย.47 เช่นเดียวกับเว็บไซต์ assertahome.com ที่รายงานสัดส่วนนักเก็งกำไรบ้านและที่ดินที่เชื่อว่าราคาบ้านจะ
เพิ่มขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้าลดลงเหลือร้อยละ 62 ในเดือน มิ.ย.47 จากร้อยละ 79 ในเดือนก่อน ราคาบ้านในอังกฤษที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นสาเหตุ
สำคัญที่ทำให้ ธ.กลางอังกฤษตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบกิจการรับสร้างบ้านหลายรายได้
ตั้งคำถามเกี่ยวกับผลสำรวจโดยสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านและที่ดินที่รายงานว่าราคาบ้านและที่ดินเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 ในช่วงไม่กี่เดือน
ที่ผ่านมาว่ามีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด สมาพันธ์ผู้ประกอบธุรกิจรับสร้างบ้านเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาจึงออกมาให้ข่าวว่าทางสมาพันธ์กำลังจัดทำดัชนีชี้วัด
ตัวใหม่เพื่อเป็นข้อมูลให้ ธ.กลางอังกฤษเห็นว่าราคาบ้านได้ชะลอตัวลงมาอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพแล้วและไม่มีความจำเป็นที่ ธ.กลางอังกฤษจะต้อง
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก (รอยเตอร์)
3. การเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญมีความก้าวหน้าแม้ว่าจะยังคงมีปัญหามากมาย รายงานจาก ปารีส เมื่อวันที่ 11
ก.ค. 47 นาย Robert Zoellick ผู้แทนทางการค้าจากสรอ. เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการเจรจาการค้าระหว่างเจ้าหน้าที่จากประเทศสำคัญ 5
ประเทศได้แก่ สรอ. สหภาพยุโรป บราซิล อินเดีย และออสเตรเลีย เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วว่าได้มีความพยายามให้การเจรจามีความคืบหน้าและมีข้อยุติ
เนื่องจากองค์การการค้าโลก The World Trade Organisation | WTO ได้กำหนดให้การเจรจาต้องเสร็จสิ้นภายในปลายเดือนก.ค. เพื่อตกลง
กันในอันที่จะนำไปสู่หัวข้อในการเจรจาทางการค้าสินค้าเกษตรและบริการในระดับโลก ทั้งนี้การเจรจาดังกล่าวมีความก้าวหน้าและหลายประเด็นได้รับ
การแก้ไข อย่างไรก็ตามยังมีหลายประเด็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขแต่เวลาไม่อำนวย ทั้งนี้นาย Celso Amorim รมว.ต่างประเทศของบราซิลซึ่งเป็น
เจ้าภาพในจัดการเจรจาเห็นว่าการพบปะกันในครั้งนี้มีประโยชน์มาก ขณะที่นาย Pascal Lamy กรรมาธิการการค้าสหภาพยุโรปกล่าวว่า EU ต้องการ
ให้สรอ. ตัดการสนับสนุนสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกเนื่องจากเป็นการค้าที่ไม่เป็นธรรมในขณะเดียวกับที่มีการเจรจากันนั้นกลุ่มประเทศยากจนและประ
เทศกำลังพัฒนาก็ได้มีการประชุมกันใน Mauritius เพื่อกำหนดความต้องการของพวกเขาในการเจรจา WTO เช่นเดียวกัน (รอยเตอร์)
4. การเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 2 ปี 47 ขยายตัวร้อยละ 9.1 เทียบต่อปี รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 12 ก.ค.47
รัฐบาลสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 47 การเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 9.1 เทียบต่อปี ซึ่งเกือบเป็น 2 เท่าของที่
นักวิเคราะห์ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.1 แต่ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 11.2 เนื่องจากผลผลิตอุตสาหกรรม
โรงงานชะลอตัวลง ทั้งนี้ การชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่พึ่งพาการค้าเป็นส่วนใหญ่ มีสัญญาณเตือนเกี่ยวกับผลกำไรของ
ธุรกิจด้านเทคโนโลยีว่า อาจเข้าสู่ภาวะยากลำบากโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจด้านอิเล็กทรอกนิกส์ ซึ่งเป็นธุรกิจส่งออกที่มีปริมาณถึงครึ่งหนึ่งของการส่ง
ออกทั้งหมดของประเทศ โดยอุตสาหกรรมภาคบริการ เช่น การท่องเที่ยวและการค้าปลีกของครึ่งแรกปี 47 ขยายตัวร้อยละ 11.0 จากร้อยละ 6.0
ในไตรมาสแรกปี 47 ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.0 เทียบต่อปี จากที่ขยายตัวร้อยละ 10.9 ในไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม
ในไตรมาสที่ 1 ปี 47 ที่ผ่านมานั้น เศรษฐกิจของสิงคโปร์ได้รับการกระตุ้นจากภาคการส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์และยาโดยมีมูลค่าถึง 93 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ.โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สรอ. และยุโรป รวมทั้งการฟื้นตัวจากการระบาดของโรค SARS เมื่อปีก่อนด้วย
ในขณะที่คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 47 เศรษฐกิจของสิงคโปร์อาจได้รับผลกระทบจากการที่ สรอ.ลดการใช้จ่ายด้านการลงทุนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เทคโน
โลยีลง เพราะสิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 ก.ค. 47 9 ก.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.777 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.5931/40.8836 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.09375-1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 666.59/15.23 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,700/7,800 7,600/7,700 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 34.28 35.99 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์เมื่อ 18 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-