แท็ก
ภาษาฝรั่งเศส
แฟรนไชส์ (Franchise) เป็นคำศัพท์ที่มีรากศัพท์มาจากภาษาฝรั่งเศส คือ "Franchir" แปลว่า "สิทธิพิเศษ" สมัยโบราณนั้นพระราชามักจะพระราชทาน สิทธิพิเศษที่ให้แก่ข้าราชบริพารหรือพวกขุนนาง แผลงไปแผลงมาก็ เลยกลายเป็น "Franchise" แปลว่า สิทธิพิเศษที่บริษัทแม่มอบให้กับ ผู้ที่เข้าร่วมกิจการโดยสิทธิพิเศษนี้ จะครอบคลุมระบบเกือบ ทั้งหมดเพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจการนั้นสามารถทำธุรกิจได้แม้จะไม่มีประสบการณ์มาเลย แฟรนไชส์จึงหมายถึงกลยุทธ์ทางธุรกิจหรือตลาดในการกระจายสินค้า หรือบริการสู่ผู้บริโภคโดยหน่วยธุรกิจซึ่งประสบความสำเร็จและต้องการขยายการจำหน่ายสินค้า หรือบริการของตน (บริษัทแม่) โดยผ่านหน่วยค้าปลีก(บริษัทสมาชิก) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการอิสระ และทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญาหรือข้อตกลงร่วมกัน ภายใต้เครื่องหมายการค้าหรือบริการ เทคนิคการตลาดและอำนาจของบริษัทแม่ ในการควบคุมหน่วยธุรกิจนั้นเพื่อแลก กับการได้รับชำระค่าธรรมเนียม และค่ารอยัลตี้จากบริษัทสมาชิก ดังกล่าว
คำศัพท์แฟรนไชส์ที่ควรรู้
แฟรนไชซิ่ง (Franchising)
การที่เจ้าของสิทธิ์ (Franchisor) ตกลงอนุญาตให้ผู้รับสิทธิ์ (Franchisee) ดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อการค้า การบริหาร และระบบธุรกิจของเจ้าของสิทธิ์ซึ่งเป็น ผู้พัฒนาขึ้นผู้รับสิทธิ์จะต้องดำเนินธุรกิจตามรูปแบบ และระบบธุรกิจของเจ้าของสิทธิ์ และจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของสิทธิ์
แฟรนไชส์ (Franchise)
ระบบธุรกิจที่ประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ
1. จะต้องมีเจ้าของสิทธิ์ ถ่ายทอดวิทยาการ การทำธุรกิจทุกอย่างให้แก่ผู้รับสิทธิ์อย่างใกล้ชิด
2. ผู้รับสิทธิ์ จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ในการใช้ชื่อการค้าเป็นค่าธรรมเนียม เริ่มแรก
(Franchise Fee)
3. ผู้รับสิทธิ์จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม เป็นเปอร์เซ็นต์ (Royalty Fee)
แฟรนไชเซอร์ (Franchisor)
เจ้าของสิทธิ์ ซึ่งเป็นผู้ที่คิดค้นวิธีการทำธุรกิจจนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และเป็นผู้ขายสิทธิ์การดำเนินกิจการขายชื่อการค้า ของตัวเองให้แก่ผู้อื่นอย่างเช่น เชสเตอร์กริลล์เป็นผู้คิดค้นร้านอาหารประเภท ไก่ย่างและสูตรอาหาร มีรูปแบบ การจัดร้านการจัดการเฉพาะตัว จนกระทั่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก แล้วขายระบบทั้งหมดให้แก่ผู้อื่น บริษัทของเชสเตอร์กริลล์อยู่ในฐานะเป็นเจ้าของสิทธิ์และเป็นผู้ขายแฟรนไชส์ให้ผู้อื่น เรียกว่า แฟรนไชเซอร์หรือกรณีที่ 7-อีเลฟเว่น บริษัทซีพี ซื้อแฟรนไชส์ มาจากต่างประเทศ แล้วมาพัฒนาขายแฟรนไชส์ให้แก่รายย่อยอีกต่อหนึ่ง บริษัทซีพี 7-อีเลฟเว่น มีฐานะเป็นแฟรนไชเซอร์ พูดง่าย ๆ ก็คือ แฟรนไชส์เซอร เป็นผู้ขายแฟรนไชส์นั่นเอง
แฟรนไชซี่ (Franchisee)ผู้รับสิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจ ตามระบบที่เจ้าของสิทธิ์ได้จัดเตรียมไว้ รวมทั้งได้ใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมาย
การค้าเดียวกัน โดยที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนในการให้สิทธิ์อันนั้น รวมทั้งจ่ายค่าตอบแทนตามผลประกอบการด้วยซึ่งก็คือผู้ซื้อแฟรนไชส นั่นเอง
แฟรนไชส์ฟี (Franchise Fee)ค่าตอบแทนที่เป็นจำนวนเงินที่แน่นอนจะจ่ายก่อนเริ่มดำเนินงาน หรือเรียกว่า ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ซึ่งถือว่าเป็นการจ่ายค่าสิทธิ์ต่าง ๆ ให้แก่บริษัทแม่
รอยัลตี้ฟี (Royalty Fee)เป็นค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายอย่างต่อเนื่องตามสัดส่วนของผลการดำเนินงาน อาจจะเรียกเก็บเป็นเปอร์เซ็นต์ ต่อเดือนหรือต่อปีจากยอดขาย หรือบางทีก็อาจจะเก็บจากยอดสั่งซื้อสินค้าก็มี
Advertising Feeค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายอย่างต่อเนื่อง ตามสัดส่วนของการดำเนินงาน เพื่อนำไปใช้เพื่อการโฆษณา ในส่วนนี้แฟรนไชเซอร์อาจจะเรียกเก็บหรือไม่เก็บก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน
Franchise package Feeค่าตอบแทนในระบบ หรือเทคนิคต่าง ๆ (เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกรวม ๆ ถ้าพูดเมื่อไรก็ให้เข้าใจว่าหมายถึงค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เช่น ค่าโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ค่าอบรม ฯลฯ รวมเบ็ดเสร็จอยู่ในคำ ๆ เดียว)
Sub-Franchise / Individual Franchiseผู้รับสิทธิ์รายย่อยแบบตัวต่อตัว จากผู้ที่ได้รับสิทธิ์หรือผู้ที่เป็นเจ้าของสิทธิ์ ซึ่งอาจจะได้รับสิทธิ์ในการเปิดกิจการแบบ
- Single unit Franchise หมายถึง สิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจได้เพียง 1 แห่ง
- Multi unit Franchise หมายถึง สิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจได้หลายแห่ง
ขอยกตัวอย่างให้เห็น เช่นว่า แฟรนไชซี่คนที่ 1 ทำสัญญากับบริษัทแม่ เพื่อเปิดสาขาแฟรนไชส์ โดยในข้อตกลงกำหนดให้เปิดสาขาได้เพียง 1 แห่งเท่านั้น การให้สิทธิ์ลักษณะนี้ คือ ซิงเกิลยูนิต ในขณะที่แฟรนไชซี่คนที่ 2 ก็ซื้อแฟรนไชส์เหมือนกัน แต่ได้รับสิทธิในการเปิดสาขาได้มากกว่า 1 แห่ง ยังไง ๆ ทั้งคู่ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะไปขายแฟรนไชส์ต่อให้ใครไปเปิดร้านได้อีก นอกจากเปิดเองเท่านั้น ลักษณะนี้เรียกว่า มัลติยูนิต
Sub-Area License / Development Franchiseสิทธ์แฟรนไชส์แบบพัฒนาอาณาเขต แฟรนไชซอร์จะให้สิทธิในการขยายกิจการ แก่ แฟรนไชซี่ภายในอาณาเขตและระยะเวลาที่กำหนด เช่น ตันตราภัณฑ์เป็นซับแอเรีย ของ 7-อีเลฟเว่น ที่มีสิทธิ์เปิดร้าน 7-อีเลฟเว่นครอบคลุมในภาคเหนือ ในเขตจังหวัดที่ตกลงกันไว้ หรือ เอเอ็ม/พีเอ็ม มีห้างแฟรี่แลนด์ เป็นซับแอเรียไลเซ่นส์ที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งสามารถขยายกิจการได้มากถึง 10 สาขา ในจังหวัดนครสวรรค์
นอกจากตันตราภัณฑ์ซึ่งเป็นซับแอเรียไลเซ่นส์ ของเซเว่นฯ และห้างแฟรี่แลนด์ เป็นซับแอเรียไลเซ่นส์ของเอเอ็ม/พีเอ็ม แล้วก็จะไม่มีใครที่จะได้รับสิทธิ์ จากบริษัทแม่เหล่านี้ไปเปิดทับกันในอาณาเขตเดียวกันนี้อีก ซึ่งรูป
แบบนี้แตกต่างจาก Multi Unit คือ ซับแอเรียไลเซ่นส์สามารถที่จะขายซับแฟรนไชส์ต่อได้ เพื่อให้การขยายสาขาเป็นไปตามเป้าที่ตกลงกันไว้กับบริษัทแม่
Master Franchiseผู้ที่ได้รับสิทธิ์ จากบริษัทแม่ให้ดำเนินการธุรกิจรายแรกในประเทศหนึ่ง และมักจะเป็นรายใหญ่ที่จะต้องทำการขยายสาขาออกไปให้ทั่วประเทศ ผู้ที่เป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์นี้จะได้รับการถ่ายทอดในเรื่องการบริหารในระดับสูงขึ้น
Offering Circularคือ หนังสือที่ผู้ขายแฟรนไชส์ต้องจัดทำขึ้นตามกฎหมายของสหรัฐฯ ที่บังคับให้ผู้ขายแฟรนไชส์จะต้องจัดทำรายละเอียดของแฟรนไชส์ของเขาอย่างเปิดเผย เพื่อเสนอให้แก่ผู้ที่จะซื้อดู เพื่อใช้ในการตัดสินใจก่อนซื้อแฟรนไชส์โดยที่หนังสือนี้จะมีหัวข้อสำคัญ ๆ เช่น ประวัติผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ค่าธรรมเนียม จำนวนร้านสาขาแฟรนไชส์ รวมไปถึงจำนวนร้านที่ปิดและคดีฟ้องร้องที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
คำศัพท์แฟรนไชส์ที่ควรรู้
แฟรนไชซิ่ง (Franchising)
การที่เจ้าของสิทธิ์ (Franchisor) ตกลงอนุญาตให้ผู้รับสิทธิ์ (Franchisee) ดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อการค้า การบริหาร และระบบธุรกิจของเจ้าของสิทธิ์ซึ่งเป็น ผู้พัฒนาขึ้นผู้รับสิทธิ์จะต้องดำเนินธุรกิจตามรูปแบบ และระบบธุรกิจของเจ้าของสิทธิ์ และจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของสิทธิ์
แฟรนไชส์ (Franchise)
ระบบธุรกิจที่ประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ
1. จะต้องมีเจ้าของสิทธิ์ ถ่ายทอดวิทยาการ การทำธุรกิจทุกอย่างให้แก่ผู้รับสิทธิ์อย่างใกล้ชิด
2. ผู้รับสิทธิ์ จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ในการใช้ชื่อการค้าเป็นค่าธรรมเนียม เริ่มแรก
(Franchise Fee)
3. ผู้รับสิทธิ์จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม เป็นเปอร์เซ็นต์ (Royalty Fee)
แฟรนไชเซอร์ (Franchisor)
เจ้าของสิทธิ์ ซึ่งเป็นผู้ที่คิดค้นวิธีการทำธุรกิจจนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และเป็นผู้ขายสิทธิ์การดำเนินกิจการขายชื่อการค้า ของตัวเองให้แก่ผู้อื่นอย่างเช่น เชสเตอร์กริลล์เป็นผู้คิดค้นร้านอาหารประเภท ไก่ย่างและสูตรอาหาร มีรูปแบบ การจัดร้านการจัดการเฉพาะตัว จนกระทั่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก แล้วขายระบบทั้งหมดให้แก่ผู้อื่น บริษัทของเชสเตอร์กริลล์อยู่ในฐานะเป็นเจ้าของสิทธิ์และเป็นผู้ขายแฟรนไชส์ให้ผู้อื่น เรียกว่า แฟรนไชเซอร์หรือกรณีที่ 7-อีเลฟเว่น บริษัทซีพี ซื้อแฟรนไชส์ มาจากต่างประเทศ แล้วมาพัฒนาขายแฟรนไชส์ให้แก่รายย่อยอีกต่อหนึ่ง บริษัทซีพี 7-อีเลฟเว่น มีฐานะเป็นแฟรนไชเซอร์ พูดง่าย ๆ ก็คือ แฟรนไชส์เซอร เป็นผู้ขายแฟรนไชส์นั่นเอง
แฟรนไชซี่ (Franchisee)ผู้รับสิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจ ตามระบบที่เจ้าของสิทธิ์ได้จัดเตรียมไว้ รวมทั้งได้ใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมาย
การค้าเดียวกัน โดยที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนในการให้สิทธิ์อันนั้น รวมทั้งจ่ายค่าตอบแทนตามผลประกอบการด้วยซึ่งก็คือผู้ซื้อแฟรนไชส นั่นเอง
แฟรนไชส์ฟี (Franchise Fee)ค่าตอบแทนที่เป็นจำนวนเงินที่แน่นอนจะจ่ายก่อนเริ่มดำเนินงาน หรือเรียกว่า ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ซึ่งถือว่าเป็นการจ่ายค่าสิทธิ์ต่าง ๆ ให้แก่บริษัทแม่
รอยัลตี้ฟี (Royalty Fee)เป็นค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายอย่างต่อเนื่องตามสัดส่วนของผลการดำเนินงาน อาจจะเรียกเก็บเป็นเปอร์เซ็นต์ ต่อเดือนหรือต่อปีจากยอดขาย หรือบางทีก็อาจจะเก็บจากยอดสั่งซื้อสินค้าก็มี
Advertising Feeค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายอย่างต่อเนื่อง ตามสัดส่วนของการดำเนินงาน เพื่อนำไปใช้เพื่อการโฆษณา ในส่วนนี้แฟรนไชเซอร์อาจจะเรียกเก็บหรือไม่เก็บก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน
Franchise package Feeค่าตอบแทนในระบบ หรือเทคนิคต่าง ๆ (เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกรวม ๆ ถ้าพูดเมื่อไรก็ให้เข้าใจว่าหมายถึงค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เช่น ค่าโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ค่าอบรม ฯลฯ รวมเบ็ดเสร็จอยู่ในคำ ๆ เดียว)
Sub-Franchise / Individual Franchiseผู้รับสิทธิ์รายย่อยแบบตัวต่อตัว จากผู้ที่ได้รับสิทธิ์หรือผู้ที่เป็นเจ้าของสิทธิ์ ซึ่งอาจจะได้รับสิทธิ์ในการเปิดกิจการแบบ
- Single unit Franchise หมายถึง สิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจได้เพียง 1 แห่ง
- Multi unit Franchise หมายถึง สิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจได้หลายแห่ง
ขอยกตัวอย่างให้เห็น เช่นว่า แฟรนไชซี่คนที่ 1 ทำสัญญากับบริษัทแม่ เพื่อเปิดสาขาแฟรนไชส์ โดยในข้อตกลงกำหนดให้เปิดสาขาได้เพียง 1 แห่งเท่านั้น การให้สิทธิ์ลักษณะนี้ คือ ซิงเกิลยูนิต ในขณะที่แฟรนไชซี่คนที่ 2 ก็ซื้อแฟรนไชส์เหมือนกัน แต่ได้รับสิทธิในการเปิดสาขาได้มากกว่า 1 แห่ง ยังไง ๆ ทั้งคู่ก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะไปขายแฟรนไชส์ต่อให้ใครไปเปิดร้านได้อีก นอกจากเปิดเองเท่านั้น ลักษณะนี้เรียกว่า มัลติยูนิต
Sub-Area License / Development Franchiseสิทธ์แฟรนไชส์แบบพัฒนาอาณาเขต แฟรนไชซอร์จะให้สิทธิในการขยายกิจการ แก่ แฟรนไชซี่ภายในอาณาเขตและระยะเวลาที่กำหนด เช่น ตันตราภัณฑ์เป็นซับแอเรีย ของ 7-อีเลฟเว่น ที่มีสิทธิ์เปิดร้าน 7-อีเลฟเว่นครอบคลุมในภาคเหนือ ในเขตจังหวัดที่ตกลงกันไว้ หรือ เอเอ็ม/พีเอ็ม มีห้างแฟรี่แลนด์ เป็นซับแอเรียไลเซ่นส์ที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งสามารถขยายกิจการได้มากถึง 10 สาขา ในจังหวัดนครสวรรค์
นอกจากตันตราภัณฑ์ซึ่งเป็นซับแอเรียไลเซ่นส์ ของเซเว่นฯ และห้างแฟรี่แลนด์ เป็นซับแอเรียไลเซ่นส์ของเอเอ็ม/พีเอ็ม แล้วก็จะไม่มีใครที่จะได้รับสิทธิ์ จากบริษัทแม่เหล่านี้ไปเปิดทับกันในอาณาเขตเดียวกันนี้อีก ซึ่งรูป
แบบนี้แตกต่างจาก Multi Unit คือ ซับแอเรียไลเซ่นส์สามารถที่จะขายซับแฟรนไชส์ต่อได้ เพื่อให้การขยายสาขาเป็นไปตามเป้าที่ตกลงกันไว้กับบริษัทแม่
Master Franchiseผู้ที่ได้รับสิทธิ์ จากบริษัทแม่ให้ดำเนินการธุรกิจรายแรกในประเทศหนึ่ง และมักจะเป็นรายใหญ่ที่จะต้องทำการขยายสาขาออกไปให้ทั่วประเทศ ผู้ที่เป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์นี้จะได้รับการถ่ายทอดในเรื่องการบริหารในระดับสูงขึ้น
Offering Circularคือ หนังสือที่ผู้ขายแฟรนไชส์ต้องจัดทำขึ้นตามกฎหมายของสหรัฐฯ ที่บังคับให้ผู้ขายแฟรนไชส์จะต้องจัดทำรายละเอียดของแฟรนไชส์ของเขาอย่างเปิดเผย เพื่อเสนอให้แก่ผู้ที่จะซื้อดู เพื่อใช้ในการตัดสินใจก่อนซื้อแฟรนไชส์โดยที่หนังสือนี้จะมีหัวข้อสำคัญ ๆ เช่น ประวัติผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ค่าธรรมเนียม จำนวนร้านสาขาแฟรนไชส์ รวมไปถึงจำนวนร้านที่ปิดและคดีฟ้องร้องที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-