เดือนกรกฎาคม 2547 ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงขยายตัวจากการผลิตนอกภาคเกษตร การใช้จ่ายภาคเอกชนเพิ่มขึ้น เห็นได้จากปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม การจดทะเบียนรถยนต์ รถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ยังมีทิศทางที่ดีต่อเนื่อง ภาคการก่อสร้างชะลอลงเนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน การผลิตภาค อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป อุตสาหกรรมแหอวน อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์เพิ่มขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังลดลง ความต้องการแรงงานและการสมัครงานลดลง ภาคการคลังรัฐบาล การจัดเก็บรายได้และการเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ภาคเกษตรมีฝนตกกระจายเกือบทั่วทั้งภาค โดยรวมเป็นผลดีต่อการเพาะปลูก โดยเฉพาะพื้นที่ข้าวนาดอนและพืชไร่ ราคาข้าวเปลือกปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน ราคามันสำปะหลัง ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ราคาทรงตัวกว่าเดือนก่อน แต่สูงกว่าในเดือนเดียวกันของปีก่อนค่อนข้างมาก อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 4.5 การค้าชายแดนไทย-ลาว และไทย-กัมพูชา ปรับตัวดีขึ้น
1. ภาคการเกษตร
ข้าว ในเดือนกรกฎาคมการทำนาฤดูการผลิตปี 2547/48 เกษตรกรปักดำแล้วเสร็จเกือบทุกพื้นที่ ต้นข้าวอยู่ระหว่างเจริญเติบโตและแตกกอ ในเดือนนี้มีฝนตกกระจายเกือบทั่วทั้งภาคฯ โดยรวมแล้วเป็นผลดีต่อการทำนา โดยเฉพาะพื้นที่นาดอน ซึ่งเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นจากปีก่อนค่อนข้างมากจากราคาจูงใจ อย่างไรก็ตามภาวะฝนส่งผลให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่นาประมาณร้อยละ 4.5 ของพื้นที่ทำนาทั้งหมด และมีน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในจังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และยโสธร โดยเฉพาะพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำ แต่ถ้าหากน้ำลดระดับลงเร็ว น่าจะเสียหายไม่มากนัก การแก้ปัญหากระทรวงเกษตรจะชดเชยค่าเสียหายให้กับเกษตรกรและได้จัดเตรียมพันธุ์พืชอายุสั้นให้เกษตรกรที่ได้รับความเสียหายปลูกหลังน้ำลด
ราคาเฉลี่ยข้าวเปลือก 5% เกวียนละ 7,827 บาท เทียบกับเดือนก่อนลดลงร้อยละ 9.9 เทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 6.0 ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เกวียนละ 6,289 บาท เทียบกับเดือนก่อนลดลงร้อยละ 0.6 เทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 2.1
มันสำปะหลัง ในเดือนนี้มีฝนตกกระจายเกือบทั่วทั้งภาคฯ ส่งผลให้เกษตรกรชะลอการขุดหัวมันออกขาย ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น ราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสำปะหลังกิโลกรัมละ 0.93 บาท สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 5.7 เทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 8.1 ราคาขายส่งเฉลี่ยมันเส้นกิโลกรัมละ 2.37 บาท สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 0.4 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.7
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูกข้าวโพดรุ่น 1 มีน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก การเจริญเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดี ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กิโลกรัมละ 5.98 บาท ทรงตัว เท่ากับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 30.0
2. การใช้จ่ายภาคเอกชน เดือนนี้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยพิจารณาจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ชิ้นส่วนรถยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโรงงานสุราลดลง ส่วนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5 และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 ผลจากการแข่งขันของตลาดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ยังรุนแรงและต่อเนื่อง
3. การลงทุนภาคเอกชน เดือนนี้การลงทุนยังมีทิศทางดีต่อเนื่อง โดยมีการลงทุนเพิ่มขึ้นทั้งทางด้านภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมยังเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
การจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่ในภาคเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีกิจการที่มีเงินลงทุนสูงหลายกิจการ ทำให้มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยกิจการที่มีเงินลงทุนสูงในเดือนนี้ได้แก่ โรงงานผลิตเอทานอล โรงงานผลิตอาหารสัตว์ โรงสีข้าว และฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ในส่วนของภาคธุรกิจที่สำคัญได้แก่ กิจการรับเหมาก่อสร้าง กิจการค้าวัสดุก่อสร้าง กิจการขนส่งสินค้า กิจการค้าผลผลิตทางการเกษตร และกิจการหอพัก
กิจการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในเดือนนี้ มีมูลค่าเงินลงทุนลดลงจากปีก่อนเล็กน้อยโดยลดลงร้อยละ 2.7 เกือบจะทั้งหมดเป็นการลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร ได้แก่ กิจการเลี้ยงสัตว์ กิจการผลิตอาหารสัตว์ กิจการผลิตปุ๋ยชีวภาพ และกิจการผลิตน้ำยางข้น และหมวดอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติก ได้แก่ กิจการผลิตชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบพลาสติกสำหรับการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0
4. ภาคการก่อสร้าง พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในภาคฯเดือนนี้ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนและมีฝนตกบ่อยครั้งในเดือนนี้ซึ่งเป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง โดยการขออนุญาตเพื่อก่อสร้างส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นการขออนุญาตก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยตาม สวัสดิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งให้สินเชื่อโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2547 ธอส.จะร่วมมือกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) เปิดตัวโครงการรีไฟแนนซ์เงินกู้ที่อยู่อาศัยสำหรับสมาชิก กบข. โดยลักษณะของโครงการนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1) รีไฟแนนซ์สมาชิก กบข. ที่เป็นลูกค้าของ ธอส.เดิม 2) รีไฟแนนซ์ลูกค้าใหม่ที่ย้ายมาจากสถาบันการเงินอื่น ซึ่งเป็นโครงการเชื่อมต่อเนื่องโครงการสินเชื่อ กบข. ซึ่งปิดโครงการไปแล้วเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2547
อีกทั้งในปัจจุบันมีสถาบันการเงินหลาย ๆ สถาบันให้สินเชื่อเกี่ยวกับด้านที่อยู่อาศัย ซึ่งมีการแข่งขันกันหลายรูปแบบ เช่น ระยะเวลา เงื่อนไขของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และการส่งเสริมให้สิทธิประโยชน์เมื่อมีการทำสัญญา ให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อจูงใจให้ลูกค้ามีการตัดสินใจในการใช้สินเชื่อที่อยู่อาศัยเร็วขึ้น โดยมีภาวะสนับสนุนเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ยังคงต่ำต่อเนื่องถึงปัจจุบันและเป็นปัจจัยให้ผู้ประกอบการยังคงให้ความสนใจในการลงทุนในธุรกิจบ้านจัดสรร เนื่องจากประชาชนยังมีความต้องการ อีกทั้งการลงทุนในด้านการสร้างที่อยู่อาศัยให้ผลตอบแทนแก่ผู้ประกอบการดีมากกว่าการลงทุนด้านการฝากเงินกับสถาบัน การเงินในปัจจุบัน
ทั้งนี้ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในภาคฯ เดือนนี้จำนวน 161,769 ตารางเมตร ลดลงร้อยละ 3.4 จากระยะเดียวกันของปีก่อน จังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีการขอรับอนุญาตฯ มากที่สุดในเดือนนี้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.1 โดยการขอรับอนุญาตในภาคฯ แบ่งเป็นวัตถุประสงค์เพื่อที่อยู่อาศัยสัดส่วนร้อยละ 75.9 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดหนองคาย พื้นที่เพื่อการพาณิชย์สัดส่วนร้อยละ 17.4 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดขอนแก่นเป็นการขออนุญาตก่อสร้างอาคารสำนักงาน เพื่อการบริการสัดส่วนร้อยละ 5.9 ส่วนใหญ่เป็นการสร้างหอพักในจังหวัดอุบลราชธานี
5. การผลิตภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญของภาคเพิ่มขึ้นในบางประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก เนื่องจากเป็นช่วงฤดูการผลิตที่ต้องส่งสินค้าไปต่างประเทศในช่วงปลายปี อุตสาหกรรมแหอวน มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียเนื่องจากสภาพฝนดีต่อการทำการประมง อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ยังขยายตัวดีตามอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ ที่มีการส่งออกอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังชะลอตัว เนื่องจากในช่วงนี้มีหัวมันสำปะหลังน้อย เนื่องจากเป็นช่วงปลายของการผลิต แต่คำสั่งซื้อยังมีมาต่อเนื่อง โดยในช่วงเดือนกรกฎาคม มีการส่งออกมันเส้นไปยังจีน และอินโดนีเซีย มันอัดเม็ดมีการส่งออกไปยังสเปน เกาหลีใต้ เนเธอแลนด์ ญี่ปุ่นและมาเลเซีย
6. ภาคการจ้างงาน
6.1 แรงงานในประเทศ
ประมาณการเบื้องต้นข้อมูลการจัดหางานของภาคฯ เดือนนี้มีปริมาณความต้องการและการได้งานทำลดลงตามปัจจัยสภาพภูมิอากาศซึ่งมีฝนตกบ่อยครั้งในเดือน จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่นายจ้างจึงชะลอความต้องการในการใช้แรงงานและประกอบกับแรงงานซึ่งต้องการทำงานก็เดินทางไม่ค่อยสะดวกในการไปสมัครทำงานในเดือนนี้
ดังนั้นการจัดหางานในเดือนนี้เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีตำแหน่งงานว่างจำนวน 10,984
คน ลดลงร้อยละ 15.0 ผู้สมัครงานจำนวน 3,588 คนลดลงร้อยละ 10.0 ส่วนผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงานจำนวน 1,654 คนลดดลงร้อยละ 20.0
6.2 แรงงานไปทำงานในต่างประเทศ
สำหรับแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศเดือนนี้จำนวน 6,873 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ9.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อน อุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีแรงงานเดินทางไปทำงานต่างประเทศมากที่สุดในภาคฯจำนวน 1,385 คนรองลงมานครราชสีมา 1,133 คนและขอนแก่น 622 คน ประเทศที่แรงงานในภาคฯเดินทางไปทำงานมากที่สุด 6 อันดับแรกคือไต้หวัน จำนวน 3,033 คนรองลงมาอิสราเอล 1,102 คน เกาหลีใต้ 898 คน สิงคโปร์ 493 คน บรูไน 278 คน และญี่ปุ่น 104 คน รวมจำนวนแรงงานที่เดินทางไปทำงานใน 6 ประเทศจำนวน 5,908 คนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 85.9 ของแรงงานทั้งภาคฯที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศเดือนนี้
7. การค้าชายแดน ขยายตัวทั้งด้านไทย-ลาว และไทย-กัมพูชา
7.1 การค้าชายแดนไทย-ลาว
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาวเดือนกรกฎาคมปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าการค้า 1,875.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 แบ่งเป็นการส่งออก 1,491.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 จากการเพิ่มขึ้นของสินค้าหมวดอุปโภคบริโภค หมวดสินค้าทุน และน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสำคัญ การนำเข้า 383.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.4 จากากรลดลงของไม้และผลิตภัณฑ์ไม้
การส่งออก 1,491.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 สินค้าสำคัญที่ส่งออก ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค 181.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.8 เครื่องใช้ไฟฟ้า 101.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิง 232.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.2 ยานพาหนะ 184.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.3
การนำเข้า 383.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.4 สินค้านำเข้าสำคัญที่ลดลง คือ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 319.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.8
การค้าผ่านแดนไทย-ลาว
มูลค่าการค้าผ่านแดน 1,951.5 ล้านบาท
สินค้าผ่านแดนไทยไปลาว 1,219.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 122.7 สินค้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ 585.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าสิบเท่าตัว เครื่องใช้ไฟฟ้า166.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าตัว บุหรี่ 102.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.7 เครื่องดื่ม (สุรา) 75.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.3
สินค้าขาออกจากลาว 732.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5 สินค้าสำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย 627.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.3 เฟอร์นิเจอร์ 30.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าสามสิบเท่าตัว
7.2 การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา
การค้าชายแดนไทย-กัมพูชาผ่านด่านศุลกากร เดือนกรกฎาคมมูลค่าการค้า2,032.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.7 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 1,249.0 ล้านบาท การส่งออกมีมูลค่า 1,961.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.6 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 71.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.5
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ 311.7 ล้านบาท น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ 139.7 ล้านบาท และสิ่งทอ 111.1 ล้านบาท
สินค้านำเข้าที่สำคัญยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 23.1 ล้านบาท
8. ภาคการเงิน
ณ สิ้นกรกฎาคม 2547 ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯมีสาขาทั้งสิ้น 488 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 58 สำนักงาน) เท่ากับเดือนก่อน
จากข้อมูลเบื้องต้น ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ มีเงินฝากคงค้าง 284,185 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 1.5 จากเดือนก่อน ในด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 223,347 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 จากระยะเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 1.3 จากเดือนก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเพื่อการค้าส่งและค้าปลีก สินเชื่อเหมืองแร่และย่อยหิน สินเชื่อผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล เป็นต้น ในด้านอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน จากอัตราส่วนร้อยละ 74.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 78.6 ในเดือนนี้
อัตราดอกเบี้ยเดือนนี้ยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยใน ด้านเงินฝาก อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน อยู่ระหว่างร้อยละ 1.00-1.25 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ระหว่างร้อยละ 0.50-1.00 ต่อปี เท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อนทั้งสองอัตรา ในด้านสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.50 -6.70 ต่อปี MRR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.75-7.75 ต่อปี และ MOR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.75-7.00 ต่อปี เท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อนทั้งสามอัตรา
ปริมาณการใช้เช็ค
เดือนนี้ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคฯ 279,929 ฉบับ ลดลงร้อยละ 31.9 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คทั้งสิ้น 33,495.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.1
สำหรับปริมาณเช็คคืนมีทั้งสิ้น 6,403 ฉบับ ลดลงร้อยละ 44.1 จากระยะเดียวกันของปีก่อน และจำนวนเงินที่สั่งจ่าย 767.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19.3 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ทำให้อัตราส่วนของมูลค่าเช็คคืนทั้งสิ้นต่อเช็คเรียกเก็บเดือนนี้ลดลงจากปีก่อนที่ร้อยละ 2.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ในเดือนนี้
เช็คคืนเพราะไม่มีเงินมีทั้งสิ้น 3,857 ฉบับ ลดลงร้อยละ 43.6 ในขณะที่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คดังกล่าวมีทั้งสิ้น 277.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.2 จากปีก่อน ทำให้อัตราส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บเดือนนี้ลดลงจากปีก่อนที่ร้อยละ 1.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ในเดือนนี้
เดือนนี้สาขาธนาคารออมสินในภาคฯทั้งสิ้น 136 สำนักงาน จากข้อมูลเบื้องต้น มียอดเงินรับฝาก 7,121.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และมีเงินถอนทั้งสิ้น 7,597.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 9.5 โดยมียอดเงินฝากคงค้าง 47,555.2 ล้านบาท
ณ สิ้นมิถุนายนปีนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ฯ ในภาคฯมีสาขาทั้งสิ้น 179 สำนักงาน มียอดเงินฝากคงค้าง 65,953.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ในด้านสินเชื่อเดือนนี้มีการจ่ายเงินกู้ไปทั้งสิ้น 2,491.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และยอดรับชำระเงินคืนทั้งสิ้น 1,782.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.8 ทำให้สินเชื่อคงค้างมีทั้งสิ้น 97,282.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เดือนนี้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีเงินฝากคงค้าง 2,868.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ในด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 46,519.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
สินเชื่อของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ในภาคเดือนนี้มีการอนุมัติสินเชื่อทั้งสิ้น 26 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 155.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยมีประเภทสินเชื่อที่สำคัญ ได้แก่ ธุรกิจจำหน่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน โรงงาน ไม้แปรรูป เป็นต้น
เดือนนี้ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในภาคฯ อนุมัติสินเชื่อให้กับอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 22 โครงการ เป็นเงินทั้งสิ้น 435.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.1 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 25.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยมีสินเชื่อที่สำคัญได้แก่ สินเชื่อเกษตรอุตสาหกรรม ธุรกิจเช่าซื้อ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
9. ภาคการคลังรัฐบาล เดือนนี้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในภาคฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.6 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.7เนื่องจากการปรับเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ประกอบกับกิจการผลิตแป้งมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมาปรับเงินเดือนพนักงาน ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 ผลจากการ จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกิจการผลิตแป้งมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมาเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ด้านการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.7 เนื่องจากรายจ่ายประจำเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.8 และรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5 จากการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.9 และเงินค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 ตามการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี
สำหรับอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2547 ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2547 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 88.8 ของวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติซึ่งมีอัตราส่วนการเบิกจ่ายสูงกว่าระยะเดียวกันของปีก่อน (อัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 86.2) เป็นการเบิกจ่ายงบประจำร้อยละ 94.6 ของวงเงินประจำงวดฯ (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 96.3) และงบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 75.7 (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 63.0)
10. ระดับราคา
วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯสูงขึ้นร้อยละ 4.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อน
ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 8.0 โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ ผักสดแปรรูปและอื่นๆ เนื่องจากสภาพอากาศที่มีฝนตกมากในแหล่งผลิตส่งผลให้พืชผักบางชนิดเสียหาย ปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดลดลง เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ ตามความต้องการบริโภคซึ่งมีมากกว่าสินค้าในท้องตลาด ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผลผลิตมีไม่มาก ขณะที่ความต้องการบริโภคยังมีอย่างต่อเนื่อง
ราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 2.5 สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นเป็น สินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 5.8 โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เบนซิน) ที่ได้ปรับเพดานราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 91 และ 95 สูงขึ้น สินค้าในหมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 1.0 โดยเฉพาะราคาก๊าชหุงต้ม ไฟฟ้า และน้ำประปา สำหรับราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ราคาปรับตัวเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
1. ภาคการเกษตร
ข้าว ในเดือนกรกฎาคมการทำนาฤดูการผลิตปี 2547/48 เกษตรกรปักดำแล้วเสร็จเกือบทุกพื้นที่ ต้นข้าวอยู่ระหว่างเจริญเติบโตและแตกกอ ในเดือนนี้มีฝนตกกระจายเกือบทั่วทั้งภาคฯ โดยรวมแล้วเป็นผลดีต่อการทำนา โดยเฉพาะพื้นที่นาดอน ซึ่งเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นจากปีก่อนค่อนข้างมากจากราคาจูงใจ อย่างไรก็ตามภาวะฝนส่งผลให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่นาประมาณร้อยละ 4.5 ของพื้นที่ทำนาทั้งหมด และมีน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในจังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และยโสธร โดยเฉพาะพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำ แต่ถ้าหากน้ำลดระดับลงเร็ว น่าจะเสียหายไม่มากนัก การแก้ปัญหากระทรวงเกษตรจะชดเชยค่าเสียหายให้กับเกษตรกรและได้จัดเตรียมพันธุ์พืชอายุสั้นให้เกษตรกรที่ได้รับความเสียหายปลูกหลังน้ำลด
ราคาเฉลี่ยข้าวเปลือก 5% เกวียนละ 7,827 บาท เทียบกับเดือนก่อนลดลงร้อยละ 9.9 เทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 6.0 ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เกวียนละ 6,289 บาท เทียบกับเดือนก่อนลดลงร้อยละ 0.6 เทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 2.1
มันสำปะหลัง ในเดือนนี้มีฝนตกกระจายเกือบทั่วทั้งภาคฯ ส่งผลให้เกษตรกรชะลอการขุดหัวมันออกขาย ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น ราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสำปะหลังกิโลกรัมละ 0.93 บาท สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 5.7 เทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 8.1 ราคาขายส่งเฉลี่ยมันเส้นกิโลกรัมละ 2.37 บาท สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 0.4 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.7
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูกข้าวโพดรุ่น 1 มีน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก การเจริญเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดี ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กิโลกรัมละ 5.98 บาท ทรงตัว เท่ากับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับในเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 30.0
2. การใช้จ่ายภาคเอกชน เดือนนี้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยพิจารณาจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ชิ้นส่วนรถยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโรงงานสุราลดลง ส่วนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5 และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 ผลจากการแข่งขันของตลาดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ยังรุนแรงและต่อเนื่อง
3. การลงทุนภาคเอกชน เดือนนี้การลงทุนยังมีทิศทางดีต่อเนื่อง โดยมีการลงทุนเพิ่มขึ้นทั้งทางด้านภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมยังเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
การจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่ในภาคเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีกิจการที่มีเงินลงทุนสูงหลายกิจการ ทำให้มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยกิจการที่มีเงินลงทุนสูงในเดือนนี้ได้แก่ โรงงานผลิตเอทานอล โรงงานผลิตอาหารสัตว์ โรงสีข้าว และฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ในส่วนของภาคธุรกิจที่สำคัญได้แก่ กิจการรับเหมาก่อสร้าง กิจการค้าวัสดุก่อสร้าง กิจการขนส่งสินค้า กิจการค้าผลผลิตทางการเกษตร และกิจการหอพัก
กิจการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในเดือนนี้ มีมูลค่าเงินลงทุนลดลงจากปีก่อนเล็กน้อยโดยลดลงร้อยละ 2.7 เกือบจะทั้งหมดเป็นการลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร ได้แก่ กิจการเลี้ยงสัตว์ กิจการผลิตอาหารสัตว์ กิจการผลิตปุ๋ยชีวภาพ และกิจการผลิตน้ำยางข้น และหมวดอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติก ได้แก่ กิจการผลิตชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบพลาสติกสำหรับการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0
4. ภาคการก่อสร้าง พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในภาคฯเดือนนี้ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนและมีฝนตกบ่อยครั้งในเดือนนี้ซึ่งเป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง โดยการขออนุญาตเพื่อก่อสร้างส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นการขออนุญาตก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยตาม สวัสดิการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งให้สินเชื่อโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2547 ธอส.จะร่วมมือกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) เปิดตัวโครงการรีไฟแนนซ์เงินกู้ที่อยู่อาศัยสำหรับสมาชิก กบข. โดยลักษณะของโครงการนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1) รีไฟแนนซ์สมาชิก กบข. ที่เป็นลูกค้าของ ธอส.เดิม 2) รีไฟแนนซ์ลูกค้าใหม่ที่ย้ายมาจากสถาบันการเงินอื่น ซึ่งเป็นโครงการเชื่อมต่อเนื่องโครงการสินเชื่อ กบข. ซึ่งปิดโครงการไปแล้วเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2547
อีกทั้งในปัจจุบันมีสถาบันการเงินหลาย ๆ สถาบันให้สินเชื่อเกี่ยวกับด้านที่อยู่อาศัย ซึ่งมีการแข่งขันกันหลายรูปแบบ เช่น ระยะเวลา เงื่อนไขของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และการส่งเสริมให้สิทธิประโยชน์เมื่อมีการทำสัญญา ให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อจูงใจให้ลูกค้ามีการตัดสินใจในการใช้สินเชื่อที่อยู่อาศัยเร็วขึ้น โดยมีภาวะสนับสนุนเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ยังคงต่ำต่อเนื่องถึงปัจจุบันและเป็นปัจจัยให้ผู้ประกอบการยังคงให้ความสนใจในการลงทุนในธุรกิจบ้านจัดสรร เนื่องจากประชาชนยังมีความต้องการ อีกทั้งการลงทุนในด้านการสร้างที่อยู่อาศัยให้ผลตอบแทนแก่ผู้ประกอบการดีมากกว่าการลงทุนด้านการฝากเงินกับสถาบัน การเงินในปัจจุบัน
ทั้งนี้ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในภาคฯ เดือนนี้จำนวน 161,769 ตารางเมตร ลดลงร้อยละ 3.4 จากระยะเดียวกันของปีก่อน จังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีการขอรับอนุญาตฯ มากที่สุดในเดือนนี้คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.1 โดยการขอรับอนุญาตในภาคฯ แบ่งเป็นวัตถุประสงค์เพื่อที่อยู่อาศัยสัดส่วนร้อยละ 75.9 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดหนองคาย พื้นที่เพื่อการพาณิชย์สัดส่วนร้อยละ 17.4 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดขอนแก่นเป็นการขออนุญาตก่อสร้างอาคารสำนักงาน เพื่อการบริการสัดส่วนร้อยละ 5.9 ส่วนใหญ่เป็นการสร้างหอพักในจังหวัดอุบลราชธานี
5. การผลิตภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญของภาคเพิ่มขึ้นในบางประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก เนื่องจากเป็นช่วงฤดูการผลิตที่ต้องส่งสินค้าไปต่างประเทศในช่วงปลายปี อุตสาหกรรมแหอวน มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียเนื่องจากสภาพฝนดีต่อการทำการประมง อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ยังขยายตัวดีตามอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ ที่มีการส่งออกอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังชะลอตัว เนื่องจากในช่วงนี้มีหัวมันสำปะหลังน้อย เนื่องจากเป็นช่วงปลายของการผลิต แต่คำสั่งซื้อยังมีมาต่อเนื่อง โดยในช่วงเดือนกรกฎาคม มีการส่งออกมันเส้นไปยังจีน และอินโดนีเซีย มันอัดเม็ดมีการส่งออกไปยังสเปน เกาหลีใต้ เนเธอแลนด์ ญี่ปุ่นและมาเลเซีย
6. ภาคการจ้างงาน
6.1 แรงงานในประเทศ
ประมาณการเบื้องต้นข้อมูลการจัดหางานของภาคฯ เดือนนี้มีปริมาณความต้องการและการได้งานทำลดลงตามปัจจัยสภาพภูมิอากาศซึ่งมีฝนตกบ่อยครั้งในเดือน จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่นายจ้างจึงชะลอความต้องการในการใช้แรงงานและประกอบกับแรงงานซึ่งต้องการทำงานก็เดินทางไม่ค่อยสะดวกในการไปสมัครทำงานในเดือนนี้
ดังนั้นการจัดหางานในเดือนนี้เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีตำแหน่งงานว่างจำนวน 10,984
คน ลดลงร้อยละ 15.0 ผู้สมัครงานจำนวน 3,588 คนลดลงร้อยละ 10.0 ส่วนผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงานจำนวน 1,654 คนลดดลงร้อยละ 20.0
6.2 แรงงานไปทำงานในต่างประเทศ
สำหรับแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศเดือนนี้จำนวน 6,873 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ9.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อน อุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีแรงงานเดินทางไปทำงานต่างประเทศมากที่สุดในภาคฯจำนวน 1,385 คนรองลงมานครราชสีมา 1,133 คนและขอนแก่น 622 คน ประเทศที่แรงงานในภาคฯเดินทางไปทำงานมากที่สุด 6 อันดับแรกคือไต้หวัน จำนวน 3,033 คนรองลงมาอิสราเอล 1,102 คน เกาหลีใต้ 898 คน สิงคโปร์ 493 คน บรูไน 278 คน และญี่ปุ่น 104 คน รวมจำนวนแรงงานที่เดินทางไปทำงานใน 6 ประเทศจำนวน 5,908 คนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 85.9 ของแรงงานทั้งภาคฯที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศเดือนนี้
7. การค้าชายแดน ขยายตัวทั้งด้านไทย-ลาว และไทย-กัมพูชา
7.1 การค้าชายแดนไทย-ลาว
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาวเดือนกรกฎาคมปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าการค้า 1,875.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 แบ่งเป็นการส่งออก 1,491.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 จากการเพิ่มขึ้นของสินค้าหมวดอุปโภคบริโภค หมวดสินค้าทุน และน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสำคัญ การนำเข้า 383.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.4 จากากรลดลงของไม้และผลิตภัณฑ์ไม้
การส่งออก 1,491.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 สินค้าสำคัญที่ส่งออก ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค 181.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.8 เครื่องใช้ไฟฟ้า 101.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิง 232.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.2 ยานพาหนะ 184.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.3
การนำเข้า 383.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.4 สินค้านำเข้าสำคัญที่ลดลง คือ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 319.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.8
การค้าผ่านแดนไทย-ลาว
มูลค่าการค้าผ่านแดน 1,951.5 ล้านบาท
สินค้าผ่านแดนไทยไปลาว 1,219.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 122.7 สินค้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ 585.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าสิบเท่าตัว เครื่องใช้ไฟฟ้า166.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าตัว บุหรี่ 102.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.7 เครื่องดื่ม (สุรา) 75.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.3
สินค้าขาออกจากลาว 732.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5 สินค้าสำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย 627.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.3 เฟอร์นิเจอร์ 30.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าสามสิบเท่าตัว
7.2 การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา
การค้าชายแดนไทย-กัมพูชาผ่านด่านศุลกากร เดือนกรกฎาคมมูลค่าการค้า2,032.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.7 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 1,249.0 ล้านบาท การส่งออกมีมูลค่า 1,961.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.6 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 71.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.5
สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ 311.7 ล้านบาท น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ 139.7 ล้านบาท และสิ่งทอ 111.1 ล้านบาท
สินค้านำเข้าที่สำคัญยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 23.1 ล้านบาท
8. ภาคการเงิน
ณ สิ้นกรกฎาคม 2547 ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯมีสาขาทั้งสิ้น 488 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 58 สำนักงาน) เท่ากับเดือนก่อน
จากข้อมูลเบื้องต้น ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ มีเงินฝากคงค้าง 284,185 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 1.5 จากเดือนก่อน ในด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 223,347 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 จากระยะเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 1.3 จากเดือนก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเพื่อการค้าส่งและค้าปลีก สินเชื่อเหมืองแร่และย่อยหิน สินเชื่อผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะ และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล เป็นต้น ในด้านอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน จากอัตราส่วนร้อยละ 74.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 78.6 ในเดือนนี้
อัตราดอกเบี้ยเดือนนี้ยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยใน ด้านเงินฝาก อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน อยู่ระหว่างร้อยละ 1.00-1.25 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ระหว่างร้อยละ 0.50-1.00 ต่อปี เท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อนทั้งสองอัตรา ในด้านสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.50 -6.70 ต่อปี MRR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.75-7.75 ต่อปี และ MOR อยู่ระหว่างร้อยละ 5.75-7.00 ต่อปี เท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อนทั้งสามอัตรา
ปริมาณการใช้เช็ค
เดือนนี้ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคฯ 279,929 ฉบับ ลดลงร้อยละ 31.9 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คทั้งสิ้น 33,495.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.1
สำหรับปริมาณเช็คคืนมีทั้งสิ้น 6,403 ฉบับ ลดลงร้อยละ 44.1 จากระยะเดียวกันของปีก่อน และจำนวนเงินที่สั่งจ่าย 767.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19.3 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ทำให้อัตราส่วนของมูลค่าเช็คคืนทั้งสิ้นต่อเช็คเรียกเก็บเดือนนี้ลดลงจากปีก่อนที่ร้อยละ 2.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ในเดือนนี้
เช็คคืนเพราะไม่มีเงินมีทั้งสิ้น 3,857 ฉบับ ลดลงร้อยละ 43.6 ในขณะที่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คดังกล่าวมีทั้งสิ้น 277.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.2 จากปีก่อน ทำให้อัตราส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บเดือนนี้ลดลงจากปีก่อนที่ร้อยละ 1.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ในเดือนนี้
เดือนนี้สาขาธนาคารออมสินในภาคฯทั้งสิ้น 136 สำนักงาน จากข้อมูลเบื้องต้น มียอดเงินรับฝาก 7,121.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และมีเงินถอนทั้งสิ้น 7,597.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 9.5 โดยมียอดเงินฝากคงค้าง 47,555.2 ล้านบาท
ณ สิ้นมิถุนายนปีนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ฯ ในภาคฯมีสาขาทั้งสิ้น 179 สำนักงาน มียอดเงินฝากคงค้าง 65,953.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ในด้านสินเชื่อเดือนนี้มีการจ่ายเงินกู้ไปทั้งสิ้น 2,491.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และยอดรับชำระเงินคืนทั้งสิ้น 1,782.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.8 ทำให้สินเชื่อคงค้างมีทั้งสิ้น 97,282.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เดือนนี้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีเงินฝากคงค้าง 2,868.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ในด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 46,519.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
สินเชื่อของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ในภาคเดือนนี้มีการอนุมัติสินเชื่อทั้งสิ้น 26 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 155.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยมีประเภทสินเชื่อที่สำคัญ ได้แก่ ธุรกิจจำหน่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน โรงงาน ไม้แปรรูป เป็นต้น
เดือนนี้ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในภาคฯ อนุมัติสินเชื่อให้กับอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 22 โครงการ เป็นเงินทั้งสิ้น 435.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.1 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 25.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยมีสินเชื่อที่สำคัญได้แก่ สินเชื่อเกษตรอุตสาหกรรม ธุรกิจเช่าซื้อ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
9. ภาคการคลังรัฐบาล เดือนนี้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในภาคฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.6 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.7เนื่องจากการปรับเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ประกอบกับกิจการผลิตแป้งมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมาปรับเงินเดือนพนักงาน ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.8 ผลจากการ จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกิจการผลิตแป้งมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมาเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ด้านการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.7 เนื่องจากรายจ่ายประจำเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.8 และรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5 จากการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.9 และเงินค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 ตามการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี
สำหรับอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2547 ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2547 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 88.8 ของวงเงินประจำงวดที่ได้รับอนุมัติซึ่งมีอัตราส่วนการเบิกจ่ายสูงกว่าระยะเดียวกันของปีก่อน (อัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 86.2) เป็นการเบิกจ่ายงบประจำร้อยละ 94.6 ของวงเงินประจำงวดฯ (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 96.3) และงบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 75.7 (ปีก่อนอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 63.0)
10. ระดับราคา
วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯสูงขึ้นร้อยละ 4.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อน
ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 8.0 โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ ผักสดแปรรูปและอื่นๆ เนื่องจากสภาพอากาศที่มีฝนตกมากในแหล่งผลิตส่งผลให้พืชผักบางชนิดเสียหาย ปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดลดลง เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ ตามความต้องการบริโภคซึ่งมีมากกว่าสินค้าในท้องตลาด ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผลผลิตมีไม่มาก ขณะที่ความต้องการบริโภคยังมีอย่างต่อเนื่อง
ราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 2.5 สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้นเป็น สินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 5.8 โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เบนซิน) ที่ได้ปรับเพดานราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 91 และ 95 สูงขึ้น สินค้าในหมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 1.0 โดยเฉพาะราคาก๊าชหุงต้ม ไฟฟ้า และน้ำประปา สำหรับราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ราคาปรับตัวเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-