กรุงเทพ--16 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่กัมพูชาได้ตัดไม้ทำลายป่า ปรับพื้นที่ และเริ่มตอกเสาเข็มเพื่อก่อสร้างอาคารคาสิโนและโรงแรมในบริเวณชายแดนติดกับหลักเขตแดนที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างบริเวณช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ กับเมืองอันลองเวง จังหวัดอุดรมีชัย ราชอาณาจักรกัมพูชา ตั้งแต่ ช่วงเดือนพฤษภาคม 2547 นั้น
1. นายประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในฐานะประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) ได้มีหนังสือลงวันที่ 29 มิถุนายน 2547ถึงนายวาร์ คิม ฮอง ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมกัมพูชา - ไทย (ฝ่ายกัมพูชา) และขอให้ รัฐบาลกัมพูชาระงับการดำเนินการดังกล่าวโดยทันที และให้มีการดำเนินการตรวจสอบสภาพ ภูมิประเทศร่วมกันในบริเวณที่มีการตัดไม้ทำลายป่าและการปรับพื้นที่ รวมทั้งบริเวณที่ก่อสร้างอาคารคาสิโนและโรงแรม
2. ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) และ ประธาน คณะกรรมาธิการ - เขตแดนร่วมกัมพูชา-ไทย (ฝ่ายกัมพูชา) ได้ร่วมกันตรวจภูมิประเทศ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2547 ตามข้อเสนอของประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมกัมพูชา-ไทย (ฝ่ายกัมพูชา) ซึ่งเป็นการตอบสนองอย่างสร้างสรรค์ต่อหนังสือของประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) ข้างต้น
3. หลังจากการตรวจสอบภูมิประเทศร่วมกัน คณะผู้แทนทั้งสองได้ประชุมและ ลงนามในบันทึกการประชุม ซึ่งมีสาระว่า ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวอาจกระทบกระเทือนต่อสันปันน้ำ ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนระหว่างสองประเทศ จึงตกลงกันว่าจะไม่ดำเนินกิจกรรมดังกล่าวหรือไม่ดำเนินกิจกรรมเช่นนั้นต่อไปอีก ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะรายงานผลการดำเนินการให้ รัฐบาลของตนทราบเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ย้ำถึงเป้าหมายและ วัตถุประสงค์ของ ข้อ 5 ของบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการจัดทำหลักเขตแดนทางบก ฉบับลงวันที่ 14 มิถุนายน 2543 ที่ว่าทั้งสองฝ่ายจะไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศตามแนวชายแดน และตกลงที่จะไม่ให้เจ้าหน้าที่ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคลที่อยู่ภายในดินแดน ของตนกระทำการดังกล่าวนั้น หรือกระทำการรุกล้ำเขตแดนระหว่างประเทศทั้งสอง
4. การตรวจพื้นที่และการประชุมครั้งนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของการแสดงเจตจำนง และความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะระงับและแก้ไขปัญหาเขตแดน ทั้งนี้ การดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกตลอดแนวระหว่างไทยกับกัมพูชาจะเริ่มขึ้นในเร็วๆ นี้ หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงเรื่องแผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนระหว่างสองประเทศได้เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2546
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามที่กัมพูชาได้ตัดไม้ทำลายป่า ปรับพื้นที่ และเริ่มตอกเสาเข็มเพื่อก่อสร้างอาคารคาสิโนและโรงแรมในบริเวณชายแดนติดกับหลักเขตแดนที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างบริเวณช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ กับเมืองอันลองเวง จังหวัดอุดรมีชัย ราชอาณาจักรกัมพูชา ตั้งแต่ ช่วงเดือนพฤษภาคม 2547 นั้น
1. นายประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในฐานะประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) ได้มีหนังสือลงวันที่ 29 มิถุนายน 2547ถึงนายวาร์ คิม ฮอง ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมกัมพูชา - ไทย (ฝ่ายกัมพูชา) และขอให้ รัฐบาลกัมพูชาระงับการดำเนินการดังกล่าวโดยทันที และให้มีการดำเนินการตรวจสอบสภาพ ภูมิประเทศร่วมกันในบริเวณที่มีการตัดไม้ทำลายป่าและการปรับพื้นที่ รวมทั้งบริเวณที่ก่อสร้างอาคารคาสิโนและโรงแรม
2. ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) และ ประธาน คณะกรรมาธิการ - เขตแดนร่วมกัมพูชา-ไทย (ฝ่ายกัมพูชา) ได้ร่วมกันตรวจภูมิประเทศ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2547 ตามข้อเสนอของประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมกัมพูชา-ไทย (ฝ่ายกัมพูชา) ซึ่งเป็นการตอบสนองอย่างสร้างสรรค์ต่อหนังสือของประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) ข้างต้น
3. หลังจากการตรวจสอบภูมิประเทศร่วมกัน คณะผู้แทนทั้งสองได้ประชุมและ ลงนามในบันทึกการประชุม ซึ่งมีสาระว่า ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวอาจกระทบกระเทือนต่อสันปันน้ำ ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนระหว่างสองประเทศ จึงตกลงกันว่าจะไม่ดำเนินกิจกรรมดังกล่าวหรือไม่ดำเนินกิจกรรมเช่นนั้นต่อไปอีก ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะรายงานผลการดำเนินการให้ รัฐบาลของตนทราบเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ย้ำถึงเป้าหมายและ วัตถุประสงค์ของ ข้อ 5 ของบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการจัดทำหลักเขตแดนทางบก ฉบับลงวันที่ 14 มิถุนายน 2543 ที่ว่าทั้งสองฝ่ายจะไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศตามแนวชายแดน และตกลงที่จะไม่ให้เจ้าหน้าที่ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคลที่อยู่ภายในดินแดน ของตนกระทำการดังกล่าวนั้น หรือกระทำการรุกล้ำเขตแดนระหว่างประเทศทั้งสอง
4. การตรวจพื้นที่และการประชุมครั้งนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของการแสดงเจตจำนง และความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะระงับและแก้ไขปัญหาเขตแดน ทั้งนี้ การดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกตลอดแนวระหว่างไทยกับกัมพูชาจะเริ่มขึ้นในเร็วๆ นี้ หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงเรื่องแผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนระหว่างสองประเทศได้เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2546
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-