ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เตรียมตรวจสอบ ธพ.ไทยเกี่ยวกับลูกหนี้ที่มีแนวโน้มเป็นเอ็นพีแอล นางธาริษา วัฒนเกส
รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.อยู่ระหว่างการตรวจสอบ ธพ.แห่ง
อื่นเกี่ยวกับลูกหนี้ปกติที่มีแนวโน้มเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในอนาคต โดยให้ใช้เกณฑ์การจัด
กลุ่มลูกหนี้ Potential NPL ให้ ธพ.พิจารณากันเงินสำรองตามความเหมาะสม ซึ่งจะไม่ใช้เกณฑ์หยุดรับรู้
รายได้ 1 เดือนเพียงอย่างเดียว แต่จะเน้นให้พิจารณาคุณภาพลูกหนี้ด้วย เช่นเดียวกับลูกหนี้ ธ.กรุงไทย ที่ได้
ตรวจสอบพบว่ามีลูกหนี้ที่มีแนวโน้มมีปัญหาการชำระหนี้ หรือปล่อยสินเชื่อที่ไม่ได้วิเคราะห์อย่างเหมาะสม จึงได้
สั่งการให้นำกลับมาจัดชั้นเป็นหนี้เอ็นพีแอล และกันสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มไปก่อนหน้านี้ ซึ่ง ธปท.ไม่ได้
เฉพาะเจาะจงพิจารณาธนาคารแห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ รวมทั้งไม่ได้พิจารณาธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งโดยเฉพาะ
โดย ธปท.จะพิจารณาความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อแล้วมีแนวโน้มว่าจะได้รับเงินคืนหรือไม่ แม้ลูกหนี้ของ
ธพ.สามารถที่จะชำระหนี้ในปัจจุบันได้ แต่ต้องมีการประเมินความสามารถในการชำระหนี้คืนในอนาคตได้หรือ
ไม่อีกด้วย (ข่าวสด, เดลินิวส์, บ้านเมือง, ไทยรัฐ)
2. ธปท.จะโอนงานบริการแลกธนบัตรใหม่ให้ ธพ.เป็นผู้ให้บริการแทน รายงานจากธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.47 ธปท.จะเริ่มโครงการจัดการระบบธนบัตรใหม่ โดย
ธปท.จะโอนงานบริการแลกธนบัตรใหม่ให้ ธพ. เป็นผู้ให้บริการแทน โดยจะมีการแบ่งหน้าที่ในการรับแลก
ธนบัตรของ ธปท. และ ธพ.ให้มีความชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ การยกเลิกการแลกธนบัตรใหม่ในวันที่ 1 ต.ค.เนื่อง
จากเป็นวันขึ้นปีงบประมาณใหม่ จึงเป็นการเริ่มต้นโครงการไปพร้อมกับนโยบายของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม
ธปท.จะยังคงรับแลกธนบัตรชำรุดเช่นเดิม (มติชน)
3. กองทุนน้ำมันฯ มีหนี้สะสมในการตรึงราคาน้ำมันถึงปัจจุบันเกือบ 2 หมื่นล้านบาท รายงานข่าว
จาก ก.พลังงาน เปิดเผยถึงการชดเชยราคาน้ำมันขายปลีกตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค.47 จนถึงปัจจุบันว่าเป็นเงิน
ทั้งสิ้น 19,539 ล้านบาท โดยล่าสุดมีการชดเชยเฉลี่ยวันละ 208 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขสูงที่สุดตั้งแต่เข้ามา
ตรึงราคาน้ำมัน นอกจากนี้ จากสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงผันผวนต่อไปจนถึงสิ้นปี 47 ดังนั้น
โอกาสที่กองทุนน้ำมันฯ จะชดเชยเกิน 30,000 ล้านบาทในปีนี้ถือว่าสูงมาก โดยเฉพาะภาระจากการตรึง
ราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งล่าสุดต้องชดเชยอยู่ที่ลิตรละ 3.60 บาท ถือว่าเป็นราคาน้ำมันสูงสุดที่สุดเป็นประวัติการณ์
โดยขณะนี้ ก.พลังงานกำลังศึกษาการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมัน เช่น การใช้มาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน
การจัดสรรเงินงบประมาณมาชดเชยราคาน้ำมัน และการปรับขึ้นราคาน้ำมัน เป็นต้น (เดลินิวส์, ข่าวสด)
4. ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอในช่วง 10 เดือนมีจำนวน 3.94 แสนล้านบาท รม
ว.ก.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในการประชุม ครม.ในวันอังคารที่ 27 ก.ค.47 นี้ ก.อุตสาหกรรมเตรียม
รายงานสถานการณ์การลงทุนในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.46-21 ก.ค.47) มียอดขอรับการส่งเสริม
การลงทุนรวม 3.94 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าในช่วงเวลาที่เหลืออีก 2 เดือนของปีงบประมาณ 47 จะมียอด
ขอรับการส่งเสริมการลงทุนเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ 4 แสนล้านบาท โดยในช่วงครึ่งหลังของปี 47 แม้ว่า
เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวจากปัญหาการก่อการร้าย การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง แต่คาดว่าการลงทุนของภาคเอกชนจะยังคงขยายตัวมากขึ้น (เดลินิวส์, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายและราคาบ้านมือสองของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มสูงขึ้น รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อ 26 ก.ค.47 The National Association of Realtors เปิดเผยว่า ยอดขายและราคาบ้านมือ
สองของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูง โดยยอดขายบ้านมือสองเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 (อัตราต่อปี
หลังปรับฤดูกาล) เป็นจำนวน 6.95 ล้านหลัง จากจำนวน 6.81 ล้านหลังในเดือนก่อน ตรงข้ามกับที่นัก
เศรษฐศาสตร์คาดว่าจะลดลงเหลือจำนวน 6.67 ล้านหลัง ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของยอดขายบ้านมีสาเหตุจากผู้ซื้อ
บ้านเร่งซื้อบ้านเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยมีการคาดหมายว่าอาจจะมีการ
ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองในปีนี้เนื่องจากเศรษฐกิจ สรอ.แข็งแกร่งขึ้น ขณะเดียวกัน ราคาบ้านเฉลี่ย
ก็เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงเช่นกันที่ 191,800 ดอลลาร์ สรอ. จากระดับ 182,400 ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน
และสูงขึ้นร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากปัจจัยพื้นฐาน คือความต้องการซื้อที่เพิ่ม
ขึ้น ในขณะที่ปริมาณสินค้าลดลง อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์มองว่า ยอดขายและราคาบ้านที่สูงขึ้นดังกล่าว
เป็นเพียงในบางพื้นที่ของประเทศเท่านั้น และมีเหตุผลเพียงเล็กน้อยที่จะหวั่นเกรงว่าอาจเกิดภาวะฟองสบู่ขึ้น
เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน มิ.ย.47 ชะลอลงเมื่อเทียบต่อเดือน ขณะที่
เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบต่อปี รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 26 ก.ค.47 ทางการสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ผลผลิต
อุตสาหกรรมโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน มิ.ย.47 ลดลงร้อยละ 3.4 ใกล้เคียงกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า
จะลดลงร้อยละ 3.0 หลังจากที่ลดลงเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.6 ในเดือน พ.ค. และเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง
ถึงร้อยละ 19.9 ในเดือน เม.ย. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ปี 43 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีผลผลิต
อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8
ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ที่ผลผลิตอุตสาหกรรมของสิงคโปร์จะชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี 47 อย่างไรก็ตาม
ผลผลิตอุตสาหกรรมในขณะนี้ ถือว่าเป็นการชะลอตัวลงเล็กน้อยและไม่รุนแรง และยังคงเติบโตแข็งแกร่งกว่าปี
46 ซึ่งเป็นช่วงที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส (รอยเตอร์)
3. มาเลเซียจะปรับวิธีการคำนวณดัชนีราคาใหม่ รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 26
ก.ค. 47 นาย Ismail Yusoff ผอ.สำนักงานสถิติมาเลเซียเปิดเผยว่า รัฐบาลได้วางแผนที่จะเปลี่ยน
แปลงวิธีการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคเพื่อให้สะท้อนถึงรูปแบบการใช้จ่ายล่าสุดโดยจะใช้ปี 48 เป็นปีฐานโดยมี
ผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 49 เป็นต้นไป ทั้งนี้เงินเฟ้อของมาเลเซียอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี ทั้งๆที่
เศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ค่าเงินอยู่ในระดับต่ำ และมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็น
แนวทางสำคัญที่จะกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ นักเศรษฐศาสตร์วิตกว่าอาจจะเป็นไปได้ที่ดัชนีสะท้อนถึงภาวะเงิน
เฟ้อต่ำกว่าความเป็นจริงส่วนหนึ่ง เนื่องจากเป็นการวัดสินค้าและบริการที่มีการควบคุมราคาแล้วเป็นส่วนมาก
และเป็นการสะท้อนรูปแบบการใช้จ่ายในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา นาย Ismail Yusoff ยอมรับว่าดัชนีอาจจะ
สะท้อนภาวะเงินเฟ้อต่ำกว่าความเป็นจริงแต่ก็มิได้คาดเดาว่าอัตราเงินเฟ้อควรเป็นเท่าไร ทั้งนี้รัฐบาล
มาเลเซียให้เงินอุดหนุนสวัสดิการสาธารณะซึ่งไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆ โดยสำนักงานสถิติกำลังสำรวจการ
บริโภคภาคครัวเรือนในรอบ 12 เดือน แต่นาย Zeti Akhtar Aziz ผวก.ธ.กลางมาเลเซียกล่าวว่า
ดัชนีราคาผู้บริโภคมิได้เป็นปัจจัยเดียวที่ใช้พิจารณากำหนดนโยบายการเงิน ทั้งนี้ในเดือนมิ.ย. ดัชนีราคาผู้
บริโภคของมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วลดลงจากร้อยละ 5 ในปี 41 ขณะที่เมื่อ
เปรียบเทียบกับเงินเฟ้อของประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และสิงคโปร์ที่ทำสถิติสูงสุดใน
รอบหลายเดือน ทำให้ธ.กลางของไทยส่งสัญญาณว่าจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นหากระดับราคายังคงสูง
อย่างต่อเนื่อง สำหรับอินโดนีเซียนั้นอัตราเงินเฟ้อในเดือนมิ.ย. อยู่ที่ร้อยละ 6.83 สูงสุดในรอบ 13 เดือน
ส่วนหนึ่งมาจากการอ่อนค่าของเงินรูเปีย ส่วนฟิลิปปินส์ ไทย และสิงคโปร์เงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 5.1 ร้อยละ
3.0 และร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อนตามลำดับ นักวิเคราะห์คาดว่าเงินเฟ้อของมาเลเซียควรจะอยู่
สูงกว่าร้อยละ 1.3 อยู่ 0.5 — 1.5 จุดเนื่องจากการขนส่ง ไฟฟ้า น้ำ และอาหารบางชนิดรัฐบาลมาเลเซีย
ให้การอุดหนุนจึงบิดเบือนราคาที่แท้จริงของสินค้าและบริการอื่นๆ นอกจากนั้นการนำเข้าเครื่องนุ่งห่มราคาถูก
จากจีน และการแข่งขันในตลาดก็เป็นปัจจัยกดดันให้ดัชนีราคาผู้บริโภคอยู่ในระดับต่ำ ( รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้ได้รับผลกระทบจากนโยบายลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีน รายงานจากโซล
เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 47 ธ.กลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่าการส่งออกของเกาหลีใต้ได้รับผลกระทบจากนโยบายลด
การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนเนื่องจากการส่งออกส่วนใหญ่ไปจีน มิได้เพื่อการบริโภคในประเทศ ทั้งนี้
เกาหลีใต้ต้องพยายามขยายธุรกิจเพื่อการบริโภคในท้องถิ่นของจีนให้มากขึ้นโดยยอดการส่งออกของเกาหลีใต้
ไปจีนมีความสัมพันธ์กับการส่งออกของจีนมากกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งนี้เศรษฐกิจของจีน
ในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 9.6 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วลดลงจากร้อยละ 9.8 ในไตรมาสก่อน นัก
เศรษฐศาสตร์กล่าวว่าเศรษฐกิจจีนหดตัวในช่วงไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 อย่างไรก็ตามในช่วง 5 เดือน
แรกจีนนำเข้าสินค้าจากเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 53.9 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วโดยร้อยละ 40 —50 ของ
สินค้าส่งออกเกาหลีใต้ไปฮ่องกงจะถูกส่งไปจีน ( รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ก.ค. 47 26 ก.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.146 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.9209/41.2082 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.09375-1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 633.42/13.43 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,600/7,700 7,550/7,650 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.54 35.44 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เตรียมตรวจสอบ ธพ.ไทยเกี่ยวกับลูกหนี้ที่มีแนวโน้มเป็นเอ็นพีแอล นางธาริษา วัฒนเกส
รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.อยู่ระหว่างการตรวจสอบ ธพ.แห่ง
อื่นเกี่ยวกับลูกหนี้ปกติที่มีแนวโน้มเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในอนาคต โดยให้ใช้เกณฑ์การจัด
กลุ่มลูกหนี้ Potential NPL ให้ ธพ.พิจารณากันเงินสำรองตามความเหมาะสม ซึ่งจะไม่ใช้เกณฑ์หยุดรับรู้
รายได้ 1 เดือนเพียงอย่างเดียว แต่จะเน้นให้พิจารณาคุณภาพลูกหนี้ด้วย เช่นเดียวกับลูกหนี้ ธ.กรุงไทย ที่ได้
ตรวจสอบพบว่ามีลูกหนี้ที่มีแนวโน้มมีปัญหาการชำระหนี้ หรือปล่อยสินเชื่อที่ไม่ได้วิเคราะห์อย่างเหมาะสม จึงได้
สั่งการให้นำกลับมาจัดชั้นเป็นหนี้เอ็นพีแอล และกันสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มไปก่อนหน้านี้ ซึ่ง ธปท.ไม่ได้
เฉพาะเจาะจงพิจารณาธนาคารแห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ รวมทั้งไม่ได้พิจารณาธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งโดยเฉพาะ
โดย ธปท.จะพิจารณาความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อแล้วมีแนวโน้มว่าจะได้รับเงินคืนหรือไม่ แม้ลูกหนี้ของ
ธพ.สามารถที่จะชำระหนี้ในปัจจุบันได้ แต่ต้องมีการประเมินความสามารถในการชำระหนี้คืนในอนาคตได้หรือ
ไม่อีกด้วย (ข่าวสด, เดลินิวส์, บ้านเมือง, ไทยรัฐ)
2. ธปท.จะโอนงานบริการแลกธนบัตรใหม่ให้ ธพ.เป็นผู้ให้บริการแทน รายงานจากธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.47 ธปท.จะเริ่มโครงการจัดการระบบธนบัตรใหม่ โดย
ธปท.จะโอนงานบริการแลกธนบัตรใหม่ให้ ธพ. เป็นผู้ให้บริการแทน โดยจะมีการแบ่งหน้าที่ในการรับแลก
ธนบัตรของ ธปท. และ ธพ.ให้มีความชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ การยกเลิกการแลกธนบัตรใหม่ในวันที่ 1 ต.ค.เนื่อง
จากเป็นวันขึ้นปีงบประมาณใหม่ จึงเป็นการเริ่มต้นโครงการไปพร้อมกับนโยบายของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม
ธปท.จะยังคงรับแลกธนบัตรชำรุดเช่นเดิม (มติชน)
3. กองทุนน้ำมันฯ มีหนี้สะสมในการตรึงราคาน้ำมันถึงปัจจุบันเกือบ 2 หมื่นล้านบาท รายงานข่าว
จาก ก.พลังงาน เปิดเผยถึงการชดเชยราคาน้ำมันขายปลีกตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค.47 จนถึงปัจจุบันว่าเป็นเงิน
ทั้งสิ้น 19,539 ล้านบาท โดยล่าสุดมีการชดเชยเฉลี่ยวันละ 208 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขสูงที่สุดตั้งแต่เข้ามา
ตรึงราคาน้ำมัน นอกจากนี้ จากสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงผันผวนต่อไปจนถึงสิ้นปี 47 ดังนั้น
โอกาสที่กองทุนน้ำมันฯ จะชดเชยเกิน 30,000 ล้านบาทในปีนี้ถือว่าสูงมาก โดยเฉพาะภาระจากการตรึง
ราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งล่าสุดต้องชดเชยอยู่ที่ลิตรละ 3.60 บาท ถือว่าเป็นราคาน้ำมันสูงสุดที่สุดเป็นประวัติการณ์
โดยขณะนี้ ก.พลังงานกำลังศึกษาการแก้ไขปัญหาราคาน้ำมัน เช่น การใช้มาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน
การจัดสรรเงินงบประมาณมาชดเชยราคาน้ำมัน และการปรับขึ้นราคาน้ำมัน เป็นต้น (เดลินิวส์, ข่าวสด)
4. ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอในช่วง 10 เดือนมีจำนวน 3.94 แสนล้านบาท รม
ว.ก.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในการประชุม ครม.ในวันอังคารที่ 27 ก.ค.47 นี้ ก.อุตสาหกรรมเตรียม
รายงานสถานการณ์การลงทุนในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.46-21 ก.ค.47) มียอดขอรับการส่งเสริม
การลงทุนรวม 3.94 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าในช่วงเวลาที่เหลืออีก 2 เดือนของปีงบประมาณ 47 จะมียอด
ขอรับการส่งเสริมการลงทุนเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ 4 แสนล้านบาท โดยในช่วงครึ่งหลังของปี 47 แม้ว่า
เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวจากปัญหาการก่อการร้าย การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง แต่คาดว่าการลงทุนของภาคเอกชนจะยังคงขยายตัวมากขึ้น (เดลินิวส์, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายและราคาบ้านมือสองของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มสูงขึ้น รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อ 26 ก.ค.47 The National Association of Realtors เปิดเผยว่า ยอดขายและราคาบ้านมือ
สองของ สรอ.ในเดือน มิ.ย.47 เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูง โดยยอดขายบ้านมือสองเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 (อัตราต่อปี
หลังปรับฤดูกาล) เป็นจำนวน 6.95 ล้านหลัง จากจำนวน 6.81 ล้านหลังในเดือนก่อน ตรงข้ามกับที่นัก
เศรษฐศาสตร์คาดว่าจะลดลงเหลือจำนวน 6.67 ล้านหลัง ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของยอดขายบ้านมีสาเหตุจากผู้ซื้อ
บ้านเร่งซื้อบ้านเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยมีการคาดหมายว่าอาจจะมีการ
ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองในปีนี้เนื่องจากเศรษฐกิจ สรอ.แข็งแกร่งขึ้น ขณะเดียวกัน ราคาบ้านเฉลี่ย
ก็เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงเช่นกันที่ 191,800 ดอลลาร์ สรอ. จากระดับ 182,400 ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน
และสูงขึ้นร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากปัจจัยพื้นฐาน คือความต้องการซื้อที่เพิ่ม
ขึ้น ในขณะที่ปริมาณสินค้าลดลง อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์มองว่า ยอดขายและราคาบ้านที่สูงขึ้นดังกล่าว
เป็นเพียงในบางพื้นที่ของประเทศเท่านั้น และมีเหตุผลเพียงเล็กน้อยที่จะหวั่นเกรงว่าอาจเกิดภาวะฟองสบู่ขึ้น
เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน มิ.ย.47 ชะลอลงเมื่อเทียบต่อเดือน ขณะที่
เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบต่อปี รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 26 ก.ค.47 ทางการสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ผลผลิต
อุตสาหกรรมโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน มิ.ย.47 ลดลงร้อยละ 3.4 ใกล้เคียงกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า
จะลดลงร้อยละ 3.0 หลังจากที่ลดลงเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.6 ในเดือน พ.ค. และเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง
ถึงร้อยละ 19.9 ในเดือน เม.ย. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ปี 43 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีผลผลิต
อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8
ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ที่ผลผลิตอุตสาหกรรมของสิงคโปร์จะชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี 47 อย่างไรก็ตาม
ผลผลิตอุตสาหกรรมในขณะนี้ ถือว่าเป็นการชะลอตัวลงเล็กน้อยและไม่รุนแรง และยังคงเติบโตแข็งแกร่งกว่าปี
46 ซึ่งเป็นช่วงที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส (รอยเตอร์)
3. มาเลเซียจะปรับวิธีการคำนวณดัชนีราคาใหม่ รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 26
ก.ค. 47 นาย Ismail Yusoff ผอ.สำนักงานสถิติมาเลเซียเปิดเผยว่า รัฐบาลได้วางแผนที่จะเปลี่ยน
แปลงวิธีการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคเพื่อให้สะท้อนถึงรูปแบบการใช้จ่ายล่าสุดโดยจะใช้ปี 48 เป็นปีฐานโดยมี
ผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 49 เป็นต้นไป ทั้งนี้เงินเฟ้อของมาเลเซียอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี ทั้งๆที่
เศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ค่าเงินอยู่ในระดับต่ำ และมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็น
แนวทางสำคัญที่จะกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ นักเศรษฐศาสตร์วิตกว่าอาจจะเป็นไปได้ที่ดัชนีสะท้อนถึงภาวะเงิน
เฟ้อต่ำกว่าความเป็นจริงส่วนหนึ่ง เนื่องจากเป็นการวัดสินค้าและบริการที่มีการควบคุมราคาแล้วเป็นส่วนมาก
และเป็นการสะท้อนรูปแบบการใช้จ่ายในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา นาย Ismail Yusoff ยอมรับว่าดัชนีอาจจะ
สะท้อนภาวะเงินเฟ้อต่ำกว่าความเป็นจริงแต่ก็มิได้คาดเดาว่าอัตราเงินเฟ้อควรเป็นเท่าไร ทั้งนี้รัฐบาล
มาเลเซียให้เงินอุดหนุนสวัสดิการสาธารณะซึ่งไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆ โดยสำนักงานสถิติกำลังสำรวจการ
บริโภคภาคครัวเรือนในรอบ 12 เดือน แต่นาย Zeti Akhtar Aziz ผวก.ธ.กลางมาเลเซียกล่าวว่า
ดัชนีราคาผู้บริโภคมิได้เป็นปัจจัยเดียวที่ใช้พิจารณากำหนดนโยบายการเงิน ทั้งนี้ในเดือนมิ.ย. ดัชนีราคาผู้
บริโภคของมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วลดลงจากร้อยละ 5 ในปี 41 ขณะที่เมื่อ
เปรียบเทียบกับเงินเฟ้อของประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และสิงคโปร์ที่ทำสถิติสูงสุดใน
รอบหลายเดือน ทำให้ธ.กลางของไทยส่งสัญญาณว่าจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นหากระดับราคายังคงสูง
อย่างต่อเนื่อง สำหรับอินโดนีเซียนั้นอัตราเงินเฟ้อในเดือนมิ.ย. อยู่ที่ร้อยละ 6.83 สูงสุดในรอบ 13 เดือน
ส่วนหนึ่งมาจากการอ่อนค่าของเงินรูเปีย ส่วนฟิลิปปินส์ ไทย และสิงคโปร์เงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 5.1 ร้อยละ
3.0 และร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อนตามลำดับ นักวิเคราะห์คาดว่าเงินเฟ้อของมาเลเซียควรจะอยู่
สูงกว่าร้อยละ 1.3 อยู่ 0.5 — 1.5 จุดเนื่องจากการขนส่ง ไฟฟ้า น้ำ และอาหารบางชนิดรัฐบาลมาเลเซีย
ให้การอุดหนุนจึงบิดเบือนราคาที่แท้จริงของสินค้าและบริการอื่นๆ นอกจากนั้นการนำเข้าเครื่องนุ่งห่มราคาถูก
จากจีน และการแข่งขันในตลาดก็เป็นปัจจัยกดดันให้ดัชนีราคาผู้บริโภคอยู่ในระดับต่ำ ( รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้ได้รับผลกระทบจากนโยบายลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีน รายงานจากโซล
เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 47 ธ.กลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่าการส่งออกของเกาหลีใต้ได้รับผลกระทบจากนโยบายลด
การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนเนื่องจากการส่งออกส่วนใหญ่ไปจีน มิได้เพื่อการบริโภคในประเทศ ทั้งนี้
เกาหลีใต้ต้องพยายามขยายธุรกิจเพื่อการบริโภคในท้องถิ่นของจีนให้มากขึ้นโดยยอดการส่งออกของเกาหลีใต้
ไปจีนมีความสัมพันธ์กับการส่งออกของจีนมากกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งนี้เศรษฐกิจของจีน
ในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 9.6 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วลดลงจากร้อยละ 9.8 ในไตรมาสก่อน นัก
เศรษฐศาสตร์กล่าวว่าเศรษฐกิจจีนหดตัวในช่วงไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 อย่างไรก็ตามในช่วง 5 เดือน
แรกจีนนำเข้าสินค้าจากเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 53.9 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วโดยร้อยละ 40 —50 ของ
สินค้าส่งออกเกาหลีใต้ไปฮ่องกงจะถูกส่งไปจีน ( รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ก.ค. 47 26 ก.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.146 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.9209/41.2082 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.09375-1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 633.42/13.43 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,600/7,700 7,550/7,650 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 35.54 35.44 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 18.79*/14.59 18.79*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-