นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) หมายเลข 1 พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วย นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางระบบจราจรเมืองใหญ่ ซึ่งจะมาเป็นรองผู้ว่าฯกทม.ฝ่ายโยธา ทีมนายอภิรักษ์ ร่วมกันแถลงเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมนี้ ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ตามแผนงาน 1 ใน 5 นโยบายหลักเพื่อชีวิตใหม่ของคนกรุงเทพฯว่า คณะทำงานด้านนโยบายได้ร่วมกันศึกษาและจัดทำ 4 โครงการหลักแก้ไขปัญหาการจราจรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะลงมือทำทันทีเมื่อได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯกทม.
นายสามารถ เปิดเผยว่า โครงการทั้งสี่มีรายละเอียดดังนี้ 1) โครงการรถเมล์ด่วนพิเศษ บีอาร์ที (Bus Rapid Transit — BRT) เป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดเบา สำหรับต่อเชื่อมกับระบบรถไฟฟ้า บีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดิน ใช้เวลาก่อสร้างสั้น มีลักษณะเด่น คือ วิ่งได้เร็ว เพราะมีเลนเฉพาะ เมื่อถึงทางแยกจะได้รับสัญญาณไฟเขียวก่อนรถอื่น ตัวรถจะเป็นรถพ่วง 3 คัน รับส่งผู้โดยสารได้เที่ยวละถึง 270 คน ภายในตัวรถมีความสะดวกสบายคล้ายรถไฟไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟใต้ดิน มีสถานีจอดรับส่งทุกระยะ 500-800 เมตร แต่ละสถานีจะมีป้ายบอกเวลาที่รถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ทีจะมาถึง ช่วยให้ผู้โดยสารไม่ต้องเสียเวลาชะเง้อมองหารถสายที่ตนต้องการ คาดว่าในชั่วโมงเร่งด่วนจะสามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากถึง 10,800 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
นายสามารถ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)ด้วย ระบุว่า บีอาร์ที เป็นระบบขนส่งมวลชนที่ใช้เงินลงทุนต่ำกว่ารถไฟฟ้า กล่าวคือ ใช้ค่าก่อสร้างประมาณ 50 ล้านบาท/กม. ในขณะที่ค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าระดับพื้นราบประมาณ 800 ล้านบาท/กม. ทั้งนี้ โครงข่ายเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที ขณะนี้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เห็นชอบแล้วมี 9 เส้นทาง ระยะทางรวม 228 กม. ซึ่งทีมงานนโยบายกรุงเทพมหานครของพรรคประชาธิปัตย์ จะปรับปรุงเส้นทางเหล่านี้ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยให้สอดรับกับเส้นทางรถไฟฟ้าและตำแหน่งสถานีรถไฟฟ้า และเห็นว่าควรจะมีเส้นทางในแนววงแหวนเพื่อเชื่อมโยงเส้นทางทั้ง 9 เส้นทางดังกล่าวเข้าด้วยกันด้วย
“ ในขั้นแรกจะเลือกเส้นทางที่เห็นว่าสามารถทำได้เร็วที่สุดมาดำเนินการระยะทางประมาณ 20 กม. ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 1 ปี เพื่อให้เกิดเป็นตัวอย่าง” นายสามารถ กล่าว
สำหรับโครงการที่ 2) โครงการถนนรูปแบบใหม่ นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ เปิดเผยว่าเป็นรูปแบบถนนที่จะตัดใหม่ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งกำหนดรูปแบบไว้ว่า ต่อไปจะต้องมีทางเท้ากว้าง ร่มรื่น ชวนเดิน มีเลนจักรยานถัดจากทางเท้าพร้อมเกาะกั้นไม่ให้รถอื่นเข้ามาใช้ ในเกาะมีสวนหย่อม ถัดจากเกาะเป็นเลนรถยนต์ ส่วนเลนขวาสุดเตรียมไว้สำหรับรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที
“ โครงการที่ 3) ป้ายจราจรอัจฉริยะ บอกสภาพการจราจรล่วงหน้าก่อนถึงทางแยกที่สำคัญที่ รถติด เพื่อที่ผู้ขับขี่จะได้หลีกเลี่ยง นอกจากนั้นจะบอกสภาพการจราจรบนทางด่วน บอกตำแหน่งที่จอดรถและพื้นที่จอดรถ ผู้ขับขี่ไม่ต้องเสียเวลาและสิ้นเปลืองน้ำมันในการวนหาที่จอดรถ เหมาะที่จะใช้กับที่จอดรถในรูปแบบ “จอดแล้วจร” (Park and Ride) ที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้า”
ส่วนโครงการที่ 4 ) โครงการที่จอดรถอัจฉริยะ โดยจะจัดหาพื้นที่ก่อสร้างที่จอดรถอัจฉริยะบริเวณสถานีรถไฟฟ้า ในการจัดทำจุด “จอดแล้วจร” เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขับขี่ และเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น ที่จอดรถดังกล่าว จะสามารถจอดรถได้มากกว่าที่จอดรถธรรมดาถึง 2.5 เท่า บนขนาดพื้นที่ที่เท่ากัน ไม่ต้องวนหา แต่จะมีระบบหาตำแหน่งที่ว่างให้ เพียงรับบัตรสมาร์ทการ์ดจากเครื่อง จากนั้นระบบก็จะนำรถเข้าสู่ที่จอดเอง ทั้งนี้การก่อสร้างติดตั้งระบบดังกล่าวทำได้รวดเร็ว ในราคาถูกกว่าที่จอดรถธรรมดาถึง 30%
ด้านนายอภิรักษ์ กล่าวว่า ทั้ง 4 โครงการได้ผ่านการศึกษาความเป็นไปได้จากผู้เชี่ยวชาญมาอย่างละเอียด สามารถทำได้จริง และจะช่วยลดปัญหาการจราจรทั้งระบบของคนกรุงเทพฯได้อย่างมาก ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯให้ดีขึ้นตามนโยบายที่ได้ประกาศมาตลอดช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 ส.ค. 2547--จบ--
-ดท-
นายสามารถ เปิดเผยว่า โครงการทั้งสี่มีรายละเอียดดังนี้ 1) โครงการรถเมล์ด่วนพิเศษ บีอาร์ที (Bus Rapid Transit — BRT) เป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดเบา สำหรับต่อเชื่อมกับระบบรถไฟฟ้า บีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดิน ใช้เวลาก่อสร้างสั้น มีลักษณะเด่น คือ วิ่งได้เร็ว เพราะมีเลนเฉพาะ เมื่อถึงทางแยกจะได้รับสัญญาณไฟเขียวก่อนรถอื่น ตัวรถจะเป็นรถพ่วง 3 คัน รับส่งผู้โดยสารได้เที่ยวละถึง 270 คน ภายในตัวรถมีความสะดวกสบายคล้ายรถไฟไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟใต้ดิน มีสถานีจอดรับส่งทุกระยะ 500-800 เมตร แต่ละสถานีจะมีป้ายบอกเวลาที่รถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ทีจะมาถึง ช่วยให้ผู้โดยสารไม่ต้องเสียเวลาชะเง้อมองหารถสายที่ตนต้องการ คาดว่าในชั่วโมงเร่งด่วนจะสามารถขนส่งผู้โดยสารได้มากถึง 10,800 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
นายสามารถ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)ด้วย ระบุว่า บีอาร์ที เป็นระบบขนส่งมวลชนที่ใช้เงินลงทุนต่ำกว่ารถไฟฟ้า กล่าวคือ ใช้ค่าก่อสร้างประมาณ 50 ล้านบาท/กม. ในขณะที่ค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าระดับพื้นราบประมาณ 800 ล้านบาท/กม. ทั้งนี้ โครงข่ายเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที ขณะนี้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เห็นชอบแล้วมี 9 เส้นทาง ระยะทางรวม 228 กม. ซึ่งทีมงานนโยบายกรุงเทพมหานครของพรรคประชาธิปัตย์ จะปรับปรุงเส้นทางเหล่านี้ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยให้สอดรับกับเส้นทางรถไฟฟ้าและตำแหน่งสถานีรถไฟฟ้า และเห็นว่าควรจะมีเส้นทางในแนววงแหวนเพื่อเชื่อมโยงเส้นทางทั้ง 9 เส้นทางดังกล่าวเข้าด้วยกันด้วย
“ ในขั้นแรกจะเลือกเส้นทางที่เห็นว่าสามารถทำได้เร็วที่สุดมาดำเนินการระยะทางประมาณ 20 กม. ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 1 ปี เพื่อให้เกิดเป็นตัวอย่าง” นายสามารถ กล่าว
สำหรับโครงการที่ 2) โครงการถนนรูปแบบใหม่ นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ เปิดเผยว่าเป็นรูปแบบถนนที่จะตัดใหม่ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งกำหนดรูปแบบไว้ว่า ต่อไปจะต้องมีทางเท้ากว้าง ร่มรื่น ชวนเดิน มีเลนจักรยานถัดจากทางเท้าพร้อมเกาะกั้นไม่ให้รถอื่นเข้ามาใช้ ในเกาะมีสวนหย่อม ถัดจากเกาะเป็นเลนรถยนต์ ส่วนเลนขวาสุดเตรียมไว้สำหรับรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที
“ โครงการที่ 3) ป้ายจราจรอัจฉริยะ บอกสภาพการจราจรล่วงหน้าก่อนถึงทางแยกที่สำคัญที่ รถติด เพื่อที่ผู้ขับขี่จะได้หลีกเลี่ยง นอกจากนั้นจะบอกสภาพการจราจรบนทางด่วน บอกตำแหน่งที่จอดรถและพื้นที่จอดรถ ผู้ขับขี่ไม่ต้องเสียเวลาและสิ้นเปลืองน้ำมันในการวนหาที่จอดรถ เหมาะที่จะใช้กับที่จอดรถในรูปแบบ “จอดแล้วจร” (Park and Ride) ที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้า”
ส่วนโครงการที่ 4 ) โครงการที่จอดรถอัจฉริยะ โดยจะจัดหาพื้นที่ก่อสร้างที่จอดรถอัจฉริยะบริเวณสถานีรถไฟฟ้า ในการจัดทำจุด “จอดแล้วจร” เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขับขี่ และเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น ที่จอดรถดังกล่าว จะสามารถจอดรถได้มากกว่าที่จอดรถธรรมดาถึง 2.5 เท่า บนขนาดพื้นที่ที่เท่ากัน ไม่ต้องวนหา แต่จะมีระบบหาตำแหน่งที่ว่างให้ เพียงรับบัตรสมาร์ทการ์ดจากเครื่อง จากนั้นระบบก็จะนำรถเข้าสู่ที่จอดเอง ทั้งนี้การก่อสร้างติดตั้งระบบดังกล่าวทำได้รวดเร็ว ในราคาถูกกว่าที่จอดรถธรรมดาถึง 30%
ด้านนายอภิรักษ์ กล่าวว่า ทั้ง 4 โครงการได้ผ่านการศึกษาความเป็นไปได้จากผู้เชี่ยวชาญมาอย่างละเอียด สามารถทำได้จริง และจะช่วยลดปัญหาการจราจรทั้งระบบของคนกรุงเทพฯได้อย่างมาก ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯให้ดีขึ้นตามนโยบายที่ได้ประกาศมาตลอดช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 ส.ค. 2547--จบ--
-ดท-