สถานการณ์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยในปี 2546 ที่ผ่านมามีการเติบโตขึ้นอย่างมากจากปีที่ผ่านมา โดยมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.25 ซึ่งมีกลุ่มรถยนต์เพื่อการพาณิชย์(ไม่รวมรถกระบะ 1 ตัน) มีอัตราการเติบโตมากที่สุด ส่วนปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.51 และมีมูลค่าการส่งออกรวม 108,980.30 ล้านบาท สำหรับปริมาณการผลิตรวมจักรยานยนต์มีจำนวนเท่ากับ 2,424,678 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ร้อยละ 22.64 โดยเป็นปริมาณการจำหน่ายในประเทศ 1,766,860 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.08 จากปี 2545 ส่วนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.91
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2547 ยังมีแนวโน้มการเติบโตในทิศทางที่ดีขึ้นและสดใส ทั้งในด้านการผลิต การจำหน่าย การส่งออก และการลงทุน เนื่องจากมีปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2547 เติบโตขึ้น เช่น การประกาศการลงทุนเพิ่มของบริษัทรถยนต์หลายๆ บริษัท ภาวะเศรษฐกิจที่มีการคาดการณ์โดยสภาพัฒน์ฯ ว่าจะมีการขยายตัวประมาณ 7-8% ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคมีอำนาจในการซื้อมากขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับค่ายรถยนต์ต่างๆ ได้นำรถยนต์รุ่นใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีแคมเปญดอกเบี้ยต่ำ จนถึงดอกเบี้ย 0% ซึ่งเป็นแคมเปญที่สามารถดึงดูดผู้บริโภคให้ความสนใจจะซื้อรถกันมากขึ้น รวมทั้งการจัดงานบางกอก อินเตอร์-เนชั่นแนลมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 25 ที่ผ่านมา ซึ่งถือได้ว่าเป็นมหกรรมที่สามารถกระตุ้นตลาดรถยนต์ในประเทศได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการจัดงานแต่ละครั้งที่ผ่านมามียอดการสั่งจองรถยนต์สูงขึ้นมาโดยตลอด และนอกจากนี้ทางภาครัฐเองมีนโยบายที่จะพัฒนาและผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางฐานการผลิตยานยนต์แห่งเอเชีย (Detroit of Asia) อีกด้วย
ภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในเดือนมีนาคมปี 2547 เมื่อพิจารณาค่าดัชนีความเชื่อมั่นสภาวะอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม พบว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยนต์มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนที่แล้ว คือเพิ่มจาก 111.4 เป็น 138.6 และ เพิ่มจาก 128..6 เป็น 129.3 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมทั้งสองมีความเชื่อมั่นในภาวะอุตสาหกรรมในระดับที่ดีขึ้น โดยเฉพาะความเชื่อมั่นในภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
จากดัชนีความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคมข้างต้น ส่งผลให้สถานการณ์ปริมาณการจำหน่ายยานยนต์ภายในประเทศในไตรมาสแรกของปี 2547 มีสถานการณ์เติบโตขึ้น โดยมีปริมาณจำหน่ายรวมทั้งหมด 147,585 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.82 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเป็นปริมาณการจำหน่ายรถเพื่อการพาณิชย์มากที่สุดถึง 95,197 คัน หรือมีสัดส่วนการจำหน่าย 64.50% ของปริมาณการจำหน่ายรวมทั้งหมด และมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเป็นปริมาณการจำหน่ายรถกระบะ 1 ตันมากที่สุดถึง 84,753 คัน หรือมีสัดส่วนการจำหน่ายเท่ากับ 89.03 ของปริมาณการจำหน่ายรถเพื่อการพาณิชย์ทั้งหมด รองลงมาได้แก่การจำหน่าย รถบรรทุกมากกว่า 4 ตันหรือรถโดยสาร รถขับเคลื่อน 4 ล้อ รถตู้หรือรถโดยสารขนาดไม่เกิน 30 ที่นั่ง รถบรรทุก 2-4 ตัน และ รถบรรทุกน้อยกว่า 1 ตัน โดยมีปริมาณจำหน่ายเท่ากับ 3,039 คัน, 2,769 คัน, 2,296 คัน, 1,861 คัน และ 341 คัน ตามลำดับ ส่วนปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมีจำนวน 52,388 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.36 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ภาวะการส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนในไตรมาสแรกของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมดเท่ากับ 45,253.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50.95 เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2546 โดยเป็นมูลค่าการส่งออกสินค้ารถยนต์ (CBU) เท่ากับ 32,416.25 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 71.63 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมด และมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42.82 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2546
สำหรับการส่งออกสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออกรวมเท่ากับ 12,837.36 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.37 ของการส่งออกรวมทั้งหมด โดยมีมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนประกอบมากที่สุดเท่ากับ 6,474.81 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50.44 ของการส่งออกสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งหมด ซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.35 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ส่วนสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีมูลค่าการส่งออกรองลงมา ได้แก่ ชิ้นส่วนและอะไหล่ ชิ้นส่วนตัวถัง และเครื่องยนต์ โดยมีมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 3,140.12 ล้านบาท, 1,532.23 ล้านบาท และ 1,190.06 ล้านบาท ตามลำดับ โดยการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยเกือบทุกตัวมีการขยายตัวของการส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2546 ยกเว้นการส่งออกเครื่องยนต์มีการส่งออกลดลงร้อยละ 6.06 โดยเฉพาะการส่งออกชิ้นส่วนและอะไหล่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงมากถึงร้อยละ 530.50
จากสถานการณ์การผลิต การจำหน่ายในประเทศ การส่งออก และดัชนีความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทยในไตรมาสแรกของปี 2547 โดยส่วนใหญ่มีแนวโน้มเติบโตขึ้น จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนจะมีโอกาสเติบโตมากขึ้นในอนาคต โดยทางหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้มีนโยบายส่งเสริม และวางกลยุทธ์ต่างๆ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย ให้บรรลุเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางฐานการผลิตยานยนต์แห่งเอเชีย (Detroit of Asia)ให้ได้ในอนาคต โดยมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการเกิดการพัฒนาทักษะ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (Skill, Technology & Innovation : STI) ซึ่งจะส่งผลให้กิจการของอุตสาหกรรมยานยนต์อันได้แก่ กิจการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ กิจการผลิตเครื่องมือช่างและเครื่องวัด กิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ กิจการผลิตเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์ประเภท 4 จังหวะ กิจการเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ และกิจการผลิตเครื่องยนต์เอนกประสงค์ ทั้งหมดเหล่านี้ได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น การได้รับการยกเว้นภาษีนิติบุคคลกรณีละ 1 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 8 ปี และให้ได้รับการยกเว้นภาษีเครื่องจักร ซึ่งจะทำให้กิจการที่จะลงทุนในเขต 1 หรือเขต 2 สามารถได้รับสิทธิประโยชน์เท่ากับการลงทุนในเขต 3 เป็นต้น
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2547 ยังมีแนวโน้มการเติบโตในทิศทางที่ดีขึ้นและสดใส ทั้งในด้านการผลิต การจำหน่าย การส่งออก และการลงทุน เนื่องจากมีปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2547 เติบโตขึ้น เช่น การประกาศการลงทุนเพิ่มของบริษัทรถยนต์หลายๆ บริษัท ภาวะเศรษฐกิจที่มีการคาดการณ์โดยสภาพัฒน์ฯ ว่าจะมีการขยายตัวประมาณ 7-8% ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคมีอำนาจในการซื้อมากขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับค่ายรถยนต์ต่างๆ ได้นำรถยนต์รุ่นใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีแคมเปญดอกเบี้ยต่ำ จนถึงดอกเบี้ย 0% ซึ่งเป็นแคมเปญที่สามารถดึงดูดผู้บริโภคให้ความสนใจจะซื้อรถกันมากขึ้น รวมทั้งการจัดงานบางกอก อินเตอร์-เนชั่นแนลมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 25 ที่ผ่านมา ซึ่งถือได้ว่าเป็นมหกรรมที่สามารถกระตุ้นตลาดรถยนต์ในประเทศได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการจัดงานแต่ละครั้งที่ผ่านมามียอดการสั่งจองรถยนต์สูงขึ้นมาโดยตลอด และนอกจากนี้ทางภาครัฐเองมีนโยบายที่จะพัฒนาและผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางฐานการผลิตยานยนต์แห่งเอเชีย (Detroit of Asia) อีกด้วย
ภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในเดือนมีนาคมปี 2547 เมื่อพิจารณาค่าดัชนีความเชื่อมั่นสภาวะอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม พบว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยนต์มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนที่แล้ว คือเพิ่มจาก 111.4 เป็น 138.6 และ เพิ่มจาก 128..6 เป็น 129.3 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมทั้งสองมีความเชื่อมั่นในภาวะอุตสาหกรรมในระดับที่ดีขึ้น โดยเฉพาะความเชื่อมั่นในภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
จากดัชนีความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคมข้างต้น ส่งผลให้สถานการณ์ปริมาณการจำหน่ายยานยนต์ภายในประเทศในไตรมาสแรกของปี 2547 มีสถานการณ์เติบโตขึ้น โดยมีปริมาณจำหน่ายรวมทั้งหมด 147,585 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.82 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเป็นปริมาณการจำหน่ายรถเพื่อการพาณิชย์มากที่สุดถึง 95,197 คัน หรือมีสัดส่วนการจำหน่าย 64.50% ของปริมาณการจำหน่ายรวมทั้งหมด และมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเป็นปริมาณการจำหน่ายรถกระบะ 1 ตันมากที่สุดถึง 84,753 คัน หรือมีสัดส่วนการจำหน่ายเท่ากับ 89.03 ของปริมาณการจำหน่ายรถเพื่อการพาณิชย์ทั้งหมด รองลงมาได้แก่การจำหน่าย รถบรรทุกมากกว่า 4 ตันหรือรถโดยสาร รถขับเคลื่อน 4 ล้อ รถตู้หรือรถโดยสารขนาดไม่เกิน 30 ที่นั่ง รถบรรทุก 2-4 ตัน และ รถบรรทุกน้อยกว่า 1 ตัน โดยมีปริมาณจำหน่ายเท่ากับ 3,039 คัน, 2,769 คัน, 2,296 คัน, 1,861 คัน และ 341 คัน ตามลำดับ ส่วนปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมีจำนวน 52,388 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.36 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ภาวะการส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนในไตรมาสแรกของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมดเท่ากับ 45,253.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50.95 เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2546 โดยเป็นมูลค่าการส่งออกสินค้ารถยนต์ (CBU) เท่ากับ 32,416.25 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 71.63 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมด และมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42.82 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2546
สำหรับการส่งออกสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2547 มีมูลค่าการส่งออกรวมเท่ากับ 12,837.36 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.37 ของการส่งออกรวมทั้งหมด โดยมีมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนประกอบมากที่สุดเท่ากับ 6,474.81 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50.44 ของการส่งออกสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งหมด ซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.35 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ส่วนสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีมูลค่าการส่งออกรองลงมา ได้แก่ ชิ้นส่วนและอะไหล่ ชิ้นส่วนตัวถัง และเครื่องยนต์ โดยมีมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 3,140.12 ล้านบาท, 1,532.23 ล้านบาท และ 1,190.06 ล้านบาท ตามลำดับ โดยการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยเกือบทุกตัวมีการขยายตัวของการส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2546 ยกเว้นการส่งออกเครื่องยนต์มีการส่งออกลดลงร้อยละ 6.06 โดยเฉพาะการส่งออกชิ้นส่วนและอะไหล่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงมากถึงร้อยละ 530.50
จากสถานการณ์การผลิต การจำหน่ายในประเทศ การส่งออก และดัชนีความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทยในไตรมาสแรกของปี 2547 โดยส่วนใหญ่มีแนวโน้มเติบโตขึ้น จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนจะมีโอกาสเติบโตมากขึ้นในอนาคต โดยทางหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้มีนโยบายส่งเสริม และวางกลยุทธ์ต่างๆ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย ให้บรรลุเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางฐานการผลิตยานยนต์แห่งเอเชีย (Detroit of Asia)ให้ได้ในอนาคต โดยมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการเกิดการพัฒนาทักษะ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (Skill, Technology & Innovation : STI) ซึ่งจะส่งผลให้กิจการของอุตสาหกรรมยานยนต์อันได้แก่ กิจการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ กิจการผลิตเครื่องมือช่างและเครื่องวัด กิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ กิจการผลิตเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์ประเภท 4 จังหวะ กิจการเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์ และกิจการผลิตเครื่องยนต์เอนกประสงค์ ทั้งหมดเหล่านี้ได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น การได้รับการยกเว้นภาษีนิติบุคคลกรณีละ 1 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 8 ปี และให้ได้รับการยกเว้นภาษีเครื่องจักร ซึ่งจะทำให้กิจการที่จะลงทุนในเขต 1 หรือเขต 2 สามารถได้รับสิทธิประโยชน์เท่ากับการลงทุนในเขต 3 เป็นต้น
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-