คำแถลง
กรณี ยีนข้าวหอมมะลิ 105 ของไทย
วันที่ 23 กรกฎาคม 2547
ตามที่ได้มี การตรวจสอบยีนข้าวหอมมะลิที่ปลูกในประเทศกัมพูชา และพบว่าเป็นยีนที่ตรงกับยีนข้าวหอมมะลิ 105 ของไทย ดังที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อสาธารณะไปแล้วนั้น
เป็นเรื่องที่น่าสงสัยว่า พันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ของไทย ออกไปปลูกยังต่างประเทศได้อย่างไร ใครเป็นคนนำไป การนำพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ออกไปให้ต่างประเทศเกิดขึ้นบนความร่วมมืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร ใครเป็นผู้ริเริ่ม มีรายละเอียดเงื่อนไขอย่างไรหรือไม่ ได้มีข้อตกลงหรือเงื่อนไขอะไรกำหนดไว้หรือไม่ เช่น เงื่อนไขเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ที่ห้ามมิให้ผู้นำพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 หรือส่วนหนึ่งส่วนใด ไม่ว่าจะเป็นยีน หรือ สารพันธุกรรม ไปจดสิทธิบัตรนั้น มีอยู่หรือไม่
เรื่องนี้ได้เคยตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ถึงการเตรียมความพร้อมทางนโยบายและกฎหมายของไทย เมื่อครั้งที่รัฐบาลมาขอรัฐสภาให้ความเห็นชอบกับ อนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 1992 (Convention on Biological Diversity,1992) ที่ไทยจะเข้าไปลงนามเข้าเป็นภาคี ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศซึ่งเกี่ยวข้องกับ ทรัพยากรพันธุกรรมความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จนถึงเวลานี้เรายังไม่มีกฎหมายที่กำกับควบคุมและสร้างเงื่อนไข มาตรการ กลไก การแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ หรือการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม พืชสัตว์ หรือ จุลชีพ (Micro-organism) รัฐบาลได้ละเลยเรื่องนี้มาก ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีพันธุกรรมพืชที่หลากหลายซึ่งจะมีค่าและมีประโยชน์มากในการพัฒนาประเทศในอนาคต กรณีการนำข้าวหอมมะลิ 105 ของไทยไปปลูกในประเทศกัมพูชา แม้ว่ายังไม่มีการนำไปจดสิทธิบัตรอ้างสิทธิเป็นของกัมพูชา หรือเอกชนของเขาก็ตาม ประเทศไทยจะมีหลักประกันต่อไปอย่างไร หากมีบริษัทเอกชน หรือบุคคลที่สาม นำยีนนี้ไปจากประเทศกัมพูชาอีกต่อหนึ่ง ซึ่งจะสร้างปัญหายุ่งยากตามมาอีกมากมาย
ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ทำไมรัฐบาล ถึงไม่สร้างหลักประกันที่จะรักษาผลประโยชน์จากการเข้าถึงพันธุกรรม ในทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพของไทยต่อไปให้มั่นคงอีกระดับ โดยการเคลื่อนไหวทางนโยบายและกระบวนการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้มีการใส่เงื่อนไขให้มีการแสดงแหล่งที่มาของสารสกัดทางชีวภาพ ในทุกคำขอที่จะขอการความคุ้มครองสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับ ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเป็นเงื่อนไขให้ประเทศที่ร่ำรวยที่นำยีน หรือ สารพันธุกรรมของไทยไปแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ต้องแบ่งปันผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ตามหลักการความตกลงระหว่างประเทศหลายฉบับ ในเมื่อทิศทางการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการค้าการลงทุนของโลกไปในทิศทางนี้ และประเทศไทยก็ร่ำรวยด้วยทรัพยากรที่มีค่านี้ ทำไมไม่ทำอะไรเลย
ดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 24 ก.ค. 2547--จบ--
-ดท-
กรณี ยีนข้าวหอมมะลิ 105 ของไทย
วันที่ 23 กรกฎาคม 2547
ตามที่ได้มี การตรวจสอบยีนข้าวหอมมะลิที่ปลูกในประเทศกัมพูชา และพบว่าเป็นยีนที่ตรงกับยีนข้าวหอมมะลิ 105 ของไทย ดังที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อสาธารณะไปแล้วนั้น
เป็นเรื่องที่น่าสงสัยว่า พันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ของไทย ออกไปปลูกยังต่างประเทศได้อย่างไร ใครเป็นคนนำไป การนำพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ออกไปให้ต่างประเทศเกิดขึ้นบนความร่วมมืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร ใครเป็นผู้ริเริ่ม มีรายละเอียดเงื่อนไขอย่างไรหรือไม่ ได้มีข้อตกลงหรือเงื่อนไขอะไรกำหนดไว้หรือไม่ เช่น เงื่อนไขเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ที่ห้ามมิให้ผู้นำพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 หรือส่วนหนึ่งส่วนใด ไม่ว่าจะเป็นยีน หรือ สารพันธุกรรม ไปจดสิทธิบัตรนั้น มีอยู่หรือไม่
เรื่องนี้ได้เคยตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ถึงการเตรียมความพร้อมทางนโยบายและกฎหมายของไทย เมื่อครั้งที่รัฐบาลมาขอรัฐสภาให้ความเห็นชอบกับ อนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 1992 (Convention on Biological Diversity,1992) ที่ไทยจะเข้าไปลงนามเข้าเป็นภาคี ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศซึ่งเกี่ยวข้องกับ ทรัพยากรพันธุกรรมความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จนถึงเวลานี้เรายังไม่มีกฎหมายที่กำกับควบคุมและสร้างเงื่อนไข มาตรการ กลไก การแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ หรือการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม พืชสัตว์ หรือ จุลชีพ (Micro-organism) รัฐบาลได้ละเลยเรื่องนี้มาก ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีพันธุกรรมพืชที่หลากหลายซึ่งจะมีค่าและมีประโยชน์มากในการพัฒนาประเทศในอนาคต กรณีการนำข้าวหอมมะลิ 105 ของไทยไปปลูกในประเทศกัมพูชา แม้ว่ายังไม่มีการนำไปจดสิทธิบัตรอ้างสิทธิเป็นของกัมพูชา หรือเอกชนของเขาก็ตาม ประเทศไทยจะมีหลักประกันต่อไปอย่างไร หากมีบริษัทเอกชน หรือบุคคลที่สาม นำยีนนี้ไปจากประเทศกัมพูชาอีกต่อหนึ่ง ซึ่งจะสร้างปัญหายุ่งยากตามมาอีกมากมาย
ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ทำไมรัฐบาล ถึงไม่สร้างหลักประกันที่จะรักษาผลประโยชน์จากการเข้าถึงพันธุกรรม ในทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพของไทยต่อไปให้มั่นคงอีกระดับ โดยการเคลื่อนไหวทางนโยบายและกระบวนการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้มีการใส่เงื่อนไขให้มีการแสดงแหล่งที่มาของสารสกัดทางชีวภาพ ในทุกคำขอที่จะขอการความคุ้มครองสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับ ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเป็นเงื่อนไขให้ประเทศที่ร่ำรวยที่นำยีน หรือ สารพันธุกรรมของไทยไปแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ต้องแบ่งปันผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ตามหลักการความตกลงระหว่างประเทศหลายฉบับ ในเมื่อทิศทางการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการค้าการลงทุนของโลกไปในทิศทางนี้ และประเทศไทยก็ร่ำรวยด้วยทรัพยากรที่มีค่านี้ ทำไมไม่ทำอะไรเลย
ดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 24 ก.ค. 2547--จบ--
-ดท-