กรุงเทพ--3 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
คำปราศรัยของ ฯพณฯ ลินโป จิกมี โยวเซอ ทินเลย์ นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรภูฏาน ในการประชุมผู้นำบิมสเทคครั้งแรก ที่กรุงเทพฯ ในวันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม 2547
ฯพณฯ ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย
ฯพณฯ ประธานาธิบดี
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
ท่านผู้มีเกียรติ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ถือเป็นเป็นเกียรติและน่ายินดีเป็นอย่างยิ่งสำหรับคณะผู้แทนของข้าพเจ้าในการมาเยือนกรุงเทพฯ นครที่สวยงามแห่งนี้ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดบิมสเทคครั้งแรก รู้สึกซาบซึ้งกับการต้อนรับที่อบอุ่นและเป็นมิตรจากรัฐบาลไทยที่มีต่อพวกเราเป็นอย่างมาก ข้าพเจ้าขอขอบคุณอย่างจริงใจต่อประเทศสมาชิกของบิมสเทคทุกประเทศที่สนับสนุนการรับภูฏานเป็นสมาชิกองค์การที่สำคัญที่สุดนี้
ท่านผู้มีเกียรติ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
การจัดประชุมสุดยอดบิมสเทคครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ถือว่ามีความเหมาะสมเนื่องจากเป็นที่กำเนิดของกรอบความร่วมมือนี้ ภูฏานมีความซาบซึ้งและยินดีที่รัฐบาลไทยที่รับเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งประวัติศาสตร์นี้ ชาวภูฏานมีความชื่นชมอย่างยิ่งต่อประเทศไทย และประชาชนชาวไทยซึ่งมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันกับภูฏานที่นับถือพุทธศาสนาและมีสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของไทยทรงเป็นที่เคารพอย่างสูงในภูฏาน โดยพระองค์ทรงมีพระปรีชาญาณและทรงเป็นพระประมุขที่ชี้นำทางให้กับประชาชนชาวไทยทั้งมวลข้าพเจ้าขอกล่าวว่าเราได้เฝ้าสังเกตด้วยความชื่นชมในความสามารถของไทยในการฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ที่ชื่นชมยกย่องเป็นพิเศษคือความเข้มแข็งและกล้าหาญของไทยในการจัดการกับการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี/เอดส์ แบบอย่างความเป็นผู้นำของไทยในการต่อสู้กับหายนะภัยของมวลมนุษยชาตินี้เป็นแรงดลใจที่สำคัญที่สุดสำหรับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะพวกเราในภูมิภาคเอเซียใต้ เราขอสรรเสริญบทบาทและเจตจำนงทางการเมืองของไทยในการทำให้การต่อสู้กับโรคร้ายนี้อยู่ในความสนใจของโลก
ฯพณฯ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
เราเชื่อว่าในยุคโลกาภิวัฒน์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ อนาคตของพวกเรานั้นมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับพัฒนาการต่างๆ ในภูมิภาคของเราและในโลก การเป็นสมาชิกบิมสเทคของเราจึงเป็นการขยายนโยบายการแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่เพียงจำกัดเฉพาะกับเพื่อนบ้านในเอเซียใต้ของเราเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงประเทศต่างๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย บิมสเทคจึงเป็นสะพานเชื่อมระหว่างสองกลุ่มอนุภูมิภาค / โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิภาคของข้าพเจ้านั้น จะได้รับประโยชน์จากแบบอย่างสำเร็จของการมีวัฒนธรรมของการร่วมมือกันของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้พัฒนาขึ้นมา ภูฏานสนับสนุนวัตถุประสงค์ของบิมสเทคอย่างเต็มที่ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการสร้างภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในอนุภูมิภาคของเรา นอกจากนั้น เราเชื่อมั่นในความพยายามที่จะเร่งให้เกิดความก้าวหน้าทางสังคม และความร่วมมืออย่างแข็งขัน ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน อันจะสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของความจำเป็นของเศรษฐกิจเสรีนิยมแบบใหม่ บิมสเทคได้ก้าวไปข้างหน้าในสาขาความร่วมมือที่ตกลงกันไว้คือด้านการค้าและการลงทุน การท่องเที่ยว เทคโนโลยี การคมนาคมและการสื่อสาร พลังงาน และการประมง นับเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้และถือเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับประเทศของพวกเรา ที่จะทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของกรอบความร่วมมือในการส่งเสริมสาขาความร่วมมือดังกล่าว ข้าพเจ้าสนับสนุนทรรศนะที่ว่าขณะนี้มีโอกาสใหม่ๆ เกิดขึ้นที่เราจะต้องคว้าไว้ และเป็นโอกาสที่ได้มาจากแนวทางหรือวิธีการที่มาจากการเพิ่มการเจรจาในหลายๆ ระดับ รวมทั้งจากเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ ด้วย ในฐานะที่เป็นราชอาณาจักรซึ่งมีไมตรีจิตต่อทุกๆ ชาติ ภูฏานสนับสนุนความพยายามในการร่วมมือระดับภูมิภาคต่างๆ มาตลอด เราคาดหวังการเป็นหุ้นส่วนในลักษณะใหม่ในความร่วมมือระดับภูมิภาคในบิมสเทคด้วยความเชื่อมั่นและทัศนคติที่ดี บิมสเทคเป็นกระบวนการที่ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องและมองไปข้างหน้า และเมื่อคำนึงถึงเจตนารมย์ทางการเมืองที่เข้มแข็งและความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกแล้ว อนาคตของบิมสเทคนั้นสดใส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศบิมสเทคต่างๆ ต่างมีความเพียบพร้อมในประสบการณ์ในด้านการพัฒนาและโลกาภิวัฒน์
เรามีความกระตือรือร้นที่จะทำงานร่วมกับสมาชิกทุกประเทศ รวมทั้งเรียนรู้จากประสบการณ์ต่างๆ ของสมาชิกในการส่งเสริมการค้า การลงทุน และบริการต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน เราต้องร่วมมือกันอย่างดีที่สุดเพื่อบ่งชี้ความท้าทายร่วมกันและแสวงหาทางออก เราจะต้องทำงานเพื่อขยายฐานความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาค ด้วยการสนับสนุนการติดต่อระหว่างประชาชนและขยายปฏิสัมพันธ์ของเรากับภาคประชาสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมทั้งเราต้องเรียนรู้ที่จะมองกันและกันในฐานะหุ้นส่วนที่มีจุดมุ่งหมาย ผลประโยชน์ และความท้าทายร่วมกัน ข้าพเจ้าขอรับรองว่าภูฏานจะดำเนินความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของบิมสเทค และตั้งใจทำงานร่วมกับสมาชิกที่เหลือทั้งหมดเพื่อพัฒนาสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคของเรา
ขอขอบคุณและทาชิ ดีเล็ค!
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
คำปราศรัยของ ฯพณฯ ลินโป จิกมี โยวเซอ ทินเลย์ นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรภูฏาน ในการประชุมผู้นำบิมสเทคครั้งแรก ที่กรุงเทพฯ ในวันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม 2547
ฯพณฯ ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย
ฯพณฯ ประธานาธิบดี
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
ท่านผู้มีเกียรติ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ถือเป็นเป็นเกียรติและน่ายินดีเป็นอย่างยิ่งสำหรับคณะผู้แทนของข้าพเจ้าในการมาเยือนกรุงเทพฯ นครที่สวยงามแห่งนี้ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดบิมสเทคครั้งแรก รู้สึกซาบซึ้งกับการต้อนรับที่อบอุ่นและเป็นมิตรจากรัฐบาลไทยที่มีต่อพวกเราเป็นอย่างมาก ข้าพเจ้าขอขอบคุณอย่างจริงใจต่อประเทศสมาชิกของบิมสเทคทุกประเทศที่สนับสนุนการรับภูฏานเป็นสมาชิกองค์การที่สำคัญที่สุดนี้
ท่านผู้มีเกียรติ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
การจัดประชุมสุดยอดบิมสเทคครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ถือว่ามีความเหมาะสมเนื่องจากเป็นที่กำเนิดของกรอบความร่วมมือนี้ ภูฏานมีความซาบซึ้งและยินดีที่รัฐบาลไทยที่รับเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งประวัติศาสตร์นี้ ชาวภูฏานมีความชื่นชมอย่างยิ่งต่อประเทศไทย และประชาชนชาวไทยซึ่งมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันกับภูฏานที่นับถือพุทธศาสนาและมีสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของไทยทรงเป็นที่เคารพอย่างสูงในภูฏาน โดยพระองค์ทรงมีพระปรีชาญาณและทรงเป็นพระประมุขที่ชี้นำทางให้กับประชาชนชาวไทยทั้งมวลข้าพเจ้าขอกล่าวว่าเราได้เฝ้าสังเกตด้วยความชื่นชมในความสามารถของไทยในการฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ที่ชื่นชมยกย่องเป็นพิเศษคือความเข้มแข็งและกล้าหาญของไทยในการจัดการกับการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี/เอดส์ แบบอย่างความเป็นผู้นำของไทยในการต่อสู้กับหายนะภัยของมวลมนุษยชาตินี้เป็นแรงดลใจที่สำคัญที่สุดสำหรับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะพวกเราในภูมิภาคเอเซียใต้ เราขอสรรเสริญบทบาทและเจตจำนงทางการเมืองของไทยในการทำให้การต่อสู้กับโรคร้ายนี้อยู่ในความสนใจของโลก
ฯพณฯ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
เราเชื่อว่าในยุคโลกาภิวัฒน์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ อนาคตของพวกเรานั้นมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับพัฒนาการต่างๆ ในภูมิภาคของเราและในโลก การเป็นสมาชิกบิมสเทคของเราจึงเป็นการขยายนโยบายการแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น ซึ่งไม่เพียงจำกัดเฉพาะกับเพื่อนบ้านในเอเซียใต้ของเราเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงประเทศต่างๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย บิมสเทคจึงเป็นสะพานเชื่อมระหว่างสองกลุ่มอนุภูมิภาค / โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิภาคของข้าพเจ้านั้น จะได้รับประโยชน์จากแบบอย่างสำเร็จของการมีวัฒนธรรมของการร่วมมือกันของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้พัฒนาขึ้นมา ภูฏานสนับสนุนวัตถุประสงค์ของบิมสเทคอย่างเต็มที่ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการสร้างภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในอนุภูมิภาคของเรา นอกจากนั้น เราเชื่อมั่นในความพยายามที่จะเร่งให้เกิดความก้าวหน้าทางสังคม และความร่วมมืออย่างแข็งขัน ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน อันจะสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของความจำเป็นของเศรษฐกิจเสรีนิยมแบบใหม่ บิมสเทคได้ก้าวไปข้างหน้าในสาขาความร่วมมือที่ตกลงกันไว้คือด้านการค้าและการลงทุน การท่องเที่ยว เทคโนโลยี การคมนาคมและการสื่อสาร พลังงาน และการประมง นับเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้และถือเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับประเทศของพวกเรา ที่จะทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของกรอบความร่วมมือในการส่งเสริมสาขาความร่วมมือดังกล่าว ข้าพเจ้าสนับสนุนทรรศนะที่ว่าขณะนี้มีโอกาสใหม่ๆ เกิดขึ้นที่เราจะต้องคว้าไว้ และเป็นโอกาสที่ได้มาจากแนวทางหรือวิธีการที่มาจากการเพิ่มการเจรจาในหลายๆ ระดับ รวมทั้งจากเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ ด้วย ในฐานะที่เป็นราชอาณาจักรซึ่งมีไมตรีจิตต่อทุกๆ ชาติ ภูฏานสนับสนุนความพยายามในการร่วมมือระดับภูมิภาคต่างๆ มาตลอด เราคาดหวังการเป็นหุ้นส่วนในลักษณะใหม่ในความร่วมมือระดับภูมิภาคในบิมสเทคด้วยความเชื่อมั่นและทัศนคติที่ดี บิมสเทคเป็นกระบวนการที่ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องและมองไปข้างหน้า และเมื่อคำนึงถึงเจตนารมย์ทางการเมืองที่เข้มแข็งและความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกแล้ว อนาคตของบิมสเทคนั้นสดใส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศบิมสเทคต่างๆ ต่างมีความเพียบพร้อมในประสบการณ์ในด้านการพัฒนาและโลกาภิวัฒน์
เรามีความกระตือรือร้นที่จะทำงานร่วมกับสมาชิกทุกประเทศ รวมทั้งเรียนรู้จากประสบการณ์ต่างๆ ของสมาชิกในการส่งเสริมการค้า การลงทุน และบริการต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน เราต้องร่วมมือกันอย่างดีที่สุดเพื่อบ่งชี้ความท้าทายร่วมกันและแสวงหาทางออก เราจะต้องทำงานเพื่อขยายฐานความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาค ด้วยการสนับสนุนการติดต่อระหว่างประชาชนและขยายปฏิสัมพันธ์ของเรากับภาคประชาสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมทั้งเราต้องเรียนรู้ที่จะมองกันและกันในฐานะหุ้นส่วนที่มีจุดมุ่งหมาย ผลประโยชน์ และความท้าทายร่วมกัน ข้าพเจ้าขอรับรองว่าภูฏานจะดำเนินความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของบิมสเทค และตั้งใจทำงานร่วมกับสมาชิกที่เหลือทั้งหมดเพื่อพัฒนาสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคของเรา
ขอขอบคุณและทาชิ ดีเล็ค!
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-