ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เปิดเผยถึงการควบรวมกิจการระหว่าง บง.สินเอเชียและ บง.บัวหลวง สามารถทำได้
หากแกนนำในการจัดตั้งไม่ใช่ ธ.กรุงเทพ นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยถึง กรณีที่ ธ.กรุงเทพ มีนโยบายจะควบรวมกิจการบริษัทในเครือ 2 แห่ง คือ บง.สินเอเชีย
และ บง.บัวหลวง เอเชีย เพื่อขอใบใบอนุญาตประกอบการเป็น ธพ.เต็มรูปแบบ (Full Banking)
สามารถทำได้ หากแกนนำในการจัดตั้งเป็นผู้ถือหุ้นรายอื่นที่ไม่ใช่ ธ.กรุงเทพ เนื่องจากแผนพัฒนาระบบสถาบัน
การเงินกำหนดให้สถาบันการเงินดำรงสถานะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้น ธ.กรุงเทพซึ่งมีใบอนุญาตใน
การทำธุรกิจ ธพ.อยู่แล้วจะขอจัดตั้ง ธพ.อีกหนึ่งแห่งถือว่าผิดหลักเกณฑ์ ที่สำคัญ ธ.กรุงเทพต้องลดเงินกองทุน
ในส่วนที่นำมาลงทุนในธนาคารแห่งใหม่ออกจากเงินกองทุนของ ธ.กรุงเทพในปัจจุบันด้วย เพราะตามหลัก
เกณฑ์ของ ธปท.ไม่อนุญาตให้ ธพ.ทั้ง 2 แห่งใช้เงินกองทุนก้อนเดียวกันได้ เนื่องจากผิดหลักเกณฑ์การดำรง
เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง นอกจากนี้ ในส่วนโครงสร้างการถือหุ้น บง.สินเอเชียว่าใครเป็นผู้ถือหุ้นหลักก็ยัง
ไม่มีความชัดเจน โดยล่าสุดกลุ่ม SG Securities Asia International Holdings ถือหุ้นร้อยละ 36
ก.คลังถือหุ้นร้อยละ 30 ธ.กรุงเทพร้อยละ 27 บ.ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ถือร้อยละ 4 และนายชาตรี โสภณพนิช
ถือร้อยละ 0.39 (ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ, สยามรัฐ)
2. ธปท.ติดตามการให้สินเชื่อเพื่อการซื้อขายที่ดินของ ธพ.ไทยอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการเก็งกำไร
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงเงินให้สินเชื่อแยกตามประเภทธุรกิจของ
ธพ.ล่าสุดในเดือน มี.ค.47 พบว่า ธพ.ได้ปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจประเภทอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมีจำนวน
746,244 ล้านบาท ลดลง 14,796 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.46 โดยในจำนวนนี้เป็นสินเชื่ออุปโภค
บริโภคประเภทเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยที่มีจำนวน 424,704 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 106,943 ล้านบาท ขณะที่
สินเชื่อการบริโภคส่วนบุคคลอื่น ๆ มีจำนวน 271,857 ล้านบาท ลดลง 130,222 ล้านบาท ส่วนการซื้อขาย
ที่ดิน ธพ.มีการปริมาณการปล่อยสินเชื่อจำนวน 37,626 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,836 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือน
ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งสินเชื่อประเภทนี้ ธปท.เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการเก็งกำไร ไม่ให้เกิดภาวะ
ฟองสบู่เช่นเดียวกับเมื่อปี 40 ในขณะที่สินเชื่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการอื่น มีจำนวน 1,596 ล้านบาท (เดลินิวส์)
3. ธปท.ยืนยันไม่พิมพ์ธนบัตรที่ระลึก 12 ส.ค.เพิ่มเติม สำนักสื่อสารสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศ
ไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 ส.ค.47
ซึ่ง ธปท.ร่วมน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถด้วยการจัดพิมพ์และ
ออกใช้ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถชนิดราคา 100 บาท จำนวน
7,299,999 ฉบับ ซึ่งเป็นธนบัตรที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายนั้น ธปท.ยืนยันว่าจะไม่พิมพ์ธนบัตรที่ระลึกดังกล่าว
เพิ่มเติมอีก เนื่องจากจำนวนที่ผลิตเป็นเลขมงคล อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีประชาชนแสดงความสนใจต้อง
การได้ถุงผ้าไหมที่ใช้บรรจุธนบัตรที่ระลึกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ธปท.จะประสานกับมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ
ในการผลิตถุงผ้าไหมเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่ง (กรุงเทพธุรกิจ)
4. ธอส.เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำดัชนีอสังหาริมทรัพย์ปี 46 กรรมการผู้จัดการ ธ.อาคาร
สงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำดัชนีอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องนำข้อมูลออกมาใช้ในวันที่
25 ส.ค.47 ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ แต่เนื่องจากข้อมูลของ ธปท.ในปัจจุบันมีถึง
ไตรมาส 3 ปี 46 เท่านั้น จึงทำให้ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุข้อมูลการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ในปี 46
ได้ ซึ่งนอกจากการเก็บข้อมูลจาก ธปท.แล้ว ขณะนี้กำลังรวบรวมข้อมูลจากกรมที่ดิน สำนักงานสถิติ กรมการ
ปกครอง ซึ่งจะเอาข้อมูลดังกล่าวมาประมวลเป็นตัวเลขมหภาคของอสังหาริมทรัพย์ โดยจะมีดัชนีชี้วัด 4 ด้าน
คือ ด้านอุปสงค์ อุปทาน การเงิน และการตลาด (กรุงเทพธุรกิจ)
5. สศค.สนับสนุน ม.หอการค้าไทยที่คาดว่าไทยอาจจะขาดดุลการค้าภายใน 5 ปีข้างหน้า เนื่อง
จากรัฐบาลมีโครงการจัดทำเมกะโปรเจกต์ รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงกรณีที่
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย ประกาศว่า ไทยจะขาดดุลการค้าภายใน 5 ปีข้างหน้านับ
จากปี 48 เป็นต้นไปว่าอาจจะมีความเป็นไปได้ เพราะรัฐบาลมีโครงการที่จะสนับสนุนการทำเมกะโปรเจกต์ที่
จะต้องมีการลงทุนสูงเกิน 1 ล้านล้านบาท ภายใน 8-10 ปีข้างหน้านี้ ทั้งนี้ในการลงทุนดังกล่าวจะมีการ
ดำเนินโครงการมากกว่า 10 โครงการด้วยกัน จึงจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าที่เป็นวัตถุดิบจากต่างประเทศ ซึ่ง
อาจส่งผลให้มีการขาดดุลเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นการคาดการณ์ในระยะยาวเท่านั้น
ซึ่งการขาดดุลการค้าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่ต้องขาดดุลอย่างมีเสถียรภาพจึงจะไม่กระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม
(ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง
จากเดือนก่อน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 19 ก.ค.47 ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.47 เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 0.3 เพิ่มขึ้นในอัตราครึ่งหนึ่งของเดือนก่อน ผลจากราคาพลังงานและอาหารเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง
จากเดือนก่อน โดยราคาพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ในเดือน พ.ค.47 เช่น
เดียวกับราคาน้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 ในเดือน พ.ค.47 ในขณะที่
ราคาอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน พ.ค.47 สำหรับราคาบ้านเพิ่มขึ้น
เพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.3 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน พ.ค.47 โดยดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่ง
ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นน้อยสุดตั้งแต่ต้นปีที่
ผ่านมา แต่หากเทียบต่อปีแล้วดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในช่วง 1 ปีสิ้นสุดเดือน มิ.ย.47
เทียบกับร้อยละ 1.7 ในช่วง 1 ปีสิ้นสุดเดือน พ.ค.47 แสดงให้เห็นว่าดัชนีราคาผู้บริโภคมีแนวโน้มจะเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 0.2 ต่อเดือนในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ นักวิเคราะห์จึงคาดกันว่า ธ.กลาง สรอ.จะประกาศขึ้น
อัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 ในการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 10 สิงหาคม 47 ที่จะถึงนี้ หลังจากขึ้น
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ในเดือน มิ.ย.47 ที่ผ่านมา ทำให้อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี
(เอเชียน วอลล์สตรีท เจอร์นัล)
2. เศรษฐกิจจีนส่งสัญญานชะลอตัว รายงานจาก ปักกิ่ง เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 47 สำนักงานสถิติ
แห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า เศรษฐกิจของจีนไม่ร้อนแรงอีกต่อไป โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 47 เศรษฐกิจจีนเติบ
โตอย่างมีเสถียรภาพ ทั้งนี้สนง.สถิติของจีนคาดการณ์ไว้ว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 9.6 จากช่วงเดียว
กันปีที่แล้ว ลดลงจากร้อยละ 9.8 ในไตรมาสที่ 1 และร้อยละ 9.9 ในไตรมาสที่ 4 ปี 46 เนื่อง
จากนโยบายและมาตรการลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีน โฆษกสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนกล่าวว่า
มาตรการลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีนได้ถูกควบคุมโดยทางการแล้ว ในขณะที่บางคนยังมีคำถามว่า
เศรษฐกิจจีนร้อนแรงเกินไปหรือไม่ โดยภาพรวมที่เด่นชัดชี้ว่าเศรษฐกิจจีนกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี อย่างไรก็
ตาม CPI ที่แสดงภาวะเงินเฟ้อของจีนในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อนทำให้คาดว่า
ธ.กลางจีนจะมีการพิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อ แม้ว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่าน
มามีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภาคอสังหาริมทรัพย์ เหล็ก และซีเมนต์ เป็นจำนวนมากทำให้จีนเริ่ม
เข้มงวดในการอนุมัติการลงทุนในภาคดังกล่าวเพื่อชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจลง ปัจจุบันการลงทุนใน
ภาคดังกล่าวก็ยังคงเพิ่มขึ้นโดยในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29 จากช่วงเดียวกันปีก่อนโดยนักลงทุนยังลง
ทุนสูงถึงเกือบ 500 พัน ล.หยวน หรือ 60 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ทำให้เกรงกันว่า จะเป็นการลงทุนมาก
เกินไปในภาคดังกล่าว มากกว่าภาคการลงทุนในภาคอื่นๆ Andy Xie นักเศรษฐศาสตร์จากมอร์แกน
สแตนเลย์เห็นว่านโยบายลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีนเป็นทางที่ผิดเพราะเป็นเพียงการยืดเวลาภาวะ
เศรษฐกิจฟองสบู่ออกไป และเป็นการสร้างปัญหาในอนาคต เนื่องจากเป็นการสายเกินไปที่จะดำเนินนโยบาย
ดังกล่าวแล้ว แต่เห็นว่ารัฐบาลจีนควรดำเนินนโยบายนี้ตั้งแต่ปี 45 แล้ว (เอเชียน วอลล์สตรีทเจอร์นัล)
3. ทุนสำรองฯ ของเกาหลีใต้ ณ กลางเดือน ก.ค.47 อยู่ที่ระดับ 168 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 19 ก.ค.47 ธ.กลางของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ทุนสำรอง
เงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้ในช่วงครึ่งแรกของเดือน ก.ค.47 เพิ่มขึ้น 1.15 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
จากการลงทุนเพิ่มขึ้นของการลงทุนและการอ่อนตัวของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ทำให้มูลค่าสินทรัพย์ที่เป็นเงิน
สกุลอื่น ๆ เช่น ยูโรเมื่อแปลงเป็นดอลลาร์ สรอ. แล้วมีค่าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ทุนสำรองฯ ของเกาหลีใต้ซึ่งมี
ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก อยู่ที่ระดับ 168.18 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 15 ก.ค.47 เพิ่มขึ้น
จากระดับ 167.03 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือน มิ.ย.47 และหากเทียบกับเมื่อสิ้นปี 46 ทุนสำรองฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 หรือคิดเป็นจำนวน 12.83 ดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ทุนสำรองฯ ของ
เกาหลีใต้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ นักค้าเงินหลายรายก็กำลังสงสัยว่ารัฐอาจเข้าแทรกแซงอัตราแลก
เปลี่ยนโดยการทุ่มซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. อย่างมากเพื่อทำให้เงินวอนอ่อนค่าลงอันจะทำให้สินค้าส่งออกของ
เกาหลีใต้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ซึ่งในกรณีนี้ ธ.กลางได้ปฏิเสธว่าไม่ได้มีการแทรกแซงตลาดอัตรา
แลกเปลี่ยนอย่างที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตขึ้นมา (รอยเตอร์)
4. เดือน มิ.ย.47 การส่งออกของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 (ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล) ขณะ
ที่ลดลงร้อยละ 6.9 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) รายงานจากสิงคโปร์ Dow Jones Newswires เปิดเผยว่า
จากตัวเลขของทางการ การส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของสิงคโปร์ในเดือนมิ.ย.47 สะท้อนถึงการฟื้นตัว
ทางเศรษฐกิจที่มีการส่งออกเป็นตัวนำ และส่งผลให้สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชีย โดยตัวเลขการส่งออก(ไม่รวมน้ำมัน)ก่อนปรับฤดูกาลมีจำนวน 11.1 พัน
ล.ดอลลาร์สิงคโปร์ (6.53 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 จากปีก่อน เป็นผลจากบริษัทส่งออก
เช่น Chartered Semiconductor Manufacturing Ltd. ส่งออกสินค้าประเภทชิปคอมพิวเตอร์ไปยัง
ตลาด สรอ.และตลาดอื่นๆ เพิ่มขึ้น แม้ว่าการส่งออกดิสท์ไดรฟ์ เภสัชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์จะลดลงก็ตาม ขณะที่ตัว
เลขการส่งออก(ไม่รวมน้ำมัน)หลังปรับฤดูกาลในเดือน มิ.ย.47 ลดลงร้อยละ 6.9 ซึ่งบรรดานัก
เศรษฐศาสตร์มองว่ามีสาเหตุจากการส่งออกที่แข็งแกร่งในเดือน พ.ค.47 ทำให้ในเดือน มิ.ย. การส่งออก
ชะลอตัวลงบ้าง ทั้งนี้ แนวโน้มการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ยังคงมีปัจจัยสนับสนุน จากการ
ที่สถาบันเพื่อการพัฒนาการค้าของประเทศ ได้ปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตของการส่งออกทั้งปีเป็นร้อยละ
15-17 จากประมาณการเดิมร้อยละ 8-10 ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของรัฐบาลที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ
5.5-7.5 พร้อมทั้งคาดการณ์อัตราการเติบโตของการส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปีที่ร้อยละ 12 หลังจากที่เติบ
โตร้อยละ 17.8 ในช่วงครึ่งแรกของปี (เอเชียน วอลล์สตรีท เจอร์นัล)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ก.ค. 47 16 ก.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.853 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6641/40.9543 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.09375-1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 646.11/14.06 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,700/7,800 7,650/7,750 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.48 35.83 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เปิดเผยถึงการควบรวมกิจการระหว่าง บง.สินเอเชียและ บง.บัวหลวง สามารถทำได้
หากแกนนำในการจัดตั้งไม่ใช่ ธ.กรุงเทพ นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยถึง กรณีที่ ธ.กรุงเทพ มีนโยบายจะควบรวมกิจการบริษัทในเครือ 2 แห่ง คือ บง.สินเอเชีย
และ บง.บัวหลวง เอเชีย เพื่อขอใบใบอนุญาตประกอบการเป็น ธพ.เต็มรูปแบบ (Full Banking)
สามารถทำได้ หากแกนนำในการจัดตั้งเป็นผู้ถือหุ้นรายอื่นที่ไม่ใช่ ธ.กรุงเทพ เนื่องจากแผนพัฒนาระบบสถาบัน
การเงินกำหนดให้สถาบันการเงินดำรงสถานะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้น ธ.กรุงเทพซึ่งมีใบอนุญาตใน
การทำธุรกิจ ธพ.อยู่แล้วจะขอจัดตั้ง ธพ.อีกหนึ่งแห่งถือว่าผิดหลักเกณฑ์ ที่สำคัญ ธ.กรุงเทพต้องลดเงินกองทุน
ในส่วนที่นำมาลงทุนในธนาคารแห่งใหม่ออกจากเงินกองทุนของ ธ.กรุงเทพในปัจจุบันด้วย เพราะตามหลัก
เกณฑ์ของ ธปท.ไม่อนุญาตให้ ธพ.ทั้ง 2 แห่งใช้เงินกองทุนก้อนเดียวกันได้ เนื่องจากผิดหลักเกณฑ์การดำรง
เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง นอกจากนี้ ในส่วนโครงสร้างการถือหุ้น บง.สินเอเชียว่าใครเป็นผู้ถือหุ้นหลักก็ยัง
ไม่มีความชัดเจน โดยล่าสุดกลุ่ม SG Securities Asia International Holdings ถือหุ้นร้อยละ 36
ก.คลังถือหุ้นร้อยละ 30 ธ.กรุงเทพร้อยละ 27 บ.ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ถือร้อยละ 4 และนายชาตรี โสภณพนิช
ถือร้อยละ 0.39 (ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ, สยามรัฐ)
2. ธปท.ติดตามการให้สินเชื่อเพื่อการซื้อขายที่ดินของ ธพ.ไทยอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการเก็งกำไร
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงเงินให้สินเชื่อแยกตามประเภทธุรกิจของ
ธพ.ล่าสุดในเดือน มี.ค.47 พบว่า ธพ.ได้ปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจประเภทอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลมีจำนวน
746,244 ล้านบาท ลดลง 14,796 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.46 โดยในจำนวนนี้เป็นสินเชื่ออุปโภค
บริโภคประเภทเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยที่มีจำนวน 424,704 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 106,943 ล้านบาท ขณะที่
สินเชื่อการบริโภคส่วนบุคคลอื่น ๆ มีจำนวน 271,857 ล้านบาท ลดลง 130,222 ล้านบาท ส่วนการซื้อขาย
ที่ดิน ธพ.มีการปริมาณการปล่อยสินเชื่อจำนวน 37,626 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,836 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือน
ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งสินเชื่อประเภทนี้ ธปท.เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการเก็งกำไร ไม่ให้เกิดภาวะ
ฟองสบู่เช่นเดียวกับเมื่อปี 40 ในขณะที่สินเชื่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการอื่น มีจำนวน 1,596 ล้านบาท (เดลินิวส์)
3. ธปท.ยืนยันไม่พิมพ์ธนบัตรที่ระลึก 12 ส.ค.เพิ่มเติม สำนักสื่อสารสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศ
ไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 ส.ค.47
ซึ่ง ธปท.ร่วมน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถด้วยการจัดพิมพ์และ
ออกใช้ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถชนิดราคา 100 บาท จำนวน
7,299,999 ฉบับ ซึ่งเป็นธนบัตรที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายนั้น ธปท.ยืนยันว่าจะไม่พิมพ์ธนบัตรที่ระลึกดังกล่าว
เพิ่มเติมอีก เนื่องจากจำนวนที่ผลิตเป็นเลขมงคล อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีประชาชนแสดงความสนใจต้อง
การได้ถุงผ้าไหมที่ใช้บรรจุธนบัตรที่ระลึกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ธปท.จะประสานกับมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ
ในการผลิตถุงผ้าไหมเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่ง (กรุงเทพธุรกิจ)
4. ธอส.เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำดัชนีอสังหาริมทรัพย์ปี 46 กรรมการผู้จัดการ ธ.อาคาร
สงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำดัชนีอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องนำข้อมูลออกมาใช้ในวันที่
25 ส.ค.47 ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ แต่เนื่องจากข้อมูลของ ธปท.ในปัจจุบันมีถึง
ไตรมาส 3 ปี 46 เท่านั้น จึงทำให้ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุข้อมูลการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ในปี 46
ได้ ซึ่งนอกจากการเก็บข้อมูลจาก ธปท.แล้ว ขณะนี้กำลังรวบรวมข้อมูลจากกรมที่ดิน สำนักงานสถิติ กรมการ
ปกครอง ซึ่งจะเอาข้อมูลดังกล่าวมาประมวลเป็นตัวเลขมหภาคของอสังหาริมทรัพย์ โดยจะมีดัชนีชี้วัด 4 ด้าน
คือ ด้านอุปสงค์ อุปทาน การเงิน และการตลาด (กรุงเทพธุรกิจ)
5. สศค.สนับสนุน ม.หอการค้าไทยที่คาดว่าไทยอาจจะขาดดุลการค้าภายใน 5 ปีข้างหน้า เนื่อง
จากรัฐบาลมีโครงการจัดทำเมกะโปรเจกต์ รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงกรณีที่
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย ประกาศว่า ไทยจะขาดดุลการค้าภายใน 5 ปีข้างหน้านับ
จากปี 48 เป็นต้นไปว่าอาจจะมีความเป็นไปได้ เพราะรัฐบาลมีโครงการที่จะสนับสนุนการทำเมกะโปรเจกต์ที่
จะต้องมีการลงทุนสูงเกิน 1 ล้านล้านบาท ภายใน 8-10 ปีข้างหน้านี้ ทั้งนี้ในการลงทุนดังกล่าวจะมีการ
ดำเนินโครงการมากกว่า 10 โครงการด้วยกัน จึงจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าที่เป็นวัตถุดิบจากต่างประเทศ ซึ่ง
อาจส่งผลให้มีการขาดดุลเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นการคาดการณ์ในระยะยาวเท่านั้น
ซึ่งการขาดดุลการค้าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่ต้องขาดดุลอย่างมีเสถียรภาพจึงจะไม่กระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม
(ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง
จากเดือนก่อน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 19 ก.ค.47 ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.47 เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 0.3 เพิ่มขึ้นในอัตราครึ่งหนึ่งของเดือนก่อน ผลจากราคาพลังงานและอาหารเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง
จากเดือนก่อน โดยราคาพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ในเดือน พ.ค.47 เช่น
เดียวกับราคาน้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 ในเดือน พ.ค.47 ในขณะที่
ราคาอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน พ.ค.47 สำหรับราคาบ้านเพิ่มขึ้น
เพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.3 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน พ.ค.47 โดยดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่ง
ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นน้อยสุดตั้งแต่ต้นปีที่
ผ่านมา แต่หากเทียบต่อปีแล้วดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในช่วง 1 ปีสิ้นสุดเดือน มิ.ย.47
เทียบกับร้อยละ 1.7 ในช่วง 1 ปีสิ้นสุดเดือน พ.ค.47 แสดงให้เห็นว่าดัชนีราคาผู้บริโภคมีแนวโน้มจะเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 0.2 ต่อเดือนในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ นักวิเคราะห์จึงคาดกันว่า ธ.กลาง สรอ.จะประกาศขึ้น
อัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 ในการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 10 สิงหาคม 47 ที่จะถึงนี้ หลังจากขึ้น
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ในเดือน มิ.ย.47 ที่ผ่านมา ทำให้อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี
(เอเชียน วอลล์สตรีท เจอร์นัล)
2. เศรษฐกิจจีนส่งสัญญานชะลอตัว รายงานจาก ปักกิ่ง เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 47 สำนักงานสถิติ
แห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า เศรษฐกิจของจีนไม่ร้อนแรงอีกต่อไป โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 47 เศรษฐกิจจีนเติบ
โตอย่างมีเสถียรภาพ ทั้งนี้สนง.สถิติของจีนคาดการณ์ไว้ว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวร้อยละ 9.6 จากช่วงเดียว
กันปีที่แล้ว ลดลงจากร้อยละ 9.8 ในไตรมาสที่ 1 และร้อยละ 9.9 ในไตรมาสที่ 4 ปี 46 เนื่อง
จากนโยบายและมาตรการลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีน โฆษกสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนกล่าวว่า
มาตรการลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีนได้ถูกควบคุมโดยทางการแล้ว ในขณะที่บางคนยังมีคำถามว่า
เศรษฐกิจจีนร้อนแรงเกินไปหรือไม่ โดยภาพรวมที่เด่นชัดชี้ว่าเศรษฐกิจจีนกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี อย่างไรก็
ตาม CPI ที่แสดงภาวะเงินเฟ้อของจีนในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อนทำให้คาดว่า
ธ.กลางจีนจะมีการพิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อ แม้ว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่าน
มามีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภาคอสังหาริมทรัพย์ เหล็ก และซีเมนต์ เป็นจำนวนมากทำให้จีนเริ่ม
เข้มงวดในการอนุมัติการลงทุนในภาคดังกล่าวเพื่อชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจลง ปัจจุบันการลงทุนใน
ภาคดังกล่าวก็ยังคงเพิ่มขึ้นโดยในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 29 จากช่วงเดียวกันปีก่อนโดยนักลงทุนยังลง
ทุนสูงถึงเกือบ 500 พัน ล.หยวน หรือ 60 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ทำให้เกรงกันว่า จะเป็นการลงทุนมาก
เกินไปในภาคดังกล่าว มากกว่าภาคการลงทุนในภาคอื่นๆ Andy Xie นักเศรษฐศาสตร์จากมอร์แกน
สแตนเลย์เห็นว่านโยบายลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีนเป็นทางที่ผิดเพราะเป็นเพียงการยืดเวลาภาวะ
เศรษฐกิจฟองสบู่ออกไป และเป็นการสร้างปัญหาในอนาคต เนื่องจากเป็นการสายเกินไปที่จะดำเนินนโยบาย
ดังกล่าวแล้ว แต่เห็นว่ารัฐบาลจีนควรดำเนินนโยบายนี้ตั้งแต่ปี 45 แล้ว (เอเชียน วอลล์สตรีทเจอร์นัล)
3. ทุนสำรองฯ ของเกาหลีใต้ ณ กลางเดือน ก.ค.47 อยู่ที่ระดับ 168 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 19 ก.ค.47 ธ.กลางของเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ทุนสำรอง
เงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้ในช่วงครึ่งแรกของเดือน ก.ค.47 เพิ่มขึ้น 1.15 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
จากการลงทุนเพิ่มขึ้นของการลงทุนและการอ่อนตัวของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ทำให้มูลค่าสินทรัพย์ที่เป็นเงิน
สกุลอื่น ๆ เช่น ยูโรเมื่อแปลงเป็นดอลลาร์ สรอ. แล้วมีค่าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ทุนสำรองฯ ของเกาหลีใต้ซึ่งมี
ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก อยู่ที่ระดับ 168.18 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 15 ก.ค.47 เพิ่มขึ้น
จากระดับ 167.03 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือน มิ.ย.47 และหากเทียบกับเมื่อสิ้นปี 46 ทุนสำรองฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 หรือคิดเป็นจำนวน 12.83 ดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ทุนสำรองฯ ของ
เกาหลีใต้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ นักค้าเงินหลายรายก็กำลังสงสัยว่ารัฐอาจเข้าแทรกแซงอัตราแลก
เปลี่ยนโดยการทุ่มซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. อย่างมากเพื่อทำให้เงินวอนอ่อนค่าลงอันจะทำให้สินค้าส่งออกของ
เกาหลีใต้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ซึ่งในกรณีนี้ ธ.กลางได้ปฏิเสธว่าไม่ได้มีการแทรกแซงตลาดอัตรา
แลกเปลี่ยนอย่างที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตขึ้นมา (รอยเตอร์)
4. เดือน มิ.ย.47 การส่งออกของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 (ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล) ขณะ
ที่ลดลงร้อยละ 6.9 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) รายงานจากสิงคโปร์ Dow Jones Newswires เปิดเผยว่า
จากตัวเลขของทางการ การส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของสิงคโปร์ในเดือนมิ.ย.47 สะท้อนถึงการฟื้นตัว
ทางเศรษฐกิจที่มีการส่งออกเป็นตัวนำ และส่งผลให้สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชีย โดยตัวเลขการส่งออก(ไม่รวมน้ำมัน)ก่อนปรับฤดูกาลมีจำนวน 11.1 พัน
ล.ดอลลาร์สิงคโปร์ (6.53 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 จากปีก่อน เป็นผลจากบริษัทส่งออก
เช่น Chartered Semiconductor Manufacturing Ltd. ส่งออกสินค้าประเภทชิปคอมพิวเตอร์ไปยัง
ตลาด สรอ.และตลาดอื่นๆ เพิ่มขึ้น แม้ว่าการส่งออกดิสท์ไดรฟ์ เภสัชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์จะลดลงก็ตาม ขณะที่ตัว
เลขการส่งออก(ไม่รวมน้ำมัน)หลังปรับฤดูกาลในเดือน มิ.ย.47 ลดลงร้อยละ 6.9 ซึ่งบรรดานัก
เศรษฐศาสตร์มองว่ามีสาเหตุจากการส่งออกที่แข็งแกร่งในเดือน พ.ค.47 ทำให้ในเดือน มิ.ย. การส่งออก
ชะลอตัวลงบ้าง ทั้งนี้ แนวโน้มการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ยังคงมีปัจจัยสนับสนุน จากการ
ที่สถาบันเพื่อการพัฒนาการค้าของประเทศ ได้ปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตของการส่งออกทั้งปีเป็นร้อยละ
15-17 จากประมาณการเดิมร้อยละ 8-10 ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของรัฐบาลที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ
5.5-7.5 พร้อมทั้งคาดการณ์อัตราการเติบโตของการส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปีที่ร้อยละ 12 หลังจากที่เติบ
โตร้อยละ 17.8 ในช่วงครึ่งแรกของปี (เอเชียน วอลล์สตรีท เจอร์นัล)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ก.ค. 47 16 ก.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.853 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6641/40.9543 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.09375-1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 646.11/14.06 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,700/7,800 7,650/7,750 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.48 35.83 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-