แท็ก
เอชไอวี
กรุงเทพ--12 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เรา กลุ่มประเทศสมาชิกเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ มีความห่วงกังวลอย่างยิ่งว่าการแพร่ระบาดของโรคเอชไอวี/เอดส์ทั่วโลกเป็นภ้ยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งตามรายงานขององค์กร UNAIDS ที่ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 ล้านคนเฉพาะในปี 2546 นั้นย่อมส่งผลเชิงลบต่อการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ และความสามารถและสิทธิของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคดังกล่าว ที่จะดำรงชีวิตอย่างมั่นคงและมีศักดิ์ศรี เพราะตระหนักถึงความสำคัญของการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านการแพร่ระบาดของโรคเอชไอวี/เอดส์ เครือข่ายฯ ขอแสดงความชื่นชมรัฐบาลไทยที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเฃียแปซิฟิกว่าด้วยเอชไอวี/เอดส์ ครั้งที่ 2 และการประชุมนานาชาติว่าด้วยโรคเอชไอวี/เอดส์ ครั้งที่ 15 ภายใต้หัวข้อ “ทุกคนเข้าถึง” (Access for All) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อผนึกความร่วมมือและความรับผิดชอบระหว่างประเทศในระดับผู้นำเพื่อต่อสู้กับโรคเอชไอวี/เอดส์
เครือข่ายฯ ขอเน้นความสำคัญขอการอนุวัติการปฏิญญาว่าด้วยพันธกรณีเรื่องโรดเอชไอวี/เอดส์ อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เห็นว่าการที่ปฏิญญาฯ ดังกล่าว ยืนยันการสร้างเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลทุกคน มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการลดโอกาสในการติดโรคเอชไอวี/เอดส์
เครือข่ายฯ ขอเน้นย้ำบทบาทสำคัญของภาคประชาสังคม โดยเฉพาะองค์กรซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ในทุกบริบทของการต่อต้านปัญหานี้ในระดับโลก เครือข่ายรับทราบว่าการตีตราบาป (stigmatization) และการเลือกประติบัติ (discrimination) เพราะเหตุผลเกี่ยวกับโรคเอชไอวี/เอดส์ เป็นอุปสรรคต่อการต่อต้านโรคเอชไอวี/เอดส์ และย้ำว่า การเลือกประติบัติดังกล่าว ไม่ว่าจะโดยพื้นฐานข้อเท็จจริงหรือข้อสรุป (actual or presumed) ถือว่าขัดกับมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่มีอยู่ นอกจากนี้ ข้อความ “หรือสถานะอื่นๆ” ในข้อบทเกี่ยวกับการไม่เลือกประติบัติซึ่งบัญญัติในตราสารด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศต่างๆ นั้น ควรได้รับการตีความให้ครอบคลุมถึงสถานะทางสุขภาพ รวมทั้งโรคเอชไอวี/เอดส์ด้วย
เครือข่ายฯ รับทราบด้วยความห่วงใยว่า ในหลายๆ แห่งในโลก สตรีและเด็กได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์มากกว่าประชากรกลุ่มอื่นๆ และขอย้ำความสำคัญของการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ (gender equality) และการผนวกแง่มุมชาย/หญิงในการดำเนินการเพื่อต่อต้านโรคเอชไอวี/เอดส์
เครือข่ายฯ ขอเน้นว่าพลเรือนซึ่งตกอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งด้วยกำลังอาวุธ โดยเฉพาะผู้อพยพ และผู้พลัดถิ่น อาจมีความเสี่ยงสูงมากขึ้นต่อการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ เนื่องจาก ปัจจัยต่างๆ เช่น ความรุนแรงต่อสตรีที่มีอัตราสูงขึ้น โดยเฉพาะการข่มขืนและการบังคับข่มขู่ทางเพศ การขาดโอกาสที่จะเข้าถึงบริการทางสังคม รวมทั้งด้านสาธารณสุขและการศึกษา และการแตกร้าวของโครงสร้างครอบครัว และ/หรือชุมชน เครือข่ายฯ ขอย้ำว่ามีความจำเป็นที่ปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนสันติภาพต้องให้ความสำคัญกับปัญหาโรคเอชไอวี/เอดส์อย่างเหมาะสม
เครือข่ายยืนยันว่าระบบธรรมาภิบาลมีความสำคัญต่อการต่อสู้กับปัญหาโรคเอชไอวี/เอดส์ และโรคเอชไอวี/เอดส์ อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อความสามารถของรัฐในการปกครองประเทศ และส่งผลให้มีการเรียกร้องบริการจากรัฐเพิ่มมากขึ้น
เครือข่ายฯ รับทราบด้วยความห่วงกังวลว่า ในหลายๆ ส่วนของโลก กองทัพและภาคที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงอื่นๆ เป็นกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์มาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถของรัฐหรือชุมชนในการธำรงรักษาและส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง
เครือข่ายฯ ขอย้ำถึงความสำคัญของการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อในกลุ่มเยาวชน เด็กกำพร้าทั้งชายและหญิง และเด็กแรกเกิดซึ่งติดเชื้อหรือได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ ซึ่งควรป้องกันโดยการส่งเสริมการให้ความรู้ที่เฉพาะเจาะจง การให้บริการที่จำเป็นเพื่อพัฒนาทักษะในการดำรงชีวิต การให้บริการปรึกษาที่เหมาะสม การให้ความสนับสนุนด้านจิตวิทยาสังคม ตลอดจนการบำบัดรักษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี/เอดส์จากแม่สู่ลูก
เครือข่ายฯ ขอเน้นความสำคัญของการดำเนินการดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นการประกันการดำเนินโครงการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพื่อให้ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเข้าถึงการป้องกัน การบำบัดรักษา และการดูแล ในราคาที่สามารถจ่ายได้ และขจัดปัญหาการตีตราบาปและการเลือกประติบัติ รวมทั้งเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการสร้างเยาวชนยุคใหม่ที่ปลอดจากเอชไอวี/เอดส์ ? การส่งเสริมความตระหนักถึงปัญหาเอชไอวี/เอดส์ และมาตรการป้องกัน รวมทั้งการรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัยซึ่งเป็นสิ่งช่วยป้องกันที่สำคัญ เพราะมีหลักฐานยืนยันจากประสบการณ์ของบางประเทศว่า ถุงยางอนามัยช่วยให้อัตราการติดเชื้อเอชไอวีลดลงอย่างมาก
- การจัดหายาเพื่อบำบัดรักษาโรคเอชไอวี/เอดส์ การบำบัดรักษาที่มีคุณภาพดี การดูแลและการให้การสนับสนุนบุคคลซึ่งติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคเอชไอวี/เอดส์ ภายในปี ค.ศ. 2015 ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millenium Development Goals)
- การแก้ไขปัจจัยซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจัดให้มียารักษาโรคที่พอเพียง การเข้าถึงยาและบริการ ในระดับราคาที่เหมาะสม และการแจกจ่ายยารักษาเพื่อบำบัดรักษาโรคเอชไอวี/เอดส์อย่างทั่วถึง เช่น โดยการส่งเสริมให้มีการปฎิบัติตามมติเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2546 ขององค์การการค้าโลกว่าด้วยการอนุวัติการ วรรค 6 ของปฏิญญาโดฮาเรื่องความตกลงด้านการค้าที่เกี่ยวโยงกับทรัพย์สินทางปัญญา (TRIPS) และการสาธารณสุข ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุข/สุขภาพ ศักยภาพของทรัพยากรบุคคลในพื้นที่และภูมิภาคซึ่งมีความต้องการมากที่สุด
- การสนับสนุนจากระดับผู้นำต่อความพยายามที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเอชไอวี/เอดส์ อาทิ วัคซีนและ microbides ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการลดและนำมาสู่การยุติการแพร่ระบาดของโรคในที่สุด ซึ่งในการนี้ จำเป็นต้องมีการลงทุนและความเป็นหุ้นส่วนร่วมกันอย่างมาก เพื่อเร่งรัดการพัฒนาดังกล่าว ในการนี้ เราขอแสดงความยินดีต่อคำมั่นที่ได้มีการประกาศที่เมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2547 ที่จะเร่งรัดอนุวัติการประเด็นสำคัญ 8 เรื่องในนโยบายของสหภาพยุโรปที่เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เพื่อการนี้ (new preventive technologies)
- การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน การเตรียมความพร้อมด้านนโยบายและกฎหมาย และการระดมทรัพยากร โดยเน้นย้ำการให้การสนับสนุนของเครือข่ายฯ ต่องานของกองทุนโลกเพื่อต่อต้านโรคเอดส์ วัณโรคและมาเลเรีย องค์การอนามัยโลก โครงการสหประชาชาติว่าด้วยโรคเอดส์ และองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ ที่มีหน้าที่ต่อต้านการแพร่ระบาดของโรค
- การย้ำความสำคัญพันธกรณีทางการเมืองระดับสูงและของผู้นำในการขยายความพยายามต่อต้านปํญหาการแพร่ระบาดของโรคเอชไอวี/เอดส์ในระดับระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และการเพิ่มความตระหนักต่อความเกี่ยวโยงระหว่างความมั่นคงของมนุษยกับการแพร่ระบาดของโรคเอชไอวี/เอดส์ในวาระ (agendas) ของที่ประชุมพหุภาคีต่างๆ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เรา กลุ่มประเทศสมาชิกเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ มีความห่วงกังวลอย่างยิ่งว่าการแพร่ระบาดของโรคเอชไอวี/เอดส์ทั่วโลกเป็นภ้ยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งตามรายงานขององค์กร UNAIDS ที่ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 ล้านคนเฉพาะในปี 2546 นั้นย่อมส่งผลเชิงลบต่อการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ และความสามารถและสิทธิของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคดังกล่าว ที่จะดำรงชีวิตอย่างมั่นคงและมีศักดิ์ศรี เพราะตระหนักถึงความสำคัญของการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านการแพร่ระบาดของโรคเอชไอวี/เอดส์ เครือข่ายฯ ขอแสดงความชื่นชมรัฐบาลไทยที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเฃียแปซิฟิกว่าด้วยเอชไอวี/เอดส์ ครั้งที่ 2 และการประชุมนานาชาติว่าด้วยโรคเอชไอวี/เอดส์ ครั้งที่ 15 ภายใต้หัวข้อ “ทุกคนเข้าถึง” (Access for All) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อผนึกความร่วมมือและความรับผิดชอบระหว่างประเทศในระดับผู้นำเพื่อต่อสู้กับโรคเอชไอวี/เอดส์
เครือข่ายฯ ขอเน้นความสำคัญขอการอนุวัติการปฏิญญาว่าด้วยพันธกรณีเรื่องโรดเอชไอวี/เอดส์ อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เห็นว่าการที่ปฏิญญาฯ ดังกล่าว ยืนยันการสร้างเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลทุกคน มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการลดโอกาสในการติดโรคเอชไอวี/เอดส์
เครือข่ายฯ ขอเน้นย้ำบทบาทสำคัญของภาคประชาสังคม โดยเฉพาะองค์กรซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ในทุกบริบทของการต่อต้านปัญหานี้ในระดับโลก เครือข่ายรับทราบว่าการตีตราบาป (stigmatization) และการเลือกประติบัติ (discrimination) เพราะเหตุผลเกี่ยวกับโรคเอชไอวี/เอดส์ เป็นอุปสรรคต่อการต่อต้านโรคเอชไอวี/เอดส์ และย้ำว่า การเลือกประติบัติดังกล่าว ไม่ว่าจะโดยพื้นฐานข้อเท็จจริงหรือข้อสรุป (actual or presumed) ถือว่าขัดกับมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่มีอยู่ นอกจากนี้ ข้อความ “หรือสถานะอื่นๆ” ในข้อบทเกี่ยวกับการไม่เลือกประติบัติซึ่งบัญญัติในตราสารด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศต่างๆ นั้น ควรได้รับการตีความให้ครอบคลุมถึงสถานะทางสุขภาพ รวมทั้งโรคเอชไอวี/เอดส์ด้วย
เครือข่ายฯ รับทราบด้วยความห่วงใยว่า ในหลายๆ แห่งในโลก สตรีและเด็กได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์มากกว่าประชากรกลุ่มอื่นๆ และขอย้ำความสำคัญของการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ (gender equality) และการผนวกแง่มุมชาย/หญิงในการดำเนินการเพื่อต่อต้านโรคเอชไอวี/เอดส์
เครือข่ายฯ ขอเน้นว่าพลเรือนซึ่งตกอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งด้วยกำลังอาวุธ โดยเฉพาะผู้อพยพ และผู้พลัดถิ่น อาจมีความเสี่ยงสูงมากขึ้นต่อการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ เนื่องจาก ปัจจัยต่างๆ เช่น ความรุนแรงต่อสตรีที่มีอัตราสูงขึ้น โดยเฉพาะการข่มขืนและการบังคับข่มขู่ทางเพศ การขาดโอกาสที่จะเข้าถึงบริการทางสังคม รวมทั้งด้านสาธารณสุขและการศึกษา และการแตกร้าวของโครงสร้างครอบครัว และ/หรือชุมชน เครือข่ายฯ ขอย้ำว่ามีความจำเป็นที่ปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนสันติภาพต้องให้ความสำคัญกับปัญหาโรคเอชไอวี/เอดส์อย่างเหมาะสม
เครือข่ายยืนยันว่าระบบธรรมาภิบาลมีความสำคัญต่อการต่อสู้กับปัญหาโรคเอชไอวี/เอดส์ และโรคเอชไอวี/เอดส์ อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อความสามารถของรัฐในการปกครองประเทศ และส่งผลให้มีการเรียกร้องบริการจากรัฐเพิ่มมากขึ้น
เครือข่ายฯ รับทราบด้วยความห่วงกังวลว่า ในหลายๆ ส่วนของโลก กองทัพและภาคที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงอื่นๆ เป็นกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์มาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถของรัฐหรือชุมชนในการธำรงรักษาและส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง
เครือข่ายฯ ขอย้ำถึงความสำคัญของการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อในกลุ่มเยาวชน เด็กกำพร้าทั้งชายและหญิง และเด็กแรกเกิดซึ่งติดเชื้อหรือได้รับผลกระทบจากเอชไอวี/เอดส์ ซึ่งควรป้องกันโดยการส่งเสริมการให้ความรู้ที่เฉพาะเจาะจง การให้บริการที่จำเป็นเพื่อพัฒนาทักษะในการดำรงชีวิต การให้บริการปรึกษาที่เหมาะสม การให้ความสนับสนุนด้านจิตวิทยาสังคม ตลอดจนการบำบัดรักษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี/เอดส์จากแม่สู่ลูก
เครือข่ายฯ ขอเน้นความสำคัญของการดำเนินการดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นการประกันการดำเนินโครงการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพื่อให้ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเข้าถึงการป้องกัน การบำบัดรักษา และการดูแล ในราคาที่สามารถจ่ายได้ และขจัดปัญหาการตีตราบาปและการเลือกประติบัติ รวมทั้งเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการสร้างเยาวชนยุคใหม่ที่ปลอดจากเอชไอวี/เอดส์ ? การส่งเสริมความตระหนักถึงปัญหาเอชไอวี/เอดส์ และมาตรการป้องกัน รวมทั้งการรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัยซึ่งเป็นสิ่งช่วยป้องกันที่สำคัญ เพราะมีหลักฐานยืนยันจากประสบการณ์ของบางประเทศว่า ถุงยางอนามัยช่วยให้อัตราการติดเชื้อเอชไอวีลดลงอย่างมาก
- การจัดหายาเพื่อบำบัดรักษาโรคเอชไอวี/เอดส์ การบำบัดรักษาที่มีคุณภาพดี การดูแลและการให้การสนับสนุนบุคคลซึ่งติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคเอชไอวี/เอดส์ ภายในปี ค.ศ. 2015 ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millenium Development Goals)
- การแก้ไขปัจจัยซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจัดให้มียารักษาโรคที่พอเพียง การเข้าถึงยาและบริการ ในระดับราคาที่เหมาะสม และการแจกจ่ายยารักษาเพื่อบำบัดรักษาโรคเอชไอวี/เอดส์อย่างทั่วถึง เช่น โดยการส่งเสริมให้มีการปฎิบัติตามมติเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2546 ขององค์การการค้าโลกว่าด้วยการอนุวัติการ วรรค 6 ของปฏิญญาโดฮาเรื่องความตกลงด้านการค้าที่เกี่ยวโยงกับทรัพย์สินทางปัญญา (TRIPS) และการสาธารณสุข ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุข/สุขภาพ ศักยภาพของทรัพยากรบุคคลในพื้นที่และภูมิภาคซึ่งมีความต้องการมากที่สุด
- การสนับสนุนจากระดับผู้นำต่อความพยายามที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเอชไอวี/เอดส์ อาทิ วัคซีนและ microbides ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการลดและนำมาสู่การยุติการแพร่ระบาดของโรคในที่สุด ซึ่งในการนี้ จำเป็นต้องมีการลงทุนและความเป็นหุ้นส่วนร่วมกันอย่างมาก เพื่อเร่งรัดการพัฒนาดังกล่าว ในการนี้ เราขอแสดงความยินดีต่อคำมั่นที่ได้มีการประกาศที่เมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2547 ที่จะเร่งรัดอนุวัติการประเด็นสำคัญ 8 เรื่องในนโยบายของสหภาพยุโรปที่เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เพื่อการนี้ (new preventive technologies)
- การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน การเตรียมความพร้อมด้านนโยบายและกฎหมาย และการระดมทรัพยากร โดยเน้นย้ำการให้การสนับสนุนของเครือข่ายฯ ต่องานของกองทุนโลกเพื่อต่อต้านโรคเอดส์ วัณโรคและมาเลเรีย องค์การอนามัยโลก โครงการสหประชาชาติว่าด้วยโรคเอดส์ และองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ ที่มีหน้าที่ต่อต้านการแพร่ระบาดของโรค
- การย้ำความสำคัญพันธกรณีทางการเมืองระดับสูงและของผู้นำในการขยายความพยายามต่อต้านปํญหาการแพร่ระบาดของโรคเอชไอวี/เอดส์ในระดับระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และการเพิ่มความตระหนักต่อความเกี่ยวโยงระหว่างความมั่นคงของมนุษยกับการแพร่ระบาดของโรคเอชไอวี/เอดส์ในวาระ (agendas) ของที่ประชุมพหุภาคีต่างๆ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-