ปัจจุบันรัฐบาลกำลังส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อกระตุ้นรายได้ของคนไทยและสร้างเสริมเศรษฐกิจของชาติ ไวน์และไวน์ผลไม้เป็นสินค้าอย่างหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมาก จนมีผู้ผลิตออกจำหน่ายทั่วประเทศ เนื่องจากมีผู้นิยมดื่มไวน์เพิ่มมากขึ้น และในช่วงที่ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจนั้น การนำเข้าไวน์ลดน้อยลง แต่ยอดการผลิตไวน์ในประเทศกลับเพิ่มมากขึ้นทุกปี และยังได้มีการส่งออกจำหน่ายไปยังประเทศพม่า ลาว นอร์เวย์ และสวีเดนอีกด้วย ดังนั้นถ้าหากผู้ผลิตได้รับการสนับสนุนให้ปรับปรุงด้านคุณภาพและรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนฉลากภาษาอังกฤษ มีรายละเอียดตามมาตรฐานของประเทศที่ผลิตไวน์ ก็จะสามารถส่งเป็นสินค้าออกเพิ่มมากขึ้น เป็นการนำภูมิปัญญาไทยสู่สากลและเพิ่มรายได้ให้แก่คนไทย
ฉลากไวน์เป็นสิ่งสำคัญในการซื้อขายไวน์ เพราะมีรายละเอียดสำหรับให้ผู้ซื้อศึกษาข้อมูล เพื่อใช้เป็นเครื่องตัดสินใจก่อนซื้อ ฉลากเป็นเหมือนแผ่นโฆษณาที่ผู้ผลิตประสงค์จะให้ผู้บริโภคได้ซื้อสินค้าถูกต้องตามความต้องการของตนหรือเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อสินค้านั้นๆ ฉลากที่ดีจึงควรมีสี ภาพ คำ และประโยคที่เป็นจริงตามคุณภาพของสินค้า ซึ่งปัจจุบันประเทศที่ผลิตไวน์เป็นการค้า ต่างก็มีกฏหมายเกี่ยวกับฉลากไวน์เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคทราบคุณภาพของไวน์ตามที่เป็นจริง และป้องกันมิให้ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายแสวงหาประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรม โดยประเภทฉลากไวน์ได้ถูกจัดแบ่งไว้ 2 ประเภทคือ 1)ฉลากหลัก( Main Label) เป็นฉลากบังคับติดไว้ที่ด้านหน้าของขวด ส่วนใหญ่จะเป็นสี่เหลี่ยมพิมพ์สี มีภาพเด่นที่กระตุ้นความสนใจให้จำง่ายสะดุดตา และมีข้อมูลพื้นฐานที่อยู่บนฉลากนี้ได้แก่ ชื่อหรือยี่ห้อไวน์ (name of the wine) มีที่เก็บเกี่ยวองุ่นและหมักไวน์ (vintage) ระดับขั้นคุณภาพของไวน์ (appellation classification) พันธุ์องุ่น(varietal name) แหล่งกำเนิดของไวน์ (place of origin) แหล่งผลิตและที่ตั้งของโรงงาน (name and address of bottler) ปริมาณแอลกอฮอล์(alcohol content) และปริมาตรบรรจุ (volume) เป็นต้น 2)ฉลากรอง (back label) ติดอยู่ด้านหลังขวด ฉลากนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งจะมีรายละเอียด เช่น พันธุ์องุ่น ช่วงการเก็บเกี่ยว การบ่ม ชนิดของถังไม้โอ๊ก ข้อมูลการทดสอบ มีการเติมสารกันบูดหรือไม่ กลิ่น รส ความหนักแน่นในรสชาติ (body) อุณหภูมิของไวน์ขณะจะดื่มหรือเสิร์ฟ คำเตือนเรื่องการดื่มสุรา ฯลฯ เป็นต้น
ฉลากไวน์ของแต่ละประเทศก็มีข้อกำหนดแตกต่างกันไป ในที่นี้จะขอกล่าวถึงฉลากไวน์ของ 3 ประเทศคือ เยอรมัน สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย
1) ฉลากไวน์เยอรมัน จะกำหนดฉลากหลักว่าจะต้องมีข้อมูลดังนี้ คือ (1)ผู้ผลิต (producer) และหากมีคำว่า Erzeugerabfullung แสดงว่าไวน์นี้ปลูก หมักและบรรจุขวด ณ สถานที่ปลูกเป็นที่เชื่อถือได้ว่าจะไม่มีสิ่งปลอมปน (2)พันธ์องุ่น(grape variety) ถ้าใช้องุ่นคุณภาพต่ำหรือนำหลายพันธุ์มาผสมกัน จะไม่ระบุชื่อพันธุ์องุ่นไว้ แต่หากระบุชื่อ กฎหมายกำหนดให้ใช้องุ่นพันธุ์ที่ระบุอย่างน้อย 85 เปอร์เซ็น (3)คุณภาพของไวน์หรือความสุกของผลองุ่นที่ใช้ทำไวน์ (4)ความหวาน(sweetness/dryness) (5)ปริมาณแอลกอฮอล์ ถ้าหวานน้อยอาจสูงถึง 15% (6) ปีที่เก็บเกี่ยว(vintage) (7)แหล่งกำเนิด (origin) (8)AP Number(Amtliche Prufungsnummer) เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพของทางการ ถ้า AP เดียวกันก็คือไวน์คุณภาพเดียวกัน ตัวเลขสองตัวหลังบอกปีที่ไวน์ได้รับการรับรองจากทางการ เลขสองตัวถัดไปข้างหน้าบอกปีที่ผู้ผลิตรับรอง ส่วนตัวอื่นเป็นการบอกถึงผู้ผลิตและเขตผลิต
2) ฉลากไวน์สหรัฐอเมริกา กฏหมายสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ว่าฉลากไวน์ต้องระบุอย่างน้อยดังนี้ (1)ยี่ห้อ(brand identification) อาจเป็นชื่อเจ้าของแต่ถ้าใช้ชื่อพันธุ์องุ่นหรือหากมีปีที่เก็บเกี่ยวระบุไว้ด้วย จะต้องมีเครื่องหมายคุณภาพคือ Appellation of origin เขียนระบุพื้นที่ปลูกองุ่นของไวน์นั้นด้วย (2)ชนิด ประเภทของไวน์ (class type) (3)สถานที่บรรจุขวด(location where bottled) (4)ปริมาณของแอลกอฮอล์(alcohol content by volume or within range for type) (5)ปริมาตรสุทธิ (net volume of contens) (6)คำเตือนจากรัฐบาล (government warning) แจ้งให้ผู้ดื่มรู้ว่าอาจมีอันตรายบางอย่างหากดื่มไวน์ (7) คำแนะนำเรื่องซัลไฟท์(Sulfite advisory) บอกปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งใช้ในการปลูกองุ่นหรือใส่ขณะอยู่ในกระบวนการหมักไวน์ ทั้งนี้เพราะอาจมีผู้แพ้สารชนิดนี้
3) ฉลากไวน์ออสเตรเลีย ฉลากไวน์จะมีเนื้อหาซึ่งบางข้อบังคับต้องแสดงไว้ แต่บางข้อก็ไม่บังคับเขียน ดังนี้ (1)ชื่อผู้ผลิตซึ่งอาจเป็นชื่อโรงงาน (winery name) เครื่องหมายการค้า(trade name)/องค์กรธุรกิจ(business name)/หรือชื่อยี่ห้อ(trade name)ไม่บังคับ (2)ชื่อไวน์ (บังคับ) ชื่อพันธุ์องุ่น (ไม่บังคับ)/หรือลักษณะของไวน์ เช่น ไวน์แดงไม่หวาน(dry red) (3)ชื่อที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ปลูกองุ่น (geographical indication) (ไม่บังคับ) (4)ปีเก็บเกี่ยว(vintage)(ไม่บังคับ) (5)ปริมาตรvolume)(บังคับ) (6)ปริมาณแอลกอฮอล์ (alcohol content)(บังคับ) (7)มาตรฐานเครื่องดื่ม (standard drinks)(บังคับ) (8)มีสารผสมอื่นซึ่งอาจมีผู้แพ้ (allergens declaration)(บังคับ) (9)ชื่อบริษัทและที่ตั้ง (business name,address)(บังคับ) (10)ชื่อประเทศที่ผลิต (country of origin)(บังคับ)
ข้อมูลฉลากไวน์ภาษาอังกฤษนี้อาจจะเป็นแนวทางช่วยให้ผู้ที่ประสงค์จะซื้อไวน์ต่างประเทศได้ทราบคุณลักษณะของสินค้าตามที่เป็นจริงจากฉลาก เพราะฉลากเป็นสิ่งสำคัญที่จะให้ข้อมูลเบื้องต้น และช่วยจูงใจผู้บริโภคให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ และเพื่อให้ผู้ผลิตของไทยสามารถนำข้อมูลไปปรับปรุงฉลากของตนให้ได้ตามมาตรฐานสากลและเขียนฉลากเป็นภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง เพราะฉลากที่เป็นสากลจะช่วยให้ไวน์และไวน์ผลไม้ของไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ฉลากไวน์เป็นสิ่งสำคัญในการซื้อขายไวน์ เพราะมีรายละเอียดสำหรับให้ผู้ซื้อศึกษาข้อมูล เพื่อใช้เป็นเครื่องตัดสินใจก่อนซื้อ ฉลากเป็นเหมือนแผ่นโฆษณาที่ผู้ผลิตประสงค์จะให้ผู้บริโภคได้ซื้อสินค้าถูกต้องตามความต้องการของตนหรือเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อสินค้านั้นๆ ฉลากที่ดีจึงควรมีสี ภาพ คำ และประโยคที่เป็นจริงตามคุณภาพของสินค้า ซึ่งปัจจุบันประเทศที่ผลิตไวน์เป็นการค้า ต่างก็มีกฏหมายเกี่ยวกับฉลากไวน์เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคทราบคุณภาพของไวน์ตามที่เป็นจริง และป้องกันมิให้ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายแสวงหาประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรม โดยประเภทฉลากไวน์ได้ถูกจัดแบ่งไว้ 2 ประเภทคือ 1)ฉลากหลัก( Main Label) เป็นฉลากบังคับติดไว้ที่ด้านหน้าของขวด ส่วนใหญ่จะเป็นสี่เหลี่ยมพิมพ์สี มีภาพเด่นที่กระตุ้นความสนใจให้จำง่ายสะดุดตา และมีข้อมูลพื้นฐานที่อยู่บนฉลากนี้ได้แก่ ชื่อหรือยี่ห้อไวน์ (name of the wine) มีที่เก็บเกี่ยวองุ่นและหมักไวน์ (vintage) ระดับขั้นคุณภาพของไวน์ (appellation classification) พันธุ์องุ่น(varietal name) แหล่งกำเนิดของไวน์ (place of origin) แหล่งผลิตและที่ตั้งของโรงงาน (name and address of bottler) ปริมาณแอลกอฮอล์(alcohol content) และปริมาตรบรรจุ (volume) เป็นต้น 2)ฉลากรอง (back label) ติดอยู่ด้านหลังขวด ฉลากนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งจะมีรายละเอียด เช่น พันธุ์องุ่น ช่วงการเก็บเกี่ยว การบ่ม ชนิดของถังไม้โอ๊ก ข้อมูลการทดสอบ มีการเติมสารกันบูดหรือไม่ กลิ่น รส ความหนักแน่นในรสชาติ (body) อุณหภูมิของไวน์ขณะจะดื่มหรือเสิร์ฟ คำเตือนเรื่องการดื่มสุรา ฯลฯ เป็นต้น
ฉลากไวน์ของแต่ละประเทศก็มีข้อกำหนดแตกต่างกันไป ในที่นี้จะขอกล่าวถึงฉลากไวน์ของ 3 ประเทศคือ เยอรมัน สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย
1) ฉลากไวน์เยอรมัน จะกำหนดฉลากหลักว่าจะต้องมีข้อมูลดังนี้ คือ (1)ผู้ผลิต (producer) และหากมีคำว่า Erzeugerabfullung แสดงว่าไวน์นี้ปลูก หมักและบรรจุขวด ณ สถานที่ปลูกเป็นที่เชื่อถือได้ว่าจะไม่มีสิ่งปลอมปน (2)พันธ์องุ่น(grape variety) ถ้าใช้องุ่นคุณภาพต่ำหรือนำหลายพันธุ์มาผสมกัน จะไม่ระบุชื่อพันธุ์องุ่นไว้ แต่หากระบุชื่อ กฎหมายกำหนดให้ใช้องุ่นพันธุ์ที่ระบุอย่างน้อย 85 เปอร์เซ็น (3)คุณภาพของไวน์หรือความสุกของผลองุ่นที่ใช้ทำไวน์ (4)ความหวาน(sweetness/dryness) (5)ปริมาณแอลกอฮอล์ ถ้าหวานน้อยอาจสูงถึง 15% (6) ปีที่เก็บเกี่ยว(vintage) (7)แหล่งกำเนิด (origin) (8)AP Number(Amtliche Prufungsnummer) เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพของทางการ ถ้า AP เดียวกันก็คือไวน์คุณภาพเดียวกัน ตัวเลขสองตัวหลังบอกปีที่ไวน์ได้รับการรับรองจากทางการ เลขสองตัวถัดไปข้างหน้าบอกปีที่ผู้ผลิตรับรอง ส่วนตัวอื่นเป็นการบอกถึงผู้ผลิตและเขตผลิต
2) ฉลากไวน์สหรัฐอเมริกา กฏหมายสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ว่าฉลากไวน์ต้องระบุอย่างน้อยดังนี้ (1)ยี่ห้อ(brand identification) อาจเป็นชื่อเจ้าของแต่ถ้าใช้ชื่อพันธุ์องุ่นหรือหากมีปีที่เก็บเกี่ยวระบุไว้ด้วย จะต้องมีเครื่องหมายคุณภาพคือ Appellation of origin เขียนระบุพื้นที่ปลูกองุ่นของไวน์นั้นด้วย (2)ชนิด ประเภทของไวน์ (class type) (3)สถานที่บรรจุขวด(location where bottled) (4)ปริมาณของแอลกอฮอล์(alcohol content by volume or within range for type) (5)ปริมาตรสุทธิ (net volume of contens) (6)คำเตือนจากรัฐบาล (government warning) แจ้งให้ผู้ดื่มรู้ว่าอาจมีอันตรายบางอย่างหากดื่มไวน์ (7) คำแนะนำเรื่องซัลไฟท์(Sulfite advisory) บอกปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งใช้ในการปลูกองุ่นหรือใส่ขณะอยู่ในกระบวนการหมักไวน์ ทั้งนี้เพราะอาจมีผู้แพ้สารชนิดนี้
3) ฉลากไวน์ออสเตรเลีย ฉลากไวน์จะมีเนื้อหาซึ่งบางข้อบังคับต้องแสดงไว้ แต่บางข้อก็ไม่บังคับเขียน ดังนี้ (1)ชื่อผู้ผลิตซึ่งอาจเป็นชื่อโรงงาน (winery name) เครื่องหมายการค้า(trade name)/องค์กรธุรกิจ(business name)/หรือชื่อยี่ห้อ(trade name)ไม่บังคับ (2)ชื่อไวน์ (บังคับ) ชื่อพันธุ์องุ่น (ไม่บังคับ)/หรือลักษณะของไวน์ เช่น ไวน์แดงไม่หวาน(dry red) (3)ชื่อที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ปลูกองุ่น (geographical indication) (ไม่บังคับ) (4)ปีเก็บเกี่ยว(vintage)(ไม่บังคับ) (5)ปริมาตรvolume)(บังคับ) (6)ปริมาณแอลกอฮอล์ (alcohol content)(บังคับ) (7)มาตรฐานเครื่องดื่ม (standard drinks)(บังคับ) (8)มีสารผสมอื่นซึ่งอาจมีผู้แพ้ (allergens declaration)(บังคับ) (9)ชื่อบริษัทและที่ตั้ง (business name,address)(บังคับ) (10)ชื่อประเทศที่ผลิต (country of origin)(บังคับ)
ข้อมูลฉลากไวน์ภาษาอังกฤษนี้อาจจะเป็นแนวทางช่วยให้ผู้ที่ประสงค์จะซื้อไวน์ต่างประเทศได้ทราบคุณลักษณะของสินค้าตามที่เป็นจริงจากฉลาก เพราะฉลากเป็นสิ่งสำคัญที่จะให้ข้อมูลเบื้องต้น และช่วยจูงใจผู้บริโภคให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ และเพื่อให้ผู้ผลิตของไทยสามารถนำข้อมูลไปปรับปรุงฉลากของตนให้ได้ตามมาตรฐานสากลและเขียนฉลากเป็นภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง เพราะฉลากที่เป็นสากลจะช่วยให้ไวน์และไวน์ผลไม้ของไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-