เศรษฐกิจในเดือนมิถุนายนขยายตัวต่อเนื่อง แม้ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น การระบาดของโรคไข้หวัดนกในบางจังหวัด และความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ทั้งนี้ ดัชนีการอุปโภคบริโภคเอกชนและการใช้จ่ายของรัฐบาลขยายตัวต่ำกว่าเดือนก่อน แต่ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น ขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมูลค่าการส่งออกทำสถิติสูงสุด และปริมาณการส่งออกเร่งตัวขึ้นมาจากเดือนก่อน
ด้านอุปทาน ราคาพืชผลหลักที่สูงต่อเนื่องช่วยให้รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักยังคงขยายตัวดีส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าเดือนก่อน และในภาคบริการ การท่องเที่ยวขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้เพียงเล็กน้อย
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นแต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับต่ำ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล และเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ขณะที่หนี้ต่างประเทศมีแนวโน้มลดลง
สำหรับทั้งไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 แม้การใช้จ่ายในประเทศชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนตามความเชื่อมั่นที่ลดลงเพราะปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นแต่ก็ยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวสูง ส่วนอุปสงค์ต่างประเทศเร่งตัวขึ้น เสถียรภาพภายในประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง ส่วนด้านต่างประเทศแม้การเร่งตัวของมูลค่าการนำเข้าจะทำให้ดุลการค้าขาดดุลเล็กน้อย แต่เมื่อรวมกับดุลบริการ รายได้ และเงินโอนแล้ว ดุลบัญชีเดินสะพัด ก็ยังเกินดุลแม้จะต่ำกว่าในไตรมาสก่อน
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายนและไตรมาสที่ 2 มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ในเดือนมิถุนายนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.4 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 6.8 ในเดือนก่อนโดยหมวดที่มีการขยายตัวสูง ได้แก่ หมวดยานยนต์ และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับหมวดยาสูบขยายตัวสูงมากในเดือนนี้เนื่องจากปัจจัยชั่วคราวกล่าวคือ มีการเร่งผลิตก่อนที่จะปิดซ่อมบำรุงโรงงานบางส่วนในเดือนต่อไป อีกทั้งเมื่อเดือนเดียวกันของปีก่อนมีการผลิตต่ำจากการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนนี้เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 71.6 ลดลงจากเดือนก่อนตามปัจจัยฤดูกาล ประกอบกับมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงานในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก และอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
ในไตรมาสที่ 2 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.6 ชะลอลงจากร้อยละ 11.4 ในไตรมาสแรกส่วนหนึ่งเพราะปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในหมวดอาหาร และการชะลอตัวของการผลิตในหมวดเหล็กและหมวดวัสดุก่อสร้างเนื่องจากมีการสะสมสต็อกไว้สูงจากไตรมาสก่อน สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 71.2
2. การใช้จ่ายภายในประเทศ ในเดือนมิถุนายนดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 4.1 ในเดือนพฤษภาคมสอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมที่ลดลงจากสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ การเพิ่มราคาน้ำมันเบนซินและการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2547 ของหน่วยงานหลายแห่ง ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 17.2 เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 16.0 ในเดือนก่อน โดยเครื่องชี้หมวดเครื่องมือเครื่องจักร เร่งตัวขึ้นทั้งปริมาณสินค้าทุนนำเข้าและยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในขณะที่เครื่องชี้หมวดก่อสร้างชะลอลง ส่วนหนึ่งเนื่องจากความเสี่ยงที่ราคาวัสดุก่อสร้างจะเพิ่มขึ้น
ในไตรมาสที่ 2 ดัชนีการอุปโภคบริโภค ภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 3.7 ชะลอลงจากร้อยละ 4.1 ในไตรมาสแรก และดัชนีกรลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 17.3 เทียบกับร้อยละ 19.4 ในไตรมาสแรกโดยการชะลอตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนส่วนหนึ่งเป็นผลจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ลดลง
3. ภาคการคลัง ในเดือนมิถุนายนรายได้รัฐบาลขยายตัวถึงร้อยละ 25.4 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่มิใช่ภาษีและรายได้ภาษีโดยเฉพาะภาษีเงินได้บุคคลและภาษีธุรกิจปิโตรเลียมสำหรับจ่ายรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 12.5 ดุลเงินในงบประมาณเกินดุล 75.1 พันล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 10.0 พันล้านบาทรัฐบาลจึงเกินดุลเงินสด 65.2 พันล้านบาทในเดือนนี้
ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2547 รายได้รัฐบาลขยายตัวร้อยละ 15.9 จากระยะเดียวกันปีก่อนขณะที่รายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 โดยอัตราการเบิกจ่ายเท่าร้อยละ 22.8 เทียบกับ ร้อยละ 24.5 ในไตรมาสเดียวกันปีก่อน ดุลเงินสดเกินดุล 39.9 พันล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับการขาดดุลเงินสดจำนวน 28.5 พันล้านบาทในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ รัฐบาลจึงเกินดุลเงินสดทั้งสิ้น 11.4 พันล้านบาทในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีงบประมาณนี้
4. ระดับราคา ในเดือนมิถุนายน ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 จากระยะเดียวกันปีก่อนโดยราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ตามราคาผักและผลไม้ที่สูงขึ้นเนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภค ส่วนราคาในหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากการปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซิน และค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้างเป็นสำคัญ สำหรับดัชนีราคา ผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.5 เป็นผลจากการปรับขึ้นราคาอาหารสำเร็จรูปและค่าเล่าเรียนของสถานศึกษาเอกชนในเดือนที่ผ่านมา
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ตามราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมและหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.4 และ 15.1 ตามลำดับส่วนหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0
ในไตรมาสที่ 2 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6
5. ภาคต่างประเทศ ในเดือนมิถุนายน มูลค่าการส่งออก เท่ากับ 8,346 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 29.0 จากระยะเดียวกันปีก่อนสูงกว่าที่ขยายตัวร้อยละ 21.7 ในเดือนพฤษภาคม โดยเป็นผลจากการเร่งตัวของการส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงในการผลิต เช่นเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์โลหะสามัญและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นสำคัญ ส่วนมูลค่าการนำเข้า เท่ากับ 8,181 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวถึงร้อยละ 41.7 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 33.8 ในเดือนก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นการเร่งตัวของการนำเข้าน้ำมันสินค้าทุน และวัตถุดิบ โดยเฉพาะเครื่องจักรและชิ้นส่วนและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แม้ว่าการนำเข้าจะเร่งตัวสูงแต่ดุลการค้ายังเกินดุล 165 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนนี้และเมื่อรวมกับดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่เกินดุล 275 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลบัญชีเดินสะพัด จึงเกินดุล 440 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินเกินดุล 430 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 43.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 5.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ไตรมาสที่ 2 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 24.0 และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 35.3 การเร่งตัวของการนำเข้าส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 182 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่เมื่อรวมกับดุลบริการฯ ที่ยังเกินดุลสูงในระดับ 817 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุล 635 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 852 ล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน ในเดือนมิถุนายน ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 5.8 6.8 และ 5.8 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลง ตามเงินฝากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งขยายตัวเพียงร้อยละ 3.7 เทียบกับร้อยละ 5.7 ในเดือนพฤษภาคม จากความต้องการลดยอดเงินฝากของธนาคารพาณิชย์เพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ รวมทั้งมีการถอนเงินฝากเพื่อนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลของภาคเอกชน สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ (ที่บวกกับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์) ณ สิ้นเดือน มิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จากการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่เป็นสำคัญ
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินของเดือนมิถุนายนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยเป็นผลจากสภาพคล่องที่ตึงตัวขึ้นในช่วงครึ่งแรกของเดือนเนื่องจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งยังคงมีการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี 2546 และมีการเตรียมเงินให้กระทรวงการคลังกู้เพื่อการไถ่ถอนพันธบัตร ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.00 และ 1.02 ต่อปี ตามลำดับ
ในไตรมาสที่ 2 สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ยังคงอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันทรงตัวเทียบกับไตรมาสที่ 1 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.98 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาระยะ 1 วัน ปรับ ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 1.01 ต่อปี
7. เงินบาท ค่าเงินบาท ในเดือนมิถุนายนเฉลี่ยอยู่ที่ 40.80 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากเดือนก่อนจากปัจจัยสำคัญ คือ (1) ความกังวลของนักลงทุนต่อภาวะเศรษฐกิจไทยจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ (2) การขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย (3) ความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของบริษัทน้ำมัน และ (4) ความกังวลเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ
ในไตรมาสที่ 2 เงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 40.30 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนลงจาก 39.22 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรก ส่วนหนึ่งเพราะค่าเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ กอปรกับปัจจัยภายในประเทศดังกล่าวข้างต้น
ในช่วงวันที่ 1-26 กรกฎาคม 2547 เงินบาทอ่อนค่าลงอีกเล็กน้อยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 40.84 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. เป็นผลจากการที่ผู้นำเข้ามีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของเดือน กอปรกับมีข่าวการระบาดของไข้หวัดนกรอบใหม่
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สก/ดพ-
ด้านอุปทาน ราคาพืชผลหลักที่สูงต่อเนื่องช่วยให้รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักยังคงขยายตัวดีส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าเดือนก่อน และในภาคบริการ การท่องเที่ยวขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้เพียงเล็กน้อย
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นแต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับต่ำ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล และเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ขณะที่หนี้ต่างประเทศมีแนวโน้มลดลง
สำหรับทั้งไตรมาสที่ 2 ของปี 2547 แม้การใช้จ่ายในประเทศชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนตามความเชื่อมั่นที่ลดลงเพราะปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นแต่ก็ยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวสูง ส่วนอุปสงค์ต่างประเทศเร่งตัวขึ้น เสถียรภาพภายในประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง ส่วนด้านต่างประเทศแม้การเร่งตัวของมูลค่าการนำเข้าจะทำให้ดุลการค้าขาดดุลเล็กน้อย แต่เมื่อรวมกับดุลบริการ รายได้ และเงินโอนแล้ว ดุลบัญชีเดินสะพัด ก็ยังเกินดุลแม้จะต่ำกว่าในไตรมาสก่อน
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายนและไตรมาสที่ 2 มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ในเดือนมิถุนายนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.4 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 6.8 ในเดือนก่อนโดยหมวดที่มีการขยายตัวสูง ได้แก่ หมวดยานยนต์ และหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับหมวดยาสูบขยายตัวสูงมากในเดือนนี้เนื่องจากปัจจัยชั่วคราวกล่าวคือ มีการเร่งผลิตก่อนที่จะปิดซ่อมบำรุงโรงงานบางส่วนในเดือนต่อไป อีกทั้งเมื่อเดือนเดียวกันของปีก่อนมีการผลิตต่ำจากการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนนี้เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 71.6 ลดลงจากเดือนก่อนตามปัจจัยฤดูกาล ประกอบกับมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงานในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก และอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
ในไตรมาสที่ 2 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.6 ชะลอลงจากร้อยละ 11.4 ในไตรมาสแรกส่วนหนึ่งเพราะปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในหมวดอาหาร และการชะลอตัวของการผลิตในหมวดเหล็กและหมวดวัสดุก่อสร้างเนื่องจากมีการสะสมสต็อกไว้สูงจากไตรมาสก่อน สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 71.2
2. การใช้จ่ายภายในประเทศ ในเดือนมิถุนายนดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 4.1 ในเดือนพฤษภาคมสอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมที่ลดลงจากสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ การเพิ่มราคาน้ำมันเบนซินและการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2547 ของหน่วยงานหลายแห่ง ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 17.2 เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 16.0 ในเดือนก่อน โดยเครื่องชี้หมวดเครื่องมือเครื่องจักร เร่งตัวขึ้นทั้งปริมาณสินค้าทุนนำเข้าและยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในขณะที่เครื่องชี้หมวดก่อสร้างชะลอลง ส่วนหนึ่งเนื่องจากความเสี่ยงที่ราคาวัสดุก่อสร้างจะเพิ่มขึ้น
ในไตรมาสที่ 2 ดัชนีการอุปโภคบริโภค ภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 3.7 ชะลอลงจากร้อยละ 4.1 ในไตรมาสแรก และดัชนีกรลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 17.3 เทียบกับร้อยละ 19.4 ในไตรมาสแรกโดยการชะลอตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนส่วนหนึ่งเป็นผลจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ลดลง
3. ภาคการคลัง ในเดือนมิถุนายนรายได้รัฐบาลขยายตัวถึงร้อยละ 25.4 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่มิใช่ภาษีและรายได้ภาษีโดยเฉพาะภาษีเงินได้บุคคลและภาษีธุรกิจปิโตรเลียมสำหรับจ่ายรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 12.5 ดุลเงินในงบประมาณเกินดุล 75.1 พันล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 10.0 พันล้านบาทรัฐบาลจึงเกินดุลเงินสด 65.2 พันล้านบาทในเดือนนี้
ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2547 รายได้รัฐบาลขยายตัวร้อยละ 15.9 จากระยะเดียวกันปีก่อนขณะที่รายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 โดยอัตราการเบิกจ่ายเท่าร้อยละ 22.8 เทียบกับ ร้อยละ 24.5 ในไตรมาสเดียวกันปีก่อน ดุลเงินสดเกินดุล 39.9 พันล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับการขาดดุลเงินสดจำนวน 28.5 พันล้านบาทในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ รัฐบาลจึงเกินดุลเงินสดทั้งสิ้น 11.4 พันล้านบาทในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีงบประมาณนี้
4. ระดับราคา ในเดือนมิถุนายน ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 จากระยะเดียวกันปีก่อนโดยราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ตามราคาผักและผลไม้ที่สูงขึ้นเนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภค ส่วนราคาในหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากการปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซิน และค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้างเป็นสำคัญ สำหรับดัชนีราคา ผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.5 เป็นผลจากการปรับขึ้นราคาอาหารสำเร็จรูปและค่าเล่าเรียนของสถานศึกษาเอกชนในเดือนที่ผ่านมา
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ตามราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมและหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.4 และ 15.1 ตามลำดับส่วนหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0
ในไตรมาสที่ 2 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6
5. ภาคต่างประเทศ ในเดือนมิถุนายน มูลค่าการส่งออก เท่ากับ 8,346 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 29.0 จากระยะเดียวกันปีก่อนสูงกว่าที่ขยายตัวร้อยละ 21.7 ในเดือนพฤษภาคม โดยเป็นผลจากการเร่งตัวของการส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงในการผลิต เช่นเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์โลหะสามัญและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นสำคัญ ส่วนมูลค่าการนำเข้า เท่ากับ 8,181 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวถึงร้อยละ 41.7 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 33.8 ในเดือนก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นการเร่งตัวของการนำเข้าน้ำมันสินค้าทุน และวัตถุดิบ โดยเฉพาะเครื่องจักรและชิ้นส่วนและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แม้ว่าการนำเข้าจะเร่งตัวสูงแต่ดุลการค้ายังเกินดุล 165 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนนี้และเมื่อรวมกับดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่เกินดุล 275 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลบัญชีเดินสะพัด จึงเกินดุล 440 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินเกินดุล 430 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 43.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 5.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ไตรมาสที่ 2 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 24.0 และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 35.3 การเร่งตัวของการนำเข้าส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 182 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่เมื่อรวมกับดุลบริการฯ ที่ยังเกินดุลสูงในระดับ 817 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุล 635 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 852 ล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน ในเดือนมิถุนายน ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 5.8 6.8 และ 5.8 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลง ตามเงินฝากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งขยายตัวเพียงร้อยละ 3.7 เทียบกับร้อยละ 5.7 ในเดือนพฤษภาคม จากความต้องการลดยอดเงินฝากของธนาคารพาณิชย์เพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ รวมทั้งมีการถอนเงินฝากเพื่อนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลของภาคเอกชน สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ (ที่บวกกับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์) ณ สิ้นเดือน มิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จากการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่เป็นสำคัญ
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินของเดือนมิถุนายนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยเป็นผลจากสภาพคล่องที่ตึงตัวขึ้นในช่วงครึ่งแรกของเดือนเนื่องจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งยังคงมีการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี 2546 และมีการเตรียมเงินให้กระทรวงการคลังกู้เพื่อการไถ่ถอนพันธบัตร ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.00 และ 1.02 ต่อปี ตามลำดับ
ในไตรมาสที่ 2 สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ยังคงอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันทรงตัวเทียบกับไตรมาสที่ 1 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.98 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาระยะ 1 วัน ปรับ ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 1.01 ต่อปี
7. เงินบาท ค่าเงินบาท ในเดือนมิถุนายนเฉลี่ยอยู่ที่ 40.80 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากเดือนก่อนจากปัจจัยสำคัญ คือ (1) ความกังวลของนักลงทุนต่อภาวะเศรษฐกิจไทยจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ (2) การขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย (3) ความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของบริษัทน้ำมัน และ (4) ความกังวลเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ
ในไตรมาสที่ 2 เงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 40.30 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนลงจาก 39.22 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรก ส่วนหนึ่งเพราะค่าเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ กอปรกับปัจจัยภายในประเทศดังกล่าวข้างต้น
ในช่วงวันที่ 1-26 กรกฎาคม 2547 เงินบาทอ่อนค่าลงอีกเล็กน้อยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 40.84 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. เป็นผลจากการที่ผู้นำเข้ามีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของเดือน กอปรกับมีข่าวการระบาดของไข้หวัดนกรอบใหม่
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สก/ดพ-