กรุงเทพ--16 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังนาย Peter Piot ผู้อำนวยการ UNAIDS ขององค์การสหประชาชาติเข้าพบและหารือ ที่กระทรวงการต่างประเทศ สรุปได้ดังนี้
1. นาย Peter Piot ผู้อำนวยการ UNAIDS ได้แสดงความยินดีที่ประเทศไทย ได้เป็นผู้ผลักดันเรื่อง HIV/AIDS ในเวทีเครือข่ายกลุ่มประเทศความมั่นคงของมนุษย์ และเมื่อประเทศไทยเป็นประธานเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ในปี 2548 UNAIDS ก็จะมาช่วยเหลือไทยอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ไทยได้เสนอกับเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์เมื่อปี 2546 ให้นำเรื่องเอดส์มาเป็นเรื่องสำคัญของความมั่นคงของมนุษย์ โดยถือเป็นส่วนสำคัญทั้งในเรื่องการปราศจากความหวาดกลัว ( freedom from fear ) และการปราศจากความหิวโหย ( freedom from want ) เพราะถ้าไม่มีการดูแลให้ดีแล้ว คนที่ได้รับเชื้อก็จะไม่สามารถที่จะอุทิศตัวให้กับครอบครัวและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้
2. ผู้อำนวยการ UNAIDS ได้แสดงความสนใจต่อการที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจะดำเนินการช่วยเหลือเรื่อง HIV/AIDS กับประเทศเพื่อนบ้าน จึงมีหลายเรื่องที่ UNAIDS จะต้องประสานงานผ่านกระทรวงการต่างประเทศในการที่จะช่วยเหลือประเทศ เพื่อนบ้านดังกล่าว
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอต่อผู้อำนวยการ UNAIDS ที่จะให้เชื่อมความร่วมมือกันระหว่างประเทศกำลังพัฒนา ทั้งระหว่างประเทศภายในภูมิภาคเดียวกันและระหว่างภูมิภาคกับภูมิภาค ซึ่งผู้อำนวยการ UNAIDS แสดงความเห็นด้วยและได้ขอให้ไทยร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคแอฟริกาในเรื่อง HIV/AIDS ด้วย ในการนี้ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ผู้อำนวยการ UNAIDS ทราบด้วยว่า ได้พบ นายเนลสัน แมนเดลลา อดีตประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2547
และแจ้งให้ทราบเรื่องนี้ด้วย ซึ่งนายแมนเดลา ก็เห็นด้วยและสนับสนุน ดังนั้น ในเรื่องนี้ ไทยจึงอาจร่วมมือกับ UNAIDS และประเทศแอฟริกาใต้และยูกันดา ในการจัดโครงการนำร่องในการช่วยเหลือทางวิชาการและฝึกอบรม เพื่อให้เห็นว่าประเทศกำลังพัฒนาในสองทวีปสามารถทำงานร่วมกันได้ และโดยที่ประเทศในทวีปแอฟริกามีกลุ่มสหภาพแอฟริกา ซึ่งได้มีการประชุมผู้นำประเทศสหภาพแอฟริกาไปแล้วเกี่ยวกับเอดส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจึงได้แจ้งแก่ผู้อำนวยการ UNAIDS เกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างภูมิภาคอาเซียนกับแอฟริกาในเรื่องนี้ว่าจะนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีว่า ในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่ลาว ในเดือนพฤศจิกายน 2547 นี้ ซึ่งรวมถึงการประชุมระหว่าง ASEAN+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี)
ด้วย ประเทศไทยน่าจะเสนอในที่ประชุมให้มีการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่าง ASEAN และ ASEAN+3 กับกลุ่มประเทศสหภาพแอฟริกาเพื่อผลักดันความร่วมมือกันในเรื่อง HIV/AIDS
4. ผู้อำนวยการ UNAIDS ได้เสนอให้เน้นความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (South-South Cooperation) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่า เป็นโอกาสอันดีเนื่องจากไทยจะจัดประชุมสุดยอด BIMST-EC ในปลายเดือนกรกฎาคม 2547 นี้ โดยประเทศกลุ่มเอเชียใต้ (SARC) เกือบทุกประเทศก็เป็นสมาชิกของกลุ่ม BIMST-EC อยู่แล้ว คือ อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา ภูฏาน เนปาล ( ยกเว้นปากีสถานและมาลดีฟ ) จึงเป็นโอกาสอันดีที่นายกรัฐมนตรีของไทยจะหยิบยกเรื่องความร่วมมือเรื่อง HIV/AIDS ระหว่าง ASEAN กับ BIMST-EC ขึ้นในที่ประชุมสุดยอด BIMST-EC
5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า เมื่อมีการร่วมมือกันทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคในเรื่อง HIV/AIDS แล้ว ธนาคารระหว่างประเทศ สถาบัน การเงินระหว่างประเทศ หรือประเทศที่พัฒนาแล้วก็คงจะเข้ามาช่วยเหลือ เนื่องจากประเทศเหล่านี้ได้ช่วยเหลือตัวเองแล้ว ซึ่งในเรื่องนี้ UNAIDS เห็นด้วยและพร้อมจะสนับสนุนบทบาทของไทยอย่างเต็มที่ ต่อคำถามของสื่อมวลชนที่ว่า UNAIDS เห็นด้วยหรือไม่ที่นายกรัฐมนตรีของไทยมีความพยายามผลักดันในเรื่อง HIV/AIDS ให้เป็นวาระของโลก (Global Agenda) รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า UNAIDS เห็นด้วย และชื่นชมบทบาทของไทยมาก พร้อมทั้งได้แจ้งว่า UNAIDS ได้นำสุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรีที่กล่าวเปิดการประชุมเอดส์โลกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2547 บรรจุลงในเวบไซต์ของ UNAIDS เผยแพร่ด้วย ทั้งนี้ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าการผลักดันในเรื่องนี้ให้เป็นวาระของโลก ได้จะต้องให้ทุกภูมิภาคเห็นความสำคัญที่จะผลักดัน ดังนั้นการที่ไทยจะเป็นตัวอย่างในการ ร่วมมือกับประเทศในแอฟริกาบางประเทศหรือผลักดันให้มีความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับ สหภาพแอฟริกาใต้ หรืออาเซียนกับ BIMST-EC จะเป็นตัวเชื่อมกัน (building block) เพื่อให้สามารถเป็นขั้นตอนนำไปสู่วาระแห่งโลกได้จริงต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังนาย Peter Piot ผู้อำนวยการ UNAIDS ขององค์การสหประชาชาติเข้าพบและหารือ ที่กระทรวงการต่างประเทศ สรุปได้ดังนี้
1. นาย Peter Piot ผู้อำนวยการ UNAIDS ได้แสดงความยินดีที่ประเทศไทย ได้เป็นผู้ผลักดันเรื่อง HIV/AIDS ในเวทีเครือข่ายกลุ่มประเทศความมั่นคงของมนุษย์ และเมื่อประเทศไทยเป็นประธานเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ในปี 2548 UNAIDS ก็จะมาช่วยเหลือไทยอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ไทยได้เสนอกับเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์เมื่อปี 2546 ให้นำเรื่องเอดส์มาเป็นเรื่องสำคัญของความมั่นคงของมนุษย์ โดยถือเป็นส่วนสำคัญทั้งในเรื่องการปราศจากความหวาดกลัว ( freedom from fear ) และการปราศจากความหิวโหย ( freedom from want ) เพราะถ้าไม่มีการดูแลให้ดีแล้ว คนที่ได้รับเชื้อก็จะไม่สามารถที่จะอุทิศตัวให้กับครอบครัวและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้
2. ผู้อำนวยการ UNAIDS ได้แสดงความสนใจต่อการที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีจะดำเนินการช่วยเหลือเรื่อง HIV/AIDS กับประเทศเพื่อนบ้าน จึงมีหลายเรื่องที่ UNAIDS จะต้องประสานงานผ่านกระทรวงการต่างประเทศในการที่จะช่วยเหลือประเทศ เพื่อนบ้านดังกล่าว
3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอต่อผู้อำนวยการ UNAIDS ที่จะให้เชื่อมความร่วมมือกันระหว่างประเทศกำลังพัฒนา ทั้งระหว่างประเทศภายในภูมิภาคเดียวกันและระหว่างภูมิภาคกับภูมิภาค ซึ่งผู้อำนวยการ UNAIDS แสดงความเห็นด้วยและได้ขอให้ไทยร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคแอฟริกาในเรื่อง HIV/AIDS ด้วย ในการนี้ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ผู้อำนวยการ UNAIDS ทราบด้วยว่า ได้พบ นายเนลสัน แมนเดลลา อดีตประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2547
และแจ้งให้ทราบเรื่องนี้ด้วย ซึ่งนายแมนเดลา ก็เห็นด้วยและสนับสนุน ดังนั้น ในเรื่องนี้ ไทยจึงอาจร่วมมือกับ UNAIDS และประเทศแอฟริกาใต้และยูกันดา ในการจัดโครงการนำร่องในการช่วยเหลือทางวิชาการและฝึกอบรม เพื่อให้เห็นว่าประเทศกำลังพัฒนาในสองทวีปสามารถทำงานร่วมกันได้ และโดยที่ประเทศในทวีปแอฟริกามีกลุ่มสหภาพแอฟริกา ซึ่งได้มีการประชุมผู้นำประเทศสหภาพแอฟริกาไปแล้วเกี่ยวกับเอดส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจึงได้แจ้งแก่ผู้อำนวยการ UNAIDS เกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างภูมิภาคอาเซียนกับแอฟริกาในเรื่องนี้ว่าจะนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีว่า ในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่ลาว ในเดือนพฤศจิกายน 2547 นี้ ซึ่งรวมถึงการประชุมระหว่าง ASEAN+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี)
ด้วย ประเทศไทยน่าจะเสนอในที่ประชุมให้มีการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่าง ASEAN และ ASEAN+3 กับกลุ่มประเทศสหภาพแอฟริกาเพื่อผลักดันความร่วมมือกันในเรื่อง HIV/AIDS
4. ผู้อำนวยการ UNAIDS ได้เสนอให้เน้นความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (South-South Cooperation) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่า เป็นโอกาสอันดีเนื่องจากไทยจะจัดประชุมสุดยอด BIMST-EC ในปลายเดือนกรกฎาคม 2547 นี้ โดยประเทศกลุ่มเอเชียใต้ (SARC) เกือบทุกประเทศก็เป็นสมาชิกของกลุ่ม BIMST-EC อยู่แล้ว คือ อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา ภูฏาน เนปาล ( ยกเว้นปากีสถานและมาลดีฟ ) จึงเป็นโอกาสอันดีที่นายกรัฐมนตรีของไทยจะหยิบยกเรื่องความร่วมมือเรื่อง HIV/AIDS ระหว่าง ASEAN กับ BIMST-EC ขึ้นในที่ประชุมสุดยอด BIMST-EC
5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า เมื่อมีการร่วมมือกันทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคในเรื่อง HIV/AIDS แล้ว ธนาคารระหว่างประเทศ สถาบัน การเงินระหว่างประเทศ หรือประเทศที่พัฒนาแล้วก็คงจะเข้ามาช่วยเหลือ เนื่องจากประเทศเหล่านี้ได้ช่วยเหลือตัวเองแล้ว ซึ่งในเรื่องนี้ UNAIDS เห็นด้วยและพร้อมจะสนับสนุนบทบาทของไทยอย่างเต็มที่ ต่อคำถามของสื่อมวลชนที่ว่า UNAIDS เห็นด้วยหรือไม่ที่นายกรัฐมนตรีของไทยมีความพยายามผลักดันในเรื่อง HIV/AIDS ให้เป็นวาระของโลก (Global Agenda) รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า UNAIDS เห็นด้วย และชื่นชมบทบาทของไทยมาก พร้อมทั้งได้แจ้งว่า UNAIDS ได้นำสุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรีที่กล่าวเปิดการประชุมเอดส์โลกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2547 บรรจุลงในเวบไซต์ของ UNAIDS เผยแพร่ด้วย ทั้งนี้ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าการผลักดันในเรื่องนี้ให้เป็นวาระของโลก ได้จะต้องให้ทุกภูมิภาคเห็นความสำคัญที่จะผลักดัน ดังนั้นการที่ไทยจะเป็นตัวอย่างในการ ร่วมมือกับประเทศในแอฟริกาบางประเทศหรือผลักดันให้มีความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับ สหภาพแอฟริกาใต้ หรืออาเซียนกับ BIMST-EC จะเป็นตัวเชื่อมกัน (building block) เพื่อให้สามารถเป็นขั้นตอนนำไปสู่วาระแห่งโลกได้จริงต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-