สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากข่าวการระบาดของไข้หวัดนกรอบใหม่ ทำให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้น ส่วนราคาลูกสุกรยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงแสดงว่าความต้องการเลี้ยงยังมีอยู่มาก แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 43.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.30 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.99 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 41.62 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 40.60 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 43.70 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 49.63 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 900 บาท (บวกลบ 42 บาท) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.35 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.50 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.88
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ราคาเกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวเนื่องจากการระบาดของไข้หวัดนกรอบใหม่ ทำให้ความต้องการบริโภคลดลงเพราะผู้บริโภคไม่มั่นใจในการบริโภคเนื้อไก่ ในขณะที่ผู้ประกอบการได้ปรับลดการผลิตไก่เนื้อลงเช่นกัน แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ด้านการส่งออก ผู้ประกอบการได้ปรับตัวให้ขยายการส่งออกไก่ปรุงสุกให้มากขึ้น ในเดือนมิถุนายน 2547 มีปริมาณ 13,998.02 ตัน มูลค่า 1,655.53 ล้านบาท เทียบกับเดือนที่แล้วมีปริมาณ 13,327.75 ตัน มูลค่า 1,568.96 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.03 และ 5.23 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 28.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.61 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.43 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 30.31 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 27.74 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 25.66 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 31.73 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 6.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 24.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.42 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 31.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.97
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่ ผ่านมา เนื่องจากภาวะการระบาดของโรคไข้หวัดนกรอบใหม่ ทำให้ความต้องการบริโภคลดลง เพราะผู้บริโภคไม่มั่นใจในการบริโภคไข่ไก่ แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 249 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 259 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.86 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 273 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 261 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 242 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 253 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 27 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 259 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 279 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.17
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 268 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 266 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 256 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 284 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 254 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 289 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 324 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 50.70 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.17 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 57.92 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 47.30 บาท ส่วนภาคกลางไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.85 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 39.82 บาท ส่วนภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 26 ก.ค. - 1 ส.ค. 2547--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากข่าวการระบาดของไข้หวัดนกรอบใหม่ ทำให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้น ส่วนราคาลูกสุกรยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงแสดงว่าความต้องการเลี้ยงยังมีอยู่มาก แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 43.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.30 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.99 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 41.62 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 40.60 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 43.70 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 49.63 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 900 บาท (บวกลบ 42 บาท) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.35 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.50 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.88
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ราคาเกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวเนื่องจากการระบาดของไข้หวัดนกรอบใหม่ ทำให้ความต้องการบริโภคลดลงเพราะผู้บริโภคไม่มั่นใจในการบริโภคเนื้อไก่ ในขณะที่ผู้ประกอบการได้ปรับลดการผลิตไก่เนื้อลงเช่นกัน แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ด้านการส่งออก ผู้ประกอบการได้ปรับตัวให้ขยายการส่งออกไก่ปรุงสุกให้มากขึ้น ในเดือนมิถุนายน 2547 มีปริมาณ 13,998.02 ตัน มูลค่า 1,655.53 ล้านบาท เทียบกับเดือนที่แล้วมีปริมาณ 13,327.75 ตัน มูลค่า 1,568.96 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.03 และ 5.23 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 28.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.61 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.43 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 30.31 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 27.74 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 25.66 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 31.73 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 6.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 24.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.42 ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 31.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.97
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่ ผ่านมา เนื่องจากภาวะการระบาดของโรคไข้หวัดนกรอบใหม่ ทำให้ความต้องการบริโภคลดลง เพราะผู้บริโภคไม่มั่นใจในการบริโภคไข่ไก่ แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 249 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 259 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.86 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 273 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 261 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 242 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 253 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 27 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 259 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 279 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.17
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 268 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 266 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 256 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 284 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 254 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 289 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 324 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 50.70 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.17 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 57.92 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 47.30 บาท ส่วนภาคกลางไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.85 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 39.82 บาท ส่วนภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 26 ก.ค. - 1 ส.ค. 2547--
-พห-