คำแถลง
ระวัง! การฆ่าตัดตอนนโยบายความปลอดภัยทางชีวภาพ
29 กรกฎาคม 2547
ดร. คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช ประธานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ ปชป.
สืบเนื่องจากกรณีการตรวจพบมีการลักลอบจำหน่ายเมล็ดพันธ์ มะละกอจีเอ็มโอ ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ทั้ง ๆ ที่ตามกฎหมายและนโยบายของประเทศไทยในเวลานี้ยังไม่อนุญาตให้มีการเพราะปลูก พืชจีเอ็มโอในระดับไร่นาแบบเปิดได้ แต่จากการเปิดเผยของกลุ่ม กรีนพีช (GREENPEACE) ที่รายงานในสื่อมวลชนไปแล้วเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 47 ที่แสดง ผลการพิสูจน์จากห้องปฏิบัติการพบว่าเมล็ดพันธ์มะละกอแขกดำเป็นมะละกอที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอ
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ได้เคยแสดงความห่วงใยและเคยท้วงติงรัฐบาลไปแล้วหลายครั้งหลายหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อครั้งที่รัฐบาลขอให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบการเข้าเป็นภาคีใน อนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 1992 โดยไม่ยอมที่จะเข้าเป็นภาคีในพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือที่รู้จักกันในนามพิธีสารคาร์ตาเฮนา พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกรอบในทางนโยบาย ควบคุมการใช้สิ่งมีวิตที่ถูกตัดต่อยีน หรือที่เรารู้จักกันในนาม จีเอ็มโอ รัฐบาลได้ตอบคำถามของดิฉันในรัฐสภาว่าไม่ต้องเป็นห่วงแม้ว่าไทยยังไม่เข้าเป็นภาคีพิธีสารดังกล่าว จะควบคุมดูแลการใช้และทดลองสิ่งมีชีวิตตัดต่อยีนเป็นอย่างดี แต่ความจริงที่เกิดขึ้นตอนนี้มันฟ้องและชี้ให้เห็นว่าเป็นคำสัญญาที่ว่างเปล่า ลม ๆ แร้ง ๆ รัฐบาลไม่สนใจที่จะปกป้องความปลอดภัยในชีวิตประชาชน และ ฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพของชาติ ในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์และได้ติดตามความคืบหน้าในเรื่องนี้มารู้สึกกังวลมาก ๆ ขอให้ดูกรณีความเสียหายจากไข้หวัดนก และ กรณีซาร์ (SARS) เป็นบทเรียนให้ดี เรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตตัดต่อยีนโดยผิดธรรมชาตินั้น เป็นหลักการซึ่งวางอยู่บนฐานของ หลักป้องกันไว้ก่อน (Precautionary Principle) รัฐบาลจะต้องนำไปประยุกต์ใช้โดยเร่งด่วน แต่เท่าที่ทราบจนถึงเวลานี้ไม่มีอะไรเลย รัฐบาลขอให้ระลึกอยู่เสมอหากยังเห็นว่าชีวิตประชาชนนั้นมีค่า คนไทยส่วนใหญ่บริโภคมะละกอเป็น “อาหาร” รับประทานกันทุกภาค โดยเฉพาะส้มตำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มันไม่ยุติธรรมเลยที่ท่านจะใช้ชีวิตประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไปเป็นหนูทดลองให้รับประธานมะละกอที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอ หรือมะละกอที่ผิดธรรมชาติ โดยไม่รู้ว่ามะละกอที่ว่านี้จะปลอดภัยสำหรับการบริโภคของมนุษย์หรือไม่ ขณะเดียวกันกับที่จะมีการเจรจาทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือ FTA (Free Trade Agreement) ที่มีกระแสผลักดันจากนักลงทุนสหรัฐให้เปิดทางให้พืชตัดต่อยีนหรือจีเอ็มโอ สามารถปลูกและจำหน่ายได้ในประเทศไทย หรือจะใช้ประเทศไทยเป็นฐานผลิตพืชจีเอ็มโอเพื่อส่งออก รัฐบาลอย่ามาฆ่าตัดตอนนโยบายความปลอดภัยทางชีวภาพของประเทศ รวบหัวรวบหางเปิดทางในระดับนโยบายแก่พืชจีเอ็มโอ ไว้รอคอยที่จะปฏิบัติการยื่นหมูยื่นแมว ในการเจรจาทำ FTA กับสหรัฐอเมริกาในอนาคต โดยละทิ้งความปลอดภัยในชีวิตประชาชน สิ่งแวดล้อม และฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ กองทิ้งไว้บนโต๊ะเจรจาข้อตกลง FTA ให้แก่คู่เจรจา
กรณีเมล็ดพันธุ์มะละกอแขกดำที่ตรวจพบปนเปื้อนจีเอ็มโอ ที่จังหวัดขอนแก่น โดยมีการจำหน่ายแก่เกษตรกรไปแล้วนั้น ไม่รู้ว่าได้มีการกระจายแพร่หลาย หรือถูกนำไปปลูกยังไร่นาเกษตรกร ผสมผสานกับพืชการเกษตรชนิดอื่นแล้วหรือยัง หรือมีใครบ้างที่ได้รับประทานมะละกอจีเอ็มโอไปบ้างแล้ว มากน้อยแค่ไหน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดิฉันกังวลและกลัวมาก เพราะเราไม่รู้และคาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ทั้งนี้โดยหลักการทดลองกรณีสิ่งมีชีวิตที่ถูกตัดต่อยีนนั้น จะต้องใช้เวลานานอย่างเพียงพอถึงจะสรุปได้ว่าปลอดภัยสำหรับมนุษย์หรือไม่ ดิฉันจะรอดูต่อไปว่ารัฐบาลจะตรวจสอบและเปิดเผยดำเนินการเรื่องนี้ต่อไปอย่างไร... มิใช่ดีแต่จะไปจับกุมคุมขังคนแล้วจะแก้ปัญหานี้ได้ รัฐบาลได้ดำเนินการควบคุมตรวจสอบการใช้สิ่งมีชีวิตตัดต่อยีนดีแล้วหรือยัง ซึ่งจะต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ต่อกรณีที่เกิดขึ้น เพราะเป็นปัญหาที่สังคมตั้งข้อกังขาอยู่ในเวลานี้ ไหนว่าท่านจะเพิ่มอำนาจให้ประชาชน ลดอำนาจรัฐ มิใช่หรือ แล้วเหตุไฉนจะไปจับกุมคุมขังประชาชน เพราะความพยายามที่พวกเขาต้องการที่จะปกป้องประโยชน์สาธารณะโดยสุจริต หากความจริงปรากฎขึ้นมาว่า เป็นความผิดของเจ้าหน้าที่และรัฐบาลล่ะท่านจะยอมให้ประชาชนจับท่านได้ไหม ใครจะยืดอกมารับผิดชอบในกรณีนี้....
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 ก.ค. 2547--จบ--
-ดท-
ระวัง! การฆ่าตัดตอนนโยบายความปลอดภัยทางชีวภาพ
29 กรกฎาคม 2547
ดร. คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช ประธานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ ปชป.
สืบเนื่องจากกรณีการตรวจพบมีการลักลอบจำหน่ายเมล็ดพันธ์ มะละกอจีเอ็มโอ ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ทั้ง ๆ ที่ตามกฎหมายและนโยบายของประเทศไทยในเวลานี้ยังไม่อนุญาตให้มีการเพราะปลูก พืชจีเอ็มโอในระดับไร่นาแบบเปิดได้ แต่จากการเปิดเผยของกลุ่ม กรีนพีช (GREENPEACE) ที่รายงานในสื่อมวลชนไปแล้วเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 47 ที่แสดง ผลการพิสูจน์จากห้องปฏิบัติการพบว่าเมล็ดพันธ์มะละกอแขกดำเป็นมะละกอที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอ
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ได้เคยแสดงความห่วงใยและเคยท้วงติงรัฐบาลไปแล้วหลายครั้งหลายหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อครั้งที่รัฐบาลขอให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบการเข้าเป็นภาคีใน อนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 1992 โดยไม่ยอมที่จะเข้าเป็นภาคีในพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือที่รู้จักกันในนามพิธีสารคาร์ตาเฮนา พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกรอบในทางนโยบาย ควบคุมการใช้สิ่งมีวิตที่ถูกตัดต่อยีน หรือที่เรารู้จักกันในนาม จีเอ็มโอ รัฐบาลได้ตอบคำถามของดิฉันในรัฐสภาว่าไม่ต้องเป็นห่วงแม้ว่าไทยยังไม่เข้าเป็นภาคีพิธีสารดังกล่าว จะควบคุมดูแลการใช้และทดลองสิ่งมีชีวิตตัดต่อยีนเป็นอย่างดี แต่ความจริงที่เกิดขึ้นตอนนี้มันฟ้องและชี้ให้เห็นว่าเป็นคำสัญญาที่ว่างเปล่า ลม ๆ แร้ง ๆ รัฐบาลไม่สนใจที่จะปกป้องความปลอดภัยในชีวิตประชาชน และ ฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพของชาติ ในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์และได้ติดตามความคืบหน้าในเรื่องนี้มารู้สึกกังวลมาก ๆ ขอให้ดูกรณีความเสียหายจากไข้หวัดนก และ กรณีซาร์ (SARS) เป็นบทเรียนให้ดี เรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตตัดต่อยีนโดยผิดธรรมชาตินั้น เป็นหลักการซึ่งวางอยู่บนฐานของ หลักป้องกันไว้ก่อน (Precautionary Principle) รัฐบาลจะต้องนำไปประยุกต์ใช้โดยเร่งด่วน แต่เท่าที่ทราบจนถึงเวลานี้ไม่มีอะไรเลย รัฐบาลขอให้ระลึกอยู่เสมอหากยังเห็นว่าชีวิตประชาชนนั้นมีค่า คนไทยส่วนใหญ่บริโภคมะละกอเป็น “อาหาร” รับประทานกันทุกภาค โดยเฉพาะส้มตำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มันไม่ยุติธรรมเลยที่ท่านจะใช้ชีวิตประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไปเป็นหนูทดลองให้รับประธานมะละกอที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอ หรือมะละกอที่ผิดธรรมชาติ โดยไม่รู้ว่ามะละกอที่ว่านี้จะปลอดภัยสำหรับการบริโภคของมนุษย์หรือไม่ ขณะเดียวกันกับที่จะมีการเจรจาทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือ FTA (Free Trade Agreement) ที่มีกระแสผลักดันจากนักลงทุนสหรัฐให้เปิดทางให้พืชตัดต่อยีนหรือจีเอ็มโอ สามารถปลูกและจำหน่ายได้ในประเทศไทย หรือจะใช้ประเทศไทยเป็นฐานผลิตพืชจีเอ็มโอเพื่อส่งออก รัฐบาลอย่ามาฆ่าตัดตอนนโยบายความปลอดภัยทางชีวภาพของประเทศ รวบหัวรวบหางเปิดทางในระดับนโยบายแก่พืชจีเอ็มโอ ไว้รอคอยที่จะปฏิบัติการยื่นหมูยื่นแมว ในการเจรจาทำ FTA กับสหรัฐอเมริกาในอนาคต โดยละทิ้งความปลอดภัยในชีวิตประชาชน สิ่งแวดล้อม และฐานทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ กองทิ้งไว้บนโต๊ะเจรจาข้อตกลง FTA ให้แก่คู่เจรจา
กรณีเมล็ดพันธุ์มะละกอแขกดำที่ตรวจพบปนเปื้อนจีเอ็มโอ ที่จังหวัดขอนแก่น โดยมีการจำหน่ายแก่เกษตรกรไปแล้วนั้น ไม่รู้ว่าได้มีการกระจายแพร่หลาย หรือถูกนำไปปลูกยังไร่นาเกษตรกร ผสมผสานกับพืชการเกษตรชนิดอื่นแล้วหรือยัง หรือมีใครบ้างที่ได้รับประทานมะละกอจีเอ็มโอไปบ้างแล้ว มากน้อยแค่ไหน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดิฉันกังวลและกลัวมาก เพราะเราไม่รู้และคาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ทั้งนี้โดยหลักการทดลองกรณีสิ่งมีชีวิตที่ถูกตัดต่อยีนนั้น จะต้องใช้เวลานานอย่างเพียงพอถึงจะสรุปได้ว่าปลอดภัยสำหรับมนุษย์หรือไม่ ดิฉันจะรอดูต่อไปว่ารัฐบาลจะตรวจสอบและเปิดเผยดำเนินการเรื่องนี้ต่อไปอย่างไร... มิใช่ดีแต่จะไปจับกุมคุมขังคนแล้วจะแก้ปัญหานี้ได้ รัฐบาลได้ดำเนินการควบคุมตรวจสอบการใช้สิ่งมีชีวิตตัดต่อยีนดีแล้วหรือยัง ซึ่งจะต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ต่อกรณีที่เกิดขึ้น เพราะเป็นปัญหาที่สังคมตั้งข้อกังขาอยู่ในเวลานี้ ไหนว่าท่านจะเพิ่มอำนาจให้ประชาชน ลดอำนาจรัฐ มิใช่หรือ แล้วเหตุไฉนจะไปจับกุมคุมขังประชาชน เพราะความพยายามที่พวกเขาต้องการที่จะปกป้องประโยชน์สาธารณะโดยสุจริต หากความจริงปรากฎขึ้นมาว่า เป็นความผิดของเจ้าหน้าที่และรัฐบาลล่ะท่านจะยอมให้ประชาชนจับท่านได้ไหม ใครจะยืดอกมารับผิดชอบในกรณีนี้....
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 ก.ค. 2547--จบ--
-ดท-