ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ปรับลดจีดีพีปี 47 เหลือร้อยละ 6-7 นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบาย
การเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ธปท. ได้ประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 47 จะขยายตัวลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ
6-7 จากเดิมที่ประมาณการณ์ไว้ร้อยละ 6.8-7.8 เนื่องจากการขยายตัวเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ขยายตัว
ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 6.5 จากร้อยละ 7.8 ในไตรมาสที่ผ่านมา รวมทั้งความเสี่ยงที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจทั้ง
ด้านบวกและด้านลบ ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันดิบที่ปรับสูงขึ้น การปรับขึ้นดอกเบี้ยของ สรอ. ราคาสินค้าใน
ตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น และการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ตลอดจนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ของภาครัฐที่อาจมีเพิ่มเติม ในขณะที่ปี 48 ก็ปรับประมาณการลดลงจากร้อยละ 6.3-7.8 เป็นร้อยละ 6-7.5
ส่วนปัญหาเรื่องหนี้ภาคครัวเรือนนั้น ถ้าปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำต่อไปอาจเป็นความเสี่ยงในอนาคต รวม
ถึงการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย ทางด้านภาวะเงินเฟ้อในระยะต่อไปคาดว่าเงินเฟ้อ
จะเร่งตัวขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 2-3 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 1.5-2.5 แต่เนื่องจากยังมีความหนืดใน
การส่งผ่านจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปไปยังอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยในปี 47 และ
48 ยังเท่าประมาณการเดิมเฉลี่ยร้อยละ 0-1 ขณะที่แนวโน้มการส่งออกสินค้าในปี 47 ประเมินเพิ่มขึ้นเป็น
ร้อยละ 15-17 จากเดิมร้อยละ 12-14 และการนำเข้าจะอยู่ที่ร้อยละ 22-24 จากเดิมที่ประมาณการทั้งปีจะ
มีการขยายตัวร้อยละ 17-19 ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปียังขยายตัวเป็นบวกอยู่ที่ 4-6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
จากเดิม 4.5-6.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (เดลินิวส์, โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้)
2. ที่ปรึกษา รมว.คลังคาดดอกเบี้ยนโยบายอาจปรับขึ้นร้อยละ 0.75-1 นายโอฬาร ไชยประวัติ
ที่ปรึกษา รมว.คลัง เปิดเผยว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยน่าจะอยู่ในช่วงขาขึ้น โดย ธปท. ได้ส่งสัญญาณบ้าง
แล้วถึงทิศทางของดอกเบี้ยนโยบาย หาก ธ.กลาง สรอ. ปรับดอกเบี้ยขึ้นร้อยละ 1.5 เชื่อว่า ธปท.น่าจะ
ทยอยปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นภายในระยะเวลา 8-12 เดือน ระหว่างร้อยละ 0.75-1 ซึ่งจะเป็นการบอกทิศ
ทางว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยจะปรับเพิ่มขึ้น และอาจจะมีผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทเอกชนในเชิง
บวก เนื่องจากหากดอกเบี้ยยังเป็นช่วงขาขึ้นแสดงว่าเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ยังเติบโตก็จะเป็นผลดีต่อ
การค้าระหว่างประเทศของไทยและน่าจะทำให้ผลประกอบการของเอกชนดีขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
3. ก.คลังมีนโยบายเพิ่มการออมภาคประชาชนอีกปีละ 10% นายโอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษา รม
ว.คลัง กล่าวว่า ก.คลังมีนโยบายเพิ่มการออมภาคประชาชนอีกปีละ 10% จากปัจจุบันเงินออมในระบบมี
ประมาณ 6 แสนล้านบาท เพื่อส่งเสริมการลงทุนระยะยาวของภาครัฐและเอกชน โดยจะใช้มาตรการภาษีมา
ช่วยส่งเสริมการออมผ่านกองทุนทั้งในส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ)
กองทุนบำเหน็จบำนาญ โดยจะเพิ่มวงเงินการลดหย่อนภาษีของผู้ที่ออมเงินผ่านกองทุนอาร์เอ็มเอฟ จากเดิมไม่
เกิน 3 แสนบาท เป็น 5 แสนบาท ขณะเดียวกันรัฐบาลจะเปิดช่องทางให้กองทุนต่าง ๆ ไปลงทุนในต่าง
ประเทศ เช่น เอเชียบอนด์ พันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้บริษัทเอกชนต่างชาติด้วย เนื่องจากอีก 5 ปีข้างหน้า
ภาครัฐจะไม่ขาดดุลการคลัง ทำให้ไม่จำเป็นต้องออกพันธบัตร โดยแผนการลงทุนดังกล่าวจะทำให้เกิดการ
ขยายกำลังการผลิตและการจ้างงานเพิ่มขึ้นอีก 7-8 แสนคนต่อปี พร้อมทำให้ประชาชนเข้าสู่ระบบการจ่าย
ภาษีอย่างถูกต้องและเข้าสู่ระบบประกันสังคมด้วย ทั้งนี้ เหตุผลที่ ก.คลังต้องเร่งระดมเงินออม เนื่องจาก
ปริมาณสภาพคล่องในประเทศไม่เพียงพอต่อการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลที่มีมูลค่าอย่างต่ำ 1.5
ล้านล้านบาท ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ไม่นับรวมการลงทุนของบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจาก
ปัจจุบันสภาพคล่องของระบบสถาบันการเงินอยู่ที่ประมาณ 7 แสนล้านบาท หากรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจดูดเงิน
ออกไปหมด จะทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้นทันที และประชาชนได้รับความเดือดร้อน เพราะไม่ใช่เพียง
รัฐบาลลงทุนเท่านั้น แต่เอกชนที่ลงทุนจะต้องมีต้นทุนการกู้สูงขึ้นด้วย (โพสต์ทูเดย์)
4. ก.ล.ต. เตรียมวางมาตรการคุ้มครองนักลงทุนรายย่อย นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
เลขาธิการ กลต. เตรียมออกมาตรการในการกำกับดูแลตลาดทุนและคุ้มครองผู้ลงทุน โดยเฉพาะรายย่อยที่
อาจถูกกระทบหากบริษัทจดทะเบียนต้องเข้าสู่กระบวนการของศาลล้มละลาย ซึ่งในขณะนี้ยังมีช่องว่างของการ
เข้าไปดูแลในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนรายใดที่เข้าสู่กระบวนการศาลล้มละลายกลาง เนื่องจากการลงมติใด ๆ
ที่เกี่ยวกับการจัดสรรหุ้นหรือการเสนอขายหุ้นล้วนเป็นอำนาจของที่ประชุมเจ้าหนี้ โดย กลต. ไม่มีอำนาจเข้า
ไปแทรกแซงอย่างเช่นในกรณีของ ทีพีไอ และ บ.ปุ๋ยแห่งชาติ นอกจากนี้ กลต.ยังจะออกมาตรการให้การคุ้ม
ครองแก่ผู้ที่แจ้งเบาะแสในการกระทำผิดต่าง ๆ รวมถึงการให้สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
(IOD) ประเมินธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย โดยเบื้องต้นพบว่ายังมีจุดที่ต้องปรับ
ปรุงอีกหลายจุด และ กลต. จะรณรงค์ให้บริษัทที่อยู่ใน SET 50 ทุกบริษัทปฏิบัติตามข้อกำหนดซึ่งจะต้องเป็น
รูปธรรมในปี 47 นอกจากนี้ กลต. ได้พยายามพัฒนาและปรับปรุงกฎระเบียบเกี่ยวกับสภาพคล่องของกองทุน
รวมตราสารหนี้ เพื่อป้องกันปัญหาการไถ่ถอนหน่วยลงทุนเป็นจำนวนมาก (redemtion run) รวมทั้ง
ประสานกับ กลต.ต่างประเทศ เพื่อพัฒนาตลาดทุนในภูมิภาคอีกด้วย (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ค่าจ้างแรงงานของสรอ.ชะลอตัวขณะที่การขอรับสวัสดิการการว่างงานคงที่ รายงานจาก
วอชิงตันเมื่อวันที่ 29 ก.ค. 47 ก.แรงงาน สรอ.เปิดเผยว่า ตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก
ของสรอ.บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน อย่างไรก็ตามการจ้างงานยังขยายตัวในอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ
มากกว่า 20 ปี ทั้งนี้ค่าจ้างและเงินเดือนในไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.6 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ
2.5 จากปีที่แล้ว และเท่ากับในไตรมาสแรกที่เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดนับตั้งแต่ปี 25 นอกจากนั้นตัวเลขการขอรับ
สวัสดิการว่างงานครั้งแรก ซึ่งเป็นเป็นตัวชี้วัดโดยประมาณของการเลิกจ้างงานเพิ่มขึ้น 4,000 คนอยู่ที่ระดับ
345,000 คน ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นว่าการขอรับสวัสดิการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 400,000
คนชี้ว่าตลาดแรงงานฟื้นตัว ทั้งนี้นาย Drew Matus เศรษฐกรจาก Lehman Brothers กล่าวว่าตลาดแรง
งานขยายตัวอย่างต่อเนื่องแต่การจ้างงานยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่ต้นทุนการจ้างงานซึ่งเป็นต้นทุนของผู้
ประกอบการในเรื่องสวัสดิการแรงงาน อาทิเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและสวัสดิการด้านสุขภาพในไตรมาสที่ 2
ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมากซึ่งสวัสดิการดังกล่าวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.8 จากที่ได้ปรับขึ้นไปแล้วร้อยละ 2.4 ในไตร
มาสที่ 1 ซึ่งหมายถึงกิจการต้องจ่ายเงินให้เพื่อสนับสนุนกองทุนเพิ่มมากขึ้น โดยในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาต้น
ทุนดังกล่าวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.2 เพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 14 ปี ผู้บริโภคโดยทั่วไปไม่อาจใช้จ่ายเงินกองทุน
ดังกล่าวจึงไม่มีความเสี่ยง แต่สำหรับผู้ประกอบการแล้วการจ่ายสวัสดิการรวมทั้งภาวะเงินเฟ้อทำให้กำไรของ
บริษัทลดลง ( รอยเตอร์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษในเดือน ก.ค.47 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยแม้จะยังอยู่ใน
ระดับต่ำ รายงานจากลอนดอน เมื่อ 29 ก.ค.47 บริษัทวิจัย Martin Hamblin GfK เปิดเผยว่า ดัชนี
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษในเดือน ก.ค.47 ปรับตัวดีขึ้นแม้จะยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับถัวเฉลี่ย
ระยะยาว โดยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ —3 จากระดับ —4 ในเดือนก่อน แตกต่างจากที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อน
หน้านี้ว่าจะอยู่ที่ระดับเดิมคือ —4 ทั้งนี้ การปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยของดัชนีดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่ดัชนีย่อยตัว
อื่น ๆ ฟื้นตัวดีขึ้น ทำให้ผู้บริโภคคิดว่าขณะนี้เป็นบรรยากาศที่เหมาะสมสำหรับการจับจ่ายใช้สอย อย่างไรก็ตาม
การที่ผู้บริโภคยังคงกังวลเกี่ยวกับการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลาง มีส่วนทำให้ความเชื่อมั่นผู้
บริโภคเพิ่มขึ้นไม่มากเท่าที่ควร ทั้งนี้ ในเดือน ก.ค.47 ธ.กลางอังกฤษยังคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายใน
ระดับเดิม คือ ร้อยละ 4.5 หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 เดือนก่อนหน้านี้ แต่นักวิเคราะห์คาดว่าอาจจะ
ปรับเพิ่มอีกร้อยละ 0.25 ในสัปดาห์ถัดไป (รอยเตอร์)
3. เงินกู้จำนองและเงินกู้จำนองที่อนุมัติใหม่ของอังกฤษในเดือน มิ.ย.47 ชะลอตัวลงเล็กน้อย
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 29 ก.ค.47 ธ.กลางอังกฤษเปิดเผยว่า จำนวนเงินกู้จำนองและจำนวนเงินกู้
จำนองที่อนุมัติใหม่ของสถาบันการเงินในอังกฤษในเดือน มิ.ย.47 ชะลอตัวลงเล็กน้อย ทำให้คาดว่าความต้อง
การกู้ยืมของผู้บริโภคในเดือนถัดไปอาจจะไม่รุนแรงมากนัก อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่า จำนวน
เงินให้กู้จำนองยังคงแข็งแกร่ง โดยในเดือนมิ.ย.47 รคตขยายตัวเพิ่มขึ้นจำนวน 9.18 พัน ล.ปอนด์ หลัง
จากที่เพิ่มขึ้นจำนวน 9.35 พัน ล.ปอนด์ ในเดือนก่อน ส่วนจำนวนเงินกู้จำนองที่อนุมัติใหม่มีจำนวน 114,000
ราย ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือน พ.ค.47 ที่มีจำนวน 124,000 ราย ทั้งนี้ ค่าเงินปอนด์ที่ลดลงในขณะนี้
อาจจะสนับสนุนให้ ธ.กลางอังกฤษเลื่อนการพิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แม้ว่านักเศรษฐศาสตร์
ส่วนใหญ่จะคาดว่า ธ.กลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.75 ในสัปดาห์ถัด
ไปก็ตาม ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่าผู้บริโภคเริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนองต่ออัตราดอกเบี้ยที่อยู่ใน
ระดับสูงในขณะนี้ แต่สัญญาณบางอย่างที่ไม่ได้สะท้อนว่าผู้บริโภคมีความกังวลในเหตุการณ์ดังกล่าว เนื่องจากสิน
เชื่อผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึงจำนวน 2.05 พัน ล.ปอนด์ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่เดือน ต.ค.45
เป็นต้นมา รวมทั้งยังสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 1.7 พัน ล.ปอนด์เท่านั้น (รอยเตอร์)
4. ญี่ปุ่นอาจต้องเผชิญกับภาวะเงินฝืดในระดับเล็กน้อยต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง รายงานจาก
โตเกียวเมื่อ 30 ก.ค.47 ทางการญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นอาจประสบกับภาวะเงินฝืดต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง
หลังจากนั้นเศรษฐกิจจะเริ่มแข็งแกร่งขึ้น โดยดัชนีราคาผู้บริโภคหลักทั่วประเทศ (nationwide core
consumer price index) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสดที่มีความผันผวน ลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน มิ.ย.47
เทียบต่อปี ซึ่งแม้จะลดลงแต่ก็น้อยกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 อันเป็น
ผลจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งนี้ การลดลงของดัชนีฯ ดังกล่าวเป็นการยืนยันว่าญี่ปุ่นยังคง
ประสบกับภาวะเงินฝืดในระดับเล็กน้อย อนึ่ง ตัวเลข CPI กำลังถูกติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก ธ.กลาง
ญี่ปุ่น ได้เคยกล่าวว่า จะยังคงแนวทางการผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อไปจนกว่า CPI จะอยู่ในระดับที่มี
เสถียรภาพคือเหนือกว่าร้อยละ 0 นอกจากนี้ The Ministry of Public Management, Home
Affairs, Posts and Telecommunications ได้เปิดเผยตัวเลขการใช้จ่ายเฉลี่ยของครัวเรือนผู้ใช้แรง
งานญี่ปุ่น ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้ชี้วัดการบริโภคส่วนบุคคล ในเดือน มิ.ย.47 ว่า ลดลงร้อยละ 1.3 เทียบต่อปี นับ
เป็นการลดลงครั้งแรกหลังจากการเพิ่มขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน สำหรับ The propensity-to-consume
index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความสมดุลระหว่างรายได้ที่ครัวเรือนคาดว่าจะสามารถใช้จ่ายได้ ในเดือน มิ.ย.47
เพิ่มขึ้นที่ระดับ 76.6 จากระดับ 72.8 ในเดือนก่อน นอกจากนี้ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ(อัตราต่อปี)
ของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาสแรกของปี 47 ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.1 สูงกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของ
สรอ.ในช่วงเวลาเดียวกันซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.9 เป็นการเติบโตโดยมีการส่งออกเป็นตัวนำ ในส่วนของ
Purchasing Managers Index (PMI) ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้ชี้วัดกิจกรรมของภาคอุตสาหกรรม ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ที่ระดับ 54.3 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ซึ่งเป็นตัวเลขที่อยู่เหนือระดับ 50 มาเป็นระยะเวลา 14 เดือนต่อ
เนื่อง รวมถึงอัตราการว่างงานซึ่งได้ฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ นับตั้งแต่เดือน ม.ค.46 ที่ระดับร้อยละ 5.5 แม้ว่า
จะลดลงที่ระดับร้อยละ 4.6 ในเดือน มิ.ย.47 แต่ก็เป็นไปตามความคาดหมาย ซึ่งดัชนีชี้เศรษฐกิจต่างๆ ล้วน
สะท้อนความแข็งแกร่งของภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นทั้งสิ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30 ก.ค. 47 29 ก.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.41 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2256/41.5091 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250-1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 631.42/11.12 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,550/7,650 7,600/7,700 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 36.15 36.33 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 19.39*/14.59 19.39*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. ปรับลดจีดีพีปี 47 เหลือร้อยละ 6-7 นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบาย
การเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ธปท. ได้ประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 47 จะขยายตัวลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ
6-7 จากเดิมที่ประมาณการณ์ไว้ร้อยละ 6.8-7.8 เนื่องจากการขยายตัวเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ขยายตัว
ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 6.5 จากร้อยละ 7.8 ในไตรมาสที่ผ่านมา รวมทั้งความเสี่ยงที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจทั้ง
ด้านบวกและด้านลบ ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันดิบที่ปรับสูงขึ้น การปรับขึ้นดอกเบี้ยของ สรอ. ราคาสินค้าใน
ตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น และการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ตลอดจนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ของภาครัฐที่อาจมีเพิ่มเติม ในขณะที่ปี 48 ก็ปรับประมาณการลดลงจากร้อยละ 6.3-7.8 เป็นร้อยละ 6-7.5
ส่วนปัญหาเรื่องหนี้ภาคครัวเรือนนั้น ถ้าปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำต่อไปอาจเป็นความเสี่ยงในอนาคต รวม
ถึงการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย ทางด้านภาวะเงินเฟ้อในระยะต่อไปคาดว่าเงินเฟ้อ
จะเร่งตัวขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 2-3 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 1.5-2.5 แต่เนื่องจากยังมีความหนืดใน
การส่งผ่านจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปไปยังอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยในปี 47 และ
48 ยังเท่าประมาณการเดิมเฉลี่ยร้อยละ 0-1 ขณะที่แนวโน้มการส่งออกสินค้าในปี 47 ประเมินเพิ่มขึ้นเป็น
ร้อยละ 15-17 จากเดิมร้อยละ 12-14 และการนำเข้าจะอยู่ที่ร้อยละ 22-24 จากเดิมที่ประมาณการทั้งปีจะ
มีการขยายตัวร้อยละ 17-19 ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปียังขยายตัวเป็นบวกอยู่ที่ 4-6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
จากเดิม 4.5-6.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (เดลินิวส์, โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้)
2. ที่ปรึกษา รมว.คลังคาดดอกเบี้ยนโยบายอาจปรับขึ้นร้อยละ 0.75-1 นายโอฬาร ไชยประวัติ
ที่ปรึกษา รมว.คลัง เปิดเผยว่า แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยน่าจะอยู่ในช่วงขาขึ้น โดย ธปท. ได้ส่งสัญญาณบ้าง
แล้วถึงทิศทางของดอกเบี้ยนโยบาย หาก ธ.กลาง สรอ. ปรับดอกเบี้ยขึ้นร้อยละ 1.5 เชื่อว่า ธปท.น่าจะ
ทยอยปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นภายในระยะเวลา 8-12 เดือน ระหว่างร้อยละ 0.75-1 ซึ่งจะเป็นการบอกทิศ
ทางว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยจะปรับเพิ่มขึ้น และอาจจะมีผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทเอกชนในเชิง
บวก เนื่องจากหากดอกเบี้ยยังเป็นช่วงขาขึ้นแสดงว่าเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ยังเติบโตก็จะเป็นผลดีต่อ
การค้าระหว่างประเทศของไทยและน่าจะทำให้ผลประกอบการของเอกชนดีขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
3. ก.คลังมีนโยบายเพิ่มการออมภาคประชาชนอีกปีละ 10% นายโอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษา รม
ว.คลัง กล่าวว่า ก.คลังมีนโยบายเพิ่มการออมภาคประชาชนอีกปีละ 10% จากปัจจุบันเงินออมในระบบมี
ประมาณ 6 แสนล้านบาท เพื่อส่งเสริมการลงทุนระยะยาวของภาครัฐและเอกชน โดยจะใช้มาตรการภาษีมา
ช่วยส่งเสริมการออมผ่านกองทุนทั้งในส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ)
กองทุนบำเหน็จบำนาญ โดยจะเพิ่มวงเงินการลดหย่อนภาษีของผู้ที่ออมเงินผ่านกองทุนอาร์เอ็มเอฟ จากเดิมไม่
เกิน 3 แสนบาท เป็น 5 แสนบาท ขณะเดียวกันรัฐบาลจะเปิดช่องทางให้กองทุนต่าง ๆ ไปลงทุนในต่าง
ประเทศ เช่น เอเชียบอนด์ พันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้บริษัทเอกชนต่างชาติด้วย เนื่องจากอีก 5 ปีข้างหน้า
ภาครัฐจะไม่ขาดดุลการคลัง ทำให้ไม่จำเป็นต้องออกพันธบัตร โดยแผนการลงทุนดังกล่าวจะทำให้เกิดการ
ขยายกำลังการผลิตและการจ้างงานเพิ่มขึ้นอีก 7-8 แสนคนต่อปี พร้อมทำให้ประชาชนเข้าสู่ระบบการจ่าย
ภาษีอย่างถูกต้องและเข้าสู่ระบบประกันสังคมด้วย ทั้งนี้ เหตุผลที่ ก.คลังต้องเร่งระดมเงินออม เนื่องจาก
ปริมาณสภาพคล่องในประเทศไม่เพียงพอต่อการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลที่มีมูลค่าอย่างต่ำ 1.5
ล้านล้านบาท ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ไม่นับรวมการลงทุนของบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจาก
ปัจจุบันสภาพคล่องของระบบสถาบันการเงินอยู่ที่ประมาณ 7 แสนล้านบาท หากรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจดูดเงิน
ออกไปหมด จะทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้นทันที และประชาชนได้รับความเดือดร้อน เพราะไม่ใช่เพียง
รัฐบาลลงทุนเท่านั้น แต่เอกชนที่ลงทุนจะต้องมีต้นทุนการกู้สูงขึ้นด้วย (โพสต์ทูเดย์)
4. ก.ล.ต. เตรียมวางมาตรการคุ้มครองนักลงทุนรายย่อย นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
เลขาธิการ กลต. เตรียมออกมาตรการในการกำกับดูแลตลาดทุนและคุ้มครองผู้ลงทุน โดยเฉพาะรายย่อยที่
อาจถูกกระทบหากบริษัทจดทะเบียนต้องเข้าสู่กระบวนการของศาลล้มละลาย ซึ่งในขณะนี้ยังมีช่องว่างของการ
เข้าไปดูแลในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนรายใดที่เข้าสู่กระบวนการศาลล้มละลายกลาง เนื่องจากการลงมติใด ๆ
ที่เกี่ยวกับการจัดสรรหุ้นหรือการเสนอขายหุ้นล้วนเป็นอำนาจของที่ประชุมเจ้าหนี้ โดย กลต. ไม่มีอำนาจเข้า
ไปแทรกแซงอย่างเช่นในกรณีของ ทีพีไอ และ บ.ปุ๋ยแห่งชาติ นอกจากนี้ กลต.ยังจะออกมาตรการให้การคุ้ม
ครองแก่ผู้ที่แจ้งเบาะแสในการกระทำผิดต่าง ๆ รวมถึงการให้สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
(IOD) ประเมินธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย โดยเบื้องต้นพบว่ายังมีจุดที่ต้องปรับ
ปรุงอีกหลายจุด และ กลต. จะรณรงค์ให้บริษัทที่อยู่ใน SET 50 ทุกบริษัทปฏิบัติตามข้อกำหนดซึ่งจะต้องเป็น
รูปธรรมในปี 47 นอกจากนี้ กลต. ได้พยายามพัฒนาและปรับปรุงกฎระเบียบเกี่ยวกับสภาพคล่องของกองทุน
รวมตราสารหนี้ เพื่อป้องกันปัญหาการไถ่ถอนหน่วยลงทุนเป็นจำนวนมาก (redemtion run) รวมทั้ง
ประสานกับ กลต.ต่างประเทศ เพื่อพัฒนาตลาดทุนในภูมิภาคอีกด้วย (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ค่าจ้างแรงงานของสรอ.ชะลอตัวขณะที่การขอรับสวัสดิการการว่างงานคงที่ รายงานจาก
วอชิงตันเมื่อวันที่ 29 ก.ค. 47 ก.แรงงาน สรอ.เปิดเผยว่า ตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก
ของสรอ.บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน อย่างไรก็ตามการจ้างงานยังขยายตัวในอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ
มากกว่า 20 ปี ทั้งนี้ค่าจ้างและเงินเดือนในไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.6 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ
2.5 จากปีที่แล้ว และเท่ากับในไตรมาสแรกที่เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดนับตั้งแต่ปี 25 นอกจากนั้นตัวเลขการขอรับ
สวัสดิการว่างงานครั้งแรก ซึ่งเป็นเป็นตัวชี้วัดโดยประมาณของการเลิกจ้างงานเพิ่มขึ้น 4,000 คนอยู่ที่ระดับ
345,000 คน ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นว่าการขอรับสวัสดิการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 400,000
คนชี้ว่าตลาดแรงงานฟื้นตัว ทั้งนี้นาย Drew Matus เศรษฐกรจาก Lehman Brothers กล่าวว่าตลาดแรง
งานขยายตัวอย่างต่อเนื่องแต่การจ้างงานยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่ต้นทุนการจ้างงานซึ่งเป็นต้นทุนของผู้
ประกอบการในเรื่องสวัสดิการแรงงาน อาทิเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและสวัสดิการด้านสุขภาพในไตรมาสที่ 2
ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมากซึ่งสวัสดิการดังกล่าวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.8 จากที่ได้ปรับขึ้นไปแล้วร้อยละ 2.4 ในไตร
มาสที่ 1 ซึ่งหมายถึงกิจการต้องจ่ายเงินให้เพื่อสนับสนุนกองทุนเพิ่มมากขึ้น โดยในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาต้น
ทุนดังกล่าวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.2 เพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 14 ปี ผู้บริโภคโดยทั่วไปไม่อาจใช้จ่ายเงินกองทุน
ดังกล่าวจึงไม่มีความเสี่ยง แต่สำหรับผู้ประกอบการแล้วการจ่ายสวัสดิการรวมทั้งภาวะเงินเฟ้อทำให้กำไรของ
บริษัทลดลง ( รอยเตอร์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษในเดือน ก.ค.47 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยแม้จะยังอยู่ใน
ระดับต่ำ รายงานจากลอนดอน เมื่อ 29 ก.ค.47 บริษัทวิจัย Martin Hamblin GfK เปิดเผยว่า ดัชนี
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษในเดือน ก.ค.47 ปรับตัวดีขึ้นแม้จะยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับถัวเฉลี่ย
ระยะยาว โดยเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ —3 จากระดับ —4 ในเดือนก่อน แตกต่างจากที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อน
หน้านี้ว่าจะอยู่ที่ระดับเดิมคือ —4 ทั้งนี้ การปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยของดัชนีดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่ดัชนีย่อยตัว
อื่น ๆ ฟื้นตัวดีขึ้น ทำให้ผู้บริโภคคิดว่าขณะนี้เป็นบรรยากาศที่เหมาะสมสำหรับการจับจ่ายใช้สอย อย่างไรก็ตาม
การที่ผู้บริโภคยังคงกังวลเกี่ยวกับการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลาง มีส่วนทำให้ความเชื่อมั่นผู้
บริโภคเพิ่มขึ้นไม่มากเท่าที่ควร ทั้งนี้ ในเดือน ก.ค.47 ธ.กลางอังกฤษยังคงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายใน
ระดับเดิม คือ ร้อยละ 4.5 หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 เดือนก่อนหน้านี้ แต่นักวิเคราะห์คาดว่าอาจจะ
ปรับเพิ่มอีกร้อยละ 0.25 ในสัปดาห์ถัดไป (รอยเตอร์)
3. เงินกู้จำนองและเงินกู้จำนองที่อนุมัติใหม่ของอังกฤษในเดือน มิ.ย.47 ชะลอตัวลงเล็กน้อย
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 29 ก.ค.47 ธ.กลางอังกฤษเปิดเผยว่า จำนวนเงินกู้จำนองและจำนวนเงินกู้
จำนองที่อนุมัติใหม่ของสถาบันการเงินในอังกฤษในเดือน มิ.ย.47 ชะลอตัวลงเล็กน้อย ทำให้คาดว่าความต้อง
การกู้ยืมของผู้บริโภคในเดือนถัดไปอาจจะไม่รุนแรงมากนัก อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่า จำนวน
เงินให้กู้จำนองยังคงแข็งแกร่ง โดยในเดือนมิ.ย.47 รคตขยายตัวเพิ่มขึ้นจำนวน 9.18 พัน ล.ปอนด์ หลัง
จากที่เพิ่มขึ้นจำนวน 9.35 พัน ล.ปอนด์ ในเดือนก่อน ส่วนจำนวนเงินกู้จำนองที่อนุมัติใหม่มีจำนวน 114,000
ราย ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือน พ.ค.47 ที่มีจำนวน 124,000 ราย ทั้งนี้ ค่าเงินปอนด์ที่ลดลงในขณะนี้
อาจจะสนับสนุนให้ ธ.กลางอังกฤษเลื่อนการพิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แม้ว่านักเศรษฐศาสตร์
ส่วนใหญ่จะคาดว่า ธ.กลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.75 ในสัปดาห์ถัด
ไปก็ตาม ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่าผู้บริโภคเริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนองต่ออัตราดอกเบี้ยที่อยู่ใน
ระดับสูงในขณะนี้ แต่สัญญาณบางอย่างที่ไม่ได้สะท้อนว่าผู้บริโภคมีความกังวลในเหตุการณ์ดังกล่าว เนื่องจากสิน
เชื่อผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึงจำนวน 2.05 พัน ล.ปอนด์ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่เดือน ต.ค.45
เป็นต้นมา รวมทั้งยังสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 1.7 พัน ล.ปอนด์เท่านั้น (รอยเตอร์)
4. ญี่ปุ่นอาจต้องเผชิญกับภาวะเงินฝืดในระดับเล็กน้อยต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง รายงานจาก
โตเกียวเมื่อ 30 ก.ค.47 ทางการญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นอาจประสบกับภาวะเงินฝืดต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง
หลังจากนั้นเศรษฐกิจจะเริ่มแข็งแกร่งขึ้น โดยดัชนีราคาผู้บริโภคหลักทั่วประเทศ (nationwide core
consumer price index) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสดที่มีความผันผวน ลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน มิ.ย.47
เทียบต่อปี ซึ่งแม้จะลดลงแต่ก็น้อยกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 อันเป็น
ผลจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งนี้ การลดลงของดัชนีฯ ดังกล่าวเป็นการยืนยันว่าญี่ปุ่นยังคง
ประสบกับภาวะเงินฝืดในระดับเล็กน้อย อนึ่ง ตัวเลข CPI กำลังถูกติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก ธ.กลาง
ญี่ปุ่น ได้เคยกล่าวว่า จะยังคงแนวทางการผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อไปจนกว่า CPI จะอยู่ในระดับที่มี
เสถียรภาพคือเหนือกว่าร้อยละ 0 นอกจากนี้ The Ministry of Public Management, Home
Affairs, Posts and Telecommunications ได้เปิดเผยตัวเลขการใช้จ่ายเฉลี่ยของครัวเรือนผู้ใช้แรง
งานญี่ปุ่น ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้ชี้วัดการบริโภคส่วนบุคคล ในเดือน มิ.ย.47 ว่า ลดลงร้อยละ 1.3 เทียบต่อปี นับ
เป็นการลดลงครั้งแรกหลังจากการเพิ่มขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน สำหรับ The propensity-to-consume
index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความสมดุลระหว่างรายได้ที่ครัวเรือนคาดว่าจะสามารถใช้จ่ายได้ ในเดือน มิ.ย.47
เพิ่มขึ้นที่ระดับ 76.6 จากระดับ 72.8 ในเดือนก่อน นอกจากนี้ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ(อัตราต่อปี)
ของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาสแรกของปี 47 ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 6.1 สูงกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของ
สรอ.ในช่วงเวลาเดียวกันซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.9 เป็นการเติบโตโดยมีการส่งออกเป็นตัวนำ ในส่วนของ
Purchasing Managers Index (PMI) ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้ชี้วัดกิจกรรมของภาคอุตสาหกรรม ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ที่ระดับ 54.3 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ซึ่งเป็นตัวเลขที่อยู่เหนือระดับ 50 มาเป็นระยะเวลา 14 เดือนต่อ
เนื่อง รวมถึงอัตราการว่างงานซึ่งได้ฟื้นตัวขึ้นอย่างช้าๆ นับตั้งแต่เดือน ม.ค.46 ที่ระดับร้อยละ 5.5 แม้ว่า
จะลดลงที่ระดับร้อยละ 4.6 ในเดือน มิ.ย.47 แต่ก็เป็นไปตามความคาดหมาย ซึ่งดัชนีชี้เศรษฐกิจต่างๆ ล้วน
สะท้อนความแข็งแกร่งของภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นทั้งสิ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30 ก.ค. 47 29 ก.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.41 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.2256/41.5091 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250-1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 631.42/11.12 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,550/7,650 7,600/7,700 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 36.15 36.33 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 19.39*/14.59 19.39*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 18 มิ.ย.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-