แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 16 - 22 ก.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,349.62 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 705.68 ตัน สัตว์น้ำจืด 643.94 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.45 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.77 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 88.84 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 79.09 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 27.57 ตัน
การตลาด
สหรัฐกำหนดวางเงินประกันกุ้งนำเข้า
ผู้ส่งออกกุ้งเปิดเผยถึงเหตุผลที่สหรัฐกำหนดให้ผู้นำเข้ากุ้งจะต้องวางพันธบัตรค้ำประกันไว้กับศุลกากรสหรัฐว่ามีผลสืบเนื่องจากสหรัฐได้ประกาศอัตราภาษีทุ่มตลาดไปแล้วของประเทศจีนและเวียดนามในอัตราร้อยละ 0.04-112.81 กับร้อยละ 12.11-93.13 ตามลำดับ และจะประกาศประเทศไทย อินเดีย บราซิล และเอกวาดอร์ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2547 แต่ขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียด การประกาศอัตราภาษีทุ่มตลาดได้มีบริษัทผู้ส่งออกจากประเทศผู้ส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐทั้ง 6 ประเทศ ได้เคลื่อนไหวเข้าไปตั้งบริษัทนำเข้าสินค้าของตนเองในสหรัฐจำนวนมาก ทำให้สหรัฐมีความหวั่นวิตกว่าบริษัทจากต่างประเทศที่ไปตั้งบริษัทนำเข้าสินค้ากุ้งเองจะไม่ยอมรับผิดชอบและหากมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น รัฐบาลสหรัฐไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้ จึงต้องให้รับภาระทั้งภาษีเอดีและวางเงินค้ำประกันที่คาดว่าจะต้องวางในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษีเอดีต่อมูลค่าการนำเข้าที่บริษัทจะนำเข้าในปีนี้ ส่วนบริษัทนำเข้าเดิมของสหรัฐจะวางพันธบัตรค้ำประกันโดยคำนวณจากมูลค่านำเข้าย้อนหลัง 1 ปี เช่น ประเทศไทยถูกเรียกเก็บภาษีเอดีร้อยละ 8 บริษัทนำเข้าที่นำเข้ากุ้งจากประเทศไทย ต้องวางเงินค้ำประกันคาดว่าจะนำเข้าสูงกว่าร้อยละ 8 ต่อมูลค่าการนำเข้าที่บริษัทนั้นคาดว่าจะนำเข้าจากประเทศไทยในปีนี้(สำหรับผู้นำเข้ารายใหม่) ซึ่งบริษัทผู้นำเข้าจะต้องเป็นผู้คำนวณเองว่าถึงสิ้นปีนี้จะนำเข้ากุ้งจากประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าเท่าใด ส่วนรายเก่าคำนวณจากมูลค่านำเข้าย้อนหลัง 1 ปี
เหตุที่ผู้ส่งออกจากประเทศที่ส่งสินค้ากุ้งเข้าสหรัฐต้องไปตั้งบริษัทนำเข้าเองนั้นเนื่องจากเกร่งว่าหลังจากที่สหรัฐเรียกเก็บภาษีเอดี ผู้นำเข้าที่เคยนำเข้ากุ้งจะหยุดการนำเข้า ทำให้สูญเสียโอกาสการส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐซึ่งเป็นตลาดใหญ่ ดังนั้น จึงเข้าไปทำหน้าที่เป็นผู้นำเข้าเสียเองแล้วจึงจำหน่ายสินค้าต่อไปยังผู้นำเข้าของสหรัฐอีกทอดหนึ่ง แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับผลกระทบเวลานี้ผู้ส่งออกมีความคาดหวังอยู่ที่ขีดความสามารถในการแข่งขัน เพราะสหรัฐปฏิบัติกับประเทศผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่ไปยังสหรัฐเหมือนกันหมด ขณะนี้กำลังรอประกาศว่าสหรัฐจะเรียกเก็บอัตราภาษีทุ่มตลาดจากประเทศไทย อินเดีย บราซิล และเอกวาดอร์ ในอัตราภาษีเท่าใด หากไทยถูกเรียกเก็บในอัตราที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆจะทำให้ได้เปรียบ แต่ถ้าหากถูกเรียกเก็บภาษีอัตราสูงจะเสียเปรียบและไม่สามารถแข่งขันได้ อย่างไรก็ดีผู้ส่งออกกุ้งหลายคนให้ความเห็นตรงกันว่าอัตราภาษีเอดีที่สหรัฐเรียกเก็บจากไทยน่าจะต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0—8 ซึ่งจะทำให้ไทยมีขีดแข่งขันที่ดีกว่าประเทศอื่น ๆ พร้อมกันนี้ผู้ส่งออกกุ้งยังให้ความเห็นถึงภาวะราคากุ้งในประเทศ หลังได้รับทราบอัตราภาษีเอดีอย่างเป็นทางการว่าน่าจะสูงขึ้นจากปัจจุบัน เพราะทั้งผู้ซื้อผู้ขายสามารถคำนวณราคาซื้อขายได้ ต่างจากเวลานี้ที่การค้าส่งออกกุ้งต้องชะลอ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถคำนวณราคาซื้อขายระหว่างกันได้
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.64 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.48 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.20 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 85.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 210.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 201.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 211.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 196.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 15.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 25.26 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.86 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.70 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.68 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 26 ก.ค. — 1 ส.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 24.20 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 26 ก.ค. - 1 ส.ค. 2547--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 16 - 22 ก.ค. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,349.62 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 705.68 ตัน สัตว์น้ำจืด 643.94 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.45 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.77 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 88.84 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 79.09 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 27.57 ตัน
การตลาด
สหรัฐกำหนดวางเงินประกันกุ้งนำเข้า
ผู้ส่งออกกุ้งเปิดเผยถึงเหตุผลที่สหรัฐกำหนดให้ผู้นำเข้ากุ้งจะต้องวางพันธบัตรค้ำประกันไว้กับศุลกากรสหรัฐว่ามีผลสืบเนื่องจากสหรัฐได้ประกาศอัตราภาษีทุ่มตลาดไปแล้วของประเทศจีนและเวียดนามในอัตราร้อยละ 0.04-112.81 กับร้อยละ 12.11-93.13 ตามลำดับ และจะประกาศประเทศไทย อินเดีย บราซิล และเอกวาดอร์ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2547 แต่ขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียด การประกาศอัตราภาษีทุ่มตลาดได้มีบริษัทผู้ส่งออกจากประเทศผู้ส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐทั้ง 6 ประเทศ ได้เคลื่อนไหวเข้าไปตั้งบริษัทนำเข้าสินค้าของตนเองในสหรัฐจำนวนมาก ทำให้สหรัฐมีความหวั่นวิตกว่าบริษัทจากต่างประเทศที่ไปตั้งบริษัทนำเข้าสินค้ากุ้งเองจะไม่ยอมรับผิดชอบและหากมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น รัฐบาลสหรัฐไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้ จึงต้องให้รับภาระทั้งภาษีเอดีและวางเงินค้ำประกันที่คาดว่าจะต้องวางในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษีเอดีต่อมูลค่าการนำเข้าที่บริษัทจะนำเข้าในปีนี้ ส่วนบริษัทนำเข้าเดิมของสหรัฐจะวางพันธบัตรค้ำประกันโดยคำนวณจากมูลค่านำเข้าย้อนหลัง 1 ปี เช่น ประเทศไทยถูกเรียกเก็บภาษีเอดีร้อยละ 8 บริษัทนำเข้าที่นำเข้ากุ้งจากประเทศไทย ต้องวางเงินค้ำประกันคาดว่าจะนำเข้าสูงกว่าร้อยละ 8 ต่อมูลค่าการนำเข้าที่บริษัทนั้นคาดว่าจะนำเข้าจากประเทศไทยในปีนี้(สำหรับผู้นำเข้ารายใหม่) ซึ่งบริษัทผู้นำเข้าจะต้องเป็นผู้คำนวณเองว่าถึงสิ้นปีนี้จะนำเข้ากุ้งจากประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าเท่าใด ส่วนรายเก่าคำนวณจากมูลค่านำเข้าย้อนหลัง 1 ปี
เหตุที่ผู้ส่งออกจากประเทศที่ส่งสินค้ากุ้งเข้าสหรัฐต้องไปตั้งบริษัทนำเข้าเองนั้นเนื่องจากเกร่งว่าหลังจากที่สหรัฐเรียกเก็บภาษีเอดี ผู้นำเข้าที่เคยนำเข้ากุ้งจะหยุดการนำเข้า ทำให้สูญเสียโอกาสการส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐซึ่งเป็นตลาดใหญ่ ดังนั้น จึงเข้าไปทำหน้าที่เป็นผู้นำเข้าเสียเองแล้วจึงจำหน่ายสินค้าต่อไปยังผู้นำเข้าของสหรัฐอีกทอดหนึ่ง แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับผลกระทบเวลานี้ผู้ส่งออกมีความคาดหวังอยู่ที่ขีดความสามารถในการแข่งขัน เพราะสหรัฐปฏิบัติกับประเทศผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่ไปยังสหรัฐเหมือนกันหมด ขณะนี้กำลังรอประกาศว่าสหรัฐจะเรียกเก็บอัตราภาษีทุ่มตลาดจากประเทศไทย อินเดีย บราซิล และเอกวาดอร์ ในอัตราภาษีเท่าใด หากไทยถูกเรียกเก็บในอัตราที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆจะทำให้ได้เปรียบ แต่ถ้าหากถูกเรียกเก็บภาษีอัตราสูงจะเสียเปรียบและไม่สามารถแข่งขันได้ อย่างไรก็ดีผู้ส่งออกกุ้งหลายคนให้ความเห็นตรงกันว่าอัตราภาษีเอดีที่สหรัฐเรียกเก็บจากไทยน่าจะต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0—8 ซึ่งจะทำให้ไทยมีขีดแข่งขันที่ดีกว่าประเทศอื่น ๆ พร้อมกันนี้ผู้ส่งออกกุ้งยังให้ความเห็นถึงภาวะราคากุ้งในประเทศ หลังได้รับทราบอัตราภาษีเอดีอย่างเป็นทางการว่าน่าจะสูงขึ้นจากปัจจุบัน เพราะทั้งผู้ซื้อผู้ขายสามารถคำนวณราคาซื้อขายได้ ต่างจากเวลานี้ที่การค้าส่งออกกุ้งต้องชะลอ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถคำนวณราคาซื้อขายระหว่างกันได้
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.64 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.48 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.20 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 85.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 210.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 201.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร เฉลี่ยกิโลกรัมละ 211.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 196.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 15.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 25.26 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.14 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.86 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.70 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.68 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 26 ก.ค. — 1 ส.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 24.20 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.50 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 26 ก.ค. - 1 ส.ค. 2547--
-พห-