ในเดือนมิถุนายน 2547 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.4 โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อขายในประเทศและกลุ่มที่ผลิตเพื่อขายทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออกขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งที่เพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงจากอุปสงค์ที่มีต่อเนื่อง ทั้งรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ รถยนต์นั่ง รถจักรยานยนต์ และแบตเตอรี่ หมวดก่อสร้างที่ยังขยายตัวดีตามความต้องการปูนซีเมนต์ของธุรกิจก่อสร้าง และหมวดปิโตรเลียมที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ส่วนผลผลิตในหมวดยาสูบที่ขยายตัวสูงมากในเดือนนี้เป็นผลจากปัจจัยชั่วคราวกล่าวคือมีการเร่งผลิตเพื่อสะสมสต็อกเตรียมไว้สำหรับการปิดซ่อมบำรุงบางส่วนในเดือนต่อไปประกอบกับเดือนเดียวกันปีก่อนมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน ส่วนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก ผลผลิตในหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าขยายตัวดีตามการส่งออกแผงวงจรรวม(IC)
อย่างไรก็ตาม ผลผลิตในหมวดผลิตภัณฑ์เหล็กค่อนข้างทรงตัวเนื่องจากผู้ผลิตหลายรายปิดซ่อมบำรุงโรงงานขณะที่หมวดเครื่องดื่มชะลอตัวลงตามการผลิตเบียร์ที่ผู้ผลิตรายใหญ่มีสต็อกสะสมอยู่มาก ซึ่งเป็นปัจจัยชั่วคราว
สำหรับอุตสาหกรรมที่ผลิตลดลงในเดือนนี้ที่สำคัญได้แก่หมวดอาหาร ซึ่งลดลงต่อเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบอย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มดีขึ้น และตลาดคาดว่าอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด(Anti Dumping Duty:AD)ที่สหรัฐฯ จะเรียกเก็บจากไทยจะไม่สูงนัก ทำให้สถานการณ์การส่งออกสินค้ากุ้งดีขึ้น
อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 71.6 ลดลงจากเดือนก่อนตามปัจจัยฤดูกาล ประกอบกับมีหลายอุตสาหกรรมปิดซ่อมบำรุงโรงงาน อย่างไรก็ดี เมื่อปรับฤดูกาลแล้ว อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-อบ/ดพ-
อย่างไรก็ตาม ผลผลิตในหมวดผลิตภัณฑ์เหล็กค่อนข้างทรงตัวเนื่องจากผู้ผลิตหลายรายปิดซ่อมบำรุงโรงงานขณะที่หมวดเครื่องดื่มชะลอตัวลงตามการผลิตเบียร์ที่ผู้ผลิตรายใหญ่มีสต็อกสะสมอยู่มาก ซึ่งเป็นปัจจัยชั่วคราว
สำหรับอุตสาหกรรมที่ผลิตลดลงในเดือนนี้ที่สำคัญได้แก่หมวดอาหาร ซึ่งลดลงต่อเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบอย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มดีขึ้น และตลาดคาดว่าอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด(Anti Dumping Duty:AD)ที่สหรัฐฯ จะเรียกเก็บจากไทยจะไม่สูงนัก ทำให้สถานการณ์การส่งออกสินค้ากุ้งดีขึ้น
อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 71.6 ลดลงจากเดือนก่อนตามปัจจัยฤดูกาล ประกอบกับมีหลายอุตสาหกรรมปิดซ่อมบำรุงโรงงาน อย่างไรก็ดี เมื่อปรับฤดูกาลแล้ว อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-อบ/ดพ-