ดร.ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แถลงสรุปผลงาน 4 เดือน ระหว่างดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และกำหนดแนวนโยบายเศรษฐกิจของกระทรวงการคลังในปี 2549 ดังนี้
1. ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งในวันที่ 2 สิงหาคม 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ให้ความสำคัญกับนโยบายในการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงก่อนเข้ารับตำแหน่งดังกล่าว เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกค่อนข้างมาก ดังจะเห็นได้จาก เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกของปี 2548 ขยายตัวในอัตราชะลอลง เนื่องจากต้องเผชิญกับเหตุการณ์ผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ภัยแล้ง คลื่นยักษ์สึนามิ และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นต้น ประกอบกับ อัตราเงินเฟ้อเริ่มปรับตัวสูงขึ้นตามการลอยตัวของราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกภายในประเทศ ในขณะที่ ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มมีการขาดดุล ตามมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวสูงขึ้นมากและการชะลอตัวของการท่องเที่ยว ดังนั้น มาตรการหลักที่กระทรวงการคลังได้ดำเนินการไปในช่วงที่ผ่านมาจึงเน้นในเรื่องการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ ดังนี้
- ในด้านเสถียรภาพการคลัง กระทรวงการคลังได้มีมาตรการเพื่อรักษาวินัยทางการคลังอย่างเคร่งครัด โดยเมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลสามารถทำงบประมาณสมดุลได้จริงเป็นปีแรก นอกจากนี้ ได้มีการกำกับโครงการการใช้จ่ายภาครัฐให้อยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง กล่าวคือ หนี้สาธารณะต่อ GDP ต้องไม่เกินร้อยละ 50 ภาระหนี้ต่องบประมาณต้องไม่เกินร้อยละ 15 และงบประมาณลงทุนต่องบประมาณทั้งหมดต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
- ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ กระทรวงการคลังได้กำหนดมาตรการชะลอการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อโดยการคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไปอีก 2 ปี มาตรการบรรเทาผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นต่อประชาชนผู้มีรายได้น้อย เช่น การเพิ่มเงินเดือนราชการ และการเพิ่มบำนาญให้ข้าราชการอีกร้อยละ 5 มาตรการภาษีปรับโครงสร้างหนี้ผู้ประสบภัยในเหตุการณ์สึนามิ และมาตรการบรรเทาภาระภาษีของผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้
- ในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศ กระทรวงการคลังได้กำหนดมาตรการลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยการบริหารการนำเข้าน้ำมันดิบ เหล็ก และทองคำ ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกำหนดมาตรการส่งเสริมพลังงานทดแทนในภาคขนส่ง โดยยกเว้นอากรขาเข้าถังก๊าซ NGV และอุปกรณ์
2. นอกเหนือจากการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจตามที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมในระยะกลางและระยะยาว โดยได้ดำเนินมาตรการการคลังและการเงินที่จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เสริมสร้างคนไทยสู่มิติเชิงคุณภาพ และเสริมสร้างสังคมแข็งแกร่งควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ดังนี้
- ในด้านการเสริมสร้างผลิตภาพและความสามารถในการแข่งขัน กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกมาตรการปรับปรุงโครงสร้างอากรขาเข้าเพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิต ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ มาตรการเสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจผ่านกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น การสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง และชักจูงการลงทุนในงาน ASEAN ROAD SHOW ที่ประเทศอังกฤษ การส่งเสริม Contract Farming ภายใต้กรอบ ACMECS และการให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยเข้ามามีบทบาทเชิงรุกในการผลักดันตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asia Bond) ในภูมิภาคและอนุภูมิภาคให้มีมากขึ้น
- ในด้านการเสริมสร้างคนไทยสู่มิติเชิงคุณภาพ กระทรวงการคลังได้กำหนดมาตรการส่งเสริมการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานโดยการให้หักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเป็น 2 เท่า มาตรการสร้างโอกาสการเรียนรู้แก่คนไทยด้วยต้นทุนที่ถูกลง โดยการยกเว้นอากรขาเข้าสื่อสิ่งพิมพ์และปัจจัยการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์
- ในด้านการเสริมสร้างสังคมให้แข็งแกร่งและยกระดับคุณภาพชีวิต กระทรวงการคลังได้ออกมาตรการคืนคุณภาพชีวิตให้ลูกหนี้และเพิ่มโอกาสทางการเงินโดยการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน ด้วยความร่วมมือจากสถาบันการเงิน 25 แห่ง มาตรการภาษีบ้านมือสองเพื่อให้โอกาสในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีโดยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองที่ดีขึ้น และมาตรการเสริมสร้างระบบสวัสดิการและความปลอดภัยทางสังคม โดยการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปสำหรับเงินได้ที่ได้รับไม่เกิน 380,000 บาท และการเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตบุหรี่และสุรา รวมทั้งมีการควบคุมการจำหน่ายสุรายาสูบในบริเวณรอบๆ สถานศึกษา
3. ในช่วง 4 เดือนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเข้ามาดำรงตำแหน่ง เศรษฐกิจไทยได้กลับมาขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น ดังจะเห็นได้จาก การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่เริ่มเข้าสู่แนวโน้มปกติ โดยเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปี 2548 คาดว่าจะขยายตัว ร้อยละ 5.5 ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรกที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.9 ทำให้ทั้งปีขยายตัวไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 4.7 ในขณะที่เสถียรภาพทั้งภายในและภายนอกได้กลับมาเข้มแข็งขึ้นมาก โดยดุลเงินในงบประมาณปี 2548 มีการเกินดุลจำนวน 11,863 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเกินดุลครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ และดุลบัญชีเดินสะพัดก็กลับมาเกินดุล 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสที่ 3 และคาดว่าทั้งปีดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลประมาณ 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น -1.8 % ของ GDP อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก แต่แนวโน้มของอัตราเงินเฟ้อได้เริ่มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบนโยบายให้ปี 2549 เป็น “ปีแห่งการปรับโครงสร้าง” เพื่อสร้างรากฐานเศรษฐกิจและธุรกิจใหม่และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลก โดยได้ให้กรอบการดำเนินการในปี 2549 ของกระทรวงการคลัง ดังนี้
- เสถียรภาพเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นรากฐานที่ให้ภาคเอกชนมีการลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานการสร้างการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ดังนั้น กระทรวงการคลังจะต้องเป็นผู้นำหลักในการรักษาเสถียรภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ ในทางตรง กระทรวงการคลังต้องรักษาวินัยทางการคลังให้เข้มแข็งอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการคลัง โดยจะจัดทำงบประมาณสมดุลในปีงบประมาณ 2550 และจะเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายให้ตรงตามเป้าหมายที่ร้อยละ 93 ในขณะเดียวกัน การดำเนินนโยบายการคลังในอนาคตจะต้องอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังอย่างเคร่งครัด ส่วนในทางอ้อมนั้น กระทรวงการคลังจะต้องร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในการรักษาเสถียรภาพภายในและภายนอก ไม่ให้อัตราเงินเฟ้อสูงเกินไป ไม่ให้อัตราการว่างงานสูง และไม่ให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากเกินไป
- เมื่อเสถียรภาพแข็งแกร่ง จะเปิดโอกาสให้สามารถปรับโครงสร้างได้อย่างเต็มที่ โดยในปี 2549 จะเน้นให้เป็นปีแห่งการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบเพื่อสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค (Regional Hub) เช่น การปรับโครงสร้างอากรขาเข้าเพื่อสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารแปรรูปภูมิภาคเอเชีย หรือการเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์แห่งเอเชีย (Detroit of Asia) เป็นต้น นอกจากนั้น จะต้องเร่งปรับโครงสร้างภาคการเงินทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดตราสารหนี้ ให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น โดยในด้านการเงินจะต้องเร่งให้มีการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก การปรับปรุงการกำกับดูแลธุรกิจธนาคารและที่ไม่ใช่ธนาคารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในด้านตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้จะต้องมีแผนพัฒนาตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ที่ชัดเจนเพิ่มบทบาทตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการเงินและตลาดทุน
- การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของคนไทยจะต้องได้รับความสำคัญควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยในปี 2549 จะผลักดันการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ เพื่อเสริมสร้างระบบสวัสดิการและความปลอดภัยทางสังคมในอนาคตให้แก่ประชากรไทยที่มีแนวโน้มจะเข้าสู่สังคมวัยสูงอายุมากขึ้น นอกจากนั้น จะผลักดันให้คนไทยในระดับฐานราก มีโอกาสทางการเงินในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อให้สามารถยกระดับชีวิตของตนเองได้มากขึ้น อีกทั้งเพื่อเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนให้กับองค์กรการเงินระดับฐานรากทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ เครดิตยูเนียน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ธนาคารหมู่บ้าน ฯลฯ โดยกระทรวงการคลังจะมีการจัดทำแผนแม่บทการเงินฐานรากทั้งระบบ นอกจากนี้ กระทรวงการคลังจะขอมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้หน่วยราชการต่าง ๆ คืนที่ราชพัสดุที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์มาเพื่อทำการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ต่อประชาชนและการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งจะนำที่ราชพัสดุมาบริหารเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่
1. จัดทำโครงการสถานที่ราชการ ที่อยู่อาศัยให้กับหน่วยราชการเจ้าของที่เดิม และข้าราชการ
2. จัดทำโครงการรองรับระบบ Logistic เช่น ท่าเรือ โกดังสินค้า ICD Park&Ride
3. จัดที่ทำกินให้กับราษฎร
4. จัดทำที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อย บ้านเอื้ออาทร บ้านธนารักษ์ บ้านข้าราชการ ห้องชุดสำหรับครอบครัวใหม่
5. จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกของชุมชน สวนสาธารณะ สนามกีฬา ห้องสมุด
6. จัดทำเป็นโครงการเพื่อหารายได้เป็นทุนในการก่อสร้างเพื่อประโยชน์ของประชาชน ดังกล่าวข้างต้นเพื่อช่วยประหยัดงบประมาณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมั่นใจว่า จากการดำเนินนโยบายและมาตรการของกระทรวงการคลังในช่วงที่ผ่านมา และที่จะมีการดำเนินการในปีต่อไป จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน คาดว่าเศรษฐกิจไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีการเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 อัตราเงินเฟ้อและดุลบัญชีเดินสะพัดไม่เป็นปัญหาต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจ สังคม ความอยู่ดีกินดี รวมทั้งคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยจะดีขึ้นใน 5 ปีข้างหน้า
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 117/2548 14 ธันวาคม 48--
1. ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งในวันที่ 2 สิงหาคม 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ให้ความสำคัญกับนโยบายในการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงก่อนเข้ารับตำแหน่งดังกล่าว เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกค่อนข้างมาก ดังจะเห็นได้จาก เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีแรกของปี 2548 ขยายตัวในอัตราชะลอลง เนื่องจากต้องเผชิญกับเหตุการณ์ผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ภัยแล้ง คลื่นยักษ์สึนามิ และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นต้น ประกอบกับ อัตราเงินเฟ้อเริ่มปรับตัวสูงขึ้นตามการลอยตัวของราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกภายในประเทศ ในขณะที่ ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มมีการขาดดุล ตามมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวสูงขึ้นมากและการชะลอตัวของการท่องเที่ยว ดังนั้น มาตรการหลักที่กระทรวงการคลังได้ดำเนินการไปในช่วงที่ผ่านมาจึงเน้นในเรื่องการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ ดังนี้
- ในด้านเสถียรภาพการคลัง กระทรวงการคลังได้มีมาตรการเพื่อรักษาวินัยทางการคลังอย่างเคร่งครัด โดยเมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลสามารถทำงบประมาณสมดุลได้จริงเป็นปีแรก นอกจากนี้ ได้มีการกำกับโครงการการใช้จ่ายภาครัฐให้อยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง กล่าวคือ หนี้สาธารณะต่อ GDP ต้องไม่เกินร้อยละ 50 ภาระหนี้ต่องบประมาณต้องไม่เกินร้อยละ 15 และงบประมาณลงทุนต่องบประมาณทั้งหมดต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
- ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ กระทรวงการคลังได้กำหนดมาตรการชะลอการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อโดยการคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไปอีก 2 ปี มาตรการบรรเทาผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นต่อประชาชนผู้มีรายได้น้อย เช่น การเพิ่มเงินเดือนราชการ และการเพิ่มบำนาญให้ข้าราชการอีกร้อยละ 5 มาตรการภาษีปรับโครงสร้างหนี้ผู้ประสบภัยในเหตุการณ์สึนามิ และมาตรการบรรเทาภาระภาษีของผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้
- ในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศ กระทรวงการคลังได้กำหนดมาตรการลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยการบริหารการนำเข้าน้ำมันดิบ เหล็ก และทองคำ ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกำหนดมาตรการส่งเสริมพลังงานทดแทนในภาคขนส่ง โดยยกเว้นอากรขาเข้าถังก๊าซ NGV และอุปกรณ์
2. นอกเหนือจากการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจตามที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมในระยะกลางและระยะยาว โดยได้ดำเนินมาตรการการคลังและการเงินที่จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เสริมสร้างคนไทยสู่มิติเชิงคุณภาพ และเสริมสร้างสังคมแข็งแกร่งควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ดังนี้
- ในด้านการเสริมสร้างผลิตภาพและความสามารถในการแข่งขัน กระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกมาตรการปรับปรุงโครงสร้างอากรขาเข้าเพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิต ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ มาตรการเสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจผ่านกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น การสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง และชักจูงการลงทุนในงาน ASEAN ROAD SHOW ที่ประเทศอังกฤษ การส่งเสริม Contract Farming ภายใต้กรอบ ACMECS และการให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยเข้ามามีบทบาทเชิงรุกในการผลักดันตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asia Bond) ในภูมิภาคและอนุภูมิภาคให้มีมากขึ้น
- ในด้านการเสริมสร้างคนไทยสู่มิติเชิงคุณภาพ กระทรวงการคลังได้กำหนดมาตรการส่งเสริมการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานโดยการให้หักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเป็น 2 เท่า มาตรการสร้างโอกาสการเรียนรู้แก่คนไทยด้วยต้นทุนที่ถูกลง โดยการยกเว้นอากรขาเข้าสื่อสิ่งพิมพ์และปัจจัยการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์
- ในด้านการเสริมสร้างสังคมให้แข็งแกร่งและยกระดับคุณภาพชีวิต กระทรวงการคลังได้ออกมาตรการคืนคุณภาพชีวิตให้ลูกหนี้และเพิ่มโอกาสทางการเงินโดยการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน ด้วยความร่วมมือจากสถาบันการเงิน 25 แห่ง มาตรการภาษีบ้านมือสองเพื่อให้โอกาสในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีโดยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองที่ดีขึ้น และมาตรการเสริมสร้างระบบสวัสดิการและความปลอดภัยทางสังคม โดยการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปสำหรับเงินได้ที่ได้รับไม่เกิน 380,000 บาท และการเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตบุหรี่และสุรา รวมทั้งมีการควบคุมการจำหน่ายสุรายาสูบในบริเวณรอบๆ สถานศึกษา
3. ในช่วง 4 เดือนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเข้ามาดำรงตำแหน่ง เศรษฐกิจไทยได้กลับมาขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น ดังจะเห็นได้จาก การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่เริ่มเข้าสู่แนวโน้มปกติ โดยเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปี 2548 คาดว่าจะขยายตัว ร้อยละ 5.5 ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรกที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.9 ทำให้ทั้งปีขยายตัวไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 4.7 ในขณะที่เสถียรภาพทั้งภายในและภายนอกได้กลับมาเข้มแข็งขึ้นมาก โดยดุลเงินในงบประมาณปี 2548 มีการเกินดุลจำนวน 11,863 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเกินดุลครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ และดุลบัญชีเดินสะพัดก็กลับมาเกินดุล 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสที่ 3 และคาดว่าทั้งปีดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลประมาณ 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น -1.8 % ของ GDP อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก แต่แนวโน้มของอัตราเงินเฟ้อได้เริ่มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบนโยบายให้ปี 2549 เป็น “ปีแห่งการปรับโครงสร้าง” เพื่อสร้างรากฐานเศรษฐกิจและธุรกิจใหม่และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลก โดยได้ให้กรอบการดำเนินการในปี 2549 ของกระทรวงการคลัง ดังนี้
- เสถียรภาพเศรษฐกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นรากฐานที่ให้ภาคเอกชนมีการลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานการสร้างการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ดังนั้น กระทรวงการคลังจะต้องเป็นผู้นำหลักในการรักษาเสถียรภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ ในทางตรง กระทรวงการคลังต้องรักษาวินัยทางการคลังให้เข้มแข็งอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการคลัง โดยจะจัดทำงบประมาณสมดุลในปีงบประมาณ 2550 และจะเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายให้ตรงตามเป้าหมายที่ร้อยละ 93 ในขณะเดียวกัน การดำเนินนโยบายการคลังในอนาคตจะต้องอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังอย่างเคร่งครัด ส่วนในทางอ้อมนั้น กระทรวงการคลังจะต้องร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในการรักษาเสถียรภาพภายในและภายนอก ไม่ให้อัตราเงินเฟ้อสูงเกินไป ไม่ให้อัตราการว่างงานสูง และไม่ให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากเกินไป
- เมื่อเสถียรภาพแข็งแกร่ง จะเปิดโอกาสให้สามารถปรับโครงสร้างได้อย่างเต็มที่ โดยในปี 2549 จะเน้นให้เป็นปีแห่งการปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบเพื่อสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค (Regional Hub) เช่น การปรับโครงสร้างอากรขาเข้าเพื่อสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารแปรรูปภูมิภาคเอเชีย หรือการเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์แห่งเอเชีย (Detroit of Asia) เป็นต้น นอกจากนั้น จะต้องเร่งปรับโครงสร้างภาคการเงินทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดตราสารหนี้ ให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น โดยในด้านการเงินจะต้องเร่งให้มีการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก การปรับปรุงการกำกับดูแลธุรกิจธนาคารและที่ไม่ใช่ธนาคารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในด้านตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้จะต้องมีแผนพัฒนาตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ที่ชัดเจนเพิ่มบทบาทตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการเงินและตลาดทุน
- การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของคนไทยจะต้องได้รับความสำคัญควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยในปี 2549 จะผลักดันการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ เพื่อเสริมสร้างระบบสวัสดิการและความปลอดภัยทางสังคมในอนาคตให้แก่ประชากรไทยที่มีแนวโน้มจะเข้าสู่สังคมวัยสูงอายุมากขึ้น นอกจากนั้น จะผลักดันให้คนไทยในระดับฐานราก มีโอกาสทางการเงินในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อให้สามารถยกระดับชีวิตของตนเองได้มากขึ้น อีกทั้งเพื่อเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนให้กับองค์กรการเงินระดับฐานรากทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ เครดิตยูเนียน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ธนาคารหมู่บ้าน ฯลฯ โดยกระทรวงการคลังจะมีการจัดทำแผนแม่บทการเงินฐานรากทั้งระบบ นอกจากนี้ กระทรวงการคลังจะขอมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้หน่วยราชการต่าง ๆ คืนที่ราชพัสดุที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์มาเพื่อทำการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ต่อประชาชนและการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งจะนำที่ราชพัสดุมาบริหารเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่
1. จัดทำโครงการสถานที่ราชการ ที่อยู่อาศัยให้กับหน่วยราชการเจ้าของที่เดิม และข้าราชการ
2. จัดทำโครงการรองรับระบบ Logistic เช่น ท่าเรือ โกดังสินค้า ICD Park&Ride
3. จัดที่ทำกินให้กับราษฎร
4. จัดทำที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อย บ้านเอื้ออาทร บ้านธนารักษ์ บ้านข้าราชการ ห้องชุดสำหรับครอบครัวใหม่
5. จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกของชุมชน สวนสาธารณะ สนามกีฬา ห้องสมุด
6. จัดทำเป็นโครงการเพื่อหารายได้เป็นทุนในการก่อสร้างเพื่อประโยชน์ของประชาชน ดังกล่าวข้างต้นเพื่อช่วยประหยัดงบประมาณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมั่นใจว่า จากการดำเนินนโยบายและมาตรการของกระทรวงการคลังในช่วงที่ผ่านมา และที่จะมีการดำเนินการในปีต่อไป จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน คาดว่าเศรษฐกิจไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีการเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 อัตราเงินเฟ้อและดุลบัญชีเดินสะพัดไม่เป็นปัญหาต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจ สังคม ความอยู่ดีกินดี รวมทั้งคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยจะดีขึ้นใน 5 ปีข้างหน้า
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 117/2548 14 ธันวาคม 48--