ประเทศไทยนับว่ามีศักยภาพสูงในการทำการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบเนื่องจากสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยที่เป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากการทำการค้าในรูปแบบปกติ ที่มีการนำเข้าและส่งออกทางท่าเรือและท่าอากาศยานแล้ว ประเทศไทยยังสามารถทำการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อกับไทย 4 ประเทศ คือ พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย
การค้าชายแดนเกิดผลดีกับอุตสาหกรรม SME ไม่น้อย ซึ่งการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นอีกกิจกรรมทางเศรษฐกิจหนึ่งที่ทางภาครัฐให้การสนับสนุนและส่งเสริม นอกจากเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ยังเป็นการกระจายความเสี่ยงในเรื่องตลาดการค้าของประเทศไทยด้วย การที่ตลาดประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความละม้ายคล้ายคลึงกับลักษณะตลาดภายในประทศไทย และพฤติกรรมของผู้บริโภคก็เหมือนกัน ทำให้เป็นความง่ายของนักธุรกิจไทยที่จะเข้าไปทำตลาดในพื้นที่และมีต้นทุนค่าใช้จ่ายทางการตลาดต่ำ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็กและเป็นหน้าใหม่ในวงการ มากไปกว่านั้นตลาดในประเทศเพื่อนบ้านจัดว่าเป็นตลาดที่สินค้าจากประเทศไทยมีคู่แข่งขันน้อย ประเภทส่งออกอะไรจากไทยไปรับได้หมด ทั้งข้อจำกัดในเรื่องมาตรการการค้าหยุมหยิมแบบที่มีใช้กันในสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ก็ไม่ค่อยมี ทำให้ความน่าสนใจในตลาดการค้าของประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกันที่นักธุรกิจหน้าใหม่และหน้าเก่าไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า นี่แหละโอกาสทองทางธุรกิจที่แท้จริง
ขณะนี้ช่องทางการค้าที่ถูกต้องที่ทางราชการได้จัดไว้ให้ค้าขายกัน ได้แก่จุดผ่านแดนถาวร จุดผ่อนปรน และจุดผ่านแดนชั่วคราว ที่ตั้งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปตามจังหวัดชายแดนต่างๆ ของประเทศ ส่วนช่องทางธรรมชาติที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตลอดแนวชายแดน เป็นช่องทางที่ประชาชนของทั้งสองฝั่งข้ามไปมาหาสู่กัน แต่ทางราชการไม่จัดว่าเป็นช่องทางการค้าอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีการค้าขายทั่วไปเล็กๆ น้อยๆ จำพวกสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก น้ำมันพืช เป็นต้น ซึ่งลักษณะแบบนี้เราก็พบเห็นได้ตามจุดผ่อนปรนเช่นกัน ส่วนการค้าในลักษณะใหญ่ๆ มีการบรรทุกใส่รถสิบล้อไปส่งของ จะเกิดขึ้นมากตามจุดผ่านแดนถาวร
รูปแบบการค้าชายแดนมีรูปแบบที่เป็นทั้งการค้าในระบบและการค้านอกระบบ การค้าในระบบเป็นการค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยผู้นำเข้า-ส่งออกจะทำการนำเข้าและส่งออกสินค้าผ่านพิธีการศุลกากรโดยมีการเสียภาษีอย่างถูกต้อง และการค้านอกระบบ เป็นการลักลอบทำการค้าตามแนวชายแดนจุดที่มีการลักลอบนำเข้าได้แก่ บริเวณแม่น้ำแม่สาย แม่น้ำเมย การค้าแบบนี้เรียกว่า สินค้าลอยน้ำ ส่วนการค้าผ่านแดน เป็นการค้าของไทยกับประเทศที่สาม โดยอาศัยพม่าเป็นทางผ่านสินค้าไปสู่จีน อินเดีย และบังคลาเทศ เป็นต้น ส่วนลักษณะของผู้นำเข้า-ส่งออกสินค้าตามแนวชายแดนไทย-พม่า มีทั้งรูปแบบที่เป็นนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา นิติบุคคลที่จะนำเข้าและส่งออกสินค้าได้ จะต้องเป็นสมาชิกของหอการค้าในจังหวัดชายแดนนั้น ส่วนบุคคลธรรมดาหรือผู้ค้ารายย่อย มีทั้งที่เป็นร้านค้าที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์และร้านค้าแผงลอยที่ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ดังนั้นการกระจายตัวของสินค้าตามแนวชายแดนจะมีลักษณะเหมือนกันในทุกสินค้า คือผู้นำเข้าพม่าจะนำสินค้าจากชายแดนไทย เพื่อไปกระจายให้กับร้านค้าส่ง ร้านค้าปลีก และมินิมาร์ท ในตลาดชายแดนพม่า และตลาดในกรุงย่างกุ้ง เมื่อมีการค้าขายผู้ประกอบการต้องรับทราบถึงรูปแบบการชำระเงินระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย ซึ่งการชำระค่าสินค้านอกระบบ หรือเรียกว่าโพยก๊วน เนื่องจากระบบเงินตราในประเทศพม่า ยังไม่เป็นมาตรฐานสากล ทำให้การค้ากับพม่าประมาณร้อยละ 44 ของมูลค่าการค้ารวมจะใช้การชำระเงินด้วยวิธีนี้ การชำระค่าสินค้าด้วยเงินสดสกุลบาทและจ๊าด เป็นที่นิยมรองลงมาจากการชำระสินค้าแบบโพยก๊วน โดยคิดเป็นร้อยละ 42 ส่วนการชำระค่าสินค้าด้วยวิธีโอนเงินผ่านธนาคาร (Telegraphic Transfer) และการชำระค่าสินค้าด้วยวิธีการการเปิด L/C ซึ่งการทำธุรกรรมการค้าต่างประเทศ จะต้องติดต่อผ่านธนาคาร Myanmar Foreign Trade Bank (MFTB) เท่านั้น
การค้าขายตามแนวชายแดนของไทยและพม่านั้น สินค้าที่ส่งออกจากไทยไปยังพม่านั้น ได้แก่ น้ำมันพืช ผงชูรส ผ้าทอ ผ้าผืน น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องดื่มบำรุงกำลัง วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างต่างๆ เป็นต้น ส่วนสินค้านำเข้า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ โค-กระบือ ถ่านหิน เฟอร์นิเจอร์ไม้ ไม้แปรรูป ไม้ต่างๆ สินค้าสินแร่โลหะอื่นๆ และเศษโลหะ เครื่องเทศ อาหารทะเลสด เป็นต้น ซึ่งจังหวัดที่เป็นจุดการค้าและเส้นทางการค้าชายแดนไทย-พม่า ที่ทางการของพม่าเปิดให้ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างไทยกับพม่าได้มีเพียง 3 แห่ง คือ ด่านแม่สอด จังหวัดตาก ตรงข้ามกับด่านเมียวดีของพม่า ด่านแม่สาย จังหวัดเชียงรายตรงข้ามกับด่านท่าขี้เหล็กของพม่า ด่านระนอง จังหวัดระนอง ตรงข้ามกับด่านเกาะสองของพม่า และจากสถิติการค้าระหว่างไทยกับพม่าพบว่าในปี 2546 ( มกราคม-ธันวาคม) ไทยส่งออกสินค้าไปยังพม่าคิดเป็นมูลค่า 437.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2545 ที่มีมูลค่า 323.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ร้อยละ 35.3 และไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับพม่า 468.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งประเทศคู่แข่งที่สำคัญของไทยในตลาดพม่า ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน เกาหลีใต้ และมาเลเซีย
ผู้ประกอบการทั้งรายเก่าและรายใหม่ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME ที่ต้องการทำการค้าขายชายแดนไทย-พม่า ควรรับทราบและศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญๆ ของประเทศคู่ค้า เช่น สินค้าที่พม่าต้องการนำเข้า ความต้องการของตลาดพม่าในปัจจุบัน กลยุทธ์ด้านลักษณะสินค้า ศึกษาข้อได้เปรียบเสียเปรียบทางการค้าของประเทศคู่ค้า รูปแบบการค้า จุดการค้าและเส้นทางการค้า ช่องทางการจำหน่าย ฯลฯ ซึ่งการรับทราบข้อมูลเหล่านี้จะเป็นลู่ทางการค้าชายแดนในเบื้องต้น แต่ข้อมูลเพิ่มเติมเหล่านี้ผู้ประกอบการสามารถสอบถามได้ที่ กลุ่มการค้าชายแดน สำนักมาตรการพิเศษทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
การค้าชายแดนเกิดผลดีกับอุตสาหกรรม SME ไม่น้อย ซึ่งการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นอีกกิจกรรมทางเศรษฐกิจหนึ่งที่ทางภาครัฐให้การสนับสนุนและส่งเสริม นอกจากเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ยังเป็นการกระจายความเสี่ยงในเรื่องตลาดการค้าของประเทศไทยด้วย การที่ตลาดประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความละม้ายคล้ายคลึงกับลักษณะตลาดภายในประทศไทย และพฤติกรรมของผู้บริโภคก็เหมือนกัน ทำให้เป็นความง่ายของนักธุรกิจไทยที่จะเข้าไปทำตลาดในพื้นที่และมีต้นทุนค่าใช้จ่ายทางการตลาดต่ำ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็กและเป็นหน้าใหม่ในวงการ มากไปกว่านั้นตลาดในประเทศเพื่อนบ้านจัดว่าเป็นตลาดที่สินค้าจากประเทศไทยมีคู่แข่งขันน้อย ประเภทส่งออกอะไรจากไทยไปรับได้หมด ทั้งข้อจำกัดในเรื่องมาตรการการค้าหยุมหยิมแบบที่มีใช้กันในสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ก็ไม่ค่อยมี ทำให้ความน่าสนใจในตลาดการค้าของประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกันที่นักธุรกิจหน้าใหม่และหน้าเก่าไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า นี่แหละโอกาสทองทางธุรกิจที่แท้จริง
ขณะนี้ช่องทางการค้าที่ถูกต้องที่ทางราชการได้จัดไว้ให้ค้าขายกัน ได้แก่จุดผ่านแดนถาวร จุดผ่อนปรน และจุดผ่านแดนชั่วคราว ที่ตั้งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปตามจังหวัดชายแดนต่างๆ ของประเทศ ส่วนช่องทางธรรมชาติที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตลอดแนวชายแดน เป็นช่องทางที่ประชาชนของทั้งสองฝั่งข้ามไปมาหาสู่กัน แต่ทางราชการไม่จัดว่าเป็นช่องทางการค้าอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีการค้าขายทั่วไปเล็กๆ น้อยๆ จำพวกสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก น้ำมันพืช เป็นต้น ซึ่งลักษณะแบบนี้เราก็พบเห็นได้ตามจุดผ่อนปรนเช่นกัน ส่วนการค้าในลักษณะใหญ่ๆ มีการบรรทุกใส่รถสิบล้อไปส่งของ จะเกิดขึ้นมากตามจุดผ่านแดนถาวร
รูปแบบการค้าชายแดนมีรูปแบบที่เป็นทั้งการค้าในระบบและการค้านอกระบบ การค้าในระบบเป็นการค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยผู้นำเข้า-ส่งออกจะทำการนำเข้าและส่งออกสินค้าผ่านพิธีการศุลกากรโดยมีการเสียภาษีอย่างถูกต้อง และการค้านอกระบบ เป็นการลักลอบทำการค้าตามแนวชายแดนจุดที่มีการลักลอบนำเข้าได้แก่ บริเวณแม่น้ำแม่สาย แม่น้ำเมย การค้าแบบนี้เรียกว่า สินค้าลอยน้ำ ส่วนการค้าผ่านแดน เป็นการค้าของไทยกับประเทศที่สาม โดยอาศัยพม่าเป็นทางผ่านสินค้าไปสู่จีน อินเดีย และบังคลาเทศ เป็นต้น ส่วนลักษณะของผู้นำเข้า-ส่งออกสินค้าตามแนวชายแดนไทย-พม่า มีทั้งรูปแบบที่เป็นนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา นิติบุคคลที่จะนำเข้าและส่งออกสินค้าได้ จะต้องเป็นสมาชิกของหอการค้าในจังหวัดชายแดนนั้น ส่วนบุคคลธรรมดาหรือผู้ค้ารายย่อย มีทั้งที่เป็นร้านค้าที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์และร้านค้าแผงลอยที่ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ดังนั้นการกระจายตัวของสินค้าตามแนวชายแดนจะมีลักษณะเหมือนกันในทุกสินค้า คือผู้นำเข้าพม่าจะนำสินค้าจากชายแดนไทย เพื่อไปกระจายให้กับร้านค้าส่ง ร้านค้าปลีก และมินิมาร์ท ในตลาดชายแดนพม่า และตลาดในกรุงย่างกุ้ง เมื่อมีการค้าขายผู้ประกอบการต้องรับทราบถึงรูปแบบการชำระเงินระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย ซึ่งการชำระค่าสินค้านอกระบบ หรือเรียกว่าโพยก๊วน เนื่องจากระบบเงินตราในประเทศพม่า ยังไม่เป็นมาตรฐานสากล ทำให้การค้ากับพม่าประมาณร้อยละ 44 ของมูลค่าการค้ารวมจะใช้การชำระเงินด้วยวิธีนี้ การชำระค่าสินค้าด้วยเงินสดสกุลบาทและจ๊าด เป็นที่นิยมรองลงมาจากการชำระสินค้าแบบโพยก๊วน โดยคิดเป็นร้อยละ 42 ส่วนการชำระค่าสินค้าด้วยวิธีโอนเงินผ่านธนาคาร (Telegraphic Transfer) และการชำระค่าสินค้าด้วยวิธีการการเปิด L/C ซึ่งการทำธุรกรรมการค้าต่างประเทศ จะต้องติดต่อผ่านธนาคาร Myanmar Foreign Trade Bank (MFTB) เท่านั้น
การค้าขายตามแนวชายแดนของไทยและพม่านั้น สินค้าที่ส่งออกจากไทยไปยังพม่านั้น ได้แก่ น้ำมันพืช ผงชูรส ผ้าทอ ผ้าผืน น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องดื่มบำรุงกำลัง วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างต่างๆ เป็นต้น ส่วนสินค้านำเข้า ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ โค-กระบือ ถ่านหิน เฟอร์นิเจอร์ไม้ ไม้แปรรูป ไม้ต่างๆ สินค้าสินแร่โลหะอื่นๆ และเศษโลหะ เครื่องเทศ อาหารทะเลสด เป็นต้น ซึ่งจังหวัดที่เป็นจุดการค้าและเส้นทางการค้าชายแดนไทย-พม่า ที่ทางการของพม่าเปิดให้ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างไทยกับพม่าได้มีเพียง 3 แห่ง คือ ด่านแม่สอด จังหวัดตาก ตรงข้ามกับด่านเมียวดีของพม่า ด่านแม่สาย จังหวัดเชียงรายตรงข้ามกับด่านท่าขี้เหล็กของพม่า ด่านระนอง จังหวัดระนอง ตรงข้ามกับด่านเกาะสองของพม่า และจากสถิติการค้าระหว่างไทยกับพม่าพบว่าในปี 2546 ( มกราคม-ธันวาคม) ไทยส่งออกสินค้าไปยังพม่าคิดเป็นมูลค่า 437.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2545 ที่มีมูลค่า 323.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ร้อยละ 35.3 และไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับพม่า 468.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งประเทศคู่แข่งที่สำคัญของไทยในตลาดพม่า ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน เกาหลีใต้ และมาเลเซีย
ผู้ประกอบการทั้งรายเก่าและรายใหม่ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME ที่ต้องการทำการค้าขายชายแดนไทย-พม่า ควรรับทราบและศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญๆ ของประเทศคู่ค้า เช่น สินค้าที่พม่าต้องการนำเข้า ความต้องการของตลาดพม่าในปัจจุบัน กลยุทธ์ด้านลักษณะสินค้า ศึกษาข้อได้เปรียบเสียเปรียบทางการค้าของประเทศคู่ค้า รูปแบบการค้า จุดการค้าและเส้นทางการค้า ช่องทางการจำหน่าย ฯลฯ ซึ่งการรับทราบข้อมูลเหล่านี้จะเป็นลู่ทางการค้าชายแดนในเบื้องต้น แต่ข้อมูลเพิ่มเติมเหล่านี้ผู้ประกอบการสามารถสอบถามได้ที่ กลุ่มการค้าชายแดน สำนักมาตรการพิเศษทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-