กรุงเทพ--12 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
สรุปสาระสำคัญการแถลงข่าว เพื่อแนะนำแถลงการณ์ร่วมของเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ว่าด้วยเอชไอวี/เอดส์ เนื่องในโอกาสการประชุมระดับรัฐมนตรีประเทศในภูมิภาค
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวแนะนำแถลงการณ์ร่วมของเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network-HSN) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงความสนับสนุนของกลุ่มประเทศเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ ต่อการจัดการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยเอชไอวี/เอดส์ ที่กรุงเทพฯ ภายใต้หัวข้อหลัก "ทุกคนเข้าถึง" ระหว่างวันที่ 11-16 กรกฎาคม 2547 และเป็นการย้ำว่าการแพร่ระบาดของเอชไอวี/เอดส์ มิใช่เป็นเพียงประเด็นด้านสุขภาพ แต่เป็นปัญหาหลายมิติที่บ่อนทำลายการพัฒนาและคุกคามความมั่นคงของมนุษย์อย่างร้ายแรงทั่วโลก สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
ภารกิจของเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์
เครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์เป็นประชาคมของประเทศที่มีความคิดเห็นคล้ายคลึงกัน 13 ประเทศ โดยมีสมาชิกจากเอเชียเพียง 2 ประเทศคือ ไทยและจอร์แดน ประชาคมดังกล่าวมุ่งที่จะสร้างสรรค์โลกซึ่งมนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความมั่นคงและมีศักดิ์ศรี ปลอดจากการคุกคามรุนแรง ความยากจน และความสิ้นหวัง ภายหลังการก่อตั้งเมื่อ 5 ที่ผ่านมา เครือข่ายความ มั่นคงของมนุษย์ได้กลายเป็นพลังผลักดันสำคัญในการส่งเสริมความตระหนักระหว่างประเทศต่อแนวความคิดเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งครอบคลุมทั้งด้าน "การปลอดจากความหวาดกลัว" (freedom from fear)และ "การปลอดจากความขาดแคลน" (fredom from want)แนวความคิดเกี่ยวกับ"ความมั่นคงของมนุษย์" ของเครือข่ายฯ เน้นที่ “มนุษย์” เป็นศูนย์กลาง ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดเกี่ยวกับความมั่นคงดั้งเดิมซึ่งเน้นเฉพาะความมั่นคงของรัฐเป็นหลัก เครือข่ายฯ พยายามแปรคำสัญญาทางการเมืองให้เป็นรูปธรรมในทุกระดับ ทั้งระดับชาติ ภูมิภาค และระหว่างประเทศ โดยพยายามที่จะเสริมการทำงานขององค์กรต่างๆของสหประชาชาติที่มีอยู่แล้ว และส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนกับประชาสังคมทั่วโลก ในประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ที่อยู่ในความสนใจของเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์
ด้วยเจตนารมย์เช่นนี้ เครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ได้มุ่งดำเนินการหารือและร่วมมืออย่างกว้างขวางเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของมนุษย์ อาทิ การศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองเด็กในสถานการณ์ความขัดแย้งทางอาวุธ การควบคุมอาวุธขนาดเบาและขนาดเล็ก การขจัดทุ่นระเบิดสังหารบุคคล การต่อสู้อาชญากรรมข้ามชาติ การต่อสู้กับเอชไอวี/เอดส์ การขจัดความยากจนและการส่งเสริมการพัฒนาที่มีคนเป็นศูนย์กลาง การอนุวัติกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
ไทยได้เสนอต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ ครั้งที่ 5 ในปี 2546 ที่เมืองกร๊าซ ประเทศออสเตรีย ให้ประเทศสมาชิกเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระเบียบวาระ (agenda)ที่สมดุลระหว่าง "การปลอดจากความหวาดกลัว" และ "การปลอดจากความขาดแคลน" ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบตามที่ไทยเสนอให้บรรจุประเด็นเอชไอวี/เอดส์ การขจัดความยากจน และการพัฒนาที่มีคนเป็นศูนย์กลาง ในระเบียบวาระและแผนงานระยะกลางปี 2546-2548 ของเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์
บทบาทของไทยในการส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์
ประเทศไทยได้ดำเนินการอย่างจริงจังในการส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ดังนี้
(1) ภายในประเทศ นโยบายการพัฒนาประเทศได้ให้ความสำคัญกับความมั่นคงของมนุษย์ และการพัฒนาที่มีคนเป็นศูนย์กลาง ไทยเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆของโลกที่ก่อตั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์เชิงบูรณาการและการประสานงานที่เป็นเอกภาพในประเด็นต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีนัยเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการคุ้มครองประชาชนที่อยู่ในกลุ่มอ่อนแอ
(2) ระหว่างประเทศ รัฐบาลไทยทำงานอย่างใกล้ชิดกับประชาคมระหว่างประเทศในการส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ อาทิ
- ในฐานะประธานการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิด ครั้งที่ 5 ไทยได้ดำเนินการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการขจัดทุ่นระเบิดอย่างแข็งขัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ "การปลอดจากความหวาดกลัว"
- ในฐานะเจ้าภาพการประชุมผู้นำเศรษฐกิจ APEC ครั้งที่ 11 เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ประเทศไทยได้บรรจุประเด็นเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหนึ่งในหัวข้อย่อยของการประชุมฯ เป็นครั้งแรก
- สัปดาห์นี้ ไทยมีความภูมิใจที่เป็นเจ้าภาพการประชุมระดับรัฐมนตรีประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วย เอชไอวี/เอดส์ ครั้งที่ 2 และการประชุมนานาชาติ ว่าด้วยเอชไอวี/เอดส์ ครั้งที่ 15 ความเชื่อมโยงกันระหว่างความมั่นคงของมนุษย์กับเอชไอวี/เอดส์ปัญหาเอชไอวี/เอดส์เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน และเป็นปัญหาซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้ง “การปลอดจากความหวาดกลัว” และ “การปลอดจากความขาดแคลน” ทั้งนี้ เอชไอวี/เอดส์ ส่งผลกระทบต่อ “การปลอดจากความหวาดกลัว” เนื่องจากได้คร่าชีวิตของคนไปถึง 3 ล้านคนเฉพาะในปี 2546 เพียงปีเดียว ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่ายอดรวมกันของผู้เสียชีวิตจากสงครามและการสู้รบภายในประเทศของทุกๆ ประเทศในปีเดียวกัน ในขณะเดียวกัน เอชไอวี/เอดส์กระทบต่อ “การปลอดจากความขาดแคลน” เนื่องจากบ่อนทำลายการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมในทุกแห่งทั่วโลก นอกจากนี้ ปัญหาการเลือกปฏิบัติและตีตราบาปซึ่งบั่นทอนความสามารถของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี
ในการประชุมระดับรัฐมนตรีประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 2 ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2547 มีการหารือเรื่องมาตรการในการป้องกัน การเข้าถึงยาและการบำบัดรักษาในราคาที่เหมาะสม และปัญหาการตีตราบาป (stigmatization) ซึ่งประเด็นต่างๆ เหล่านี้มีผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงของมนุษย์ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ในทุกภูมิภาคของโลก
วัตถุประสงค์ของแถลงการณ์ร่วมของเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์
ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 15 และการประชุมระดับรัฐมนตรีภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเรื่องเอชไอวี/เอดส์ ครั้งที่ 2 ประเทศไทยรู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้จะประกาศแถลงการณ์ร่วมเรื่องเอชไอวี/เอดส์ในนามของเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ แถลงการณ์ร่วมฯ เน้นถึงความเป็นสากลของการแพร่ระบาดของเอชไอวี/เอดส์ ซึ่งเห็นได้จากข้อกังวลของประเทศต่างๆ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและนอกภูมิภาคเกี่ยวกับผลกระทบในเชิงลบของเอชไอวี/เอดส์ เครือข่ายฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อคิดเห็นที่นำเสนอจะเป็นประโยชน์ต่อการหารือในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเรื่องเอชไอวี/เอดส์ ครั้งที่ 2 และการประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 15
แถลงการณ์ร่วมฯ ของเครือข่ายฯ ได้กล่าวถึงประเด็นต่างๆ เช่น
- ความสำคัญของการแก้ไขปัจจัยที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อการเข้าถึงยาและการรักษาเอชไอวี/เอดส์ รวมทั้งอุปสรรคต่างๆ เพื่อช่วยให้ประเทศยากจนที่ไม่สามารถผลิตยาเองได้สามารถที่จะนำเข้ายา generic drugs โดยยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมสิทธิบัตร
- การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ความพร้อมด้านนโยบายและกฎหมาย และการระดมทรัพยากร โดยเน้นการให้การสนับสนุนการดำเนินงานของ Global Fund for HIV/AIDS, Tuberculosis and Malaria และองค์กรอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านเอชไอวี/เอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย
- การระดมความพยายามในระดับระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาค โดยเฉพาะในระดับผู้นำ เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเอชไอวี/เอดส์ ตลอดจนการส่งเสริมความตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างความมั่นคงของมนุษย์และการแพร่ระบาดของเอชไอวี/เอดส์ในวาระการประชุมพหุภาคีต่างๆ มองไปสู่อนาคต
ประเทศไทยจะรับสืบทอดตำแหน่งประธานเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ต่อจากประเทศแคนาดาในเดือนพฤษภาคม 2548 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 1 ปี และกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีในเดือนพฤษภาคม 2549 การดำเนินงานของเครือข่ายฯ ได้ให้ความสำคัญกับปัญหา เอชไอวี/เอดส์ และจะยังคงให้ความสำคัญกับปัญหานี้อย่างสูงในระหว่างที่ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานเครือข่ายฯ ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
สรุปสาระสำคัญการแถลงข่าว เพื่อแนะนำแถลงการณ์ร่วมของเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ว่าด้วยเอชไอวี/เอดส์ เนื่องในโอกาสการประชุมระดับรัฐมนตรีประเทศในภูมิภาค
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวแนะนำแถลงการณ์ร่วมของเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network-HSN) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงความสนับสนุนของกลุ่มประเทศเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ ต่อการจัดการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยเอชไอวี/เอดส์ ที่กรุงเทพฯ ภายใต้หัวข้อหลัก "ทุกคนเข้าถึง" ระหว่างวันที่ 11-16 กรกฎาคม 2547 และเป็นการย้ำว่าการแพร่ระบาดของเอชไอวี/เอดส์ มิใช่เป็นเพียงประเด็นด้านสุขภาพ แต่เป็นปัญหาหลายมิติที่บ่อนทำลายการพัฒนาและคุกคามความมั่นคงของมนุษย์อย่างร้ายแรงทั่วโลก สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
ภารกิจของเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์
เครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์เป็นประชาคมของประเทศที่มีความคิดเห็นคล้ายคลึงกัน 13 ประเทศ โดยมีสมาชิกจากเอเชียเพียง 2 ประเทศคือ ไทยและจอร์แดน ประชาคมดังกล่าวมุ่งที่จะสร้างสรรค์โลกซึ่งมนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความมั่นคงและมีศักดิ์ศรี ปลอดจากการคุกคามรุนแรง ความยากจน และความสิ้นหวัง ภายหลังการก่อตั้งเมื่อ 5 ที่ผ่านมา เครือข่ายความ มั่นคงของมนุษย์ได้กลายเป็นพลังผลักดันสำคัญในการส่งเสริมความตระหนักระหว่างประเทศต่อแนวความคิดเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งครอบคลุมทั้งด้าน "การปลอดจากความหวาดกลัว" (freedom from fear)และ "การปลอดจากความขาดแคลน" (fredom from want)แนวความคิดเกี่ยวกับ"ความมั่นคงของมนุษย์" ของเครือข่ายฯ เน้นที่ “มนุษย์” เป็นศูนย์กลาง ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดเกี่ยวกับความมั่นคงดั้งเดิมซึ่งเน้นเฉพาะความมั่นคงของรัฐเป็นหลัก เครือข่ายฯ พยายามแปรคำสัญญาทางการเมืองให้เป็นรูปธรรมในทุกระดับ ทั้งระดับชาติ ภูมิภาค และระหว่างประเทศ โดยพยายามที่จะเสริมการทำงานขององค์กรต่างๆของสหประชาชาติที่มีอยู่แล้ว และส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนกับประชาสังคมทั่วโลก ในประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ที่อยู่ในความสนใจของเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์
ด้วยเจตนารมย์เช่นนี้ เครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ได้มุ่งดำเนินการหารือและร่วมมืออย่างกว้างขวางเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของมนุษย์ อาทิ การศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองเด็กในสถานการณ์ความขัดแย้งทางอาวุธ การควบคุมอาวุธขนาดเบาและขนาดเล็ก การขจัดทุ่นระเบิดสังหารบุคคล การต่อสู้อาชญากรรมข้ามชาติ การต่อสู้กับเอชไอวี/เอดส์ การขจัดความยากจนและการส่งเสริมการพัฒนาที่มีคนเป็นศูนย์กลาง การอนุวัติกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
ไทยได้เสนอต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ ครั้งที่ 5 ในปี 2546 ที่เมืองกร๊าซ ประเทศออสเตรีย ให้ประเทศสมาชิกเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระเบียบวาระ (agenda)ที่สมดุลระหว่าง "การปลอดจากความหวาดกลัว" และ "การปลอดจากความขาดแคลน" ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบตามที่ไทยเสนอให้บรรจุประเด็นเอชไอวี/เอดส์ การขจัดความยากจน และการพัฒนาที่มีคนเป็นศูนย์กลาง ในระเบียบวาระและแผนงานระยะกลางปี 2546-2548 ของเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์
บทบาทของไทยในการส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์
ประเทศไทยได้ดำเนินการอย่างจริงจังในการส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ดังนี้
(1) ภายในประเทศ นโยบายการพัฒนาประเทศได้ให้ความสำคัญกับความมั่นคงของมนุษย์ และการพัฒนาที่มีคนเป็นศูนย์กลาง ไทยเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆของโลกที่ก่อตั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์เชิงบูรณาการและการประสานงานที่เป็นเอกภาพในประเด็นต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีนัยเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการคุ้มครองประชาชนที่อยู่ในกลุ่มอ่อนแอ
(2) ระหว่างประเทศ รัฐบาลไทยทำงานอย่างใกล้ชิดกับประชาคมระหว่างประเทศในการส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ อาทิ
- ในฐานะประธานการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิด ครั้งที่ 5 ไทยได้ดำเนินการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการขจัดทุ่นระเบิดอย่างแข็งขัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ "การปลอดจากความหวาดกลัว"
- ในฐานะเจ้าภาพการประชุมผู้นำเศรษฐกิจ APEC ครั้งที่ 11 เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ประเทศไทยได้บรรจุประเด็นเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหนึ่งในหัวข้อย่อยของการประชุมฯ เป็นครั้งแรก
- สัปดาห์นี้ ไทยมีความภูมิใจที่เป็นเจ้าภาพการประชุมระดับรัฐมนตรีประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วย เอชไอวี/เอดส์ ครั้งที่ 2 และการประชุมนานาชาติ ว่าด้วยเอชไอวี/เอดส์ ครั้งที่ 15 ความเชื่อมโยงกันระหว่างความมั่นคงของมนุษย์กับเอชไอวี/เอดส์ปัญหาเอชไอวี/เอดส์เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน และเป็นปัญหาซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้ง “การปลอดจากความหวาดกลัว” และ “การปลอดจากความขาดแคลน” ทั้งนี้ เอชไอวี/เอดส์ ส่งผลกระทบต่อ “การปลอดจากความหวาดกลัว” เนื่องจากได้คร่าชีวิตของคนไปถึง 3 ล้านคนเฉพาะในปี 2546 เพียงปีเดียว ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่ายอดรวมกันของผู้เสียชีวิตจากสงครามและการสู้รบภายในประเทศของทุกๆ ประเทศในปีเดียวกัน ในขณะเดียวกัน เอชไอวี/เอดส์กระทบต่อ “การปลอดจากความขาดแคลน” เนื่องจากบ่อนทำลายการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมในทุกแห่งทั่วโลก นอกจากนี้ ปัญหาการเลือกปฏิบัติและตีตราบาปซึ่งบั่นทอนความสามารถของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี
ในการประชุมระดับรัฐมนตรีประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 2 ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2547 มีการหารือเรื่องมาตรการในการป้องกัน การเข้าถึงยาและการบำบัดรักษาในราคาที่เหมาะสม และปัญหาการตีตราบาป (stigmatization) ซึ่งประเด็นต่างๆ เหล่านี้มีผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงของมนุษย์ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ในทุกภูมิภาคของโลก
วัตถุประสงค์ของแถลงการณ์ร่วมของเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์
ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 15 และการประชุมระดับรัฐมนตรีภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเรื่องเอชไอวี/เอดส์ ครั้งที่ 2 ประเทศไทยรู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้จะประกาศแถลงการณ์ร่วมเรื่องเอชไอวี/เอดส์ในนามของเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ แถลงการณ์ร่วมฯ เน้นถึงความเป็นสากลของการแพร่ระบาดของเอชไอวี/เอดส์ ซึ่งเห็นได้จากข้อกังวลของประเทศต่างๆ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและนอกภูมิภาคเกี่ยวกับผลกระทบในเชิงลบของเอชไอวี/เอดส์ เครือข่ายฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อคิดเห็นที่นำเสนอจะเป็นประโยชน์ต่อการหารือในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเรื่องเอชไอวี/เอดส์ ครั้งที่ 2 และการประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 15
แถลงการณ์ร่วมฯ ของเครือข่ายฯ ได้กล่าวถึงประเด็นต่างๆ เช่น
- ความสำคัญของการแก้ไขปัจจัยที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อการเข้าถึงยาและการรักษาเอชไอวี/เอดส์ รวมทั้งอุปสรรคต่างๆ เพื่อช่วยให้ประเทศยากจนที่ไม่สามารถผลิตยาเองได้สามารถที่จะนำเข้ายา generic drugs โดยยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมสิทธิบัตร
- การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ความพร้อมด้านนโยบายและกฎหมาย และการระดมทรัพยากร โดยเน้นการให้การสนับสนุนการดำเนินงานของ Global Fund for HIV/AIDS, Tuberculosis and Malaria และองค์กรอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านเอชไอวี/เอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย
- การระดมความพยายามในระดับระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาค โดยเฉพาะในระดับผู้นำ เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเอชไอวี/เอดส์ ตลอดจนการส่งเสริมความตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างความมั่นคงของมนุษย์และการแพร่ระบาดของเอชไอวี/เอดส์ในวาระการประชุมพหุภาคีต่างๆ มองไปสู่อนาคต
ประเทศไทยจะรับสืบทอดตำแหน่งประธานเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ต่อจากประเทศแคนาดาในเดือนพฤษภาคม 2548 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 1 ปี และกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีในเดือนพฤษภาคม 2549 การดำเนินงานของเครือข่ายฯ ได้ให้ความสำคัญกับปัญหา เอชไอวี/เอดส์ และจะยังคงให้ความสำคัญกับปัญหานี้อย่างสูงในระหว่างที่ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานเครือข่ายฯ ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-