‘สาธิต’ เรียกร้อง นายกฯ อย่าเห็นตัวเลขเศรษฐกิจ สำคัญกว่า ปากท้องของประชาชน แนะการแก้ปัญหาน้ำภาคตะวันออก ต้องเพิ่มน้ำต้นทุน ลดกำลังผลิตภาคอุตสาหกรรม พร้อม เตือน นายกฯ ระวังวิกฤติน้ำภาคตะวันออก ตามรอย สถานการณ์ใต้
นายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า อยากเรียกร้องการแก้ปัญหาน้ำในภาคอุตสาหกรรม ของภาคตะวันออกว่า นายกฯควรมองปัญหาอย่างเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง และที่สำคัญควรรับฟังข้อมูลจากหลากหลายด้าน ไม่ฟังเพียงจากคนที่รอบตัวและสรุปปัญหาโดยไม่ได้ลงพื้นที่รับทราบปัญหาในพื้นที่ และตนอยากเรียกร้องนายกฯว่าไม่ควรคำนึงแต่เพียงตัวเลขทางเศรษฐกิจ ที่หวังเพียงการสร้างภาพให้ให้รัฐบาลดูดี ในสายตาของนักลงทุน นายกฯควรดูถึงความเดือดร้อนของประชาชนภาคเกษตร ภาคประชาชน ที่มีความจำเป็นต้นใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค
นายสาธิต กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องปัญหาที่เก็บน้ำในจังหวัดระยอง หากดูจากหลักการและแนวทางแล้ว ยังพอมีวิธีแก้ปัญหาได้คือ รัฐบาลต้องมองว่านอกจากการหาน้ำมาเพิ่มในน้ำต้นทุนแล้ว สิ่งที่สำคัญคือต้องลดการใช้น้ำลงด้วย หากนายกฯคิดเพียงการเพิ่มน้ำแต่ไม่ลดกำลังการใช้น้ำ ต่อให้มีน้ำต้นทุนมากเพียงใดก็ไม่เพียงพอ และ หากใช้วิธีการแก้ปัญหาของนายกฯเช่นนี้ ตนเห็นว่าวิกฤติการณ์น้ำอาจรุนแรงมากกว่าสถานการณ์ความไม่สงบใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เป็นได้ เพราะนายกฯแก้ปัญหาแบบไม่เข้าใจปัญหา เน้นการสร้างภาพ ไม่ยอมรับความจริง
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า ส่วนที่นายกฯบอกว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวมีปัญหาตรงที่เรื่องนี้เป็นเรื่องการเมือง เช่นการแจกถูงของขวัญเด็กแรกเกิด โครงการเอสเอ็มแอล ก็เป็นเรื่องการเมืองแต่เป็นการมืองที่อิงนโยบายรัฐบาล โดยมีผลประโยชน์ของพรรครัฐบาลแอบแฝงอยู่ แต่สำหรับคนระยองทที่ได้รับผลกระทบจากรนโยบายรัฐบาลก็สิทมธิจะแสดงความไม่เห็นด้วย และที่สำคัญรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจนว่าโครงการของรัฐบาลหากจะนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ โดยมีผลต่อการดำเนินชีวติตโดยปกติของประช่าชนเหล่านั้น รัฐควรจะให้องค์กรอิสระมาศึกษาผลกระทบต่อประชาชนเหล่านั้นเสียก่อน ตนเห็นว่าทุกเรื่องในการบริหารราชการของนายกฯ ก็เป็นเรื่องการเมืองทั้งสิ้น ซึ่งตนเห็นว่าการแก้ปัญหาเรื่องนี้เพียงนายกฯตัดอคติออกไป และคิดว่าจะแก้ไขปัญหาให้ประชาชนทุกส่วนให้เท่าเทียมกัน การแก้ปัญหาต่างๆก็จะบรรลุเป้าหมาย ซึ่งตนมีข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์น้ำ คือ นายกฯต้องลงพื้นรับทราบปัญาด้วยตัวเอง ว่าประชาชนส่วนใหญ่ในภาคเกษตร ผู้มีความจำเป็นต้องใช้น้ำในการอุปโภค บริโภค ได้รับความเดือดร้อนตั้งแต่มีโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้ง นอกจากความเดือนร้อนเรื่องน้ำ แล้วยังมีปัญหามลภาวะทางอากาศด้วย
นายสาธิต กล่าวในตอนท้ายว่า ข้อเสนอแนะในการบริหารน้ำต้นทุนคือต้องทำให้น้ำต้นทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งมีวิธีที่ดีที่สุดคือ ต้องลดการใช้น้ำลง ระยะหนึ่งก่อน เพื่อให้ปริมาณน้ำต้นทุนกลับมาเหมือนเดิม กล่าวคือให้ภาคอุตสาหกรรมลดกำลังการผลิตลง และต้องหาแหล่งน้ำใหม่เพิ่มขึ้นด้วยควบคู่กันไป ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาน้ำในระยะยาวได้ด้วย เพราะหากใช้เพียงวิธีของนายกฯคือการดึงน้ำต้นทุนมาใช้อย่างเดียว ผลกระทบที่จะตามมาคือการขาดแคลนน้ำกิน น้ำใช้ของ ประชาชน และ ภาคเกษตรกร ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ และผลกระทบดังกล่าวก็จะรุกรามไปทั้งระบบทั้งภาคอุตสาหกรรมเป็นปัญหาบานปลายต่อไปอีก
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 ส.ค. 2548--จบ--
นายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า อยากเรียกร้องการแก้ปัญหาน้ำในภาคอุตสาหกรรม ของภาคตะวันออกว่า นายกฯควรมองปัญหาอย่างเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง และที่สำคัญควรรับฟังข้อมูลจากหลากหลายด้าน ไม่ฟังเพียงจากคนที่รอบตัวและสรุปปัญหาโดยไม่ได้ลงพื้นที่รับทราบปัญหาในพื้นที่ และตนอยากเรียกร้องนายกฯว่าไม่ควรคำนึงแต่เพียงตัวเลขทางเศรษฐกิจ ที่หวังเพียงการสร้างภาพให้ให้รัฐบาลดูดี ในสายตาของนักลงทุน นายกฯควรดูถึงความเดือดร้อนของประชาชนภาคเกษตร ภาคประชาชน ที่มีความจำเป็นต้นใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค
นายสาธิต กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องปัญหาที่เก็บน้ำในจังหวัดระยอง หากดูจากหลักการและแนวทางแล้ว ยังพอมีวิธีแก้ปัญหาได้คือ รัฐบาลต้องมองว่านอกจากการหาน้ำมาเพิ่มในน้ำต้นทุนแล้ว สิ่งที่สำคัญคือต้องลดการใช้น้ำลงด้วย หากนายกฯคิดเพียงการเพิ่มน้ำแต่ไม่ลดกำลังการใช้น้ำ ต่อให้มีน้ำต้นทุนมากเพียงใดก็ไม่เพียงพอ และ หากใช้วิธีการแก้ปัญหาของนายกฯเช่นนี้ ตนเห็นว่าวิกฤติการณ์น้ำอาจรุนแรงมากกว่าสถานการณ์ความไม่สงบใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เป็นได้ เพราะนายกฯแก้ปัญหาแบบไม่เข้าใจปัญหา เน้นการสร้างภาพ ไม่ยอมรับความจริง
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า ส่วนที่นายกฯบอกว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวมีปัญหาตรงที่เรื่องนี้เป็นเรื่องการเมือง เช่นการแจกถูงของขวัญเด็กแรกเกิด โครงการเอสเอ็มแอล ก็เป็นเรื่องการเมืองแต่เป็นการมืองที่อิงนโยบายรัฐบาล โดยมีผลประโยชน์ของพรรครัฐบาลแอบแฝงอยู่ แต่สำหรับคนระยองทที่ได้รับผลกระทบจากรนโยบายรัฐบาลก็สิทมธิจะแสดงความไม่เห็นด้วย และที่สำคัญรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจนว่าโครงการของรัฐบาลหากจะนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ โดยมีผลต่อการดำเนินชีวติตโดยปกติของประช่าชนเหล่านั้น รัฐควรจะให้องค์กรอิสระมาศึกษาผลกระทบต่อประชาชนเหล่านั้นเสียก่อน ตนเห็นว่าทุกเรื่องในการบริหารราชการของนายกฯ ก็เป็นเรื่องการเมืองทั้งสิ้น ซึ่งตนเห็นว่าการแก้ปัญหาเรื่องนี้เพียงนายกฯตัดอคติออกไป และคิดว่าจะแก้ไขปัญหาให้ประชาชนทุกส่วนให้เท่าเทียมกัน การแก้ปัญหาต่างๆก็จะบรรลุเป้าหมาย ซึ่งตนมีข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์น้ำ คือ นายกฯต้องลงพื้นรับทราบปัญาด้วยตัวเอง ว่าประชาชนส่วนใหญ่ในภาคเกษตร ผู้มีความจำเป็นต้องใช้น้ำในการอุปโภค บริโภค ได้รับความเดือดร้อนตั้งแต่มีโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้ง นอกจากความเดือนร้อนเรื่องน้ำ แล้วยังมีปัญหามลภาวะทางอากาศด้วย
นายสาธิต กล่าวในตอนท้ายว่า ข้อเสนอแนะในการบริหารน้ำต้นทุนคือต้องทำให้น้ำต้นทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งมีวิธีที่ดีที่สุดคือ ต้องลดการใช้น้ำลง ระยะหนึ่งก่อน เพื่อให้ปริมาณน้ำต้นทุนกลับมาเหมือนเดิม กล่าวคือให้ภาคอุตสาหกรรมลดกำลังการผลิตลง และต้องหาแหล่งน้ำใหม่เพิ่มขึ้นด้วยควบคู่กันไป ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาน้ำในระยะยาวได้ด้วย เพราะหากใช้เพียงวิธีของนายกฯคือการดึงน้ำต้นทุนมาใช้อย่างเดียว ผลกระทบที่จะตามมาคือการขาดแคลนน้ำกิน น้ำใช้ของ ประชาชน และ ภาคเกษตรกร ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ และผลกระทบดังกล่าวก็จะรุกรามไปทั้งระบบทั้งภาคอุตสาหกรรมเป็นปัญหาบานปลายต่อไปอีก
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 ส.ค. 2548--จบ--