‘หน.ปชป.’ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชี้การนำบริษัทการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เข้าตลาดเพื่อกระจายหุ้น มีความเสี่ยงเชิงนโยบายในอนาคต พร้อมแนะ ‘รัฐบาล’ วันนี้ศาลปกครองมีคำสั่งระงับกระบวนการไว้ ถือเป็นโอกาสดีที่รัฐบาลจะได้ทบทวนกระบวนการทั้งหมด ก่อนเดินหน้าต่อ
วันนี้(16 พ.ย.48) เวลา 09.00 น.ที่อาคารรัฐสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในรายการ “ผู้นำฝ่ายค้านคุยกับประชาชน” ถึงความเคลื่อนไหวการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ซึ่งมีข้อสรุป ณ. วันนี้ว่าศาลปกครองได้มีคำวินิจฉัยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระงับการกระจายหุ้นไว้ก่อน ว่าในช่วงที่ผ่านพรรคฝ่ายค้านมีความเป็นห่วงใย ต่อความพยายามของรัฐบาลที่จะเดินหน้าเร่งรัดการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในรูปแบบของการโอนอำนาจต่างๆ ในลักษณะผูกขาดของรัฐวิสาหกิจไปอยู่ในมือของบริษัท (เอกชน) ซึ่งจะมีเอกชนเข้ามาถือหุ้นด้วย ดังนั้นในจันทร์ (14 พ.ย.48) คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิป.) จึงได้จัดเวทีสาธารณะ โดยเชิญตัวแทนภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ นักวิชาการและองค์กรเอกชนมาร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อหาทางแนวทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาดังกล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า โดยธรรมชาติของกิจการสาธารณหลายอย่าง เช่น การไฟฟ้า จะปล่อยให้มีการแข่งขันในทุกขั้นตอนของการจัดบริการไฟฟ้าคงเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นอย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นที่ต้องมีทั้งองค์กรภาครัฐ ที่เป็นองค์กรอิสระ คอยกำกับดูแล มีอำนาจตามกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวม
“ประชาชนอาจจะยังมีความสับสนว่าเรื่องการแปรรูปว่าดีหรือไม่ดี ผมขอย้ำอีกครั้งว่าจุดยืนของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เรามีจุดยืนว่าการแปรรูปเป็นประโยชน์ได้ แต่ต้องแปรให้ถูกวิธี ถูกขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์ที่จะได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต้องเป็นไปเพื่อการบริการสาธารณ และต้องมีประสิทธิภาพ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวต่อว่า หลักการในเรื่องนี้ไม่ได้มีความซับซ้อน ส่วนความรู้สึกที่บอกว่าภาครัฐไม่มีประสิทธิภาพเท่าภาคเอกชนนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากภาครัฐไม่มีการแข่งขัน แต่ต้องเข้าใจว่าการที่ภาคเอกชนมีการแข่งขันก็เพื่อความอยู่รอด และกำไร แต่มองในด้านตรรกะเรื่องของการนำองค์กรต่างๆเข้าสู่ภาคเอกชน
เพื่อจะทำให้เกิดประสิทธิภาพโดยอัตโนมัตินั้น ตนมองว่าคงเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะกิจการไฟฟ้า มีหลายขั้นตอนไม่มีการแข่งขันแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น เขื่อน ซึ่งผลิตไฟฟ้าโดยทรัพยากรธรรมชาติ โดยไม่มีต้นใด และอีกกรณีหนึ่งคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นองค์กรเดียวที่เป็นเจ้าของระบบสายส่งทั่วประเทศ สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้ธรรมชาติของการผูกขาด และการผูกขาดตรงนี้ เป็นการผูกขาดโดยใช้อำนาจรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเวนคืนที่ดิน ตลอดทั้งการรอนสิทธิ์ของประชาชน เพื่อนำมาจัดเป็นบริการสาธารณะ
“เพราะฉะนั้นการที่รัฐบาลเร่งเดินหน้าแปรรูปสภาพการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมาเป็นบริษัท โดยไม่ได้มีการแยกทรัพย์สินเหล่านี้ออกมา ยกเว้นกรณีเขื่อนที่รัฐบาลให้เป็นของกรมธนารักษ์และให้บริษัทเช่ามา แต่ไม่ได้เปิดเผยถึงเงื่อนไขในการเช่า นอกเหนือจากนี้แล้วถือว่ายกทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในองค์กรที่จะเป็นบริษัท ซึ่งก็เป็นเหมือนผู้ผูกขาดทั้งในการซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายอื่นๆ ในภาคเอกชน และการขายไฟฟ้าให้ประชาชน เพราะประชาชนไม่มีทางเลือกใด ที่จะทำได้ในกรณีที่เห็นว่าไฟฟ้าบริการไม่ดี ก็ไม่มีช่องทางอื่นให้ประชาชนเลือกได้
ดังนั้นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์เตือนมาตลอดคือถ้าจะมีการปรับปรุงประสิทธิภาพรัฐวิสาหกิจ สิ่งแรกที่ควรต้องทำคือต้องแยกให้ออกว่าส่วนใดเป็นเรื่องผูกขาด และส่วนใดที่สามารถแข่งขันได้ ส่วนใดที่ผูกขาดคงจำเป็นต้องเก็บไว้ในภาครัฐ แต่ส่วนที่สามารถแข่งขันได้ก็อาจเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาแข่งขันได้ ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง” ผู้นำฝ่ายค้านกล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวย้ำว่า ซึ่งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์จะเลือกทางเดินนี้ โดยเริ่มจากการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าทั้งหมดก่อน หลังจากนั้นเป็นขั้นตอนที่ต้องตรากฎหมายขึ้นมาว่า การประกอบกิจการไฟฟ้านั้นจะต้องมีกติกาในการประกอบกิจการอย่างไร เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าประชาชนผู้ใช้ไฟว่าจะไม่เดือนร้อน และไม่กระทบกับความมั่นคง ที่สำคัญต้องให้เกิดความมั่นใจในหลักการการบริการพื้นฐาน เช่นบริการต่างๆ เหล่านี้ต้องขยายไปให้ทั่วถึง ทุกพื้นที่ แม้การขยายจะขาดทุนก็ตาม โดยต้องให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ ได้ใช้ไฟฟ้าในอัตราค่าไฟฟ้าเดียวกัน เจากนั้นจึงเป็นขั้นตอนการแยกในเรื่องธุรกิจต่างๆ แต่รัฐบาลชุดปัจจุบันไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนนี้ ทั้งที่รัฐบาลในสมัยนายกฯชวน หลีกภัย ได้อนุมัติในหลักการกฎหมายในเรื่องการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า ไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2543 แต่ไม่มีการดำเนินการต่อแต่อย่างใด
“จนวันนี้ก็ยังไม่มีการเสนอกฎหมายที่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับกิจการไฟฟ้ามาให้กระบวนการรัฐสภาพิจารณาแต่อย่างใด แต่กลับเร่งรัดเดินหน้าในการนำทรัพย์สินทั้งหมดไปจดทะเบียนเป็นของบริษัท และจะมีการกระจายหุ้น ซึ่งการกระจายหุ้นนี้ส่วนหนึ่งมีการกันไว้ให้สำหรับการซื้อหุ้นผ่านธนาคารของต่างประเทศด้วย ซึ่งตรงนี้ก็ยังเป็น ข้อสงสัยว่าในพนักงาน และประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งอยากเป็นเจ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ในการจองซื้อหุ้น มากกว่าที่จะจัดสรรหุ้นได้ แต่กลับมีการกันส่วนนี้ไว้ ซึ่งตรงนี้ก็ถือว่าเป็นช่องว่างให้นายทุนขนาดใหญ่ใช้กลไกลของธนาคารต่างชาติเข้ามาซื้อหุ้นตรงนี้ และที่สำคัญหากมีการแปรรูปในลักษณะนี้บริษัทซึ่งเข้าไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ต้องคำนึงถึงเรื่องกำไรแทนการเน้นการบริการประชาชน.” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า วันนี้เมื่อศาลปกครองได้มีคำสั่งระงับกระบวนการไว้ก่อนตนมองว่าถือเป็นโอกาสดีที่รัฐบาลจะได้ทบทวนกระบวนการทั้งหมด เพราะหากเดินหน้าตามเดิมตนเชื่อว่าปัญหาก็ไม่จบ และความรุนแรงก็ยังจะเกิดขึ้น และรัฐบาลต่อไปที่จะเข้ามาบริหารประเทศก็ต้องรับภาระแก้ปัญหาเรื่องนี้ด้วย เพราะว่าอะไรก็ตามที่เป็นเรื่องผูกขาดถือว่าขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 87
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 พ.ย.2548--จบ--
วันนี้(16 พ.ย.48) เวลา 09.00 น.ที่อาคารรัฐสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในรายการ “ผู้นำฝ่ายค้านคุยกับประชาชน” ถึงความเคลื่อนไหวการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ซึ่งมีข้อสรุป ณ. วันนี้ว่าศาลปกครองได้มีคำวินิจฉัยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระงับการกระจายหุ้นไว้ก่อน ว่าในช่วงที่ผ่านพรรคฝ่ายค้านมีความเป็นห่วงใย ต่อความพยายามของรัฐบาลที่จะเดินหน้าเร่งรัดการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในรูปแบบของการโอนอำนาจต่างๆ ในลักษณะผูกขาดของรัฐวิสาหกิจไปอยู่ในมือของบริษัท (เอกชน) ซึ่งจะมีเอกชนเข้ามาถือหุ้นด้วย ดังนั้นในจันทร์ (14 พ.ย.48) คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิป.) จึงได้จัดเวทีสาธารณะ โดยเชิญตัวแทนภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ นักวิชาการและองค์กรเอกชนมาร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อหาทางแนวทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาดังกล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า โดยธรรมชาติของกิจการสาธารณหลายอย่าง เช่น การไฟฟ้า จะปล่อยให้มีการแข่งขันในทุกขั้นตอนของการจัดบริการไฟฟ้าคงเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นอย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นที่ต้องมีทั้งองค์กรภาครัฐ ที่เป็นองค์กรอิสระ คอยกำกับดูแล มีอำนาจตามกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวม
“ประชาชนอาจจะยังมีความสับสนว่าเรื่องการแปรรูปว่าดีหรือไม่ดี ผมขอย้ำอีกครั้งว่าจุดยืนของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เรามีจุดยืนว่าการแปรรูปเป็นประโยชน์ได้ แต่ต้องแปรให้ถูกวิธี ถูกขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์ที่จะได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต้องเป็นไปเพื่อการบริการสาธารณ และต้องมีประสิทธิภาพ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวต่อว่า หลักการในเรื่องนี้ไม่ได้มีความซับซ้อน ส่วนความรู้สึกที่บอกว่าภาครัฐไม่มีประสิทธิภาพเท่าภาคเอกชนนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากภาครัฐไม่มีการแข่งขัน แต่ต้องเข้าใจว่าการที่ภาคเอกชนมีการแข่งขันก็เพื่อความอยู่รอด และกำไร แต่มองในด้านตรรกะเรื่องของการนำองค์กรต่างๆเข้าสู่ภาคเอกชน
เพื่อจะทำให้เกิดประสิทธิภาพโดยอัตโนมัตินั้น ตนมองว่าคงเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะกิจการไฟฟ้า มีหลายขั้นตอนไม่มีการแข่งขันแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น เขื่อน ซึ่งผลิตไฟฟ้าโดยทรัพยากรธรรมชาติ โดยไม่มีต้นใด และอีกกรณีหนึ่งคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นองค์กรเดียวที่เป็นเจ้าของระบบสายส่งทั่วประเทศ สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้ธรรมชาติของการผูกขาด และการผูกขาดตรงนี้ เป็นการผูกขาดโดยใช้อำนาจรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเวนคืนที่ดิน ตลอดทั้งการรอนสิทธิ์ของประชาชน เพื่อนำมาจัดเป็นบริการสาธารณะ
“เพราะฉะนั้นการที่รัฐบาลเร่งเดินหน้าแปรรูปสภาพการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมาเป็นบริษัท โดยไม่ได้มีการแยกทรัพย์สินเหล่านี้ออกมา ยกเว้นกรณีเขื่อนที่รัฐบาลให้เป็นของกรมธนารักษ์และให้บริษัทเช่ามา แต่ไม่ได้เปิดเผยถึงเงื่อนไขในการเช่า นอกเหนือจากนี้แล้วถือว่ายกทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในองค์กรที่จะเป็นบริษัท ซึ่งก็เป็นเหมือนผู้ผูกขาดทั้งในการซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายอื่นๆ ในภาคเอกชน และการขายไฟฟ้าให้ประชาชน เพราะประชาชนไม่มีทางเลือกใด ที่จะทำได้ในกรณีที่เห็นว่าไฟฟ้าบริการไม่ดี ก็ไม่มีช่องทางอื่นให้ประชาชนเลือกได้
ดังนั้นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์เตือนมาตลอดคือถ้าจะมีการปรับปรุงประสิทธิภาพรัฐวิสาหกิจ สิ่งแรกที่ควรต้องทำคือต้องแยกให้ออกว่าส่วนใดเป็นเรื่องผูกขาด และส่วนใดที่สามารถแข่งขันได้ ส่วนใดที่ผูกขาดคงจำเป็นต้องเก็บไว้ในภาครัฐ แต่ส่วนที่สามารถแข่งขันได้ก็อาจเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาแข่งขันได้ ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง” ผู้นำฝ่ายค้านกล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวย้ำว่า ซึ่งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์จะเลือกทางเดินนี้ โดยเริ่มจากการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าทั้งหมดก่อน หลังจากนั้นเป็นขั้นตอนที่ต้องตรากฎหมายขึ้นมาว่า การประกอบกิจการไฟฟ้านั้นจะต้องมีกติกาในการประกอบกิจการอย่างไร เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าประชาชนผู้ใช้ไฟว่าจะไม่เดือนร้อน และไม่กระทบกับความมั่นคง ที่สำคัญต้องให้เกิดความมั่นใจในหลักการการบริการพื้นฐาน เช่นบริการต่างๆ เหล่านี้ต้องขยายไปให้ทั่วถึง ทุกพื้นที่ แม้การขยายจะขาดทุนก็ตาม โดยต้องให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ ได้ใช้ไฟฟ้าในอัตราค่าไฟฟ้าเดียวกัน เจากนั้นจึงเป็นขั้นตอนการแยกในเรื่องธุรกิจต่างๆ แต่รัฐบาลชุดปัจจุบันไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนนี้ ทั้งที่รัฐบาลในสมัยนายกฯชวน หลีกภัย ได้อนุมัติในหลักการกฎหมายในเรื่องการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า ไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2543 แต่ไม่มีการดำเนินการต่อแต่อย่างใด
“จนวันนี้ก็ยังไม่มีการเสนอกฎหมายที่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับกิจการไฟฟ้ามาให้กระบวนการรัฐสภาพิจารณาแต่อย่างใด แต่กลับเร่งรัดเดินหน้าในการนำทรัพย์สินทั้งหมดไปจดทะเบียนเป็นของบริษัท และจะมีการกระจายหุ้น ซึ่งการกระจายหุ้นนี้ส่วนหนึ่งมีการกันไว้ให้สำหรับการซื้อหุ้นผ่านธนาคารของต่างประเทศด้วย ซึ่งตรงนี้ก็ยังเป็น ข้อสงสัยว่าในพนักงาน และประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งอยากเป็นเจ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ในการจองซื้อหุ้น มากกว่าที่จะจัดสรรหุ้นได้ แต่กลับมีการกันส่วนนี้ไว้ ซึ่งตรงนี้ก็ถือว่าเป็นช่องว่างให้นายทุนขนาดใหญ่ใช้กลไกลของธนาคารต่างชาติเข้ามาซื้อหุ้นตรงนี้ และที่สำคัญหากมีการแปรรูปในลักษณะนี้บริษัทซึ่งเข้าไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ต้องคำนึงถึงเรื่องกำไรแทนการเน้นการบริการประชาชน.” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า วันนี้เมื่อศาลปกครองได้มีคำสั่งระงับกระบวนการไว้ก่อนตนมองว่าถือเป็นโอกาสดีที่รัฐบาลจะได้ทบทวนกระบวนการทั้งหมด เพราะหากเดินหน้าตามเดิมตนเชื่อว่าปัญหาก็ไม่จบ และความรุนแรงก็ยังจะเกิดขึ้น และรัฐบาลต่อไปที่จะเข้ามาบริหารประเทศก็ต้องรับภาระแก้ปัญหาเรื่องนี้ด้วย เพราะว่าอะไรก็ตามที่เป็นเรื่องผูกขาดถือว่าขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 87
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 พ.ย.2548--จบ--