การค้าเสรีภายใต้กติกาขององค์การการค้าโลก (WTO) ก่อให้เกิดการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรงมากขึ้น ประเทศต่างๆ จึงได้ใช้มาตรการทุกรูปแบบ เพื่อช่วงชิง ปกป้องและรักษาผลประโยชน์ทางการค้าของตน ประเทศไทยโดยกระทรวงพานิชย์ มีหน้าที่กำกับดูแลด้านการค้าระหว่างประเทศ ก็ได้ใช้มาตรการที่ชอบธรรมทั้งในเชิงรุกและเชิงรับทางด้านกฏหมายและการเจรจาอย่างเป็นระบบและเหมาะสมเพื่อปกป้องและรักษาผลประโยชน์ทางการค้าของไทยเช่นกัน
การทุ่มตลาดคืออะไร ? การทุ่มตลาด คือการ Dump ราคาตามหลักการที่องค์การการค้าโลก (WTO) กำหนด มีความหมายคือ ผู้ผลิตสินค้าในต่างประเทศขายสินค้าให้ผู้ซึ้อในราคาต่ำกว่าที่ขายในประเทศตนเอง เช่น ผู้ผลิตในต่างประเทศขายสินค้ามาไทยในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตของประเทศนั้น หรือขายสินค้าให้ไทยในราคาที่ต่ำกว่าส่งไปขายยังประเทศที่สาม ซึ่งหากผู้ผลิตมีพฤติกรรมดังกล่าว จะมีผลต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศผู้ซื้อนั้นๆ ให้ได้รับความเสียหายจากการทุ่มตลาด ผู้ที่ได้รับความเสียหายสามารถยื่นคำขอให้กรมการค้าต่างประเทศใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti - Dumping) ได้โดยต้องดำเนินการตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนด
การที่กระทรวงพาณิชย์ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ก็เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น และการนำเข้าสินค้าในราคาไม่เป็นธรรมโดยการทุ่มตลาด โดยได้มีการตราพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน ซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ 2542 เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในมิให้เกิดความเสียหายจากการกระทำดังกล่าว ( การอุดหนุนคือ การที่รัฐบาลของประเทศคู่ค้าให้ประโยชน์แก่อุตสาหกรรมผู้ผลิตและผู้ส่งออกให้สามารถส่งสินค้าออกมาจำหน่ายในประเทศไทยในราคาที่เป็นธรรม ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายคือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมภายในประเทศไทยที่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าทุ่มตลาดหรือสินค้าที่ได้รับการอุดหนุน ในที่นี้จะขอให้รายละเอียดเฉพาะมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ) ซึ่งมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดมีทั้งผลดีและผลเสีย
ผลดีคือ 1. ทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม
2. ทำให้อุตสาหกรรมภายในและอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้รับการคุ้มครองซึ่งจะช่วยลดผลกระทบและความเสียหายแก่ผู้เกี่ยวข้อง
ผลเสียคือ 1. อาจทำให้ผู้ใช้สินค้านำเข้าที่ถูกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดมีต้นทุนที่สูงขึ้น
2. ผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าในราคาที่สูงขึ้น หรือต้องเปลี่ยนแหล่งนำเข้าจากประเทศที่ไม่ถูกมาตรการแทน
3. ปริมาณการผลิตสินค้าภายในประเทศลดลง/ การจ้างงานลดลง
4. ปริมาณสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น/ อัตรากำไรลดลง/ ส่วนแบ่งการตลาดลดลง
5. อัตราการนำเข้าสินค้าทุ่มตลาดหรือสินค้าที่ได้รับการอุดหนุนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
6. แนวโน้มที่ผู้ผลิตสินค้าทุ่มตลาดหรือสินค้าที่ได้รับการอุดหนุนจะส่งสินค้ามาในประเทศไทยสูงขึ้น
สินค้าไทยที่ถูกต่างประเทศเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด ได้แก่ กลุ่มสิ่งทอ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และผลิตภัณฑ์ กลุ่มเคมีภัณฑ์ กลุ่มสินค้าเหล็ก กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ส่วนสินค้าที่ไทยเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดจากต่างประเทศ ได้แก่ กลุ่มสินค้าเหล็ก กลุ่มเคมีภัณฑ์ และกลุ่มกระจก
หากผู้ประกอบการถูกทุ่มตลาด สามารถหารือสำนักมาตรการปกป้องและตอบโต้ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ เพื่อขอรับคำแนะนำแนวทางขอใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องจัดเตรียมข้อมูลเพื่อพิสูจน์ความเสียหาย และหากข้อมูลมีความพร้อมก็สามารถยื่นคำร้องเพื่อขอเปิดไต่สวนการทุ่มตลาดได้ โดยกระบวนการจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ก่อนออกประกาศว่าจะเก็บอากรตอบโต้หรือไม่ เท่าใด ซึ่งขั้นตอนการร้องขอให้เปิดการไต่สวนจะต้องยื่นเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกระทรวงพาณิชย์โดยกรอกในแบบคำร้องที่กำหนด พร้อมกับส่งเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่แสดงว่ามีการทุ่มตลาดหรือมีการอุดหนุนและทำให้เกิดความเสียหาย กระทรวงพาณิชย์จะพิจารณาว่ามีรายละเอียดหรือหลักฐานเพียงพอที่จะเปิดการไต่สวนหรือไม่ต่อไป แต่ทั้งนี้การไต่ส่วน ในแบบคำร้องจะกำหนดข้อมูลหลักฐานที่มีรายละเอียดมาก กระทรวงพาณิชย์จึงจัดเจ้าหน้าที่สำนักปกป้องและรักษาผลประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ ให้คำแนะนำช่วยเหลือในการกรอกแบบคำร้อง ก่อนที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาเปิดการไต่สวน โดยคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและอุดหนุนจะเป็นผู้ดำเนินการ และหากพบว่ามีการนำเข้าสินค้าทุ่มตลาดหรือสินค้าที่ได้รับการอุดหนุนที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในแล้ว กระทรวงพาณิชย์จะประกาศเรียกเก็บอากร ตอบโต้การทุ่มตลาด หรือการอุดหนุนในการนำเข้าสินค้าดังกล่าวเพียงพอเพื่อขจัดความเสียหายให้หมดไป โดยจะเก็บไม่เกินกว่าส่วนเหลื่อม การทุ่มตลาดหรือการอุดหนุนที่พบ
ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถขอรับความรู้ในเรื่องมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด มาตรการอุดหนุน และมาตรการปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ได้ที่กรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งกรมฯ มีแนวทางเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้ประกอบการในหลายรูปแบบ เช่น การจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการที่สนใจทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดโดยผู้สนใจอาจรวมตัวเป็นกลุ่มย่อยประมาณ 30-40 คน และแจ้งความประสงค์ให้สำนักมาตรการปกป้องและตอบโต้ทางการค้า จัดเจ้าหน้าที่ไปอบรมไห้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และกรมฯ ยังได้จัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ ซึ่งผู้สนใจสามารถขอรับได้โดยตรง ส่วนกรณีผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของต่างประเทศหรือประสงค์จะขอใช้มาตรการ สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำเฉพาะกรณีของตนเองได้ตลอดเวลา
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
การทุ่มตลาดคืออะไร ? การทุ่มตลาด คือการ Dump ราคาตามหลักการที่องค์การการค้าโลก (WTO) กำหนด มีความหมายคือ ผู้ผลิตสินค้าในต่างประเทศขายสินค้าให้ผู้ซึ้อในราคาต่ำกว่าที่ขายในประเทศตนเอง เช่น ผู้ผลิตในต่างประเทศขายสินค้ามาไทยในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตของประเทศนั้น หรือขายสินค้าให้ไทยในราคาที่ต่ำกว่าส่งไปขายยังประเทศที่สาม ซึ่งหากผู้ผลิตมีพฤติกรรมดังกล่าว จะมีผลต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศผู้ซื้อนั้นๆ ให้ได้รับความเสียหายจากการทุ่มตลาด ผู้ที่ได้รับความเสียหายสามารถยื่นคำขอให้กรมการค้าต่างประเทศใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti - Dumping) ได้โดยต้องดำเนินการตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนด
การที่กระทรวงพาณิชย์ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ก็เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น และการนำเข้าสินค้าในราคาไม่เป็นธรรมโดยการทุ่มตลาด โดยได้มีการตราพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน ซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ 2542 เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในมิให้เกิดความเสียหายจากการกระทำดังกล่าว ( การอุดหนุนคือ การที่รัฐบาลของประเทศคู่ค้าให้ประโยชน์แก่อุตสาหกรรมผู้ผลิตและผู้ส่งออกให้สามารถส่งสินค้าออกมาจำหน่ายในประเทศไทยในราคาที่เป็นธรรม ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายคือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมภายในประเทศไทยที่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าทุ่มตลาดหรือสินค้าที่ได้รับการอุดหนุน ในที่นี้จะขอให้รายละเอียดเฉพาะมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ) ซึ่งมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดมีทั้งผลดีและผลเสีย
ผลดีคือ 1. ทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม
2. ทำให้อุตสาหกรรมภายในและอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้รับการคุ้มครองซึ่งจะช่วยลดผลกระทบและความเสียหายแก่ผู้เกี่ยวข้อง
ผลเสียคือ 1. อาจทำให้ผู้ใช้สินค้านำเข้าที่ถูกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดมีต้นทุนที่สูงขึ้น
2. ผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าในราคาที่สูงขึ้น หรือต้องเปลี่ยนแหล่งนำเข้าจากประเทศที่ไม่ถูกมาตรการแทน
3. ปริมาณการผลิตสินค้าภายในประเทศลดลง/ การจ้างงานลดลง
4. ปริมาณสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น/ อัตรากำไรลดลง/ ส่วนแบ่งการตลาดลดลง
5. อัตราการนำเข้าสินค้าทุ่มตลาดหรือสินค้าที่ได้รับการอุดหนุนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
6. แนวโน้มที่ผู้ผลิตสินค้าทุ่มตลาดหรือสินค้าที่ได้รับการอุดหนุนจะส่งสินค้ามาในประเทศไทยสูงขึ้น
สินค้าไทยที่ถูกต่างประเทศเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด ได้แก่ กลุ่มสิ่งทอ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และผลิตภัณฑ์ กลุ่มเคมีภัณฑ์ กลุ่มสินค้าเหล็ก กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ส่วนสินค้าที่ไทยเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดจากต่างประเทศ ได้แก่ กลุ่มสินค้าเหล็ก กลุ่มเคมีภัณฑ์ และกลุ่มกระจก
หากผู้ประกอบการถูกทุ่มตลาด สามารถหารือสำนักมาตรการปกป้องและตอบโต้ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ เพื่อขอรับคำแนะนำแนวทางขอใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องจัดเตรียมข้อมูลเพื่อพิสูจน์ความเสียหาย และหากข้อมูลมีความพร้อมก็สามารถยื่นคำร้องเพื่อขอเปิดไต่สวนการทุ่มตลาดได้ โดยกระบวนการจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ก่อนออกประกาศว่าจะเก็บอากรตอบโต้หรือไม่ เท่าใด ซึ่งขั้นตอนการร้องขอให้เปิดการไต่สวนจะต้องยื่นเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกระทรวงพาณิชย์โดยกรอกในแบบคำร้องที่กำหนด พร้อมกับส่งเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่แสดงว่ามีการทุ่มตลาดหรือมีการอุดหนุนและทำให้เกิดความเสียหาย กระทรวงพาณิชย์จะพิจารณาว่ามีรายละเอียดหรือหลักฐานเพียงพอที่จะเปิดการไต่สวนหรือไม่ต่อไป แต่ทั้งนี้การไต่ส่วน ในแบบคำร้องจะกำหนดข้อมูลหลักฐานที่มีรายละเอียดมาก กระทรวงพาณิชย์จึงจัดเจ้าหน้าที่สำนักปกป้องและรักษาผลประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ ให้คำแนะนำช่วยเหลือในการกรอกแบบคำร้อง ก่อนที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาเปิดการไต่สวน โดยคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและอุดหนุนจะเป็นผู้ดำเนินการ และหากพบว่ามีการนำเข้าสินค้าทุ่มตลาดหรือสินค้าที่ได้รับการอุดหนุนที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในแล้ว กระทรวงพาณิชย์จะประกาศเรียกเก็บอากร ตอบโต้การทุ่มตลาด หรือการอุดหนุนในการนำเข้าสินค้าดังกล่าวเพียงพอเพื่อขจัดความเสียหายให้หมดไป โดยจะเก็บไม่เกินกว่าส่วนเหลื่อม การทุ่มตลาดหรือการอุดหนุนที่พบ
ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถขอรับความรู้ในเรื่องมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด มาตรการอุดหนุน และมาตรการปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ได้ที่กรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งกรมฯ มีแนวทางเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้ประกอบการในหลายรูปแบบ เช่น การจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการที่สนใจทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดโดยผู้สนใจอาจรวมตัวเป็นกลุ่มย่อยประมาณ 30-40 คน และแจ้งความประสงค์ให้สำนักมาตรการปกป้องและตอบโต้ทางการค้า จัดเจ้าหน้าที่ไปอบรมไห้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และกรมฯ ยังได้จัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ ซึ่งผู้สนใจสามารถขอรับได้โดยตรง ส่วนกรณีผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของต่างประเทศหรือประสงค์จะขอใช้มาตรการ สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำเฉพาะกรณีของตนเองได้ตลอดเวลา
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-