ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จัดตั้ง "ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์" เป็นองค์กรอิสระสังกัด ธอส. แล้วเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2547 ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ทำหน้าที่กำกับดูแลด้านนโยบายการทำงานของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ต่อไป
กระทรวงการคลังมีวัตถุประสงค์ที่จะจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการรวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ที่กระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ให้เป็นระบบฐานข้อมูลที่ครอบคลุมทั้งประเทศ เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ระดับมหภาคและจุลภาคให้มีทิศทางเดียวกัน ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาวิกฤติด้านอสังหาริมทรัพย์ขึ้นอีกในอนาคต และสามารถส่งสัญญาณที่ชัดเจนตรงกันเพื่อประโยชน์สำหรับหน่วยงานภาครัฐในการกำหนดนโยบาย รวมทั้งสำหรับนักลงทุน ผู้ประกอบการ และประชาชนในการตัดสินใจ
สำหรับภารกิจในเบื้องต้นของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ดำเนินการจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูล/ดัชนีเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (Housing Indicators) ที่สำคัญ 6 ตัว เพื่อติดตามภาวะความร้อนแรงของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ 1) จำนวนใบอนุญาต (Permits) ได้แก่ ใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน (Land Subdivision Permits) และใบอนุญาตก่อสร้าง (Building Permits) 2) จำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จ (Housing Completions) 3) จำนวนที่อยู่อาศัยขาย (Housing Sales) 4) จำนวนที่อยู่อาศัยโอน (Housing Transfers) 5) ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย (House Price Index) และ 6) จำนวนสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Housing Loans) ได้แก่ สินเชื่อปล่อยใหม่ และสินเชื่อคงเหลือ
ขณะนี้ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้ประสานงานเก็บข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ แล้ว คาดว่าจะสามารถเผยแพร่ข้อมูลทั้ง 6 ตัวนี้ได้ภายในเดือนสิงหาคม 2547 นี้ โดยในระยะแรกจะเผยแพร่ข้อมูลที่จัดเก็บได้ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 5 จังหวัดก่อน (นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร และนครปฐม) และในระยะต่อไป จะจัดเก็บเพิ่มเติมในต่างจังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งจะเผยแพร่ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่างๆ ต่อไปด้วย
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 53/2547 13 กรกฎาคม 2547--
กระทรวงการคลังมีวัตถุประสงค์ที่จะจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการรวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ที่กระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ให้เป็นระบบฐานข้อมูลที่ครอบคลุมทั้งประเทศ เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ระดับมหภาคและจุลภาคให้มีทิศทางเดียวกัน ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาวิกฤติด้านอสังหาริมทรัพย์ขึ้นอีกในอนาคต และสามารถส่งสัญญาณที่ชัดเจนตรงกันเพื่อประโยชน์สำหรับหน่วยงานภาครัฐในการกำหนดนโยบาย รวมทั้งสำหรับนักลงทุน ผู้ประกอบการ และประชาชนในการตัดสินใจ
สำหรับภารกิจในเบื้องต้นของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ดำเนินการจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูล/ดัชนีเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (Housing Indicators) ที่สำคัญ 6 ตัว เพื่อติดตามภาวะความร้อนแรงของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ 1) จำนวนใบอนุญาต (Permits) ได้แก่ ใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน (Land Subdivision Permits) และใบอนุญาตก่อสร้าง (Building Permits) 2) จำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จ (Housing Completions) 3) จำนวนที่อยู่อาศัยขาย (Housing Sales) 4) จำนวนที่อยู่อาศัยโอน (Housing Transfers) 5) ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย (House Price Index) และ 6) จำนวนสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Housing Loans) ได้แก่ สินเชื่อปล่อยใหม่ และสินเชื่อคงเหลือ
ขณะนี้ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ได้ประสานงานเก็บข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ แล้ว คาดว่าจะสามารถเผยแพร่ข้อมูลทั้ง 6 ตัวนี้ได้ภายในเดือนสิงหาคม 2547 นี้ โดยในระยะแรกจะเผยแพร่ข้อมูลที่จัดเก็บได้ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 5 จังหวัดก่อน (นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร และนครปฐม) และในระยะต่อไป จะจัดเก็บเพิ่มเติมในต่างจังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งจะเผยแพร่ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่างๆ ต่อไปด้วย
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 53/2547 13 กรกฎาคม 2547--