รายได้รัฐบาล ในเดือนมิถุนายน 2547 รัฐบาลมีรายได้นำส่ง 167.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.4 จากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากภาษีร้อยละ 22.4 และรายได้ที่มิใช่ภาษีร้อยละ 73.4
รายได้จากภาษีเพิ่มขึ้นทุกประเภท ได้แก่ ภาษีจากฐานรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 28.0 ทั้งจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ร้อยละ 13.7) และภาษีเงินได้นิติบุคคล (ร้อยละ 24.9) โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ร้อยละ 45.7) ที่จัดเก็บได้ถึง 24.3 พันล้านบาท ในเดือนมิถุนายน 2547 เพียงเดือนเดียวสูงกว่าทั้งปี 2546 ที่จัดเก็บได้ 21.6 พันล้านบาท ทั้งนี้ เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ในขณะที่ภาษีจากฐานการบริโภคขยายตัวในเกณฑ์สูงเช่นกัน ส่วนใหญ่จากภาษีสรรพสามิตที่ขยายตัวร้อยละ 20.3 ในขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่ม ขยายตัวร้อยละ 5.1 ส่วนภาษีธุรกิจเฉพาะยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่อง (ร้อยละ 52.2) จากการปรับขึ้นอัตราภาษีในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 73.4 จากการขายหุ้นของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 6.0 พันล้านบาท ตามแผนแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นสำคัญ และมีการนำส่งรายได้ของรัฐพาณิชย์ที่สำคัญ คือ (1) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 2.0 พันล้านบาท (2) เงินปันผลจากบริษัทการบินไทยอีกจำนวน 1.4 พันล้านบาท
ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2547 รายได้นำส่งขยายตัวสูงถึงร้อยละ 15.9 จากการเพิ่มขึ้นของภาษีจากฐานรายได้ร้อยละ 22.8 ภาษีจากฐานการบริโภคร้อยละ 9.2 ในขณะที่ภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศหดตัวร้อยละ 10.4 รายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจที่ขยายตัวสูง กอปรกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ทำให้รายได้ที่มิใช่ภาษีขยายตัวร้อยละ 43.0
รายจ่ายของรัฐบาล ในเดือนมิถุนายน 2547 มีจำนวน 92.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.5 (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 7.7) ทั้งนี้รายจ่ายในงบประมาณที่สำคัญ คือ (1) รายจ่ายบำเหน็จบำนาญ 4.6 พันล้านบาท เป็นบำเหน็จดำรงชีพ 2.1 พันล้านบาท (2) รายจ่ายให้กระทรวงกลาโหม 2.4 พันล้านบาท (3) รายจ่ายชำระคืนต้นและดอกเบี้ยแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย 2.2 พันล้านบาท และ(4) รายจ่ายชำระคืนต้นและดอกเบี้ยแทนการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 2.1 พันล้านบาท เป็นต้น สำหรับรายจ่ายนอกงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ การเบิกจ่ายรายจ่ายภาษีที่โอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รวม 13.2 พันล้านบาท และรายจ่ายให้แก่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 1.4 พันล้านบาท
ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลมีรายจ่าย 272.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.0 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 22.8 ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 24.6 เนื่องจากในปีนี้มีงบประมาณเพิ่มเติม ซึ่งส่วนที่เป็นรายจ่ายประจำได้เบิกจ่ายไปในสองไตรมาสแรกแล้ว ส่วนสองไตรมาสหลังจะเหลือส่วนที่เป็นงบลงทุนซึ่งมักจะเบิกจ่ายได้ช้ากว่า
ดุลเงินสด ในเดือนมิถุนายน 2547 ดุลการเงินในงบประมาณเกินดุล 75.1 พันล้านบาท และดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 10.0 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดเกินดุล 65.2 พันล้านบาท ทั้งนี้ มีการชำระคืนเงินกู้ในประเทศสุทธิ 46.5 พันล้านบาท (โดยเป็นการไถ่ถอนพันธบัตร 25.0 พันล้านบาท ตั๋วเงินคลัง 42.0 พันล้านบาท และมีการออกตั๋วเงินคลัง 20.0 พันล้านบาท พร้อมการเพิ่มยอดเงินฝากของ ธปท.ที่คลังจังหวัด 0.5 พันล้านบาท) และชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศสุทธิ 0.4 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลังเพิ่มขึ้นเป็น 83.7 พันล้านบาท
ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2547 ดุลเงินในงบประมาณเกินดุล 53.1 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 30.9 พันล้านบาท และดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 13.2 พันล้านบาท ทำให้รัฐบาลเกินดุลเงินสด 39.9 พันล้านบาท
ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลเกินดุลเงินสด 11.4 พันล้านบาท โดยรายได้ขยายตัวร้อยละ 16.4 ส่วนรายจ่ายขยายตัวร้อยละ 17.6 และมีอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 65.3
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-
รายได้จากภาษีเพิ่มขึ้นทุกประเภท ได้แก่ ภาษีจากฐานรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 28.0 ทั้งจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ร้อยละ 13.7) และภาษีเงินได้นิติบุคคล (ร้อยละ 24.9) โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ร้อยละ 45.7) ที่จัดเก็บได้ถึง 24.3 พันล้านบาท ในเดือนมิถุนายน 2547 เพียงเดือนเดียวสูงกว่าทั้งปี 2546 ที่จัดเก็บได้ 21.6 พันล้านบาท ทั้งนี้ เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ในขณะที่ภาษีจากฐานการบริโภคขยายตัวในเกณฑ์สูงเช่นกัน ส่วนใหญ่จากภาษีสรรพสามิตที่ขยายตัวร้อยละ 20.3 ในขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่ม ขยายตัวร้อยละ 5.1 ส่วนภาษีธุรกิจเฉพาะยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่อง (ร้อยละ 52.2) จากการปรับขึ้นอัตราภาษีในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 73.4 จากการขายหุ้นของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 6.0 พันล้านบาท ตามแผนแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นสำคัญ และมีการนำส่งรายได้ของรัฐพาณิชย์ที่สำคัญ คือ (1) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 2.0 พันล้านบาท (2) เงินปันผลจากบริษัทการบินไทยอีกจำนวน 1.4 พันล้านบาท
ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2547 รายได้นำส่งขยายตัวสูงถึงร้อยละ 15.9 จากการเพิ่มขึ้นของภาษีจากฐานรายได้ร้อยละ 22.8 ภาษีจากฐานการบริโภคร้อยละ 9.2 ในขณะที่ภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศหดตัวร้อยละ 10.4 รายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจที่ขยายตัวสูง กอปรกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ทำให้รายได้ที่มิใช่ภาษีขยายตัวร้อยละ 43.0
รายจ่ายของรัฐบาล ในเดือนมิถุนายน 2547 มีจำนวน 92.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.5 (อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 7.7) ทั้งนี้รายจ่ายในงบประมาณที่สำคัญ คือ (1) รายจ่ายบำเหน็จบำนาญ 4.6 พันล้านบาท เป็นบำเหน็จดำรงชีพ 2.1 พันล้านบาท (2) รายจ่ายให้กระทรวงกลาโหม 2.4 พันล้านบาท (3) รายจ่ายชำระคืนต้นและดอกเบี้ยแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย 2.2 พันล้านบาท และ(4) รายจ่ายชำระคืนต้นและดอกเบี้ยแทนการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 2.1 พันล้านบาท เป็นต้น สำหรับรายจ่ายนอกงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ การเบิกจ่ายรายจ่ายภาษีที่โอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รวม 13.2 พันล้านบาท และรายจ่ายให้แก่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 1.4 พันล้านบาท
ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลมีรายจ่าย 272.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.0 โดยมีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 22.8 ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 24.6 เนื่องจากในปีนี้มีงบประมาณเพิ่มเติม ซึ่งส่วนที่เป็นรายจ่ายประจำได้เบิกจ่ายไปในสองไตรมาสแรกแล้ว ส่วนสองไตรมาสหลังจะเหลือส่วนที่เป็นงบลงทุนซึ่งมักจะเบิกจ่ายได้ช้ากว่า
ดุลเงินสด ในเดือนมิถุนายน 2547 ดุลการเงินในงบประมาณเกินดุล 75.1 พันล้านบาท และดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 10.0 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดเกินดุล 65.2 พันล้านบาท ทั้งนี้ มีการชำระคืนเงินกู้ในประเทศสุทธิ 46.5 พันล้านบาท (โดยเป็นการไถ่ถอนพันธบัตร 25.0 พันล้านบาท ตั๋วเงินคลัง 42.0 พันล้านบาท และมีการออกตั๋วเงินคลัง 20.0 พันล้านบาท พร้อมการเพิ่มยอดเงินฝากของ ธปท.ที่คลังจังหวัด 0.5 พันล้านบาท) และชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศสุทธิ 0.4 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลังเพิ่มขึ้นเป็น 83.7 พันล้านบาท
ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2547 ดุลเงินในงบประมาณเกินดุล 53.1 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 30.9 พันล้านบาท และดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 13.2 พันล้านบาท ทำให้รัฐบาลเกินดุลเงินสด 39.9 พันล้านบาท
ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2547 รัฐบาลเกินดุลเงินสด 11.4 พันล้านบาท โดยรายได้ขยายตัวร้อยละ 16.4 ส่วนรายจ่ายขยายตัวร้อยละ 17.6 และมีอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 65.3
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-