ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. พ.ร.บ.การจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝากอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของ พ.ร.บ.
สถาบันประกันเงินฝากว่า ขณะนี้ ก.คลังได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ โดยขั้นตอนหลังจากตี
ความแล้ว ก็จะสามารถนำเรื่องเข้าพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรได้ ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาเหตุที่ต้องมี
การเสนอ พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝากให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงกันใน
เรื่องวงเงินค้ำประกัน ซึ่งเดิมรัฐจะค้ำประกันที่วงเงิน 100 ล.บาทในปีแรก และทยอยลดลง แต่ล่าสุด ก.
คลังเห็นว่าน่าจะลดวงเงินค้ำประกันเหลือ 50 ล.บาทในปีแรก และทยอยลดวงเงินลงในแต่ละปี อนึ่ง ก่อน
หน้านี้ ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ได้รับการยืนยันจาก ก.คลังว่า จะนำ พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝากเข้าสู่
การพิจารณาในรัฐสภาในเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้ และหากผ่านการพิจารณาเห็นชอบก็จะนำออกใช้ได้เลย โดยจะ
เริ่มปรับลดการค้ำประกันเงินฝากของกองทุนฟื้นฟูฯ เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้ภาวะเศรษฐกิจของไทยขยายตัวอยู่
ในเกณฑ์ดี เหมาะสมที่จะนำ พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝากออกใช้ (สยามรัฐ, แนวหน้า)
2. คาดว่าในปี 48 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 6.5% ใกล้เคียงกับปี 47 ซึ่งคาดว่าจะขยายตัว
6.5-7% ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงประมาณการ
อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 48 ว่า จะขยายตัวที่ 6.5% ส่วนการส่งออกขยายตัว 14% คิดเป็น
103,740 ล.ดอลลาร์ สรอ. และการนำเข้าขยายตัว 20% คิดเป็นมูลค่า 105,960 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะ
ที่ดุลการค้าจะขาดดุลประมาณ 2,200 ล.ดอลลาร์ สรอ. คิดเป็น |1.3% ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี)
ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะยังคงเกินดุลประมาณ 1,530 ล.ดอลลาร์ สรอ. คิดเป็น 0.9% ของจีดีพี
สำหรับอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ 3% ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 40 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดย
ดุลการค้าที่ขาดดุลนั้น นับเป็นครั้งแรกหลังจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในปี 40 ซึ่งมีสาเหตุจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว
ขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ยอดการนำเข้าสินค้าโดยเฉพาะสินค้าทุนมีอัตราเร่งขึ้นมากถึง 20% แต่ไม่น่าวิตกเพราะเป็น
การนำเข้าในลักษณะการสะสมทุน ส่วนการส่งออกที่คาดว่าจะชะลอตัวลง เนื่องจากไทยต้องเผชิญกับภาวะการ
แข่งขันที่สูงขึ้น สำหรับในปี 47 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 6.5-7% การส่งออกขยายตัว 16% คิดเป็นมูลค่า
91,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. การนำเข้าขยายตัว 19% คิดเป็นมูลค่า 88,300 ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลการ
ค้าคาดว่าจะมียอดเกินดุล 3,450 ล.ดอลลาร์ สรอ. คิดเป็น 2.1% ของจีดีพี ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 6,700
ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็น 4.1% ของจีดีพี ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 2.6% ขณะที่อัตราแลก
เปลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 40.30 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ 10 อุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่นในช่วงครึ่ง
หลังปี 47 ได้แก่ 1)อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะขยายตัวถึง 33% ในปีนี้ 2)อุตสาหกรรมยานยนต์
3)อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง 4)โทรคมนาคม ขนส่ง และลอจิสติกส์ 5)อิเล็กทรอนิกส์ 6)อุตสาหกรรมอาหาร
7)สุขภาพและบันเทิง 8)อัญมณีและเครื่องประดับ 9)พลังงาน และ10)สถาบันการเงิน (โลกวันนี้, ข่าวสด)
3. คาดว่าการออกหุ้นกู้ภาคเอกชนในปี 47 จะลดลง 15% จากปีก่อน ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์
ซื้อขายตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า คาดว่า ปี 47 ยอดการออกหุ้นกู้ภาคเอกชนรวมน่าจะอยู่ที่ 140,000 ล.
บาท โดยจะลดลงจากปีก่อนเพียง 15% จากที่เคยคาดการณ์ว่าจะลดลง 30% เนื่องจากภาวะอัตราดอกเบี้ยอยู่
ในช่วงขาขึ้น สำหรับตัวเลขการออกหุ้นกู้ภาคเอกชนในช่วงต้นปีที่ผ่านมามีจำนวนทั้งสิ้น 63,000 ล.บาท ลดลง
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 12% ซึ่งตามสถิติที่ผ่านมา การออกหุ้นกู้ภาคเอกชนในช่วงครึ่งปีหลังจะมากกว่าครึ่ง
ปีแรก ดังนั้น ประมาณการออกหุ้นกู้ที่ 80,000 ล.บาทในครึ่งปีหลังจึงมีความเป็นไปได้สูง ส่วนตลาดรองที่
ประสบปัญหาซบเซาต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี และปัญหาได้เด่นชัดขึ้นหลังจากที่ ธ.กลาง สรอ.ปรับอัตราดอกเบี้ย ทำ
ให้มีการปรับพอร์ตการลงทุนเข้าถือตราสารหนี้ระยะสั้นมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น
ส่งผลให้ปัญหาในตลาดรองน่าจะยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องไปอีก จนกว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยจะมีความชัดเจน
มากขึ้น ทั้งนี้ ศูนย์ซื้อขายฯ กำลังผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการวัดผลการดำเนินงานที่เหมาะสมมากขึ้น
จากปัจจุบันที่ใช้วิธีการวัดผลการดำเนินงานแบบการลงทุนระยะสั้น ซึ่งทำให้พฤติกรรมการลงทุนเป็นการลงทุน
ระยะสั้นเพื่อเก็งกำไร เป็นใช้วิธีการวัดผลที่สะท้อนผลการดำเนินงานระยะยาว โดยวัดเป็นผลตอบแทนจาก
อัตราดอกเบี้ยที่จะได้รับเมื่อถือตราสารจนครบอายุ ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการลงทุนในตลาด
ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย (ผู้จัดการรายวัน)
4. ธ.กรุงเทพฯ ร่วมโครงการให้สินเชื่อตามนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนของรัฐบาล เมื่อ
วานนี้ (15 ก.ค.47) ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือตามนโยบายแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
ระหว่างสำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (สปท.) และ ธ.กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย
หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่มีสิทธิในการเช่าในที่ราชพัสดุ ทรัพย์สินทางปัญญา
สินทรัพย์ประเภทเครื่องจักร และสิทธิในการนำสินค้ามาจำหน่ายในบริเวณแผงค้าในกรุงเทพฯ สามารถขอสิน
เชื่อจาก ธ.กรุงเทพได้ ซึ่ง ผอ.สำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนกล่าวว่า ที่ผ่านมามีประชาชนเข้า
ร่วมโครงการโดยมียอดเงินกู้ประมาณ 1,178 ล.บาท และคาดว่าถึงสิ้นปีจะมีผู้เข้าร่วมโครงการประมาณ
60,000 ราย ด้านกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า ธนาคารมีเป้าหมายปล่อยสินเชื่อภายในสิ้นปี
47 ประมาณ 3,000 ราย (สยามรัฐ, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.47 ลดลงร้อยละ 0.3 ลดลงมากสุดในรอบ 13
เดือน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 15 ก.ค.47 ผลผลิตอุตสาหกรรมซึ่งประกอบด้วยผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรม
เหมืองแร่และสาธารณูปโภคของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.47 ลดลงร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อน ลดลงมากสุดนับ
ตั้งแต่เดือน เม.ย.46 ซึ่งลดลงร้อยละ 0.6 หลังจากขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน พ.ค.47 โดย
ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนถึง 4 ใน 5 ของผลผลิตอุตสาหกรรมทั้งหมดลดลงร้อยละ 0.1 ลดลง
ครั้งแรกในรอบ 13 เดือน จากผลผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ลดลงร้อยละ 2.5 โดยการ
ประกอบรถยนต์ในเดือน มิ.ย.47 มีจำนวน 11.38 ล้านคันลดลงจาก 11.83 ล้านคันในเดือน พ.ค.47 เช่น
เดียวกับผลผลิตสาธารณูปโภคที่ลดลงร้อยละ 2.3 จากสภาพอากาศที่เย็นกว่าปรกติ ในขณะที่ผลผลิตเหมืองแร่
เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 ในเดือน มิ.ย.47ธุรกิจใช้กำลังการผลิตในอัตราร้อยละ 77.2 ของกำลัง
การผลิตทั้งหมด ลดลงจากร้อยละ 77.6 ในเดือน พ.ค.47 รายงานดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคตอบ
สนองต่อการขึ้นราคาสินค้าในทางลบโดยการชะลอการซื้อและทำให้ผู้ผลิตต้องปรับลดกำลังการผลิตลง (รอย
เตอร์)
2. ผู้ว่าการ ธ.กลางสรอ. เห็นว่าต้องเฝ้าจับตามองภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น รายงานจาก
Chicago
เมื่อวันที่ 15ก.ค. 47 นาง Susan Schmidt Bies ผวก. ธ.กลางสรอ.กล่าวว่า ธ.กลางต้องพร้อมที่จะ
ดำเนินการอย่างทันท่วงทีเพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพราคา ซึ่งเป็นนโยบายที่สำคัญที่สุดของธ.กลาง พร้อมทั้ง
เสริมว่าเศรษฐกิจสรอ.มีแนวโน้มที่มีเสถียรภาพ มีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในปีนี้ โดยธ.กลาง จำเป็นต้อง
ส่งสัญญานเตือนหากระดับราคาสูงขึ้น และต้องพร้อมที่จะดำเนินนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาหากจำเป็น
เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ แม้ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคในฤดูใบไม้ผลิจะชะลอตัว แต่อุปสงค์
ในที่อยู่อาศัยและการลงทุนของธุรกิจยังแข็งแกร่ง ในสภาวะการเงินที่ยังคงเอื้ออำนวยเช่นนี้คาดว่าในช่วงครึ่ง
หลังปี 47 กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 47 ธ.
กลางสรอ. ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของสรอ.อยู่ในระดับร้อยละ
1.25 นับเป็นการปรับเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี เพิ่มจากร้อยละ 1.0 ที่เป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 46 ปี
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ธ.กลางสรอ. จะยังไม่รีบร้อนปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงจนกว่าจะแน่ใจว่าเศรษฐกิจ
ฟื้นตัว แต่ตัวเลขเงินเฟ้ออาจเป็นตัวเร่งให้ ธ.กลางต้องพิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้
ก็เป็นได้(รอยเตอร์)
3. เดือน มิ.ย.47 ดัชนีชี้วัดความสามารถในการผลิตของเขตเศรษฐกิจยุโรปเริ่มฟื้นตัวขึ้นจาก
เดือนก่อน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 15 ก.ค.47 NTC เปิดเผยว่า จากการสำรวจภาคธุรกิจ 5,000 แห่ง
เกี่ยวกับความสามารถในการผลิตซึ่งเป็นตัวชี้วัดผลผลิตต่อคนของเขตเศรษฐกิจยุโรปที่เคยเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเดือน
ก.พ.47 แต่กลับลดต่ำลงมากที่สุดในรอบ 8 เดือน เมื่อเดือน พ.ค.นั้นได้เริ่มกลับมาดีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเดือน
มิ.ย.นี้ โดยดัชนีชี้วัดความสามารถในการผลิตในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 55.7 จากระดับ 55.6
ในเดือน พ.ค. และยังคงอยู่เหนือระดับตัวเลขเฉลี่ย 4 ปี ที่อยู่ที่ระดับ 53.0 ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวหากอยู่เหนือ
กว่าระดับ 50 แสดงถึงการปรับตัวดีขึ้นและหากอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่าเศรษฐกิจเริ่มเสื่อมถอยลง ซึ่ง
จากข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 41 จนถึงปัจจุบันนั้น ตัวเลขดังกล่าวอยู่เหนือระดับ 50 ถึง 30 เดือนติดต่อกัน (รอย
เตอร์)
4. เศรษฐกิจของอังกฤษไตรมาส 2 ปี 47 เติบโตสูงสุดในรอบ 6 ปี รายงานจากลอนดอน
อังกฤษ เมื่อวันที่ 15 ก.ค.47 หอการค้าอังกฤษ เปิดเผยผลสำรวจทางเศรษฐกิจรายไตรมาสว่า ในไตรมาส
2 ปีนี้ ภาคบริการและภาคการผลิตของอังกฤษมีอัตราการเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่ปลายปี 40 ซึ่งผู้ผลิตสินค้า
รายงานว่ายอดขายสินค้าภายในประเทศในช่วงเดือน มี.ค. | มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี
40 ในขณะที่ home sales balance เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ +21 จาก +19 แต่ order book balance ลด
ลงอยู่ที่ระดับ +10 จาก +17 แต่ก็ยังคงสูงกว่าทุกไตรมาสนับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายปี 45 สำหรับ home
sales balance ของภาคบริการในไตรมาส 2 ปีนี้ เพิ่มขึ้นสูงสุดเช่นกันนับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายปี 40 อยู่ที่
ระดับ +38 จาก +32 ในไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงในทั้งสองภาคดังกล่าว
สาเหตุจากความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อและการปรับเพิ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยความเชื่อมั่นในความ
สามารถการทำไรของภาคการผลิตลดลงอยู่ที่ระดับ +35 จาก +38 ส่วนภาคบริการลดลงอยู่ที่ระดับ +47 จาก
+48 (รอยเตอร์)
5. จีดีพีของจีนในไตรมาสที่ 2 ปี 47 ขยายตัวร้อยละ 9.6 เทียบต่อปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ
16 ก.ค.47 สำนักงานสถิติจีน เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของจีนในไตรมาสที่ 2 ปี 47
ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 เทียบจากปีก่อนหน้า ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยาย
ตัวระหว่างร้อยละ 10-12 เนื่องจากเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจหลายตัวที่แสดงถึงว่าเศรษฐกิจจีนลดความร้อน
แรงลงจากมาตรการลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของทางการจีน สำหรับในครึ่งแรกของปี 47 เศรษฐกิจจีน
ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 เทียบต่อปี อย่างไรก็ตาม โฆษกสำนักงานสถิติจีนเปิดเผยว่า แม้ตัวเลขทางเศรษฐ
กิจโดยรวมในขณะนี้จะแสดงในด้านบวกก็ตาม แต่ก็ควรเฝ้าติดตามปัญหาบางประการที่ยังคงมีอยู่ในระบบเศรษฐ
กิจของประเทศด้วยเช่นกัน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ
16 ก.ค. 47 15 ก.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$)
40.825 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$)
40.6231/40.9094 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ)
1.09375-1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท)
646.76/14.06 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ)
7,650/7,750 7,650/7,750 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล)
35.83 35.47 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย.47
18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. พ.ร.บ.การจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝากอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของ พ.ร.บ.
สถาบันประกันเงินฝากว่า ขณะนี้ ก.คลังได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ โดยขั้นตอนหลังจากตี
ความแล้ว ก็จะสามารถนำเรื่องเข้าพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรได้ ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาเหตุที่ต้องมี
การเสนอ พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝากให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงกันใน
เรื่องวงเงินค้ำประกัน ซึ่งเดิมรัฐจะค้ำประกันที่วงเงิน 100 ล.บาทในปีแรก และทยอยลดลง แต่ล่าสุด ก.
คลังเห็นว่าน่าจะลดวงเงินค้ำประกันเหลือ 50 ล.บาทในปีแรก และทยอยลดวงเงินลงในแต่ละปี อนึ่ง ก่อน
หน้านี้ ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ได้รับการยืนยันจาก ก.คลังว่า จะนำ พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝากเข้าสู่
การพิจารณาในรัฐสภาในเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้ และหากผ่านการพิจารณาเห็นชอบก็จะนำออกใช้ได้เลย โดยจะ
เริ่มปรับลดการค้ำประกันเงินฝากของกองทุนฟื้นฟูฯ เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้ภาวะเศรษฐกิจของไทยขยายตัวอยู่
ในเกณฑ์ดี เหมาะสมที่จะนำ พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝากออกใช้ (สยามรัฐ, แนวหน้า)
2. คาดว่าในปี 48 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 6.5% ใกล้เคียงกับปี 47 ซึ่งคาดว่าจะขยายตัว
6.5-7% ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงประมาณการ
อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 48 ว่า จะขยายตัวที่ 6.5% ส่วนการส่งออกขยายตัว 14% คิดเป็น
103,740 ล.ดอลลาร์ สรอ. และการนำเข้าขยายตัว 20% คิดเป็นมูลค่า 105,960 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะ
ที่ดุลการค้าจะขาดดุลประมาณ 2,200 ล.ดอลลาร์ สรอ. คิดเป็น |1.3% ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี)
ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะยังคงเกินดุลประมาณ 1,530 ล.ดอลลาร์ สรอ. คิดเป็น 0.9% ของจีดีพี
สำหรับอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ 3% ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 40 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดย
ดุลการค้าที่ขาดดุลนั้น นับเป็นครั้งแรกหลังจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในปี 40 ซึ่งมีสาเหตุจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว
ขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ยอดการนำเข้าสินค้าโดยเฉพาะสินค้าทุนมีอัตราเร่งขึ้นมากถึง 20% แต่ไม่น่าวิตกเพราะเป็น
การนำเข้าในลักษณะการสะสมทุน ส่วนการส่งออกที่คาดว่าจะชะลอตัวลง เนื่องจากไทยต้องเผชิญกับภาวะการ
แข่งขันที่สูงขึ้น สำหรับในปี 47 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 6.5-7% การส่งออกขยายตัว 16% คิดเป็นมูลค่า
91,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. การนำเข้าขยายตัว 19% คิดเป็นมูลค่า 88,300 ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลการ
ค้าคาดว่าจะมียอดเกินดุล 3,450 ล.ดอลลาร์ สรอ. คิดเป็น 2.1% ของจีดีพี ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 6,700
ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็น 4.1% ของจีดีพี ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 2.6% ขณะที่อัตราแลก
เปลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 40.30 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ 10 อุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่นในช่วงครึ่ง
หลังปี 47 ได้แก่ 1)อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะขยายตัวถึง 33% ในปีนี้ 2)อุตสาหกรรมยานยนต์
3)อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง 4)โทรคมนาคม ขนส่ง และลอจิสติกส์ 5)อิเล็กทรอนิกส์ 6)อุตสาหกรรมอาหาร
7)สุขภาพและบันเทิง 8)อัญมณีและเครื่องประดับ 9)พลังงาน และ10)สถาบันการเงิน (โลกวันนี้, ข่าวสด)
3. คาดว่าการออกหุ้นกู้ภาคเอกชนในปี 47 จะลดลง 15% จากปีก่อน ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์
ซื้อขายตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า คาดว่า ปี 47 ยอดการออกหุ้นกู้ภาคเอกชนรวมน่าจะอยู่ที่ 140,000 ล.
บาท โดยจะลดลงจากปีก่อนเพียง 15% จากที่เคยคาดการณ์ว่าจะลดลง 30% เนื่องจากภาวะอัตราดอกเบี้ยอยู่
ในช่วงขาขึ้น สำหรับตัวเลขการออกหุ้นกู้ภาคเอกชนในช่วงต้นปีที่ผ่านมามีจำนวนทั้งสิ้น 63,000 ล.บาท ลดลง
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 12% ซึ่งตามสถิติที่ผ่านมา การออกหุ้นกู้ภาคเอกชนในช่วงครึ่งปีหลังจะมากกว่าครึ่ง
ปีแรก ดังนั้น ประมาณการออกหุ้นกู้ที่ 80,000 ล.บาทในครึ่งปีหลังจึงมีความเป็นไปได้สูง ส่วนตลาดรองที่
ประสบปัญหาซบเซาต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี และปัญหาได้เด่นชัดขึ้นหลังจากที่ ธ.กลาง สรอ.ปรับอัตราดอกเบี้ย ทำ
ให้มีการปรับพอร์ตการลงทุนเข้าถือตราสารหนี้ระยะสั้นมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น
ส่งผลให้ปัญหาในตลาดรองน่าจะยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องไปอีก จนกว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยจะมีความชัดเจน
มากขึ้น ทั้งนี้ ศูนย์ซื้อขายฯ กำลังผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการวัดผลการดำเนินงานที่เหมาะสมมากขึ้น
จากปัจจุบันที่ใช้วิธีการวัดผลการดำเนินงานแบบการลงทุนระยะสั้น ซึ่งทำให้พฤติกรรมการลงทุนเป็นการลงทุน
ระยะสั้นเพื่อเก็งกำไร เป็นใช้วิธีการวัดผลที่สะท้อนผลการดำเนินงานระยะยาว โดยวัดเป็นผลตอบแทนจาก
อัตราดอกเบี้ยที่จะได้รับเมื่อถือตราสารจนครบอายุ ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการลงทุนในตลาด
ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย (ผู้จัดการรายวัน)
4. ธ.กรุงเทพฯ ร่วมโครงการให้สินเชื่อตามนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนของรัฐบาล เมื่อ
วานนี้ (15 ก.ค.47) ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือตามนโยบายแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
ระหว่างสำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (สปท.) และ ธ.กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย
หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่มีสิทธิในการเช่าในที่ราชพัสดุ ทรัพย์สินทางปัญญา
สินทรัพย์ประเภทเครื่องจักร และสิทธิในการนำสินค้ามาจำหน่ายในบริเวณแผงค้าในกรุงเทพฯ สามารถขอสิน
เชื่อจาก ธ.กรุงเทพได้ ซึ่ง ผอ.สำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนกล่าวว่า ที่ผ่านมามีประชาชนเข้า
ร่วมโครงการโดยมียอดเงินกู้ประมาณ 1,178 ล.บาท และคาดว่าถึงสิ้นปีจะมีผู้เข้าร่วมโครงการประมาณ
60,000 ราย ด้านกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า ธนาคารมีเป้าหมายปล่อยสินเชื่อภายในสิ้นปี
47 ประมาณ 3,000 ราย (สยามรัฐ, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.47 ลดลงร้อยละ 0.3 ลดลงมากสุดในรอบ 13
เดือน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 15 ก.ค.47 ผลผลิตอุตสาหกรรมซึ่งประกอบด้วยผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรม
เหมืองแร่และสาธารณูปโภคของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.47 ลดลงร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อน ลดลงมากสุดนับ
ตั้งแต่เดือน เม.ย.46 ซึ่งลดลงร้อยละ 0.6 หลังจากขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน พ.ค.47 โดย
ผลผลิตโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนถึง 4 ใน 5 ของผลผลิตอุตสาหกรรมทั้งหมดลดลงร้อยละ 0.1 ลดลง
ครั้งแรกในรอบ 13 เดือน จากผลผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ลดลงร้อยละ 2.5 โดยการ
ประกอบรถยนต์ในเดือน มิ.ย.47 มีจำนวน 11.38 ล้านคันลดลงจาก 11.83 ล้านคันในเดือน พ.ค.47 เช่น
เดียวกับผลผลิตสาธารณูปโภคที่ลดลงร้อยละ 2.3 จากสภาพอากาศที่เย็นกว่าปรกติ ในขณะที่ผลผลิตเหมืองแร่
เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.1 ในเดือน มิ.ย.47ธุรกิจใช้กำลังการผลิตในอัตราร้อยละ 77.2 ของกำลัง
การผลิตทั้งหมด ลดลงจากร้อยละ 77.6 ในเดือน พ.ค.47 รายงานดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคตอบ
สนองต่อการขึ้นราคาสินค้าในทางลบโดยการชะลอการซื้อและทำให้ผู้ผลิตต้องปรับลดกำลังการผลิตลง (รอย
เตอร์)
2. ผู้ว่าการ ธ.กลางสรอ. เห็นว่าต้องเฝ้าจับตามองภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น รายงานจาก
Chicago
เมื่อวันที่ 15ก.ค. 47 นาง Susan Schmidt Bies ผวก. ธ.กลางสรอ.กล่าวว่า ธ.กลางต้องพร้อมที่จะ
ดำเนินการอย่างทันท่วงทีเพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพราคา ซึ่งเป็นนโยบายที่สำคัญที่สุดของธ.กลาง พร้อมทั้ง
เสริมว่าเศรษฐกิจสรอ.มีแนวโน้มที่มีเสถียรภาพ มีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในปีนี้ โดยธ.กลาง จำเป็นต้อง
ส่งสัญญานเตือนหากระดับราคาสูงขึ้น และต้องพร้อมที่จะดำเนินนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาหากจำเป็น
เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ แม้ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคในฤดูใบไม้ผลิจะชะลอตัว แต่อุปสงค์
ในที่อยู่อาศัยและการลงทุนของธุรกิจยังแข็งแกร่ง ในสภาวะการเงินที่ยังคงเอื้ออำนวยเช่นนี้คาดว่าในช่วงครึ่ง
หลังปี 47 กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 47 ธ.
กลางสรอ. ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของสรอ.อยู่ในระดับร้อยละ
1.25 นับเป็นการปรับเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี เพิ่มจากร้อยละ 1.0 ที่เป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 46 ปี
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ธ.กลางสรอ. จะยังไม่รีบร้อนปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงจนกว่าจะแน่ใจว่าเศรษฐกิจ
ฟื้นตัว แต่ตัวเลขเงินเฟ้ออาจเป็นตัวเร่งให้ ธ.กลางต้องพิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้
ก็เป็นได้(รอยเตอร์)
3. เดือน มิ.ย.47 ดัชนีชี้วัดความสามารถในการผลิตของเขตเศรษฐกิจยุโรปเริ่มฟื้นตัวขึ้นจาก
เดือนก่อน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 15 ก.ค.47 NTC เปิดเผยว่า จากการสำรวจภาคธุรกิจ 5,000 แห่ง
เกี่ยวกับความสามารถในการผลิตซึ่งเป็นตัวชี้วัดผลผลิตต่อคนของเขตเศรษฐกิจยุโรปที่เคยเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเดือน
ก.พ.47 แต่กลับลดต่ำลงมากที่สุดในรอบ 8 เดือน เมื่อเดือน พ.ค.นั้นได้เริ่มกลับมาดีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเดือน
มิ.ย.นี้ โดยดัชนีชี้วัดความสามารถในการผลิตในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 55.7 จากระดับ 55.6
ในเดือน พ.ค. และยังคงอยู่เหนือระดับตัวเลขเฉลี่ย 4 ปี ที่อยู่ที่ระดับ 53.0 ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวหากอยู่เหนือ
กว่าระดับ 50 แสดงถึงการปรับตัวดีขึ้นและหากอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่าเศรษฐกิจเริ่มเสื่อมถอยลง ซึ่ง
จากข้อมูลในอดีตตั้งแต่ปี 41 จนถึงปัจจุบันนั้น ตัวเลขดังกล่าวอยู่เหนือระดับ 50 ถึง 30 เดือนติดต่อกัน (รอย
เตอร์)
4. เศรษฐกิจของอังกฤษไตรมาส 2 ปี 47 เติบโตสูงสุดในรอบ 6 ปี รายงานจากลอนดอน
อังกฤษ เมื่อวันที่ 15 ก.ค.47 หอการค้าอังกฤษ เปิดเผยผลสำรวจทางเศรษฐกิจรายไตรมาสว่า ในไตรมาส
2 ปีนี้ ภาคบริการและภาคการผลิตของอังกฤษมีอัตราการเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่ปลายปี 40 ซึ่งผู้ผลิตสินค้า
รายงานว่ายอดขายสินค้าภายในประเทศในช่วงเดือน มี.ค. | มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี
40 ในขณะที่ home sales balance เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ +21 จาก +19 แต่ order book balance ลด
ลงอยู่ที่ระดับ +10 จาก +17 แต่ก็ยังคงสูงกว่าทุกไตรมาสนับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายปี 45 สำหรับ home
sales balance ของภาคบริการในไตรมาส 2 ปีนี้ เพิ่มขึ้นสูงสุดเช่นกันนับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายปี 40 อยู่ที่
ระดับ +38 จาก +32 ในไตรมาสก่อน อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงในทั้งสองภาคดังกล่าว
สาเหตุจากความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อและการปรับเพิ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยความเชื่อมั่นในความ
สามารถการทำไรของภาคการผลิตลดลงอยู่ที่ระดับ +35 จาก +38 ส่วนภาคบริการลดลงอยู่ที่ระดับ +47 จาก
+48 (รอยเตอร์)
5. จีดีพีของจีนในไตรมาสที่ 2 ปี 47 ขยายตัวร้อยละ 9.6 เทียบต่อปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ
16 ก.ค.47 สำนักงานสถิติจีน เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของจีนในไตรมาสที่ 2 ปี 47
ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 เทียบจากปีก่อนหน้า ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยาย
ตัวระหว่างร้อยละ 10-12 เนื่องจากเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจหลายตัวที่แสดงถึงว่าเศรษฐกิจจีนลดความร้อน
แรงลงจากมาตรการลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของทางการจีน สำหรับในครึ่งแรกของปี 47 เศรษฐกิจจีน
ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 เทียบต่อปี อย่างไรก็ตาม โฆษกสำนักงานสถิติจีนเปิดเผยว่า แม้ตัวเลขทางเศรษฐ
กิจโดยรวมในขณะนี้จะแสดงในด้านบวกก็ตาม แต่ก็ควรเฝ้าติดตามปัญหาบางประการที่ยังคงมีอยู่ในระบบเศรษฐ
กิจของประเทศด้วยเช่นกัน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ
16 ก.ค. 47 15 ก.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$)
40.825 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$)
40.6231/40.9094 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ)
1.09375-1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท)
646.76/14.06 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ)
7,650/7,750 7,650/7,750 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล)
35.83 35.47 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย.47
18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-