ประเด็นเศรษฐกิจต่างประเทศ (26 มิถุนายน 2547 - 25 กรกฎาคม 2547)
สหรัฐอเมริกา
-ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2547 Fed ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินให้ความเห็นว่า แม้ว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแต่ stance ของนโยบายการเงินยังคงเป็นแบบผ่อนคลาย และแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้น แต่การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในเดือนที่ผ่านมาเกิดจากปัจจัยชั่วคราวนอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มดอกเบี้ยในอนาคต ไว้เช่นเดิมคือ "policy accommodation can be removed at a pace that is likely to be measured"
อัตราการว่างงานในเดือนมิถุนายนยังคงอยู่ที่ร้อยละ 5.6 เท่ากับในเดือนก่อนหน้า สำหรับการจ้างงานนอกภาคเกษตร(Nonfarm payrolls)เพิ่มขึ้น 112,000 ตำแหน่งจากเดือนก่อน ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ ทั้งนี้ได้มีการปรับตัวเลขย้อนหลังของเดือนเมษายนและพฤษภาคมลดลงมาเป็น 324,000 และ 235,000 ตำแหน่งตามลำดับโดยสาเหตุที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนนี้ชะลอลงเป็นผลมาจากการลดลงของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม 11,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกนับจากเดือนมกราคม 2547 สำหรับในภาคบริการการจ้างงานยังคงเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่ชะลอลง โดยเพิ่มขึ้น 122,000 ตำแหน่งจากเดือนก่อน ทั้งนี้ในช่วง 6 เดือนการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 211,000 ตำแหน่ง
แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นแต่การค้าของสหรัฐฯ ยังคงขาดดุล โดยล่าสุดในเดือนพฤษภาคมขาดทุน 46 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงจากในเดือนก่อนหน้า และลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนเนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าทุนและวัตถุดิบอุตสาหกรรมจากการขยายการลงทุนของบริษัทในต่างประเทศกอปรกับค่าเงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนตัวลงอย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงส่งผลให้การนำเข้าน้ำมันในเดือนพฤษภาคมอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 10.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.อนึ่งแม้ว่าการค้าจะขาดดุลลดลง แต่คาดว่าการขาดดุลการค้าในปีนี้ยังมีแนวโน้มสูงกว่าปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ระดับ 496.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ สหรัฐฯขาดดุล การค้าจำนวน 231.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เทียบกับ 208.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในช่วงเดียวกันปีก่อน
กลุ่มประเทศยูโร
-เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรในไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวร้อยละ 0.6(qoq)หรือร้อยละ 1.3(yoy)เท่ากับที่ประมาณการไว้เดิม โดยเป็นผลจากการขยายตัวของการส่งออกเป็นสำคัญดังนี้ EU Commission เชื่อว่าเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรในปีนี้จะขยายตัวสูงกว่าที่คาด โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ Monetary condition ที่ผ่อนคลายก็มีส่วนช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอีกทางหนึ่งด้วย อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงเปราะบางจากภาวะการจ้างงานที่ยังไม่ดีขึ้นประกอบจากความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่อาจสูงขึ้นได้ทำให้แนวโน้มการขยายตัวในปีหน้า ยังไม่ชัดเจนมากนัก
อัตราเงินเฟ้อ(HICP)ล่าสุดของกลุ่มประเทศยูโรในเดือนมิถุนายนชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4(yoy)เท่ากับที่ตลาดคาดไว้เป็นผลมาจากราคาสินค้าพลังงานซึ่งชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.9 จากร้อยละ 6.7 ในเดือนก่อน ทั้งนี้ หากไม่รวมราคาสินค้าพลังงานอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.0(yoy)อนึ่งแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลงดังกล่าวทำให้ ECB คลายความกังวลใจเกี่ยวกับเงินเฟ้อลงบ้างและคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงต่ำกว่าเป้าร้อยละ 2.0 ในปีหน้าอย่างไรก็ดี ECB จะเฝ้าดูภาวะเงินเฟ้อจาก Inflation expectation อย่างใกล้ชิดต่อไป
สำหรับดัชนี PMI ภาคบริการล่าสุดในเดือนมิถุนายนยังคงขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 โดยอยู่ที่ระดับ 55.3 ใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ 55.8 ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของกิจกรรมภาคบริการขณะเดียวกัน PMI ภาคการผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 54.4 เทียบกับเดือนก่อนที่ 54.7 นอกจากนี้ ดัชนีการผลิตอุตสาหกรรมล่าสุดในเดือนพฤษภาคมปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ0.7(mom)หรือร้อยละ 3.9(yoy)ซึ่งนับเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ ซึ่งทำให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวมของกลุ่มประเทศยูโรยังคงมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อไป
-ทางการญี่ปุ่น(Cabint Office)ได้ปรับเพิ่มประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2547 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 จากเดิมที่เคยคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.8(ประมาณการเมื่อเดือนธันวาคม 2546)ซึ่งจะเป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดในรอบ 8 ปีโดยปัจจัยสนับสนุนได้แก่ การส่งออก การใช้จ่ายในภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้น และการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นเห็นว่าในปีงบประมาณ 2547 นี้เศรษฐกิจจะขยายตัวได้สูงกว่าที่เคยคาดไว้ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจจะยังคงอยู่ในภาวะเงินฝืดต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยคาดว่าในปีงบประมาณ 2547/8อัตราเงินเฟ้อ(CPI)และ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน(Core CPI)จะยังคงติดลบที่ร้อยละ 0.1 และ 0.2 ตามลำดับ ซึ่งธนาคารกลางญี่ปุ่นยืนยันที่จะคงนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายไปจนกว่าจะมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีเสถียรภาพอยู่เหนือระดับ 0 ทั้งนี้ ล่าสุดในเดือนพฤษภาคมอัตราเงินเฟ้อและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงติดลบที่ร้อยละ 0.5 และ 0.3
สภาวะทางธุรกิจ(business condition)มีการปรับตัวดีขึ้นมาก โดยผลสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการญี่ปุ่น(Tankan) ของธนาคารกลางญี่ปุ่น ประจำเดือนกรกฎาคม 2547 ระบุว่าดัชนีของ large manufacturing อยู่ที่ร้อยละ 22 ปรับเพิ่มขึ้นมากจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 12 และนับเป็นอัตราสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2534 ในขณะเดียวกันดัชนีของ large-non manufacturing ซึ่งเป็นกลุ่ม service providers ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกันโดยอยู่ที่ร้อยละ 9 จากร้อยละ 5 ในไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ดีที่สุด นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2535 ความเชื่อมั่นของภาค service providers ที่ปรับเพิ่มขึ้นนับว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่สะท้อนว่าบริษัทต่างๆ คาดว่าการบริโภคในญี่ปุ่นจะฟื้นตัว
กลุ่มเอเซียตะวันออก
-เศรษฐกิจจีนในไตยมาสที่ 2 ปี 2547ขยายตัวร้อยละ 9.6(yoy)ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการไว้และชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 9.8 ส่วนหนึ่งเนื่องจากทางการได้ปรับเพิ่มตัวเลขอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปี2546 จากร้อยละ 6.7 เป็นร้อยละ 7.9 เนื่องจากในช่วงดังกล่าวทางการได้สำรวจถึงผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน(SARs)อย่างเร่งด่วน ทำให้ได้รับข้อมูลการขยายตัวของภาคบริการต่ำกว่าความเป็นจริง
นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลงยังมาจากมาตรการการชะลอการลงทุนของทางการ ที่เริ่มเห็นผลโดยการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาสที่ 2 ชะลอลงจากไตยมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 43 ทำให้ครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 28.6(yoy)ในขณะที่โครงการบริโภคของประชาชนซึ่งสะท้อนจากยอดค้าปลีกในครึ่งปีแรกยังขยายตัวดีในอัตราร้อยละ 12.8 และล่าสุดในเดือนมิถุนายน ขยายตัวร้อยละ 13.9
ส่วนอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงขึ้นต่อเนื่องโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ในช่วงครึ่งปีแรก และร้อยละ 5.0
ในเดือนมิถุนายน ซึ่งเพิ่มแรงกดดันต่อธนาคารกลางในการพิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย อนึ่ง นักวิเคราะห์เห็นว่าจีนควรผ่อนคลายนโยบายเข้มงวดในการให้สินเชื่อที่ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอลงบ้างแล้ว โดยควรรอดูการปรับตัวของตลาด(wait-and-see)ก่อนที่จะดำเนินการใดๆต่อไป
ด้านเสถียรภาพต่างประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดีและไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการชะลอการลงทุนของทางการ การส่งออกในเดือนมิถุนายนขยายตัวร้อยละ 46.5(yoy)สูงขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 32.8 สะท้อนถึงอุปสงค์ในตลาดโลกที่ยังฟื้นตัวอยู่ ด้านการนำเข้าก็ขยายตัวสูงขึ้นเช่นกันที่ร้อยละ 50.5 จากร้อยละ 35.4 ในเดือนก่อน ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์จีนคาดว่าการส่งออกและการนำเข้าในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 15 และ 20 ตามลำดับ
-การส่งออกของใต้หวันในเดือนมิถุนายนชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 24.5 จากร้อยละ 39.5 ในเดือนก่อนการนำเข้าชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 42.2 จากร้อยละ 52.5 ในเดือนก่อน การนำเข้าที่ขยายตัวสูงกว่ามากทำให้ขาดดุลการค้า 203 ล้านดอลลาร์ สรอ.ซึ่งเป็นการขาดดุลครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2543
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ในเดือนมิถุนายน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นซึ่งทำลายผลผลิตทางการเกษตร ทำให้ราคาผักสูงขึ้นถึงร้อยละ 30-50 รัฐบาลจึงได้ลดภาษีนำเข้าผักลงเหลือร้อยละ 10 ถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ เพื่อผ่อนคลายปัญหา การขาดแคลนผักภายในประเทศ สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนที่ติดลบร้อยละ 0.3 อนึ่ง ภาวะน้ำท่วมทำให้ธนาคารกลางไต้หวันปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปีนี้เป็นร้อยละ 1.0 จากประมาณการเดิมของสำนักงานสถิติที่ร้อยละ 0.8
-บริษัทจัดอันดับ S&P ปรับ Outlook ของหนี้ระยะยาวของฮ่องกงจาก negative เป็น stable เนื่องจากเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ภาวะเงินฝืดมีแนวโน้มปรับลดลงรวมถึงมีความเป็นไปได้ที่ฮ่องกงจะสามารถแก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณได้ในปี 2551-2552
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 ธนาคารกลางฮ่องกงได้ปรับอัตราดอกเบี้ย base rate ขึ้นร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 2.5 เป็นร้อยละ 2.75 หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย fed
Funds ร้อยละ 0.25 อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์ในฮ่องกงยังไม่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตาม เนื่องจากสภาพคล่องในระบบยังคงอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ การที่ธนาคารพาณิชย์ในฮ่องกงยังไม่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้เงินทุนไหลออก จนธนาคารกลางฮ่องกงต้องเข้าแทรกแซงค่าเงินเพื่อให้ค่าเงินมีเสถียรภาพ
ในช่วงที่ผ่านมา ภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นส่งผลให้มูลค่าการค้าปลีกในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7(yoy)และปริมาณการค้าปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8(yoy)ส่วนอัตราการว่างงานเฉลี่ยในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายนปรับตัวลดลงเหลือร้อยละ 6.9 จากช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมที่ร้อยละ 7 การลดลงของอัตราการว่างงานและภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของชาวฮ่องกงในการใช้จ่าย ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายนปรับตัวดีขึ้นมากมาอยู่ที่ร้อยละ -0.1(yoy)จากเดือนพฤษภาคมซึ่งอยู่ที่ร้อยละ-0.9(yoy)
-เศรษฐกิจเกาหลีใต้ยังให้ภาพที่ไม่ชัดเจนการบริโภคในประเทศยังไม่ฟื้นตัว อัตราการว่างงาน(ปรับฤดูกาล)ณ สิ้นเดือนมิถุนายนทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ยอดการใช้จ่ายในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ 3 แห่งในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในอัตราร้อยละ 0.7 (yoy)ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจลดลงต่อเนื่องจากความอ่อนแอของเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลได้พยายามกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ การจ้างงาน ตลอดจนการปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรมผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งได้รับการอนุมัติจากรัฐสภามาแล้วบางส่วน(1.8 ล้านล้านวอนจากทั้งหมด 4.5 ล้านล้านวอน)
การส่งออกเดือนมิถุนายนขยายตัวสูงที่ร้อยละ 39.6(yoy)ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 38.6 ส่วนใหญ่เป็นผลจากการนำเข้าวัตถุดิบและพลังงาน ขณะที่การนำเข้าสินค้าเพื่อการบริโภคและสินค้าทุนชะลอตัว ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนมิถุนายนเกินดุล 3.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.สูงที่สุดตั้งแต่เดือนธันวาคม 2541
กลุ่มอาเซียน
-อัตราเงินเฟ้อล่าสุดของฟิลิปปินส์ในเดือนมิถุนายน เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 5.1(yoy)จากร้อยละ 4.7 ในเดือนก่อนสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และนับเป็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในรอบ 32 เดือนอีกด้วย โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร และราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ร้อยละ 4.1(yoy)แต่ยังอยู่ภายในเป้าหมายเงินเฟ้อที่รัฐบาลตั้งไว้ที่ร้อยละ 4.0-5.0
สำหรับการส่งออกในเดือนพฤษภาคมขยายตัวร้อยละ 15.3(yoy)เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 8.9(yoy)และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้เนื่องจากการส่งออกสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 20.3 ขณะเดียวกันการนำเข้าในเดือนพฤษภาคมหดตัวครั้งแรกในรอบ 8 เดือนในอัตราร้อยละ 1.7(yoy)เนื่องจากการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ chips และ disk drives ชะลอลง โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าเงินเปโซที่อ่อนค่าลง ทั้งนี้ตัวเลขการนำเข้าที่ชะลอลงดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณว่า การส่งออกของฟิลิปปินส์ อาจมีแนวโน้มชะลอลงได้ในระยะต่อไป เนื่องจากการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเพื่อการผลิตและส่งออก
-เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวสูงในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ โดย Advance estimate GDP ขยายตัวร้อยละ 11.7(yoy)เร่งขึ้นจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 7.4(yoy)หรือขยายตัวร้อยละ 9.1(qoq,annualised)จากไตรมาสก่อน โดยปัจจัยสำคัญของการขยายตัวสูงมาจากฐานต่ำในปีก่อนจากภาวะการแพร่ระบาดของโรค SARs ที่ทำให้เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ของปีที่แล้วหดตัวร้อยละ 3.9(yoy)กอปรกับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกทำให้การผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวสูงถึงร้อยละ 18 และภาคบริการขยายตัวร้อยละ 11 อย่างไรก็ดี ภาคการก่อสร้างกลับหดตัวที่ร้อยละ 4.5
อัตราเงินเฟ้อยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ร้อยละ 2.3(yoy)เร่งขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว นอกจากนั้น ยังเป็นผลจากฐานการคำนวนในปีที่แล้วที่ต่ำเพราะประชาชนใช้จ่ายน้อยในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรค SARs
-เศรษฐกิจอินโดนีเซียค่อนข้างทรงตัว โดย IMF ประเมินว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2547 จะเป็นไปตามที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้คือร้อยละ 4.8 จากการส่งออกสินค้าในหมวดพลังงานที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก การบริการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ในช่วงการเลือกตั้ง และสภาพเศรษฐกิจโลกที่เอื้ออำนวยทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.8(yoy)ในเดือนมิถุนายน จากร้อยละ 6.5 ในเดือนก่อน เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินรูเปียห์และราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากการที่ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ปรับเพิ่ม reserve requirement ของธนาคารพาณิชย์ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ที่ผ่านมาเพื่อลดสภาพคล่องในระบบและรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน ส่งผลให้เงินรูเปียห์เริ่มแข็งค่าขึ้นจากประมาณ 9,400 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ สรอ.ในเดือนมิถุนายน มาอยู่ที่ 8,800-9,000 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ สรอ.ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม
นอกจากนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียและธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ร่วมกันลงนามใน MOU เกี่ยวกับ Mechanism for Targeting, Monitoring, and Control of Inflation เพื่อกำหนดกรอบอัตราเงินเฟ้อเป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางโดยจะประกาศเป้าอัตราเงินเฟ้อภายในเดือนกรกฎาคมนี้
-เศรษฐกิจมาเลเซียยังคงขยายตัวดี การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคมขยายตัวร้อยละ 12.8(yoy)ตามอุปสงค์ในประเทศและการส่งออกที่ขยายตัวดีขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ โดยดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3(yoy)จากราคาเครื่องดื่มและบุหรี่ที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ดัชนีราคาผู้บริโภคในครึ่งปีแรกของปี 2547 ยังคงเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.0
ภาคต่างประเทศยังขยายตัวดีการส่งออกในเดือนพฤษภาคมขยายตัวร้อยละ 20.5(yoy)ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 23.2 จากราคา commodities ที่ลดลง ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 26.5(yoy)จากการนำเข้าสินค้าทุน(ร้อยละ 30.2)สินค้าขั้นกลาง(ร้อยละ 24.3)และสินค้าเพื่อการบริโภค(ร้อยละ21.4)ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 6.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนมิถุนายนจำนวน 360 ล้านดอลลาร์ สรอ.มาอยู่ที่ 54.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.อย่างไรก็ดีการเพิ่มขึ้นของเงินสำรองระหว่างประเทศในช่วงที่ผ่านมาลดลงมากจากช่วงไตรมาสแรก ส่วนหนึ่งเนื่องจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย(interest rate differential)ที่ลดลงทำให้การไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้นลดลง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-
สหรัฐอเมริกา
-ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2547 Fed ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินให้ความเห็นว่า แม้ว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแต่ stance ของนโยบายการเงินยังคงเป็นแบบผ่อนคลาย และแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้น แต่การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในเดือนที่ผ่านมาเกิดจากปัจจัยชั่วคราวนอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มดอกเบี้ยในอนาคต ไว้เช่นเดิมคือ "policy accommodation can be removed at a pace that is likely to be measured"
อัตราการว่างงานในเดือนมิถุนายนยังคงอยู่ที่ร้อยละ 5.6 เท่ากับในเดือนก่อนหน้า สำหรับการจ้างงานนอกภาคเกษตร(Nonfarm payrolls)เพิ่มขึ้น 112,000 ตำแหน่งจากเดือนก่อน ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ ทั้งนี้ได้มีการปรับตัวเลขย้อนหลังของเดือนเมษายนและพฤษภาคมลดลงมาเป็น 324,000 และ 235,000 ตำแหน่งตามลำดับโดยสาเหตุที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือนนี้ชะลอลงเป็นผลมาจากการลดลงของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม 11,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกนับจากเดือนมกราคม 2547 สำหรับในภาคบริการการจ้างงานยังคงเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่ชะลอลง โดยเพิ่มขึ้น 122,000 ตำแหน่งจากเดือนก่อน ทั้งนี้ในช่วง 6 เดือนการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 211,000 ตำแหน่ง
แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นแต่การค้าของสหรัฐฯ ยังคงขาดดุล โดยล่าสุดในเดือนพฤษภาคมขาดทุน 46 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงจากในเดือนก่อนหน้า และลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนเนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าทุนและวัตถุดิบอุตสาหกรรมจากการขยายการลงทุนของบริษัทในต่างประเทศกอปรกับค่าเงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนตัวลงอย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงส่งผลให้การนำเข้าน้ำมันในเดือนพฤษภาคมอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 10.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.อนึ่งแม้ว่าการค้าจะขาดดุลลดลง แต่คาดว่าการขาดดุลการค้าในปีนี้ยังมีแนวโน้มสูงกว่าปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ระดับ 496.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ สหรัฐฯขาดดุล การค้าจำนวน 231.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เทียบกับ 208.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในช่วงเดียวกันปีก่อน
กลุ่มประเทศยูโร
-เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรในไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวร้อยละ 0.6(qoq)หรือร้อยละ 1.3(yoy)เท่ากับที่ประมาณการไว้เดิม โดยเป็นผลจากการขยายตัวของการส่งออกเป็นสำคัญดังนี้ EU Commission เชื่อว่าเศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโรในปีนี้จะขยายตัวสูงกว่าที่คาด โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ Monetary condition ที่ผ่อนคลายก็มีส่วนช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอีกทางหนึ่งด้วย อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงเปราะบางจากภาวะการจ้างงานที่ยังไม่ดีขึ้นประกอบจากความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่อาจสูงขึ้นได้ทำให้แนวโน้มการขยายตัวในปีหน้า ยังไม่ชัดเจนมากนัก
อัตราเงินเฟ้อ(HICP)ล่าสุดของกลุ่มประเทศยูโรในเดือนมิถุนายนชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4(yoy)เท่ากับที่ตลาดคาดไว้เป็นผลมาจากราคาสินค้าพลังงานซึ่งชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 5.9 จากร้อยละ 6.7 ในเดือนก่อน ทั้งนี้ หากไม่รวมราคาสินค้าพลังงานอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.0(yoy)อนึ่งแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลงดังกล่าวทำให้ ECB คลายความกังวลใจเกี่ยวกับเงินเฟ้อลงบ้างและคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงต่ำกว่าเป้าร้อยละ 2.0 ในปีหน้าอย่างไรก็ดี ECB จะเฝ้าดูภาวะเงินเฟ้อจาก Inflation expectation อย่างใกล้ชิดต่อไป
สำหรับดัชนี PMI ภาคบริการล่าสุดในเดือนมิถุนายนยังคงขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 โดยอยู่ที่ระดับ 55.3 ใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ 55.8 ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของกิจกรรมภาคบริการขณะเดียวกัน PMI ภาคการผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 54.4 เทียบกับเดือนก่อนที่ 54.7 นอกจากนี้ ดัชนีการผลิตอุตสาหกรรมล่าสุดในเดือนพฤษภาคมปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ0.7(mom)หรือร้อยละ 3.9(yoy)ซึ่งนับเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ ซึ่งทำให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวมของกลุ่มประเทศยูโรยังคงมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อไป
-ทางการญี่ปุ่น(Cabint Office)ได้ปรับเพิ่มประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีงบประมาณ 2547 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 จากเดิมที่เคยคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.8(ประมาณการเมื่อเดือนธันวาคม 2546)ซึ่งจะเป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดในรอบ 8 ปีโดยปัจจัยสนับสนุนได้แก่ การส่งออก การใช้จ่ายในภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้น และการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นเห็นว่าในปีงบประมาณ 2547 นี้เศรษฐกิจจะขยายตัวได้สูงกว่าที่เคยคาดไว้ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจจะยังคงอยู่ในภาวะเงินฝืดต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยคาดว่าในปีงบประมาณ 2547/8อัตราเงินเฟ้อ(CPI)และ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน(Core CPI)จะยังคงติดลบที่ร้อยละ 0.1 และ 0.2 ตามลำดับ ซึ่งธนาคารกลางญี่ปุ่นยืนยันที่จะคงนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายไปจนกว่าจะมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีเสถียรภาพอยู่เหนือระดับ 0 ทั้งนี้ ล่าสุดในเดือนพฤษภาคมอัตราเงินเฟ้อและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงติดลบที่ร้อยละ 0.5 และ 0.3
สภาวะทางธุรกิจ(business condition)มีการปรับตัวดีขึ้นมาก โดยผลสำรวจความเห็นของผู้ประกอบการญี่ปุ่น(Tankan) ของธนาคารกลางญี่ปุ่น ประจำเดือนกรกฎาคม 2547 ระบุว่าดัชนีของ large manufacturing อยู่ที่ร้อยละ 22 ปรับเพิ่มขึ้นมากจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 12 และนับเป็นอัตราสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2534 ในขณะเดียวกันดัชนีของ large-non manufacturing ซึ่งเป็นกลุ่ม service providers ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกันโดยอยู่ที่ร้อยละ 9 จากร้อยละ 5 ในไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ดีที่สุด นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2535 ความเชื่อมั่นของภาค service providers ที่ปรับเพิ่มขึ้นนับว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่สะท้อนว่าบริษัทต่างๆ คาดว่าการบริโภคในญี่ปุ่นจะฟื้นตัว
กลุ่มเอเซียตะวันออก
-เศรษฐกิจจีนในไตยมาสที่ 2 ปี 2547ขยายตัวร้อยละ 9.6(yoy)ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการไว้และชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 9.8 ส่วนหนึ่งเนื่องจากทางการได้ปรับเพิ่มตัวเลขอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปี2546 จากร้อยละ 6.7 เป็นร้อยละ 7.9 เนื่องจากในช่วงดังกล่าวทางการได้สำรวจถึงผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน(SARs)อย่างเร่งด่วน ทำให้ได้รับข้อมูลการขยายตัวของภาคบริการต่ำกว่าความเป็นจริง
นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลงยังมาจากมาตรการการชะลอการลงทุนของทางการ ที่เริ่มเห็นผลโดยการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาสที่ 2 ชะลอลงจากไตยมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 43 ทำให้ครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 28.6(yoy)ในขณะที่โครงการบริโภคของประชาชนซึ่งสะท้อนจากยอดค้าปลีกในครึ่งปีแรกยังขยายตัวดีในอัตราร้อยละ 12.8 และล่าสุดในเดือนมิถุนายน ขยายตัวร้อยละ 13.9
ส่วนอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงขึ้นต่อเนื่องโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ในช่วงครึ่งปีแรก และร้อยละ 5.0
ในเดือนมิถุนายน ซึ่งเพิ่มแรงกดดันต่อธนาคารกลางในการพิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย อนึ่ง นักวิเคราะห์เห็นว่าจีนควรผ่อนคลายนโยบายเข้มงวดในการให้สินเชื่อที่ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอลงบ้างแล้ว โดยควรรอดูการปรับตัวของตลาด(wait-and-see)ก่อนที่จะดำเนินการใดๆต่อไป
ด้านเสถียรภาพต่างประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดีและไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการชะลอการลงทุนของทางการ การส่งออกในเดือนมิถุนายนขยายตัวร้อยละ 46.5(yoy)สูงขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 32.8 สะท้อนถึงอุปสงค์ในตลาดโลกที่ยังฟื้นตัวอยู่ ด้านการนำเข้าก็ขยายตัวสูงขึ้นเช่นกันที่ร้อยละ 50.5 จากร้อยละ 35.4 ในเดือนก่อน ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์จีนคาดว่าการส่งออกและการนำเข้าในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 15 และ 20 ตามลำดับ
-การส่งออกของใต้หวันในเดือนมิถุนายนชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 24.5 จากร้อยละ 39.5 ในเดือนก่อนการนำเข้าชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 42.2 จากร้อยละ 52.5 ในเดือนก่อน การนำเข้าที่ขยายตัวสูงกว่ามากทำให้ขาดดุลการค้า 203 ล้านดอลลาร์ สรอ.ซึ่งเป็นการขาดดุลครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2543
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ในเดือนมิถุนายน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นซึ่งทำลายผลผลิตทางการเกษตร ทำให้ราคาผักสูงขึ้นถึงร้อยละ 30-50 รัฐบาลจึงได้ลดภาษีนำเข้าผักลงเหลือร้อยละ 10 ถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ เพื่อผ่อนคลายปัญหา การขาดแคลนผักภายในประเทศ สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนที่ติดลบร้อยละ 0.3 อนึ่ง ภาวะน้ำท่วมทำให้ธนาคารกลางไต้หวันปรับประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปีนี้เป็นร้อยละ 1.0 จากประมาณการเดิมของสำนักงานสถิติที่ร้อยละ 0.8
-บริษัทจัดอันดับ S&P ปรับ Outlook ของหนี้ระยะยาวของฮ่องกงจาก negative เป็น stable เนื่องจากเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ภาวะเงินฝืดมีแนวโน้มปรับลดลงรวมถึงมีความเป็นไปได้ที่ฮ่องกงจะสามารถแก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณได้ในปี 2551-2552
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 ธนาคารกลางฮ่องกงได้ปรับอัตราดอกเบี้ย base rate ขึ้นร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 2.5 เป็นร้อยละ 2.75 หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย fed
Funds ร้อยละ 0.25 อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์ในฮ่องกงยังไม่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตาม เนื่องจากสภาพคล่องในระบบยังคงอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ การที่ธนาคารพาณิชย์ในฮ่องกงยังไม่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้เงินทุนไหลออก จนธนาคารกลางฮ่องกงต้องเข้าแทรกแซงค่าเงินเพื่อให้ค่าเงินมีเสถียรภาพ
ในช่วงที่ผ่านมา ภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นส่งผลให้มูลค่าการค้าปลีกในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7(yoy)และปริมาณการค้าปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8(yoy)ส่วนอัตราการว่างงานเฉลี่ยในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายนปรับตัวลดลงเหลือร้อยละ 6.9 จากช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมที่ร้อยละ 7 การลดลงของอัตราการว่างงานและภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของชาวฮ่องกงในการใช้จ่าย ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายนปรับตัวดีขึ้นมากมาอยู่ที่ร้อยละ -0.1(yoy)จากเดือนพฤษภาคมซึ่งอยู่ที่ร้อยละ-0.9(yoy)
-เศรษฐกิจเกาหลีใต้ยังให้ภาพที่ไม่ชัดเจนการบริโภคในประเทศยังไม่ฟื้นตัว อัตราการว่างงาน(ปรับฤดูกาล)ณ สิ้นเดือนมิถุนายนทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ยอดการใช้จ่ายในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ 3 แห่งในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในอัตราร้อยละ 0.7 (yoy)ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจลดลงต่อเนื่องจากความอ่อนแอของเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลได้พยายามกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ การจ้างงาน ตลอดจนการปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรมผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งได้รับการอนุมัติจากรัฐสภามาแล้วบางส่วน(1.8 ล้านล้านวอนจากทั้งหมด 4.5 ล้านล้านวอน)
การส่งออกเดือนมิถุนายนขยายตัวสูงที่ร้อยละ 39.6(yoy)ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 38.6 ส่วนใหญ่เป็นผลจากการนำเข้าวัตถุดิบและพลังงาน ขณะที่การนำเข้าสินค้าเพื่อการบริโภคและสินค้าทุนชะลอตัว ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนมิถุนายนเกินดุล 3.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.สูงที่สุดตั้งแต่เดือนธันวาคม 2541
กลุ่มอาเซียน
-อัตราเงินเฟ้อล่าสุดของฟิลิปปินส์ในเดือนมิถุนายน เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 5.1(yoy)จากร้อยละ 4.7 ในเดือนก่อนสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และนับเป็นอัตราเงินเฟ้อที่สูงที่สุดในรอบ 32 เดือนอีกด้วย โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร และราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ร้อยละ 4.1(yoy)แต่ยังอยู่ภายในเป้าหมายเงินเฟ้อที่รัฐบาลตั้งไว้ที่ร้อยละ 4.0-5.0
สำหรับการส่งออกในเดือนพฤษภาคมขยายตัวร้อยละ 15.3(yoy)เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 8.9(yoy)และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้เนื่องจากการส่งออกสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 20.3 ขณะเดียวกันการนำเข้าในเดือนพฤษภาคมหดตัวครั้งแรกในรอบ 8 เดือนในอัตราร้อยละ 1.7(yoy)เนื่องจากการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ chips และ disk drives ชะลอลง โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าเงินเปโซที่อ่อนค่าลง ทั้งนี้ตัวเลขการนำเข้าที่ชะลอลงดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณว่า การส่งออกของฟิลิปปินส์ อาจมีแนวโน้มชะลอลงได้ในระยะต่อไป เนื่องจากการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเพื่อการผลิตและส่งออก
-เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวสูงในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ โดย Advance estimate GDP ขยายตัวร้อยละ 11.7(yoy)เร่งขึ้นจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 7.4(yoy)หรือขยายตัวร้อยละ 9.1(qoq,annualised)จากไตรมาสก่อน โดยปัจจัยสำคัญของการขยายตัวสูงมาจากฐานต่ำในปีก่อนจากภาวะการแพร่ระบาดของโรค SARs ที่ทำให้เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ของปีที่แล้วหดตัวร้อยละ 3.9(yoy)กอปรกับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกทำให้การผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวสูงถึงร้อยละ 18 และภาคบริการขยายตัวร้อยละ 11 อย่างไรก็ดี ภาคการก่อสร้างกลับหดตัวที่ร้อยละ 4.5
อัตราเงินเฟ้อยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ร้อยละ 2.3(yoy)เร่งขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว นอกจากนั้น ยังเป็นผลจากฐานการคำนวนในปีที่แล้วที่ต่ำเพราะประชาชนใช้จ่ายน้อยในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรค SARs
-เศรษฐกิจอินโดนีเซียค่อนข้างทรงตัว โดย IMF ประเมินว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2547 จะเป็นไปตามที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้คือร้อยละ 4.8 จากการส่งออกสินค้าในหมวดพลังงานที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก การบริการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ในช่วงการเลือกตั้ง และสภาพเศรษฐกิจโลกที่เอื้ออำนวยทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.8(yoy)ในเดือนมิถุนายน จากร้อยละ 6.5 ในเดือนก่อน เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินรูเปียห์และราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากการที่ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ปรับเพิ่ม reserve requirement ของธนาคารพาณิชย์ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ที่ผ่านมาเพื่อลดสภาพคล่องในระบบและรักษาเสถียรภาพของค่าเงิน ส่งผลให้เงินรูเปียห์เริ่มแข็งค่าขึ้นจากประมาณ 9,400 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ สรอ.ในเดือนมิถุนายน มาอยู่ที่ 8,800-9,000 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ สรอ.ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม
นอกจากนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียและธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ร่วมกันลงนามใน MOU เกี่ยวกับ Mechanism for Targeting, Monitoring, and Control of Inflation เพื่อกำหนดกรอบอัตราเงินเฟ้อเป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางโดยจะประกาศเป้าอัตราเงินเฟ้อภายในเดือนกรกฎาคมนี้
-เศรษฐกิจมาเลเซียยังคงขยายตัวดี การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคมขยายตัวร้อยละ 12.8(yoy)ตามอุปสงค์ในประเทศและการส่งออกที่ขยายตัวดีขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ โดยดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3(yoy)จากราคาเครื่องดื่มและบุหรี่ที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ดัชนีราคาผู้บริโภคในครึ่งปีแรกของปี 2547 ยังคงเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.0
ภาคต่างประเทศยังขยายตัวดีการส่งออกในเดือนพฤษภาคมขยายตัวร้อยละ 20.5(yoy)ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 23.2 จากราคา commodities ที่ลดลง ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 26.5(yoy)จากการนำเข้าสินค้าทุน(ร้อยละ 30.2)สินค้าขั้นกลาง(ร้อยละ 24.3)และสินค้าเพื่อการบริโภค(ร้อยละ21.4)ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 6.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 15 กรกฎาคม เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนมิถุนายนจำนวน 360 ล้านดอลลาร์ สรอ.มาอยู่ที่ 54.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.อย่างไรก็ดีการเพิ่มขึ้นของเงินสำรองระหว่างประเทศในช่วงที่ผ่านมาลดลงมากจากช่วงไตรมาสแรก ส่วนหนึ่งเนื่องจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย(interest rate differential)ที่ลดลงทำให้การไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้นลดลง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ดพ-