การประกาศนโยบายใหม่ของพรรคไทยรักไทยที่เรียกชื่อว่า “ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน จัดสรรงบ แก้ปัญหาของประชาชน โดยประชาชน” โดย นายกฯ ทักษิณ ในฐานะหัวหน้าพรรคในงานครบรอบ 6 ปีของการก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2547 ที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดคำถามและมีข้อกังวลสงสัยเกิดขึ้นตามมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกาศจัดสรรงบประมาณแผ่นดินลงสู่ ตำบล หมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศจำนวน 2 หมื่นล้านบาท โดยเริ่มนำร่องทันทีก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในต้นปี 2548 จากนั้นจะกระจายทั่วประเทศอีกครั้งหลังการเลือกตั้ง อย่างไรก็ดีมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ถูกวิจารณ์จากสังคมว่ามันเพียงแค่การสรรหาคำพูดหรือนำเสนอวิธีคิดที่สวยหรูตบตาประชาชนเพื่อหวังผลทางการเมือง ต้องการเอาชนะการเลือกตั้งตามเป้าหมายที่ต้องการเท่านั้นโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมาแต่อย่างใด
ไม่ใช่นโยบายเหนือเมฆ-สร้างความผิดหวังให้ประชาชน :
แม้ว่าในหลักการของนโยบายใหม่ เพื่อต้องการลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจของประชาชนก็ตาม แต่ถ้าพิจารณาให้ดีแล้วทุกอย่างมันสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง อีกทั้งไม่ใช่เป็นนโยบาย “เหนือเมฆ” หรือมีแนวทางใหม่ๆแต่อย่างใด เพราะยังย่ำอยู่กับนโยบายประชานิยมแบบเดิมๆ ที่ใช้เงินเป็นตัวตั้งในการแก้ปัญหา
ที่ผ่านมาได้สร้างปัญหาเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะกับประชาชนระดับรากหญ้า ดังเห็นจากบทเรียนความล้มเหลวของกองทุนหมู่บ้าน อันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายประชานิยมของรัฐบาลชุดนี้ เพราะจากผลการวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ที่สำรวจการเป็นภาระหนี้ของประชาชนระบุว่า ประชาชนเป็นหนี้กองทุนหมู่บ้านมากที่สุด มากกว่าการเป็นหนี้นอกระบบเสียอีก
รัฐบาลควรตระหนักว่าการแก้ปัญหาโดยใช้เงินเป็นตัวตั้งนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาในระดับรากหญ้าได้ เพราะผลจากการวิจัยดังกล่าวยังชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนอีกว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้นำเงินไปลงทุนหรือสร้างอาชีพให้มีการหมุนเวียนในท้องถิ่น แต่ในทางตรงกันข้ามกลับนำเงินไปซื้อของฟุ่มเฟือย อาทิ โทรศัพท์มือถือ รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ดังนั้นรัฐบาลควรแก้ไขปัญหาโดยให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากรในท้องถิ่นด้วยตัวเองมากกว่าการแจกจ่ายหรือเอาเงินมากระจายให้ประชาชนอย่างที่แล้วมา
ยอมรับนโยบายกระจายอำนาจของรัฐบาลล้มเหลว :
ที่ผ่านมารัฐบาลภายใต้การนำของ นายกฯ ทักษิณ มักถูกวิจารณ์ว่า มีแนวทางการบริหารแบบรวมศูนย์อำนาจจากส่วนกลาง ละเลยการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ดังจะเห็นจากแนวทางของผู้ว่าฯ ซีอีโอที่ละเลยหรือลดทอนอำนาจขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นที่ผ่านการเลือกตั้งของประชาชนอยู่ตลอดเวลา ดังแนวคิดยุบเลิกและควบรวมองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) โดยอ้างเหตุผลการไร้ประสิทธิภาพ หรือการคอร์รัปชั่น เป็นต้น
นอกจากนี้ที่ผ่านมารัฐบาลมักถูกวิจารณ์ในเรื่องการหลีกเลี่ยงการจัดสรรงบประมาณตาม พระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่ให้จัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ต่ำกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2549 มาโดยตลอด
ดังนั้นการที่พรรคไทยรักไทยประกาศนโยบายใหม่ที่เน้นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นก็ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลได้ยอมรับว่าที่ผ่านมามีการรวบอำนาจและมีความล้มเหลวเกิดขึ้นนั่นเอง ทำให้เป็นสาเหตุต้องมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวเสียใหม่
ทุ่ม 2 หมื่นล้าน“ขายตรง”สู่ตำบล-หมู่บ้านทำท้องถิ่นแตกแยก :
ในการจัดสรรเงินงบประมาณจำนวนประมาณ 2 หมื่นล้านบาทให้กับตำบล หมู่บ้านและชุมชนต่างๆ โดยแบ่งตามขนาดของหมู่บ้าน S-M-L คือ หมู่บ้านขนาดเล็ก( S) ได้ปีละ 2 แสนบาท หมู่บ้านขนาดกลาง( M)ได้ 2.5 แสนบาทและหมู่บ้านขนาดใหญ่( L)ได้ 3 แสนบาท โดยเริ่มนำร่องทันทีและหลังจากการเลือกตั้งแล้วจะเริ่มดำเนินการให้ทั่วถึงทั้งประเทศ
หากพิจารณาผิวเผิน เห็นว่า เป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการกระจายเงิน กระจายงบประมาณ และกระจายอำนาจจากส่วนกลางลงไปสู่ท้องถิ่น แต่หากมองย้อนกลับไปแล้วจะเห็นว่า ระยะเวลากว่า 3 ปีของการบริหารประเทศกลับมีพฤติกรรมที่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง
เพราะการรวบอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางเสมอแล้วยังมีพฤติกรรมที่ลดทอนอำนาจขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ตลอดเวลาดังที่มีความพยายามยุบและควบรวม อบต.หรือการหลีกเลี่ยงการจัดสรรงบประมาณให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว การที่รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้กับตำบล หมู่บ้านและชุมชนต่างๆ บริหารเงินจำนวนตั้งแต่ 2 |3 แสนบาทตามขนาดของแต่ละหมู่บ้านนั้น ยังถือเป็นการสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นอีกด้วย
การจัดสรรงบประมาณผ่านหมู่บ้านหรือชุมชนย่อมเป็นการแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ต้องการให้ประชาชนขึ้นตรงต่อรัฐผ่านทางตัวแทนของรัฐบาล โดยไม่สนใจต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านการเลือกตั้ง ดังนั้นหากพรรคไทยรักไทยต้องการเสริมอำนาจของประชาชนอย่างแท้จริง ก็ควรเร่งกระจายงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น แล้วให้หน่วยงานอิสระดำเนินการเป็นผู้ตรวจสอบการใช้เงิน
กระจายเงินตรงสู่หมู่บ้านแค่แผนซื้อเสียงล่วงหน้า :
การประกาศทุ่มเงินลงสู่หมู่บ้านหรือชุมชนต่างๆและให้สัญญาดำเนินการอย่างต่อเนื่องทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้งนั้น สิ่งเหล่านี้ถือว่าไม่ได้แตกต่างไปจากการประกาศให้เงินแก่ประชาชนในช่วงก่อนการเลือกตั้ง เพียงแต่เงินที่สัญญาว่าจะให้นั้นเป็นเงินงบประมาณของรัฐบาล อย่างไรก็ดีมีเป้าหมายเดียวกันก็คือเพื่อหวังผลชัยชนะในการเลือกตั้งนั่นเอง
ขณะเดียวกันหากพิจารณาแนวนโยบายของพรรคไทยรักไทยนับตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งที่แล้ว จนกระทั่งถึงแนวนโยบายใหม่ที่เพิ่งประกาศออกไปก็จะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าเป็นเพียงแค่การแจกเงินโดยตรงถึงมือทุกท้องถิ่นทั่วประเทศ ทำทุกอย่างเพียงเพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงผลเสียหรือผลกระทบที่ตามมา เช่น เรื่องของวินัยทางการเงินการคลังที่อาจมีปัญหาตามมาในอนาคต เพราะที่ผ่านมาเริ่มเห็นแล้วว่า นโยบายประชานิยมต่างๆ ของพรรคไทยรักไทยหลายโครงการได้ส่งผลกระทบมากมายและสร้างหนี้สินให้กับประชาชนในระดับรากหญ้ามากขึ้นเรื่อยๆ
นักวิชาการรวมทั้งกลุ่มองค์กรเอกชนที่ติดตามศึกษาผลกระทบเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่นและทำงานใกล้ชิดกับปัญหาท้องถิ่นหลายคน เช่น นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม กรรมการสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สป.) แสดงความเป็นห่วงว่า ถ้ารัฐบาลมัวแต่เอาเงินให้ประชาชน เอาใจชาวบ้านอย่างเดียว โดยไม่มองถึงมิติอื่นในชุมชนก็ทำให้เกิดปัญหาตามมา ขณะที่บางคนเห็นว่าการสัญญาว่า จะให้เงินของพรรคไทยรักไทยในครั้งนี้อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้งอีกด้วย
สรุป :
หากพิจารณานโยบายใหม่ของพรรคไทยรักไทยที่เพิ่งประกาศออกไปนั้น นอกจากไม่ใช่นโยบายเหนือเมฆที่สามารถแก้ไขความยากจนของประชาชนอย่างยั่งยืนแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามนอกจากสร้างความผิดหวังแล้ว ยังเป็นการซื้อเสียงล่วงหน้า เป็นการทำลายระบบการเมืองอีกด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19 ก.ค. 2547--จบ--
-ดท-
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกาศจัดสรรงบประมาณแผ่นดินลงสู่ ตำบล หมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศจำนวน 2 หมื่นล้านบาท โดยเริ่มนำร่องทันทีก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในต้นปี 2548 จากนั้นจะกระจายทั่วประเทศอีกครั้งหลังการเลือกตั้ง อย่างไรก็ดีมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ถูกวิจารณ์จากสังคมว่ามันเพียงแค่การสรรหาคำพูดหรือนำเสนอวิธีคิดที่สวยหรูตบตาประชาชนเพื่อหวังผลทางการเมือง ต้องการเอาชนะการเลือกตั้งตามเป้าหมายที่ต้องการเท่านั้นโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมาแต่อย่างใด
ไม่ใช่นโยบายเหนือเมฆ-สร้างความผิดหวังให้ประชาชน :
แม้ว่าในหลักการของนโยบายใหม่ เพื่อต้องการลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจของประชาชนก็ตาม แต่ถ้าพิจารณาให้ดีแล้วทุกอย่างมันสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง อีกทั้งไม่ใช่เป็นนโยบาย “เหนือเมฆ” หรือมีแนวทางใหม่ๆแต่อย่างใด เพราะยังย่ำอยู่กับนโยบายประชานิยมแบบเดิมๆ ที่ใช้เงินเป็นตัวตั้งในการแก้ปัญหา
ที่ผ่านมาได้สร้างปัญหาเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะกับประชาชนระดับรากหญ้า ดังเห็นจากบทเรียนความล้มเหลวของกองทุนหมู่บ้าน อันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายประชานิยมของรัฐบาลชุดนี้ เพราะจากผลการวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ที่สำรวจการเป็นภาระหนี้ของประชาชนระบุว่า ประชาชนเป็นหนี้กองทุนหมู่บ้านมากที่สุด มากกว่าการเป็นหนี้นอกระบบเสียอีก
รัฐบาลควรตระหนักว่าการแก้ปัญหาโดยใช้เงินเป็นตัวตั้งนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาในระดับรากหญ้าได้ เพราะผลจากการวิจัยดังกล่าวยังชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนอีกว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้นำเงินไปลงทุนหรือสร้างอาชีพให้มีการหมุนเวียนในท้องถิ่น แต่ในทางตรงกันข้ามกลับนำเงินไปซื้อของฟุ่มเฟือย อาทิ โทรศัพท์มือถือ รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ดังนั้นรัฐบาลควรแก้ไขปัญหาโดยให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากรในท้องถิ่นด้วยตัวเองมากกว่าการแจกจ่ายหรือเอาเงินมากระจายให้ประชาชนอย่างที่แล้วมา
ยอมรับนโยบายกระจายอำนาจของรัฐบาลล้มเหลว :
ที่ผ่านมารัฐบาลภายใต้การนำของ นายกฯ ทักษิณ มักถูกวิจารณ์ว่า มีแนวทางการบริหารแบบรวมศูนย์อำนาจจากส่วนกลาง ละเลยการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ดังจะเห็นจากแนวทางของผู้ว่าฯ ซีอีโอที่ละเลยหรือลดทอนอำนาจขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นที่ผ่านการเลือกตั้งของประชาชนอยู่ตลอดเวลา ดังแนวคิดยุบเลิกและควบรวมองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) โดยอ้างเหตุผลการไร้ประสิทธิภาพ หรือการคอร์รัปชั่น เป็นต้น
นอกจากนี้ที่ผ่านมารัฐบาลมักถูกวิจารณ์ในเรื่องการหลีกเลี่ยงการจัดสรรงบประมาณตาม พระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่ให้จัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ต่ำกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2549 มาโดยตลอด
ดังนั้นการที่พรรคไทยรักไทยประกาศนโยบายใหม่ที่เน้นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นก็ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลได้ยอมรับว่าที่ผ่านมามีการรวบอำนาจและมีความล้มเหลวเกิดขึ้นนั่นเอง ทำให้เป็นสาเหตุต้องมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวเสียใหม่
ทุ่ม 2 หมื่นล้าน“ขายตรง”สู่ตำบล-หมู่บ้านทำท้องถิ่นแตกแยก :
ในการจัดสรรเงินงบประมาณจำนวนประมาณ 2 หมื่นล้านบาทให้กับตำบล หมู่บ้านและชุมชนต่างๆ โดยแบ่งตามขนาดของหมู่บ้าน S-M-L คือ หมู่บ้านขนาดเล็ก( S) ได้ปีละ 2 แสนบาท หมู่บ้านขนาดกลาง( M)ได้ 2.5 แสนบาทและหมู่บ้านขนาดใหญ่( L)ได้ 3 แสนบาท โดยเริ่มนำร่องทันทีและหลังจากการเลือกตั้งแล้วจะเริ่มดำเนินการให้ทั่วถึงทั้งประเทศ
หากพิจารณาผิวเผิน เห็นว่า เป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการกระจายเงิน กระจายงบประมาณ และกระจายอำนาจจากส่วนกลางลงไปสู่ท้องถิ่น แต่หากมองย้อนกลับไปแล้วจะเห็นว่า ระยะเวลากว่า 3 ปีของการบริหารประเทศกลับมีพฤติกรรมที่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง
เพราะการรวบอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางเสมอแล้วยังมีพฤติกรรมที่ลดทอนอำนาจขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ตลอดเวลาดังที่มีความพยายามยุบและควบรวม อบต.หรือการหลีกเลี่ยงการจัดสรรงบประมาณให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว การที่รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้กับตำบล หมู่บ้านและชุมชนต่างๆ บริหารเงินจำนวนตั้งแต่ 2 |3 แสนบาทตามขนาดของแต่ละหมู่บ้านนั้น ยังถือเป็นการสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นอีกด้วย
การจัดสรรงบประมาณผ่านหมู่บ้านหรือชุมชนย่อมเป็นการแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ต้องการให้ประชาชนขึ้นตรงต่อรัฐผ่านทางตัวแทนของรัฐบาล โดยไม่สนใจต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านการเลือกตั้ง ดังนั้นหากพรรคไทยรักไทยต้องการเสริมอำนาจของประชาชนอย่างแท้จริง ก็ควรเร่งกระจายงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น แล้วให้หน่วยงานอิสระดำเนินการเป็นผู้ตรวจสอบการใช้เงิน
กระจายเงินตรงสู่หมู่บ้านแค่แผนซื้อเสียงล่วงหน้า :
การประกาศทุ่มเงินลงสู่หมู่บ้านหรือชุมชนต่างๆและให้สัญญาดำเนินการอย่างต่อเนื่องทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้งนั้น สิ่งเหล่านี้ถือว่าไม่ได้แตกต่างไปจากการประกาศให้เงินแก่ประชาชนในช่วงก่อนการเลือกตั้ง เพียงแต่เงินที่สัญญาว่าจะให้นั้นเป็นเงินงบประมาณของรัฐบาล อย่างไรก็ดีมีเป้าหมายเดียวกันก็คือเพื่อหวังผลชัยชนะในการเลือกตั้งนั่นเอง
ขณะเดียวกันหากพิจารณาแนวนโยบายของพรรคไทยรักไทยนับตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งที่แล้ว จนกระทั่งถึงแนวนโยบายใหม่ที่เพิ่งประกาศออกไปก็จะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าเป็นเพียงแค่การแจกเงินโดยตรงถึงมือทุกท้องถิ่นทั่วประเทศ ทำทุกอย่างเพียงเพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงผลเสียหรือผลกระทบที่ตามมา เช่น เรื่องของวินัยทางการเงินการคลังที่อาจมีปัญหาตามมาในอนาคต เพราะที่ผ่านมาเริ่มเห็นแล้วว่า นโยบายประชานิยมต่างๆ ของพรรคไทยรักไทยหลายโครงการได้ส่งผลกระทบมากมายและสร้างหนี้สินให้กับประชาชนในระดับรากหญ้ามากขึ้นเรื่อยๆ
นักวิชาการรวมทั้งกลุ่มองค์กรเอกชนที่ติดตามศึกษาผลกระทบเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่นและทำงานใกล้ชิดกับปัญหาท้องถิ่นหลายคน เช่น นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม กรรมการสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สป.) แสดงความเป็นห่วงว่า ถ้ารัฐบาลมัวแต่เอาเงินให้ประชาชน เอาใจชาวบ้านอย่างเดียว โดยไม่มองถึงมิติอื่นในชุมชนก็ทำให้เกิดปัญหาตามมา ขณะที่บางคนเห็นว่าการสัญญาว่า จะให้เงินของพรรคไทยรักไทยในครั้งนี้อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้งอีกด้วย
สรุป :
หากพิจารณานโยบายใหม่ของพรรคไทยรักไทยที่เพิ่งประกาศออกไปนั้น นอกจากไม่ใช่นโยบายเหนือเมฆที่สามารถแก้ไขความยากจนของประชาชนอย่างยั่งยืนแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามนอกจากสร้างความผิดหวังแล้ว ยังเป็นการซื้อเสียงล่วงหน้า เป็นการทำลายระบบการเมืองอีกด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19 ก.ค. 2547--จบ--
-ดท-