หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กังวล นโยบาย S M L จะทำลายระบบการปกครองท้องถิ่น ระบุนายกฯถือโอกาสลากเอาประชาชนมาผูกพันกับรัฐบาลกลาง และใช้เป็นทางผ่านของเงินเพื่อที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ
นายบัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคไทยรักไทยประกาศนโยบาย S M L โดยจะจัดสรรงบประมาณลงในหมู่บ้าน ๆ ละ 2-3 แสนบาท ว่า เป็นการแสดงให้เห็นว่านายกรัฐมนตรียังมั่นใจในนโยบายเดิมทุกอย่าง เช่น เรื่องกองทุนหมู่บ้าน เพียงแต่ว่ามีการเพิ่มปริมาณเงินที่จะอัดฉีดลงไปในหมู่บ้านมากกว่าเดิม แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลยังตั้งใจที่จะใช้ผู้บริโภคเป็นทางผ่านของเงินเพื่อที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้ สิ่งที่รัฐบาลต้องตอบคำถาม คือ รัฐบาลจะหาวิธีป้องกันไม่ให้คนเหล่านี้มีสินเพิ่มมากขึ้นอย่างไร
ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรีระบุว่าจะลดอำนาจรัฐและเพิ่มอำนาจประชาชนนั้น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า หากพิจารณาแล้วจะเห็นว่า มีความพยายามให้ประชาชนมีความผูกพันกับรัฐส่วนกลางมากขึ้น โดยรัฐส่วนกลางจะเป็นผู้อัดฉีดเงินลงไปเอง ซึ่งการใช้จ่ายงบประมาณในลักษณะเช่นนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า มุ่งประโยชน์ทางการเมืองอย่างชัดเจน เพราะการใช้จ่ายเงินเช่นนี้เป็นการทำตามอำเภอใจ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลมาก คือ มีลักษณะที่เป็นการทำลายการปกครองท้องถิ่น คือ การไม่สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความพร้อมและมีประสิทธิภาพเพียงพอ เช่น เรื่องเงินอุดหนุนที่รัฐบาลดึงเรื่องไว้ไม่ให้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า ภายในปี 2549 องค์กรท้องถิ่นจะต้องได้รับเงินอุดหนุนไม่ต่ำกว่า 35 % ของงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งส่งผลให้องค์กรส่วนท้องถิ่นขาดกำลัง ดังนั้น รัฐบาลควรสนับสนุนส่งเสริมให้องค์กรนี้สามารถจัดทำแผนงานให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ส่วนปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในระดับท้องถิ่นที่มีอยู่พอสมควร แต่เรื่องนี้จะโทษท้องถิ่นอย่างเดียวไม่ได้ เพราะในระดับกลางเองก็มีปัญหาทุจริตอย่างที่ทราบอยู่ ดังนั้น แนวทางที่จะทำให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีประสิทธิภาพจริง คือการที่ข้าราชการระดับภูมิภาค ซึ่งมีหน้าที่คอยกำกับดูแลเข้ามากวดขันท้องถิ่นอย่างจริงจังมากขึ้น
‘ท่านนายกฯจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม หรือจากการเผลอเรอก็ตามท่านพูดชัดในทำนองว่าที่ยังจำเป็นต้องดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณในลักษณะเช่นนี้ เพราะจากการเดินสายของท่าน พบความจริงว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดูจะยังไม่สามารถสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างตรงจุด สิ่งนี้ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลว่า ทำไมรัฐบาลไม่คิดว่าเป็นเพราะรัฐบาลท่านไม่ยอมกระจายเงินไปยังท้องถิ่นตามที่ได้มีการกำหนดไว้ในกฎหมาย แผนและขั้นตอนกระจายอำนาจว่า รัฐบาลกลางต้องสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีรายรับมากขึ้น ผมคิดว่าตรงนี้เป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก เพราะผมยังมีความมั่นใจว่า วิธีแก้ปัญหาชนบทที่ดีที่สุด หรือวิธีแก้ปัญหาระดับล่างที่ดีที่สุด ก็คือการสนับสนุนการกระจายอำนาจ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ผมคิดว่าบทบาทของรัฐบาลกลาง ไม่ใช่ไปนั่งดูว่า ไม่สมความปรารถนา หรือมีความคิดเรื่องการสร้างอำนาจทางการเมืองอยู่ในตัวเอง แล้วถือโอกาสไปลากเอาประชาชนมาผูกพันกับรัฐบาลกลาง’ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
เมื่อถามว่า โครงการ S M L จะมีการดำเนินการนำร่องตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง จะมีผลกระทบต่อการเลือกตั้งครั้งหน้าหรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่า บางส่วนอาจจะมีผลคงปฏิเสธไม่ได้ เพราะถ้าไม่มีผล เขาคงไม่ทำ ซึ่งทั้งฝ่ายค้าน นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปที่ค่อนข้างวิตกกังวลเรื่องนี้ ต้องจับตาดูกันต่อไป ‘สำหรับนโยบายใหม่ของพรรคไทยรักไทยที่ออกมานั้น พรรคประชาธิปัตย์ไม่กังวล เพราะพรรคต้องทำให้ดีที่สุด ทั้งนี้ แม้การแข่งขันเชิงนโยบายระหว่างพรรคการเมืองเป็นเรื่องสำคัญก็จริง แต่ก็ไม่ควรแข่งกันในลักษณะเกทับ บลัฟแหลก คุณให้มาเท่านั้น เราให้มากกว่าคุณเท่านี้ ถ้าเป็นเช่นนั้น ประเทศก็จะอยู่ไม่ได้’ นายบัญญัติกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ก.ค. 2547--จบ--
-ดท-
นายบัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคไทยรักไทยประกาศนโยบาย S M L โดยจะจัดสรรงบประมาณลงในหมู่บ้าน ๆ ละ 2-3 แสนบาท ว่า เป็นการแสดงให้เห็นว่านายกรัฐมนตรียังมั่นใจในนโยบายเดิมทุกอย่าง เช่น เรื่องกองทุนหมู่บ้าน เพียงแต่ว่ามีการเพิ่มปริมาณเงินที่จะอัดฉีดลงไปในหมู่บ้านมากกว่าเดิม แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลยังตั้งใจที่จะใช้ผู้บริโภคเป็นทางผ่านของเงินเพื่อที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้ สิ่งที่รัฐบาลต้องตอบคำถาม คือ รัฐบาลจะหาวิธีป้องกันไม่ให้คนเหล่านี้มีสินเพิ่มมากขึ้นอย่างไร
ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรีระบุว่าจะลดอำนาจรัฐและเพิ่มอำนาจประชาชนนั้น หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า หากพิจารณาแล้วจะเห็นว่า มีความพยายามให้ประชาชนมีความผูกพันกับรัฐส่วนกลางมากขึ้น โดยรัฐส่วนกลางจะเป็นผู้อัดฉีดเงินลงไปเอง ซึ่งการใช้จ่ายงบประมาณในลักษณะเช่นนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า มุ่งประโยชน์ทางการเมืองอย่างชัดเจน เพราะการใช้จ่ายเงินเช่นนี้เป็นการทำตามอำเภอใจ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลมาก คือ มีลักษณะที่เป็นการทำลายการปกครองท้องถิ่น คือ การไม่สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความพร้อมและมีประสิทธิภาพเพียงพอ เช่น เรื่องเงินอุดหนุนที่รัฐบาลดึงเรื่องไว้ไม่ให้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า ภายในปี 2549 องค์กรท้องถิ่นจะต้องได้รับเงินอุดหนุนไม่ต่ำกว่า 35 % ของงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งส่งผลให้องค์กรส่วนท้องถิ่นขาดกำลัง ดังนั้น รัฐบาลควรสนับสนุนส่งเสริมให้องค์กรนี้สามารถจัดทำแผนงานให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ส่วนปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในระดับท้องถิ่นที่มีอยู่พอสมควร แต่เรื่องนี้จะโทษท้องถิ่นอย่างเดียวไม่ได้ เพราะในระดับกลางเองก็มีปัญหาทุจริตอย่างที่ทราบอยู่ ดังนั้น แนวทางที่จะทำให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีประสิทธิภาพจริง คือการที่ข้าราชการระดับภูมิภาค ซึ่งมีหน้าที่คอยกำกับดูแลเข้ามากวดขันท้องถิ่นอย่างจริงจังมากขึ้น
‘ท่านนายกฯจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม หรือจากการเผลอเรอก็ตามท่านพูดชัดในทำนองว่าที่ยังจำเป็นต้องดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณในลักษณะเช่นนี้ เพราะจากการเดินสายของท่าน พบความจริงว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดูจะยังไม่สามารถสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างตรงจุด สิ่งนี้ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลว่า ทำไมรัฐบาลไม่คิดว่าเป็นเพราะรัฐบาลท่านไม่ยอมกระจายเงินไปยังท้องถิ่นตามที่ได้มีการกำหนดไว้ในกฎหมาย แผนและขั้นตอนกระจายอำนาจว่า รัฐบาลกลางต้องสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีรายรับมากขึ้น ผมคิดว่าตรงนี้เป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก เพราะผมยังมีความมั่นใจว่า วิธีแก้ปัญหาชนบทที่ดีที่สุด หรือวิธีแก้ปัญหาระดับล่างที่ดีที่สุด ก็คือการสนับสนุนการกระจายอำนาจ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ผมคิดว่าบทบาทของรัฐบาลกลาง ไม่ใช่ไปนั่งดูว่า ไม่สมความปรารถนา หรือมีความคิดเรื่องการสร้างอำนาจทางการเมืองอยู่ในตัวเอง แล้วถือโอกาสไปลากเอาประชาชนมาผูกพันกับรัฐบาลกลาง’ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
เมื่อถามว่า โครงการ S M L จะมีการดำเนินการนำร่องตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง จะมีผลกระทบต่อการเลือกตั้งครั้งหน้าหรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่า บางส่วนอาจจะมีผลคงปฏิเสธไม่ได้ เพราะถ้าไม่มีผล เขาคงไม่ทำ ซึ่งทั้งฝ่ายค้าน นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปที่ค่อนข้างวิตกกังวลเรื่องนี้ ต้องจับตาดูกันต่อไป ‘สำหรับนโยบายใหม่ของพรรคไทยรักไทยที่ออกมานั้น พรรคประชาธิปัตย์ไม่กังวล เพราะพรรคต้องทำให้ดีที่สุด ทั้งนี้ แม้การแข่งขันเชิงนโยบายระหว่างพรรคการเมืองเป็นเรื่องสำคัญก็จริง แต่ก็ไม่ควรแข่งกันในลักษณะเกทับ บลัฟแหลก คุณให้มาเท่านั้น เราให้มากกว่าคุณเท่านี้ ถ้าเป็นเช่นนั้น ประเทศก็จะอยู่ไม่ได้’ นายบัญญัติกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 15 ก.ค. 2547--จบ--
-ดท-