มณฑลเจียงซู (Jiangsu Province) ตั้งอยู่ทางตอนกลางของภาคตะวันออกของจีน มีพื้นที่ประมาณ 102,000 ตารางกิโลเมตร ทิศเหนือติดกับมณฑลชานตง ทิศใต้ติดกับมณฑลเจ้อเจียง ทิศตะวันออกติดกับเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ และทิศตะวันตกติดกับมณฑลอานฮุย เมืองหลวงของเจียงซู คือ เมืองหนานจิง (Nanjing) หรือนานกิง มีประชากรราว 74.4 ล้านคน ในช่วงที่ผ่านมาจีนมีนโยบายมุ่งพัฒนามณฑลที่อยู่ตามชายฝั่งภาคตะวันออกของประเทศให้เติบโต ทำให้เจียงซูมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว โดยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมหนักและอุต-สาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญของจีน ซึ่งในปี 2546 เจียงซูเป็นมณฑลที่นักลงทุนต่างชาตินิยมเข้าไปลงทุนมากเป็นอันดับหนึ่งในจีน
ปัจจัยสำคัญที่เกื้อหนุนให้เจียงซูสามารถดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ ได้แก่
1. ทำเลที่ตั้งเหมาะสม เจียงซูตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฉางเจียง (หรือแยงซีเกียง) โดยเมื่อปี 2528 รัฐบาลจีนได้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจปากแม่น้ำฉางเจียงหรือฉางซันเจียง (Yangtze River Delta: ครอบคลุมพื้นที่ในมณฑลเจียงซู เซี่ยงไฮ้ และมณฑลเจ้อเจียง) เพื่อพัฒนาให้บริเวณนี้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภาคตะวันออก นอกจากนี้ การที่เจียงซูมีชายฝั่งทะเลยาวกว่า 1,000 กิโลเมตร ทำให้มีท่าเรือน้ำลึกที่สำคัญหลายแห่ง โดยมีเส้นทางเดินเรือที่เชื่อมโดยตรงกับญี่ปุ่น ยุโรป และออสเตรเลีย ทำให้เจียงซูเป็นฐานการขนส่งและศูนย์กระจายสินค้าที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจีน
2. ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ เจียงซูมีแหล่งพลังงานที่สำคัญมากมาย อาทิ น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน อีกทั้งยังมีแหล่งแร่นานาชนิดกว่า 100 ชนิด อาทิ แร่โลหะ (สังกะสี เงิน ทองคำ ทองแดง และแมงกานีส) และแร่อโลหะ (ซัลเฟอร์ ฟอสฟอรัส คริสตัล และเพชร) ฯลฯ ทำให้มีอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทเข้าไปลงทุนเพื่อผลิตสินค้าในมณฑลแห่งนี้ เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน แผงวงจรไฟฟ้า รวมไปถึงการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์การสื่อสาร การผลิตปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และธุรกิจบริการด้านการขนส่ง ฯลฯ
3. ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่ครบครัน ในช่วงที่ผ่านมาจีนมีนโยบายมุ่งพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของเจียงซูอย่างต่อเนื่อง อาทิ การสร้างเครือข่ายการคมนาคมทั้งทางรถยนต์ เรือ เครื่องบิน และรถไฟ รวมถึงระบบสื่อสารและโทรคมนาคมให้ทันสมัย ทำให้ปัจจุบันเจียงซูเป็นเมืองท่าสำคัญอันดับ 1 ของจีน โดยมีท่าเรือนานาชาติมากถึง 11 ท่า ซึ่งแต่ละท่าสามารถให้บริการขนถ่ายสินค้าจากเรือที่มีระวางมากกว่า 10,000 ตัน และสามารถขนส่งสินค้าได้ถึง 425 ล้านตันต่อปี โดยท่าเรือ Nanjing Port เป็นท่าเรือภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจีน สามารถขนถ่ายและกระจายสินค้าไปยังมณฑลต่างๆ ในจีนได้มากกว่า 60 ล้านตันต่อปีนอกจากนี้ ยังมีทางหลวงและเส้นทางรถไฟครอบคลุมพื้นที่ทั่วมณฑล อีกทั้งยังมีเส้นทางเชื่อมโยงกับมณฑลอื่นๆ ได้ด้วย ซึ่งในปัจจุบันเจียงซูเป็นมณฑลที่มีเครือข่ายของระบบโทรคมนาคมที่ทันสมัยมากเป็นอันดับ 2 ของจีนรองจากมหานครเซี่ยงไฮ้
4. สิทธิพิเศษประโยชน์ทางด้านภาษี อาทิ
โครงการลงทุนจากต่างชาติที่มีระยะเวลามากกว่า 15 ปีขึ้นไป จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในช่วง 5 ปีแรกที่มีกำไร และจะได้รับลดหย่อนภาษีจาก 33% เหลือ 16.5% (ลดลง 50%) ใน 5 ปีถัดไป โครงการลงทุนต่างชาติที่เข้าไปตั้งในเขตเศรษฐกิจพิเศษในเจียงซู อาทิ เขต Economic and Technological Development Zone ในเมืองหนันทง (Nantong) เมืองซูโจว (Suzhou) และเขต Wujin High-tech Industrial Development Zone ในเมืองฉางโจว (Changzhou) ของมณฑลเจียงซู จะได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 33% เหลือ 15% หากเป็นการเข้าไปลงทุนในเขต Coastal Economic Open Zone ในเมืองเหยียนเฉิง (Yancheng) จะได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 33% เหลือ 24% โครงการลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต จะได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 33% เหลือ 15% และหากนักลงทุนต่างชาตินำผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจในเจียงซูกลับมาลงทุนต่อในช่วงเวลาที่ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี จะได้รับคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลทั้งหมดของผลกำไรที่นำกลับมาลงทุน
อย่างไรก็ตาม หากเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมอื่นที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต นักลงทุนต่างชาติที่นำผลกำไรกลับมาลงทุนต่อในช่วงเวลาที่ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี จะได้รับคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียง 40% ของผลกำไรที่นำกลับมาลงทุนเท่านั้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2547--
-พห-
ปัจจัยสำคัญที่เกื้อหนุนให้เจียงซูสามารถดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ ได้แก่
1. ทำเลที่ตั้งเหมาะสม เจียงซูตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฉางเจียง (หรือแยงซีเกียง) โดยเมื่อปี 2528 รัฐบาลจีนได้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจปากแม่น้ำฉางเจียงหรือฉางซันเจียง (Yangtze River Delta: ครอบคลุมพื้นที่ในมณฑลเจียงซู เซี่ยงไฮ้ และมณฑลเจ้อเจียง) เพื่อพัฒนาให้บริเวณนี้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภาคตะวันออก นอกจากนี้ การที่เจียงซูมีชายฝั่งทะเลยาวกว่า 1,000 กิโลเมตร ทำให้มีท่าเรือน้ำลึกที่สำคัญหลายแห่ง โดยมีเส้นทางเดินเรือที่เชื่อมโดยตรงกับญี่ปุ่น ยุโรป และออสเตรเลีย ทำให้เจียงซูเป็นฐานการขนส่งและศูนย์กระจายสินค้าที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจีน
2. ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ เจียงซูมีแหล่งพลังงานที่สำคัญมากมาย อาทิ น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน อีกทั้งยังมีแหล่งแร่นานาชนิดกว่า 100 ชนิด อาทิ แร่โลหะ (สังกะสี เงิน ทองคำ ทองแดง และแมงกานีส) และแร่อโลหะ (ซัลเฟอร์ ฟอสฟอรัส คริสตัล และเพชร) ฯลฯ ทำให้มีอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทเข้าไปลงทุนเพื่อผลิตสินค้าในมณฑลแห่งนี้ เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน แผงวงจรไฟฟ้า รวมไปถึงการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์การสื่อสาร การผลิตปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และธุรกิจบริการด้านการขนส่ง ฯลฯ
3. ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่ครบครัน ในช่วงที่ผ่านมาจีนมีนโยบายมุ่งพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของเจียงซูอย่างต่อเนื่อง อาทิ การสร้างเครือข่ายการคมนาคมทั้งทางรถยนต์ เรือ เครื่องบิน และรถไฟ รวมถึงระบบสื่อสารและโทรคมนาคมให้ทันสมัย ทำให้ปัจจุบันเจียงซูเป็นเมืองท่าสำคัญอันดับ 1 ของจีน โดยมีท่าเรือนานาชาติมากถึง 11 ท่า ซึ่งแต่ละท่าสามารถให้บริการขนถ่ายสินค้าจากเรือที่มีระวางมากกว่า 10,000 ตัน และสามารถขนส่งสินค้าได้ถึง 425 ล้านตันต่อปี โดยท่าเรือ Nanjing Port เป็นท่าเรือภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจีน สามารถขนถ่ายและกระจายสินค้าไปยังมณฑลต่างๆ ในจีนได้มากกว่า 60 ล้านตันต่อปีนอกจากนี้ ยังมีทางหลวงและเส้นทางรถไฟครอบคลุมพื้นที่ทั่วมณฑล อีกทั้งยังมีเส้นทางเชื่อมโยงกับมณฑลอื่นๆ ได้ด้วย ซึ่งในปัจจุบันเจียงซูเป็นมณฑลที่มีเครือข่ายของระบบโทรคมนาคมที่ทันสมัยมากเป็นอันดับ 2 ของจีนรองจากมหานครเซี่ยงไฮ้
4. สิทธิพิเศษประโยชน์ทางด้านภาษี อาทิ
โครงการลงทุนจากต่างชาติที่มีระยะเวลามากกว่า 15 ปีขึ้นไป จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในช่วง 5 ปีแรกที่มีกำไร และจะได้รับลดหย่อนภาษีจาก 33% เหลือ 16.5% (ลดลง 50%) ใน 5 ปีถัดไป โครงการลงทุนต่างชาติที่เข้าไปตั้งในเขตเศรษฐกิจพิเศษในเจียงซู อาทิ เขต Economic and Technological Development Zone ในเมืองหนันทง (Nantong) เมืองซูโจว (Suzhou) และเขต Wujin High-tech Industrial Development Zone ในเมืองฉางโจว (Changzhou) ของมณฑลเจียงซู จะได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 33% เหลือ 15% หากเป็นการเข้าไปลงทุนในเขต Coastal Economic Open Zone ในเมืองเหยียนเฉิง (Yancheng) จะได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 33% เหลือ 24% โครงการลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต จะได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 33% เหลือ 15% และหากนักลงทุนต่างชาตินำผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจในเจียงซูกลับมาลงทุนต่อในช่วงเวลาที่ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี จะได้รับคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลทั้งหมดของผลกำไรที่นำกลับมาลงทุน
อย่างไรก็ตาม หากเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมอื่นที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต นักลงทุนต่างชาติที่นำผลกำไรกลับมาลงทุนต่อในช่วงเวลาที่ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี จะได้รับคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียง 40% ของผลกำไรที่นำกลับมาลงทุนเท่านั้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2547--
-พห-