กรุงเทพ--15 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การเตรียมข้อเสนอและบริหารโครงการที่ ขอรับการอุดหนุนด้านงบประมาณจากเอเปก" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้คำแนะนำแก่หน่วยงานต่างๆ ในการเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากเอเปก กระทรวงการต่างประเทศจึงประชาสัมพันธ์บทความเกี่ยวกับการขอทุนเอเปกโดยมีรายละเอียดดังนี้
"ขอทุนเอเปก ไม่ยากอย่างที่คิด"
หลายท่านอาจมีความสงสัยว่าการที่ไทยเป็นสมาชิกเอเปก และได้ทุ่มเท งบประมาณจำนวนมากในการจัดการประชุมเอเปก 2003 นั้น ไทยได้รับผลประโยชน์ใดๆ ที่เป็นรูปธรรมจากการเป็นสมาชิกเอเปกหรือไม่ อย่างไร ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว นอกเหนือจากการมีบทบาทสำคัญในเวทีองค์กรทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ไทยได้รับผลประโยชน์เป็นรูปธรรมมากมายจากเอเปก ทั้งในรูปแบบของการให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการ และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (best practices) ในด้านต่างๆ ตลอดจนการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ในด้านงบประมาณ
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การเตรียมข้อเสนอและบริหารโครงการที่ขอรับการอุดหนุนด้านงบประมาณจากเอเปก" ณ โรงแรมรอยัล ปริ๊นเซส กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และให้คำแนะนำแก่ หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาต่างๆ ของไทย ในการเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนด้าน งบประมาณจากเอเปก ในด้านความร่วมมือสาขาต่างๆ ซึ่งมีความเปิดกว้างและหลากหลาย ตั้งแต่ความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน การศึกษา เทคโนโลยีการเกษตร การคมนาคม ตลอดจนความคิดริเริ่มใหม่ๆ ในสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการสื่อสาร
ในโอกาสดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศ ได้เชิญผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสถาบันนวัตกรรมไอที แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งต่างเป็นหน่วยงานที่มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในการเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากเอเปก ตั้งแต่ปี 2545-2547 เป็นจำนวนเงินรวมกันถึงกว่า 16 ล้านบาท มาให้ข้อเสนอแนะ ตลอดจน เกร็ดต่างๆ ในการเขียนและนำเสนอโครงการเพื่อให้ผ่านการอนุมัติจากเอเปก
โครงการของ สวทช. เน้นการมองไปข้างหน้า เพื่อช่วยให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนสามารถกำหนดทางเลือกในด้านเทคโนโลยีเพื่อการวางแผนที่ดียิ่งขึ้น ที่ผ่านมาเคยวิจัยเกี่ยวกับเรื่องเมืองที่ยั่งยืน ทรัพยากรน้ำ นาโนเทคโนโลยี และกำลังจะวิจัยเรื่อง พลังงาน สำหรับโครงการของสถาบันนวัตกรรมไอที เน้นการเปิดตลาดสินค้าและบริการ การลดต้นทุนภาคธุรกิจโดยการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ e-commerce มาใช้ และใน วันที่ 21 กรกฎาคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะไปเปิดกิจกรรมนานาชาติ APEC Symposium on Internet Paperless Trading and Collaborative e-business ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากเอเปก จำนวน 150,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศ ยังได้รับการสนับสนุนจาก Australian Agency for International Development (AusAID) ส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำเกี่ยวกับ รูปแบบใหม่ในการประเมินโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนด้านการเงินจากเอเปก ซึ่งให้ความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจนแก่ผู้เขียนโครงการมากยิ่งขึ้น และในช่วงบ่าย ได้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ซักถาม โดยวิทยากรได้เสนอแนะข้อควรปรับปรุงของโครงการที่หน่วยงานต่างๆ ของไทยจะนำเสนอเพื่อขอรับงบประมาณจากเอเปกเพื่อดำเนินการในปี 2548 จำนวน 5 โครงการ
ในโอกาสนี้ กระทรวงการต่างประเทศขอเชิญหน่วยงานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาต่างๆ พิจารณาเสนอโครงการขอการสนับสนุนงบประมาณจากเอเปก ซึ่งถือเป็นผลประโยชน์อย่างสูงของไทยที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกเอเปก เนื่องจากที่ผ่านมา ไทยเสียค่าสมาชิกเพียงปีละประมาณ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ได้รับเงินสนับสนุนจากการทำโครงการแต่ละปีจำนวนประมาณ 300,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ และในปี 2546 เพียงปีเดียวเป็นเงินจำนวนถึง 385,230 ดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้น หากท่านผู้สนใจ มีโครงการที่ท่านพิจารณาแล้วเห็นว่า "รัดกุม คุ้มค่า และยั่งยืน" ต้องการนำเสนอเพื่อขอรับการอุดหนุนด้านงบประมาณจากเอเปก สามารถติดต่อเพื่อขอรับคำแนะนำได้ที่ กองนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 02 643-5248-9
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การเตรียมข้อเสนอและบริหารโครงการที่ ขอรับการอุดหนุนด้านงบประมาณจากเอเปก" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้คำแนะนำแก่หน่วยงานต่างๆ ในการเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากเอเปก กระทรวงการต่างประเทศจึงประชาสัมพันธ์บทความเกี่ยวกับการขอทุนเอเปกโดยมีรายละเอียดดังนี้
"ขอทุนเอเปก ไม่ยากอย่างที่คิด"
หลายท่านอาจมีความสงสัยว่าการที่ไทยเป็นสมาชิกเอเปก และได้ทุ่มเท งบประมาณจำนวนมากในการจัดการประชุมเอเปก 2003 นั้น ไทยได้รับผลประโยชน์ใดๆ ที่เป็นรูปธรรมจากการเป็นสมาชิกเอเปกหรือไม่ อย่างไร ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว นอกเหนือจากการมีบทบาทสำคัญในเวทีองค์กรทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ไทยได้รับผลประโยชน์เป็นรูปธรรมมากมายจากเอเปก ทั้งในรูปแบบของการให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการ และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (best practices) ในด้านต่างๆ ตลอดจนการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ในด้านงบประมาณ
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การเตรียมข้อเสนอและบริหารโครงการที่ขอรับการอุดหนุนด้านงบประมาณจากเอเปก" ณ โรงแรมรอยัล ปริ๊นเซส กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และให้คำแนะนำแก่ หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาต่างๆ ของไทย ในการเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนด้าน งบประมาณจากเอเปก ในด้านความร่วมมือสาขาต่างๆ ซึ่งมีความเปิดกว้างและหลากหลาย ตั้งแต่ความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน การศึกษา เทคโนโลยีการเกษตร การคมนาคม ตลอดจนความคิดริเริ่มใหม่ๆ ในสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการสื่อสาร
ในโอกาสดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศ ได้เชิญผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสถาบันนวัตกรรมไอที แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งต่างเป็นหน่วยงานที่มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในการเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากเอเปก ตั้งแต่ปี 2545-2547 เป็นจำนวนเงินรวมกันถึงกว่า 16 ล้านบาท มาให้ข้อเสนอแนะ ตลอดจน เกร็ดต่างๆ ในการเขียนและนำเสนอโครงการเพื่อให้ผ่านการอนุมัติจากเอเปก
โครงการของ สวทช. เน้นการมองไปข้างหน้า เพื่อช่วยให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนสามารถกำหนดทางเลือกในด้านเทคโนโลยีเพื่อการวางแผนที่ดียิ่งขึ้น ที่ผ่านมาเคยวิจัยเกี่ยวกับเรื่องเมืองที่ยั่งยืน ทรัพยากรน้ำ นาโนเทคโนโลยี และกำลังจะวิจัยเรื่อง พลังงาน สำหรับโครงการของสถาบันนวัตกรรมไอที เน้นการเปิดตลาดสินค้าและบริการ การลดต้นทุนภาคธุรกิจโดยการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ e-commerce มาใช้ และใน วันที่ 21 กรกฎาคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะไปเปิดกิจกรรมนานาชาติ APEC Symposium on Internet Paperless Trading and Collaborative e-business ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากเอเปก จำนวน 150,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศ ยังได้รับการสนับสนุนจาก Australian Agency for International Development (AusAID) ส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำเกี่ยวกับ รูปแบบใหม่ในการประเมินโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนด้านการเงินจากเอเปก ซึ่งให้ความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจนแก่ผู้เขียนโครงการมากยิ่งขึ้น และในช่วงบ่าย ได้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ซักถาม โดยวิทยากรได้เสนอแนะข้อควรปรับปรุงของโครงการที่หน่วยงานต่างๆ ของไทยจะนำเสนอเพื่อขอรับงบประมาณจากเอเปกเพื่อดำเนินการในปี 2548 จำนวน 5 โครงการ
ในโอกาสนี้ กระทรวงการต่างประเทศขอเชิญหน่วยงานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษาต่างๆ พิจารณาเสนอโครงการขอการสนับสนุนงบประมาณจากเอเปก ซึ่งถือเป็นผลประโยชน์อย่างสูงของไทยที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกเอเปก เนื่องจากที่ผ่านมา ไทยเสียค่าสมาชิกเพียงปีละประมาณ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ได้รับเงินสนับสนุนจากการทำโครงการแต่ละปีจำนวนประมาณ 300,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ และในปี 2546 เพียงปีเดียวเป็นเงินจำนวนถึง 385,230 ดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้น หากท่านผู้สนใจ มีโครงการที่ท่านพิจารณาแล้วเห็นว่า "รัดกุม คุ้มค่า และยั่งยืน" ต้องการนำเสนอเพื่อขอรับการอุดหนุนด้านงบประมาณจากเอเปก สามารถติดต่อเพื่อขอรับคำแนะนำได้ที่ กองนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 02 643-5248-9
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-